ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ตัณหา ”             ผลการค้นหาพบ  3  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 3
[74] ตัณหา 3 (ความทะยานอยาก — craving)
       1. กามตัณหา (ความทะยานอยากในกาม, ความอยากได้กามคุณ คือสิ่งสนองความต้องการทางประสาททั้งห้า — craving for sensual pleasures; sensual craving)
       2. ภวตัณหา (ความทะยานอยากในภพ, ความอยากในภาวะของตัวตนที่จะได้จะเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง อยากเป็น อยากคงอยู่ตลอดไป, ความใคร่อยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ — craving for existence)
       3. วิภวตัณหา (ความทะยานอยากในวิภพ, ความอยากในความพรากพ้นไปแห่งตัวตนจากความเป็นอย่างใดอย่างหนึ่งอันไม่ปรารถนา อยากทำลาย อยากดับสูญ, ความใคร่อยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ — craving for non-existence; craving for self-annihilation)

A.III.445;
Vbh.365
องฺ.ฉกฺก. 22/377/494;
อภิ.วิ. 35/933/494

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 3
[264] ตัณหา 6 (ความทะยานอยาก — craving)
       1. รูปตัณหา (อยากได้รูป — craving for forms)
       2. สัททตัณหา (อยากได้เสียง — craving for sounds)
       3. คันธตัณหา (อยากได้กลิ่น — craving for odors)
       4. รสตัณหา (อยากได้รส — craving for tastes)
       5. โผฏฐัพพตัณหา (อยากได้โผฏฐัพพะ — craving for tangible objects)
       6. ธัมมตัณหา (อยากได้ธรรมารมณ์ — craving for mental objects)

       หกอย่างนี้ เรียกเต็มตามศัพท์ว่า ตัณหากาย 6 (กองตัณหา, หมวดตัณหา — bodies or classes of craving)

D.III.244,280;
S.II.3;
Vbh.102.
ที.ปา. 11/311/256; 425/303;
สํ.นิ. 16/10/3;
อภิ.วิ. 35/159/132.

[***] ทวาร 6 ดู [78] ทวาร 6

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 3
[357] ตัณหา 108 (ความทะยานอยาก, ความร่านรน - craving)
       ตัณหา 108 ในพระบาลีเดิมเรียก ตัณหาวิจริต (ความเป็นไป หรือการออกเที่ยวแสดงตัวของตัณหา) [องฺ.จตุกฺก. 21/199/290; อภิ.วิ. 35/1033/530 = A.II.212; Vbh.393] จัดดังนี้
       ตัณหาวิจริต 18 อันอาศัยเบญจขันธ์ภายใน = เมื่อมีความถือว่า “เรามี” จึงมีความถือว่า : เราเป็นอย่างนี้ เราเป็นอย่างนั้น เราเป็นอย่างอื่น เราไม่เป็นอยู่ เราพีงเป็นอย่างนี้ เราพึงเป็นอย่างนั้น เราพึงเป็นอย่างอื่น ฯลฯ
       ตัณหาวิจริต 18 อันอาศัยเบญจขันธ์ภายนอก = เมื่อมีความถือว่า “เรามีด้วยเบญจขันธ์นี้” จึงมีความถือว่า : เราเป็นอย่างนี้ด้วยเบญจขันธ์นี้ เราเป็นอย่างนั้น ด้วยเบญจขันธ์นี้ เราเป็นอย่างอื่นด้วยเบญจขันธ์นี้ ฯลฯ
       ตัณหาวิจริต 18 สองชุดนี้ รวมเป็น 36 x กาล 3 (ปัจจุบัน อดีต อนาคต) = 108

       อีกอย่างหนึ่ง ตัณหา 3 (กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา)
       x ตัณหา 6 (ตัณหาในรูป ในเสียง ในกลิ่น ในรส ในโผฏฐัพพะ ในธรรมารมณ์) = 18
       x ภายในและภายนอก = 36
       x กาล 3 = 108 (วิสุทธิ. 3/180 = Vism.568)

       ดู [74] ตัณหา 3.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ตัณหา
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%B5%D1%B3%CB%D2


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]