ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ทศพลญาณ ”             ผลการค้นหาพบ  2  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 2
[180] เวสารัชชะ หรือ เวสารัชชญาณ 4 (ความไม่ครั่นคร้าน, ความแกล้วกล้าอาจหาญ, พระญาณอันเป็นเหตุให้ทรงแกล้วกล้า ไม่ครั่นคร้าม - intrepidity; self-confidences)
       พระตถาคตเจ้าไม่ทรงมองเห็นว่า ใครก็ตาม จักทักท้วงพระองค์ได้โดยชอบธรรมในฐานะเหล่านี้ คือ (The Perfect One sees no grounds on which anyone can with justice make the following charges;)
       1. สัมมาสัมพุทธปฏิญญา (ท่านปฏิญญาว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ท่านยังไม่รู้ - You who claim to be fully self-enlightened are not fully enlightened in these things.)
       2. ขีณาสวปฏิญญา (ท่านปฏิญญาว่าเป็นขีณาสพ อาสวะเหล่านี้ของท่านยังไม่สิ้น - You who claim to gave destroyed all taints have not utterly destroyed these taints.)
       3. อันตรายิกธรรมวาทะ (ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าเป็นอันตราย ธรรมเหล่านั้น ไม่อาจก่ออันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง - Those things which have been declared by you to be harmful have no power to harm him that follows them.
       4. นิยยานิกธรรมเทศนา (ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็นทางนำผู้ทำตามให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบจริง - The Doctrine taught by you for the purpose of utter extinction of suffering does not lead him who acts accordingly to such a goal.)

       ด้วยเหตุนี้ พระองค์นี้จึงทรงถึงความเกษม ถึงความไม่มีภัย แกล้วกล้าไม่ครั่นคร้ามอยู่ (Since this is so, he abides in the attainment of security, of fearlessness and intrepidity.)
       เวสารัชชะ 4 นี้ คู่กับทศพล หรือ ตถาคตพล 10 (เรียกกันทั่วๆ ไปว่า ทศพลญาณ) เป็นธรรมที่ทำให้พระตถาคต ทรงปฏิญญาฐานะแห่งผู้นำ เปล่งสีหนาทในบริษัททั้งหลาย ยังพรหมจักรให้เป็นไป (Endowed with these four kinds of intrepidity, the Perfect One claims the leader's place, roars his lion's roar in assemblies, and sets rolling the Divine Wheel.)

       ดู [323] ทศพลญาณ

M.I.71;
A.II.8.
ม.มู. 12/167/144;
องฺ.จตุกฺก. 21/8/10.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 2
[323] ทศพลญาณ (บาลีเรียก ตถาคตพลญาณ 10 คือ พระญาณอันเป็นกำลังของพระตถาคต 10 ประการ ที่ทำให้พระองค์สามารถบันลือสีหนาท ประกาศพระศาสนาได้มั่นคง — the Ten Powers of the Perfect One)
       1. ฐานาฐานญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ฐานะและอฐานะ คือ รู้กฏธรรมชาติเกี่ยวกับขอบเขตและขีดขั้นของสิ่งทั้งหลายว่า อะไรเป็นไปได้ อะไรเป็นไปไม่ได้ และแค่ไหนเพียงไร โดยเฉพาะในแง่ความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล และกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมเกี่ยวกับสมรรถวิสัยของบุคคล ซึ่งจะได้รับผลกรรมที่ดีและชั่วต่างๆ กัน — knowledge of instance and no instance; knowledge of possibilities and impossibilities)
       2. กรรมวิปากญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ผลของกรรม คือ สามารถกำหนดแยกการให้ผลอย่างสลับซับซ้อน ระหว่างกรรมดีกับกรรมชั่ว ที่สัมพันธ์กับปัจจัยแวดล้อมต่างๆ มองเห็นรายละเอียดและความสัมพันธ์ภายในกระบวนการก่อผลของกรรมอย่างชัดเจน — knowledge of ripening of action; knowledge of the results of karma)
       3. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่คติทั้งปวง คือ สุคติ ทุคติ หรือพ้นจากคติ หรือปรีชาหยั่งรู้ข้อปฏิบัติที่จะนำไปสู่อรรถประโยชน์ทั้งปวง กล่าวคือ ทิฏฐธัมมิกัตถะ สัมปรายิกัตถะ หรือ ปรมัตถะ คือรู้ว่าเมื่อปรารถนาจะเข้าถึงคติหรือประโยชน์ใด จะต้องทำอะไรบ้าง มีรายละเอียดวิธีปฏิบัติอย่างไร — knowledge of the way that leads anywhere; knowledge of the practice leading to all destinies and all goals)
       4. นานาธาตุญาณ (ปรีชาหยั่งรู้สภาวะของโลกอันประกอบด้วยธาตุต่างๆ เป็นเอนก คือ รู้สภาวะของธรรมชาติ ทั้งฝ่ายอุปาทินนกสังขารและฝ่ายอนุปาทินนกสังขาร เช่น รู้จักส่วนประกอบต่างๆ ของชีวิต สภาวะของส่วนประกอบเหล่านั้น พร้อมทั้งลักษณะและหน้าที่ของมันแต่ละอย่าง อาทิการปฏิบัติหน้าที่ของขันธ์ อายตนะ และธาตุต่างๆ ในกระบวนการรับรู้ เป็นต้น และรู้เหตุแห่งความแตกต่างกันของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น — knowledge of the world with its many and different elements)
       5. นานาธิมุตติกญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อธิมุติ คือ รู้อัธยาศัย ความโน้มเอียง ความเชื่อถือ แนวความสนใจ เป็นต้น ของสัตว์ทั้งหลายที่เป็นไปต่างๆ กัน — knowledge of the different dispositions of beings)
       6. อินทริยปโรปริยัตตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ รู้ว่าสัตว์นั้นๆ มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แค่ไหน เพียงใด มีกิเลสมาก กิเลสน้อย มีอินทรีย์อ่อน หรือแก่กล้า สอนง่ายหรือสอนยาก มีความพร้อมที่จะตรัสรู้หรือไม่ — knowledge of the state of faculties of beings; knowledge of the inferiority and superiority of the controlling faculties of various beings; knowledge as regards maturity of persons)
       7. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ่ว การออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติทั้งหลาย — knowledge of defilement, cleansing and emergence in the cases of the meditations, liberations, concentrations and attainments)
       8. ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ (ปรีชาหยั่งรู้อันทำให้ระลึกภพที่เคยอยู่ในหนหลังได้ — knowledge of the remembrance of former existences)
       9. จุตูปปาตญาณ (ปรีชาหยั่งรู้จุติและอุบัติของสัตว์ทั้งหลายอันเป็นไปตามกรรม -- knowledge of the decease and rebirth of beings)
       10. อาสวักขยญาณ (ปรีชาหยั่งรู้ความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย — knowledge of the exhaustion of mental intoxicants)

M.I.69;
A.V.33;
Vbh.336.
ม.มู. 12/166/140;
องฺ.ทสก. 24/21/35;
อภิ.วิ. 35/839/454.

[***] ทศพิธราชธรรม ดู [326] ราชธรรม 10.
[***] ธรรมจริยา 10 เป็นอีกชื่อหนึ่งของ [320] กุศลกรรมบถ 10.
[***] ธรรมมีอุปการะมาก 10 ดู [324] นาถกรณธรรม 10.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ทศพลญาณ&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%B7%C8%BE%C5%AD%D2%B3&detail=on


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]