ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
อ่านข้อแรกอ่านข้อก่อนนี้อ่านข้อถัดไปอ่านข้อสุดท้าย
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

[349] อินทรีย์ 22 (สิ่งที่เป็นใหญ่ในการทำกิจของตน คือ ทำให้ธรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นไปตามตน ในกิจนั้นๆ ในขณะที่เป็นไปอยู่นั้น — faculties)
       หมวดที่ 1
           1. จักขุนทรีย์ (อินทรีย์ คือ จักขุปสาท — eye-faculty)
           2. โสตินทรีย์ (อินทรีย์ คือ โสตปสาท — ear-faculty)
           3. ฆานินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ฆานปสาท — nose-faculty)
           4. ชิวหินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ชิวหาปสาท — tongue-faculty)
           5. กายินทรีย์ (อินทรีย์ คือ กายปสาท — body-faculty)
           6. มนินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ใจ ได้แก่ จิต ที่จำแนกเป็น 89 หรือ 121 ก็ตาม mind-faculty)

       หมวดที่ 2
           7. อิตถินทรีย์ (อินทรีย์ คือ อิตถีภาวะ — femininity faculty)
           8. ปุริสินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ปุริสภาวะ — masculinity faculty; virility)
           9. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ชีวิต — life faculty; vitality)

       หมวดที่ 3
           10. สุขินทรีย์ (อินทรีย์ คือ สุขเวทนา — bodily-pleasure faculty)
           11. ทุกขินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ทุกขเวทนา — bodily-pain faculty)
           12. โสมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์ คือ โสมนัสสเวทนา — joy faculty)
           13. โทมนัสสินทรีย์ (อินทรีย์ คือ โทมนัสสเวทนา — grief faculty)
           14. อุเปกขินทรีย์ (อินทรีย์ คือ อุเบกขาเวทนา — indifference faculty)

       หมวดที่ 4
           15. สัทธินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ศรัทธา — faith faculty)
           16. วิริยินทรีย์ (อินทรีย์ คือ วิริยะ — energy faculty)
           17. สตินทรีย์ (อินทรีย์ คือ สติ — mindfulness faculty)
           18. สมาธินทรีย์ (อินทรีย์ คือ สมาธิ ได้แก่ เอกัคคตา — concentration faculty)
           19. ปัญญินทรีย์ (อินทรีย์ คือ ปัญญา — wisdom faculty)

       หมวดที่ 5
           20. อนัญญาตัญญัตญัสสามีตินทรีย์ (อินทรีย์แห่งผู้ปฏิบัติด้วยมุ่งว่าเราจักรู้สัจจธรรม ที่ยังมิได้รู้ ได้แก่ โสตาปัตติมัคคญาณ — ‘I shall come to know the unknown’ faculty, i.e. knowledge of the stream-entry path.)
           21. อัญญินทรีย์ (อินทรีย์ คือ อัญญา หรือปัญญาอันรู้ทั่วถึง ได้แก่ ญาณ 6 ในท่ามกลาง คือ โสตาปัตติผลญาณ ถึงอรหัตตมัคคญาณ — perfect-knowledge faculty, i.e. knowledge of the six intermediate Paths and Fruitions)
           22. อัญญาตาวินทรีย์ (อินทรีย์แห่งท่านผู้รู้ทั่วถึงแล้ว กล่าวคือ ปัญญาของพระอรหันต์ ได้แก่ อรหัตตผลญาณ — perfect-knower faculty, i.e. knowledge of the Fruition of Arahantship)

       อินทรีย์ 22 นี้ ที่มาในพระสูตร มีกระจายอยู่เป็นหมวดๆ ในที่หลายแห่งไม่ครบทั้ง 22 ในที่เดียวกัน เฉพาะที่มาสำคัญได้แก่ อินทรียสังยุต (สํ.ม. 19/843-1089/256-318; S.V.193-243) ส่วนที่มาในพระอภิธรรม และปกรณ์พิเศษภายหลังมีวิสุทธิมรรค และอภิธัมมัตถสังคหะ เป็นต้น มีคำอธิบายโดยพิสดาร

Vbh.122;
Vism.491;
Comp. 175
อภิ.วิ. 35/236/161;
วิสุทธิ. 3/72;
สงฺคห. 41


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อินทรีย์_22
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%CD%D4%B9%B7%C3%D5%C2%EC_22

อ่านข้อแรกอ่านข้อก่อนนี้อ่านข้อถัดไปอ่านข้อสุดท้าย

บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]