ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ อาวาสิกธรรม ”             ผลการค้นหาพบ  7  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 7
[251] อาวาสิกธรรม 5 (ธรรมของภิกษุผู้อยู่ประจำวัด, แปลถือความมาใช้ให้เหมาะกับปัจจุบันว่า คุณสมบัติของเจ้าอาวาส, หมวดที่ 1 ประเภทที่ควรยกย่อง — qualities of an estimable resident or incumbent of a monastery; qualities of an estimable abbot)
       1. อากัปปวัตตสัมปันนะ (ถึงพร้อมด้วยมารยาทและวัตร — to be accomplished in manner and duties)
       2. พหุสสุตะ (เป็นพหูสูต ทรงความรู้ — to have great learning)
       3. ปฏิสัลเลขิตา (เป็นผู้ประพฤติขัดเกลา ชอบความสงบ ยินดีในกัลยาณธรรม — to be fond of solitude)
       4. กัลยาณวาจา (มีวาจางาม รู้จักพูด รู้จักเจรจาให้เป็นผลดี — to have and convincing speech)
       5. ปัญญวา (มีปัญญา เฉลียวฉลาด — to be wise)

A.III.261 องฺ.ปญฺจก. 22/231/290.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 7
[252] อาวาสิกธรรม 5 (คุณสมบัติของเจ้าอาวาส หมวดที่ 2 ประเภทเป็นที่รักที่เคารพของสพรหมจารี คือ เพื่อนภิกษุสามเณรผู้ประพฤติพรหมจรรย์ร่วมกัน — qualities of a beloved and respected incumbent or abbot)
       1. สีลวา (มีศีล สำรวมในพระปาฏิโมกข์ ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย — to gave good conduct)
       2. พหุสสุตะ (เป็นพหูสูต ทรงความรู้ — to have great learning)
       3. กัลยาณวาจา (มีวาจางาม รู้จักพูด รู้จักเจรจาให้เป็นผลดี — to have lovely and convincing speech)
       4. ฌานลาภี (ได้แคล่วคล่องในฌาน 4 สำหรับอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน — to be able to gain pleasure of the Four Absorptions ot will)
       5. อนาสวเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ (บรรลุเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ สิ้นอาสวะแล้ว — to have gained the Deliverance

A.III.262. องฺ.ปญฺจก. 22/232/290.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 7
[253] อาวาสิกธรรม 5 (คุณสมบัติของเจ้าอาวาส หมวดที่ 3 ประเภทอาวาสโสภณ คือทำวัดให้งาม — qualities of on incumbent or abbot who graces the monastery)
       1. สีลวา (มีศีล สำรวมในพระปาฏิโมกข์ ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย — to have good conduct)
       2. พหุสสุตะ (เป็นพหูสูต ทรงความรู้ — to have great learning)
       3. กัลยาณวาจา (มีวาจางาม รู้จักพูด รู้จักเจรจาให้เป็นผลดี — to have lovely and convincing speech)
       4. ธัมมิกถาย สันทัสสนา (สามารถกล่าวธรรมีกถาให้ผู้มาหาเห็นแจ่มชัด ยอมรับไปปฏิบัติ เร้าใจให้แกล้วกล้า และเบิกบานใจ — to be able teach, incite, rouse and satisfy those who him with talk on the Dharma)
       5. ฌานลาภี (ได้แคล่วคล่องในฌาน 4 ที่เป็นเครื่องอยู่สุขสบายในปัจจุบัน — to be able to gain pleasure of the Four Absorptions)

A.III.262 องฺ.ปญฺจก. 22/233/291.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 7
[254] อาวาสิกธรรม 5 (คุณสมบัติของเจ้าอาวาส หมวดที่ 4 ประเภท มีอุปการะมากแก่วัด — qualities of an incumbent or abbot who is of greal service to his monastery)
       1. สีลวา (มีศีล สำรวมในพระปาฏิโมกข์ ประพฤติเคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย — to have good conduct)
       2. พหุสสุตะ (เป็นพหูสูต ทรงความรู้ — to have great learning)
       3. ขัณฑผุลลปฏิสังขรกะ (รู้จักปฏิสังขรณ์เสนาสนะสิ่งของที่ชำรุดหักพัง — to repair broken and dilapidated things)
       4. ปุญญกรณายาโรจกะ (เมื่อมีสงฆ์หมู่ใหญ่มาจากต่างถิ่นต่างแคว้น ขวนขวายบอกชาวบ้านผู้ปวารณาไว้ให้มาทำบุญ — to inform the householders of the arrival of incoming monks in order that the former may make merit)
       5. ฌานลาภี (ได้แคล่วคล่องในฌาน 4 ที่เป็นเครื่องอยู่สุขสบายในปัจจุบัน — to be able to gain pleasure of the Four Absorptions)

A.III.263 องฺ.ปญฺจก. 22/234/292.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 7
[255] อาวาสิกธรรม 5 (คุณสมบัติของเจ้าอาวาส หมวดที่ 5 ประเภทอนุเคราะห์คฤหัสถ์ — qualities of an incumbent or abbot who is kind to lay people)
       1. อธิสีเล สมาทปกะ (ชักนำคฤหัสถ์ให้ถือปฏิบัติในอธิศีล — to incite them to higher virtue) อธิศีลในที่นี้ ท่านอธิบายว่า ได้แก่เบญจศีลที่เป็นไปเพื่อคุณเบื้องสูง
       2. ธัมมทัสสเน นิเวสกะ (ยังคฤหัสถ์ให้ตั้งอยู่ในธรรมทัศนะ คือรู้เห็นเข้าใจธรรม — to encourage them in the discernment of truth or the vision of the doctrine)
       3. คิลานสตุปปาทกะ (เมื่อคฤหัสถ์เจ็บไข้ ไปเยี่ยมให้สติ — to visit the sick and rouse them to mindfulness and awareness)
       4. ปุญญกรณายาโรจกะ (เมื่อมีสงฆ์หมู่ใหญ่มาจากต่างแคว้น ขวนขวายบอกชาวบ้านผู้ปวารณาไว้ให้มาทำบุญ — to inform the householders of the arrival of incoming monks in order that the former may make merit)
       5. สัทธาเทยยาวินิปาตกะ (เขาถวายโภชนะใดๆ จะเลวหรือดี ก็ฉันด้วยตนเอง ไม่ยังศรัทธาไทยให้ตกไป — to enjoy by himself any given food, whether mean or choice, not frustrating the gift of faith)

A.III.263. องฺ.ปญฺจก. 22/235/292.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 7
[256] อาวาสิกธรรม 5 (คุณสมบัติของเจ้าอาวาส หมวดที่ 6 ประเภทมีความสุขความเจริญดุจได้รับเชิญขึ้นไปอยู่ในสวรรค์ — qualities of an incumbent or abbot who is prosperous as if put in heaven)
       1. พิจารณาใคร่ครวญโดยรอบคอบแล้ว จึงกล่าวตำหนิติเตียนบุคคลที่ควรตำหนิติเตียน — to speak in blame of a person deserving blame only after deliberately testing and plumbing the matter.
       2. พิจารณาใคร่ครวญโดยรอบคอบแล้ว จึงกล่าวยกย่องสรรเสริญบุคคลที่ควรยกย่องสรรเสริญ — to speak in praise of a person deserving praise only after deliberately testing and plumbing the matter.
       3. พิจารณาใคร่ครวญโดยรอบคอบแล้ว จึงแสดงความไม่เลื่อมใส ในฐานะอันไม่ควรเลื่อมใส — to show disbelief in what deserves disbelief only after deliberately testing and plumbing the matter.
       4. พิจารณาใคร่ครวญโดยรอบคอบแล้ว จึงแสดงความเลื่อมใส ในฐานะอันควรเลื่อมใส — to show appreciation in what deserves appreciation only after deliberately testing and plumbing the matter.
       5. ไม่ยังศรัทธาไทยให้ตกไป -- not to frustrate to gift of faith.

       เจ้าอาวาสที่ประพฤติตรงข้ามจากนี้ ย่อมเสื่อมดุจถูกจับไปขังในนรก.

A.III.264. องฺ.ปญฺจก. 22/236/293.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 7
[257] อาวาสิกธรรม 5 (คุณสมบัติของเจ้าอาวาส หมวดที่ 7 ประเภทมีความสุขความเจริญดุจได้รับเชิญขึ้นไปอยู่ในสวรรค์ อีกหมวดหนึ่ง — sikadhamma)
       1. อนุวิจจาวัณณภาสกะ (พิจารณาใคร่ครวญโดยรอบคอบแล้ว จึงกล่าวตำหนิติเตียนบุคคลที่ควรตำหนิติเตียน - คำแปลภาษาอังกฤษดูในหมวดก่อน)
       2. อนุวิจจวัณณภาสกะ (พิจารณาใคร่ครวญโดยรอบคอบแล้ว จึงกล่าวยกย่องสรรเสริญบุคคลที่ควรยกย่องสรรเสริญ - คำและภาษาอังกฤษดูในหมวดก่อน)
       3. น อาวาสมัจฉรี (ไม่ตระหนี่หวงแหนที่อยู่อาศัย — not to be stingy as to lodging)
       4. น กุลมัจฉรี (ไม่ตระหนี่หวงแหนตระกูลอุปฐาก — not to be stingy as to supporting-families)
       5. น ลาภมัจฉรี (ไม่ตระหนี่หวงแหนลาภ — not to be stingy as to gain)

       นอกจากนี้ ยังมีอาวาสิกธรรมประเภทมีความสุขความเจริญเหมือนได้รับเชิญไปอยู่ในสวรรค์ อีก 3 หมวด แต่มีความแตกต่างเพียงเล็กน้อย หรือกำหนดได้ง่ายคือ
       หมวดหนึ่ง เปลี่ยนเฉพาะข้อ 5 เป็น “ไม่ยังศรัทธาไทยให้ตกไป”
       อีกหมวดหนึ่ง เปลี่ยน 4 ข้อต้นเป็นเรื่องมัจฉริยะทั้งหมด คือ เป็น น อาวาสมัจฉรี, น กุลมัจฉรี, น ลาภมัจฉรี, น วัณณมัจฉรี ส่วนข้อสุดท้ายเป็น “ไม่ยังศรัทธาไทย ให้ตกไป”
       อีกหมวดหนึ่ง เปลี่ยนเป็นเรื่องมัจฉริยะทั้ง 5 ข้อ คือ เป็นผู้ไม่มีมัจฉริยะทั้ง 5

       ดู [233] มัจฉริยะ 5.

A.III.264-6 องฺ.ปญฺจก. 22/237-240/293-295.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อาวาสิกธรรม
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%CD%D2%C7%D2%CA%D4%A1%B8%C3%C3%C1


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]