ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
อ่านข้อแรกอ่านข้อก่อนนี้อ่านข้อถัดไปอ่านข้อสุดท้าย
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

[257] อาวาสิกธรรม 5 (คุณสมบัติของเจ้าอาวาส หมวดที่ 7 ประเภทมีความสุขความเจริญดุจได้รับเชิญขึ้นไปอยู่ในสวรรค์ อีกหมวดหนึ่ง — sikadhamma)
       1. อนุวิจจาวัณณภาสกะ (พิจารณาใคร่ครวญโดยรอบคอบแล้ว จึงกล่าวตำหนิติเตียนบุคคลที่ควรตำหนิติเตียน - คำแปลภาษาอังกฤษดูในหมวดก่อน)
       2. อนุวิจจวัณณภาสกะ (พิจารณาใคร่ครวญโดยรอบคอบแล้ว จึงกล่าวยกย่องสรรเสริญบุคคลที่ควรยกย่องสรรเสริญ - คำและภาษาอังกฤษดูในหมวดก่อน)
       3. น อาวาสมัจฉรี (ไม่ตระหนี่หวงแหนที่อยู่อาศัย — not to be stingy as to lodging)
       4. น กุลมัจฉรี (ไม่ตระหนี่หวงแหนตระกูลอุปฐาก — not to be stingy as to supporting-families)
       5. น ลาภมัจฉรี (ไม่ตระหนี่หวงแหนลาภ — not to be stingy as to gain)

       นอกจากนี้ ยังมีอาวาสิกธรรมประเภทมีความสุขความเจริญเหมือนได้รับเชิญไปอยู่ในสวรรค์ อีก 3 หมวด แต่มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อย หรือกำหนดได้ง่ายคือ
       หมวดหนึ่ง เปลี่ยนเฉพาะข้อ 5 เป็น “ไม่ยังศรัทธาไทยให้ตกไป”
       อีกหมวดหนึ่ง เปลี่ยน 4 ข้อต้นเป็นเรื่องมัจฉริยะทั้งหมด คือ เป็น น อาวาสมัจฉรี, น กุลมัจฉรี, น ลาภมัจฉรี, น วัณณมัจฉรี ส่วนข้อสุดท้ายเป็น “ไม่ยังศรัทธาไทย ให้ตกไป”
       อีกหมวดหนึ่ง เปลี่ยนเป็นเรื่องมัจฉริยะทั้ง 5 ข้อ คือ เป็นผู้ไม่มีมัจฉริยะทั้ง 5

       ดู [233] มัจฉริยะ 5.

A.III.264-6 องฺ.ปญฺจก. 22/237-240/293-295.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=257

อ่านข้อแรกอ่านข้อก่อนนี้อ่านข้อถัดไปอ่านข้อสุดท้าย

บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]