ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ สัญญา ”             ผลการค้นหาพบ  2  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 2
[271] สัญญา 6 (ความกำหนดได้หมายรู้, ความหมายรู้อารมณ์, ความจำได้หมายรู้ — perception)
       1. รูปสัญญา (ความหมายรู้รูป เช่นว่า ดำ แดง เขียว ขาว เป็นต้น — perception of form)
       2. สัททสัญญา (ความหมายรู้เสียง เช่นว่า ดัง เบา ทุ้ม แหลม เป็นต้น — perception of sound)
       3. คันธสัญญา (ความหมายรู้กลิ่น เช่นว่า หอม เหม็น เป็นต้น — perception of smell)
       4. รสสัญญา (ความหมายรู้รส เช่นว่า หวาน เปรี้ยว ขม เค็ม เป็นต้น — perception of taste)
       5. โผฏฐัพพสัญญา (ความหมายรู้สัมผัสทางกาย เช่นว่า อ่อน แข็ง หยาบ ละเอียด ร้อน เย็น เป็นต้น — perception of tangible objects)
       6. ธัมมสัญญา (ความหมายรู้อารมณ์ทางใจ เช่นว่า งาม น่าเกลียด เที่ยง ไม่เที่ยง เป็นต้น — perception of mind-objects)

D.III.244;
A.III.413
ที.ปา. 11/309/255;
องฺ.ฉกฺก. 22/334/461

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 2
[331] สัญญา 10 (ความกำหนดหมาย, แนวความคิดความเข้าใจ สำหรับใช้กำหนดพิจารณาในการเจริญกรรมฐาน — perception; contemplation; ideas as objects of meditation)
       1. อนิจจสัญญา (กำหนดหมายความไม่เที่ยงแห่งสังขาร — contemplation on impermanency)
       2. อนัตตสัญญา (กำหนดหมายความเป็นอนัตตาแห่งธรรมทั้งปวง -- contemplation on impersonality)
       3. อสุภสัญญา (กำหนดหมายความไม่งามแห่งกาย — contemplation on foulness or loathsomeness)
       4. อาทีนวสัญญา (กำหนดหมายโทษทุกข์ของกายอันมีความเจ็บไข้ต่างๆ — contemplation on the disadvantages of the body)
       5. ปหานสัญญา (กำหนดหมายเพื่อละอกุศลวิตกและบาปธรรมทั้งหลาย -- contemplation on abandonment or overcoming)
       6. วิราคสัญญา (กำหนดหมายวิราคะว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต — contemplation on detachment)
       7. นิโรธสัญญา (กำหนดหมายนิโรธว่าเป็นธรรมละเอียดประณีต — contemplation on cessation)
       8. สัพพโลเก อนภิรตสัญญา (กำหนดหมายความไม่น่าเพลิดเพลินในโลกทั้งปวง — contemplation on the non-delightfulness of the whole world)
       9. สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญา (กำหนดหมายความไม่น่าปรารถนาในสังขารทั้งปวง — contemplation on the non-pleasantness of the whole world)
       10. อานาปานสติ (สติกำหนดลมหายใจเข้าออก — mindfulness of in- and out-breathing)

D.III.291;
A.V.109.
ที.ปา. 11/473/340;
องฺ.ทสก. 24/60/116


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=สัญญา
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%CA%D1%AD%AD%D2


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]