ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ สังขต ”             ผลการค้นหาพบ  8  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 8
[21] ธรรม 2 (สภาวะ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ - thing; states; phenomena)
       1. สังขตธรรม (สิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง คือ ขันธ์ 5 ทั้งหมด - conditioned things; compounded things)
       2. อสังขตธรรม (สิ่งที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง คือ นิพพาน - the Unconditioned, i.e. Nibbana)

Dhs.193, 244. อภิ.สํ. 34/702/278; 907/354.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 8
[48] สังขาร 2 (สภาพที่ปัจจัยทั้งหลายปรุงแต่งขึ้น, สิ่งที่เกิดจากเหตุปัจจัย : conditioned things; compounded things)
       1. อุปาทินนกสังขาร (สังขารที่กรรมยึดครองหรือเกาะกุม ได้แก่ อุปาทินนธรรม : karmically grasped phenomena)
       2. อนุปาทินนกสังขาร (สังขารที่กรรมไม่ยึดครองหรือเกาะกุม ได้แก่ อนุปาทินนธรรมทั้งหมด เว้นแต่อสังขตธาตุ คือนิพพาน : karmically ungrasped phenomena)

       ดู [22] ธรรม 2; [41] รูป 2; [119] สังขาร 3; [185] สังขาร 4 ด้วย

A.A.IV.50 องฺ.อ. 3/223;
วิภงฺค.อ. 596

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 8
[85] ธรรม 3 (สภาวะ, สิ่ง, ปรากฏการณ์ — states; things; phenomena; idea)
       1. กุศลธรรม (ธรรมที่เป็นกุศล, สภาวะที่ฉลาด ดีงาม เอื้อแก่สุขภาพจิต เกื้อกูลแก่ชีวิตจิตใจ ได้แก่กุศลมูล 3 ก็ดี นามขันธ์ 4 ที่สัมปยุตด้วยกุศลมูลนั้นก็ดี กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ที่มีกุศลมูลเป็นฐาน ก็ดี กล่าวสั้นว่า กุศลในภูมิ 4 — skillful, wholesome, or profitable states; good things)
       2. อกุศลธรรม (ธรรมที่เป็นอกุศล, สภาวะที่ตรงข้ามกับกุศล ได้แก่ อกุศลมูล 3 และกิเลสอันมีฐานเดียวกับอกุศลมูลนั้น ก็ดี นามขันธ์ 4 ที่สัมปยุตด้วยอกุศลมูลนั้น ก็ดี กายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่มีอกุศลมูลเป็นสมุฏฐาน ก็ดี กล่าวสั้นว่าอกุศลจิตตุบาท 12 — unskillful, unwholesome or unprofitable states; bad things)
       3. อัพยากตธรรม (ธรรมที่เป็นอัพยากฤต, สภาวะที่เป็นกลางๆ ชี้ขาดลงมิได้ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล ได้แก่ นามขันธ์ 4 ที่เป็นวิบากแห่งกุศลและอกุศล เป็นกามาวจรก็ตาม รูปาวจรก็ตาม อรูปาวจรก็ตาม โลกุตตระก็ตาม อย่างหนึ่ง ธรรมทั้งหลายที่เป็นกิริยา มิใช่กุศล มิใช่อกุศล มิใช่วิบากแห่งกรรม อย่างหนึ่ง รูปทั้งปวง อย่างหนึ่ง อสังขตธาตุ คือ นิพพาน อย่างหนึ่ง กล่าวสั้นคือ วิบากในภูมิ 4 กิริยาอัพยากฤต ในภูมิ 3 รูป และนิพพาน — the indeterminate; neither-good-nor-bad thing)

Dhs.91,180,234. อภิ.สํ. 34/1/1; 663/259; 878/340

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 8
[86] ธรรมนิยาม 3 (กำหนดแห่งธรรมดา, ความเป็นไปอันแน่นอนโดยธรรมดา, กฎธรรมชาติ — orderliness of nature; natural law)
       1. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา (สังขารคือสังขตธรรมทั้งปวงไม่เที่ยง — all conditioned states are impermanent)
       2. สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา (สังขารคือสังขตธรรมทั้งปวงเป็นทุกข์ — all conditioned states are subject to oppression, conflict or suffering)
       3. สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา (ธรรมคือสังขตธรรมและอสังขตธรรม หรือสังขารและวิสังขารทั้งปวงไม่ใช่ตน — all states are not-self or soulless)

       หลักความจริงนี้ แสดงให้เห็นลักษณะ 3 อย่าง ที่เรียกว่า ไตรลักษณ์ ของสภาวธรรมทั้งหลาย (ดู [76] ไตรลักษณ์) พระพุทธเจ้าจะอุบัติหรือไม่ก็ตาม หลักทั้งสามนี้ ก็คงมีอยู่เป็นธรรมดา พระพุทธเจ้าเป็นแต่ทรงค้นพบ และนำมาเปิดเผยแสดงแก่เวไนย.

       ดู [223] นิยาม 5.

A.I.285. องฺ.ติก. 20/576/368.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 8
[117] สังขตลักษณะ 3 (ลักษณะแห่งสังขตธรรม คือสิ่งที่ปัจจัยปรุงแต่งขึ้น — characteristics of the conditioned; condition; condition-marks of the conditioned)
       1. อุปฺปาโท ปญฺญายติ (ความเกิดขึ้น ปรากฏ — Its arising is apparent.)
       2. วโย ปญฺญายติ (ความดับสลาย ปรากฏ — Its passing away or subsidence is apparent.)
       3. ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ (เมื่อตั้งอยู่ ความแปรปรากฏ — While persisting, alteration or changeability is apparent.)

A.I.152. องฺ.ติก. 20/486/192.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 8
[118] อสังขตลักษณะ 3 (ลักษณะแห่งอสังขตธรรม — characteristics of the Unconditioned)
       1. น อุปฺปาโท ปญฺญายติ (ไม่ปรากฏความเกิด — No arising appears.)
       2. น วโย ปญฺญายติ (ไม่ปรากฏความสลาย — No passing away appears.)
       3. น ฐิตสฺส อญฺญถตฺตํ ปญฺญายติ (เมื่อตั้งอยู่ ไม่ปรากฏความแปร — While persisting, no alteration appears.)

A.I.152. องฺ.ติก. 20/487/192.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 8
[185] สังขาร 4 (คำว่าสังขารที่ใช้ในความหมายต่าง - applications of the word 'formation')
       1. สังขตสังขาร (สังขารคือสังขตธรรม ได้แก่สิ่งทั้งปวงที่เกิดจากปัจจัยปรุงแต่ง รูปธรรมก็ตาม นามธรรมก็ตาม ได้ในคำว่า อนิจฺจา วต สงฺขารา เป็นต้น - formation consisting of the formed)
       2. อภิสังขตสังขาร (สังขารคือสิ่งที่กรรมแต่งขึ้น ได้แก่รูปธรรมก็ตาม นามธรรมก็ตาม ในภูมิสาม ที่เกิดแต่กรรม - formation consisting of the karma-formed)
       3. อภิสังขรณกสังขาร (สังขารคือกรรมที่เป็นตัวการปรุงแต่ง ได้แก่ กุศลเจตนาและอกุศลเจตนาทั้งปวงในภูมิสาม ได้ในคำว่า 'สังขาร' ตามหลักปฏิจจสมุปบาท คือ [120] สังขาร 3 หรือ [129] อภิสังขาร 3 - formation consisting in the act of karma-forming)
       4. ปโยคาภิสังขาร (สังขารคือการประกอบความเพียร ได้แก่กำลังความเพียรทางกายก็ตาม ทางใจก็ตาม - formation consisting in exertion or impetus)

Vism.527. วิสุทธิ. 3/120.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 8
[310] โลกุตตรธรรม 9 (ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก, สภาวะพ้นโลก — supermundane states) (+ โพธิปักขิยธรรม 37 = 46 : ขุ. ปฏิ. 31/620/535; Ps.II.166)
       มรรค 4 (the Four Paths)
       ผล 4 (the Four Fruitions)
       นิพพาน หรือ อสังขตธาตุ 1 (the Unconditioned State)

       ดู [27] นิพพาน 2; [164] มรรค 4; [165] ผล 4.

Dhs.1094. อภิ.สํ. 34/706/278; 911/355.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สังขต&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%CA%D1%A7%A2%B5&detail=on


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]