ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ เทศนา ”             ผลการค้นหาพบ  3  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 3
[17] เทศนา 2 (การแสดงธรรม, การชี้แจงแสดงความ - preaching; exposition)
       1. บุคคลาธิษฐาน เทศนา (เทศนามีบุคคลเป็นที่ตั้ง, เทศนาอ้างคน, แสดงโดยยกคนขึ้นอ้าง, ยกคนเป็นหลักฐานในการอธิบาย - exposition in terms of persons)
       2. ธรรมาธิษฐาน เทศนา (เทศนามีธรรมเป็นที่ตั้ง, เทศนาอ้างธรรม, แสดงโดยยกหลักหรือตัวสภาวะขึ้นอ้าง - exposition in terms of ideas)

       เทศนา 2 นี้ ท่านสรุปมาจากเทศนา 4 ในคัมภีร์ที่อ้างไว้

PsA.449. ปฏิสํ.อ. 77.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 3
[18] เทศนา 2 (การแสดงธรรมของพระพุทธเจ้า, การชี้แจงแสดงความ - preaching: exposition; teaching)
       1. สมมติเทศนา (เทศนาโดยสมมติ, แสดงตามความหมายที่รู้ร่วมกัน หรือตกลงยอมรับกันของชาวโลก เช่นว่า บุคคล สัตว์ หญิง ชาย กษัตริย์ เทวดา เป็นต้น - conventional teaching)
       2. ปรมัตถเทศนา (เทศนาโดยปรมัตถ์, แสดงตามความหมายของสภาวธรรมแท้ๆ เช่นว่า อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ เป็นต้น - absolute teaching)

       ผู้ฟังจะเข้าใจความ สำเร็จประโยชน์ด้วยเทศนาอย่างใด ก็ทรงแสดงอย่างนั้น
       ใน ที.อ. 1/436; สํ.อ. 2/98 และ ปญฺจ.อ. 182 เป็นต้น กล่าวถึง กถา 2 คือ สมมติกถา และ ปรมัตถกถา พึงทราบความหมายตามแนวความอย่างเดียวกันนี้

       ดู [50] สัจจะ 2

AA.I.94; etc องฺ.อ. 1/99, ฯลฯ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 3
[172] ลีลาการสอน หรือ พุทธลีลาในการสอน หรือ เทศนาวิธี 4 (การสอนของพระพุทธเจ้าแต่ละครั้ง แม้ที่เป็นเพียงธรรมีกถา หรือการสนทนาทั่วไป ซึ่งมิใช่คราวที่มีความมุ่งหมายเฉพาะพิเศษ ก็จะดำเนินไปอย่างสำเร็จผลดีโดยมีองค์ประกอบที่เป็นคุณลักษณะ 4 ประการ - the Buddha's style or manner of teaching)
       1. สันทัสสนา (ชี้แจงให้เห็นชัด คือ จะสอนอะไร ก็ชี้แจงจำแนกแยกแยะอธิบายและแสดงเหตุผลให้ชัดเจน จนผู้ฟังเข้าใจแจ่มแจ้ง เห็นจริงเห็นจัง ดังจูงมือไปดูเห็นกับตา - elucidation and verification)
       2. สมาทปนา (ชวนใจให้อยากรับเอาไปปฏิบัติ คือ สิ่งใดควรปฏิบัติหรือหัดทำ ก็แนะนำหรือบรรยายให้ซาบซึ้งในคุณค่า มองเห็นความสำคัญที่จะต้องฝึกฝนบำเพ็ญ จนใจยอมรับ อยากลงมือทำ หรือนำไปปฏิบัติ - incitement to take upon oneself; inspiration towards the Goal)
       3. สมุตเตชนา (เร้าใจให้อาจหาญแกล้วกล้า คือ ปลุกเร้าใจให้กระตือรือร้น เกิดความอุตสาหะ มีกำลังใจแข็งขัน มั่นใจที่จะทำให้สำเร็จจงได้ สู้งาน ไม่หวั่นระย่อไม่กลัวเหนื่อย ไม่กลัวยาก - urging; encouragement; animation; filling with enthusiasm)
       4. สัมปหังสนา (ปลอบชโลมใจให้สดชื่นร่าเริง คือ บำรุงจิตให้แช่มชื่นเบิกบาน โดยชี้ให้เห็นผลดีหรือคุณประโยชน์ที่จะได้รับและทางที่จะก้าวหน้าบรรลุผลสำเร็จยิ่งขึ้นไป ทำให้ผู้ฟังมีความหวังและร่าเริงเบิกบานใจ - gladdening; exhilaration; filling with delight and joy)

       อรรถกถาชี้แจงเพิ่มเติมว่า ข้อ 1 ปลดเปลื้องความเขลาหรือความมืดมัว ข้อ 2 ปลดเปลื้องความประมาท ข้อ 3 ปลดเปลื้องความอืดคร้าน ข้อ 4 สัมฤทธิ์ การปฏิบัติ จำ 4 ข้อนี้สั้นๆ ว่า ชี้ให้ชัด ชวนให้ปฏิบัติ เร้าให้กล้า ปลุกให้ร่าเริง หรือ แจ่มแจ้ง จูงใจ แกล้วกล้า ร่าเริง

D.I.126; ete.;
DA.II.473;
UdA.242,361, 384
ที.สี. 9/198/161; ฯลฯ,
ที.อ. 2/89;
อุ.อ. 304,457,490


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=เทศนา
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%E0%B7%C8%B9%D2


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]