ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ นิโรธสมาบัติ ”             ผลการค้นหาพบ  3  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 3
[119] สังขาร 3 (สภาพที่ปรุงแต่ง — formation; determination; function)
       1. กายสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งกาย ได้แก่ อัสสาสะ ปัสสาสะ คือ ลมหายใจเข้าออก — bodily formation; bodily function)
       2. วจีสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งวาจา ได้แก่ วิตกและวิจาร — verbal formation; verbal function)
       3. จิตตสังขาร (สภาพที่ปรุงแต่งใจ ได้แก่ สัญญา และเวทนา — mental formation; mental function)

       สังขาร 3 ในหมวดนี้ มักมาในเรื่องที่เกี่ยวกับสัญญาเวทยิตนิโรธ ว่าผู้เข้านิโรธสมาบัติ วจีสังขาร กายสังขาร และจิตตสังขาร ดับไปตามลำดับ.

M.I.301;
S.IV.293.
ม.มู. 12/509/550;
สํ.สฬ. 18/561/361.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 3
[190] สัมปทา หรือ สัมปทาคุณ 4 (ความถึงพร้อม, ความพรั่งพร้อม สมบูรณ์แห่งองค์ประกอบต่างๆ ซึ่งทำให้ทานที่บริจาคแล้ว เป็นทานอันยอดเยี่ยมมีผลมาก อาจเห็นผลทันตา - successful attainment; accomplishment; excellence)
       1. วัตถุสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยวัตถุ คือบุคคลผู้เป็นที่ตั้งรองรับทาน เช่น ทักขิไณยบุคคลเป็นพระอรหันต์ หรือพระอนาคามี ผู้เข้านิโรธสมาบัติได้ - excellence of the foundation for merit)
       2. ปัจจัยสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยปัจจัย คือ สิ่งที่จะให้เป็นของบริสุทธิ์ ได้มาโดยชอบธรรม - excellence of the gift)
       3. เจตนาสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยเจตนา คือ มีเจตนาในการให้สมบูรณ์ครบ 3 กาล ทั้งก่อนให้ ขณะให้ และหลังให้ จิตโสมนัส ประกอบด้วยปัญญา - excellence of the intention)
       4. คุณาติเรกสัมปทา (ถึงพร้อมด้วยคุณส่วนพิเศษ คือ ปฏิคาหกมีคุณสมบัติพิเศษ เช่น ทักขิไณยบุคคลนั้น ออกจากนิโรธสมาบัติใหม่ๆ - excellence of extra virtue)

DhA.III.93. ธ.อ. 5/88

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 3
[313] อนุบุพพวิหาร 9 (ธรรมเครื่องอยู่ที่ประณีตต่อกันขึ้นไปโดยลำดับ — progressive abidings; mental states of gradual attainment)
       รูปฌาน 4 (the Four Absorptions of the Form-Sphere)
       อรูปฌาน 4 (the Four Absorptions of the Formless Sphere)
       สัญญาเวทยิตนิโรธ (สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา — extinction of perception and feeling) เรียกอีกอย่างว่า นิโรธสมาบัติ (attainment of extinction)

       สมาบัติข้อที่ 9 นี้ เฉพาะแต่พระอนาคามีและพระอรหันต์ผู้ชำนาญในสมาบัติ 8 ข้างต้นแล้วเท่านั้น จึงจะเข้าได้
       อนุบุพพวิหารนี้ เรียกอีกอย่างว่า อนุบุพพนิโรธ (graded stages of cessation) เพราะต้องดับขั้นต้นๆ และขั้นไปตามลำดับ จึงจะเข้าถึงขั้นสูงที่อยู่ถัดขึ้นไปได้

       ดู [9] ฌาน 4; [207] อรูป 4.

D.III.265, 190;
A.IV.410.
ที.ปา. 11/355/279; 463/332;
องฺ.นวก. 23/236/424.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=นิโรธสมาบัติ&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%B9%D4%E2%C3%B8%CA%C1%D2%BA%D1%B5%D4&detail=on


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]