ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ปาติโมกข์ ”             ผลการค้นหาพบ  4  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 4
[97] พุทธโอวาท 3 (ประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นหลักใหญ่ 3 ข้อ — the Three Admonitions or Exhortations of the Buddha)
       1. สพฺพปาปสฺส อกรณํ (ไม่ทำความชั่วทั้งปวง — not to do any evil)
       2. กุสลสฺสูปสมฺปทา (ทำแต่ความดี — to do good; to cultivate good)
       3. สจิตฺตปริโยทปนํ (ทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์ — to purify the mind)

       หลัก 3 ข้อนี้ รวมอยู่ในโอวาทปาติโมกข์ ที่ทรงแสดงในวันเพ็ญ เดือน 3 ที่บัดนี้เรียกว่า วันมาฆบูชา

D.II.49;
Dh.183
ที.ม. 10/54/57;
ขุ.ธ. 25/24/39.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 4
[222] นวกภิกขุธรรม 5 (ธรรมที่ควรฝึกสอนภิกษุบวชใหม่ให้ประพฤติ ปฏิบัติอย่างมั่นคง, องค์แห่งภิกษุใหม่ — qualities of a newly ordained monk; qualities which should be established in newly ordained monks)
       1. ปาติโมกขสังวร (สำรวมในพระปาติโมกข์ รักษาศีลเคร่งครัด ทั้งในส่วนเว้นข้อห้าม และทำตามข้ออนุญาต — restraint in accordance with the monastic code of discipline; self-control strictly in accordance with the fundamental training-rules)
       2. อินทรีย์สังวร (สำรวมอินทรีย์ มีสติระวังรักษาใจ มิให้กิเลสคือความยินดี ยินร้ายเข้าครอบงำ ในเมื่อรับรู้อารมณ์ด้วยอินทรีย์ทั้ง 6 มีเห็นรูปด้วยตาเป็นต้น — restraint of the senses; sense-control)
       3. ภัสสปริยันตะ (พูดคุยมีขอบเขต คือ จำกัดการพูดคุยให้น้อย รู้ขอบเขต ไม่เอิกเกริกเฮฮา — restraint as regards talking)
       4. กายวูปกาสะ (ปลีกกายอยู่สงบ คือ เข้าอยู่ในเสนาสนะอันสงัด — seclusion as to the body; love of solitude)
       5. สัมมาทัสสนะ (ปลูกฝังความเห็นชอบ คือ สร้างเสริมสัมมาทิฏฐิ — cultivation of right views.)

A.III 138. องฺ.ปญฺจก. 22/114/156

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 4
[243] สังวร 5 (ความสำรวม, ความระวังปิดกั้นบาปอกุศล — restraint)
       สังวรศีล (ศีลสังวร, ความสำรวมเป็นศีล — virtue as restraint) ได้แก่ สังวร 5 อย่าง คือ
       1. ปาฏิโมกขสังวร (สำรวมในปาฏิโมกข์ คือ รักษาสิกขาบทเคร่งครัดตามที่ทรงบัญญัติไว้ในพระปาติโมกข์ — restraint by the monastic code of discipline)
       2. สติสังวร (สำรวมด้วยสติ คือ สำรวมอินทรีย์มีจักษุเป็นต้น ระวังรักษามิให้บาปอกุศลเข้าครอบงำ เมื่อเห็นรูป เป็นต้น — restraint by mind—fulness) = อินทรียสังวร
       3. ญาณสังวร (สำรวมด้วยญาณ คือ ตัดกระแสกิเลสมีตัณหาเป็นต้นเสียได้ ด้วยใช้ปัญญาพิจารณา มิให้เข้ามาครอบงำจิต ตลอดถึงรู้จักพิจารณาเสพปัจจัยสี่ — restraint by knowledge) = ปัจจัยปัจจเวกขณ์
       4. ขันติสังวร (สำรวมด้วยขันติ คือ อดทนต่อหนาว ร้อน หิว กระหาย ถ้อยคำแรงร้าย และทุกขเวทนาต่างๆ ได้ ไม่แสดงความวิการ — restraint by patience)
       5. วิริยสังวร (สำรวมด้วยความเพียร คือ พยายามขับไล่ บรรเทา กำจัดอกุศลวิตกที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไปเป็นต้น ตลอดจนละมิจฉาชีพ เพียรแสวงหาปัจจัยสี่เลี้ยงชีวิตด้วยสัมมาชีพ ที่เรียกว่าอาชีวปาริสุทธิ — restraint by energy) = อาชีวปาริสุทธิ.

       ในคัมภีร์บางแห่งที่อธิบายคำว่าวินัย แบ่งวินัยเป็น 2 คือ สังวรวินัย กับ ปหานวินัย และจำแนกสังวรวินัยเป็น 5 มีแปลกจากนี้เฉพาะข้อที่ 1 เป็น สีลสังวร. (ดู สุตฺต.อ. 1/9; สงฺคณี.อ. 505; SnA.8; DhsA.351)

Vism.7;
PsA.14,447;
VbhA.330.
วิสุทฺธิ. 1/8;
ปฏิสํ.อ. 16;
วิภงฺค.อ. 429

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 4
[322] เถรธรรม 10 (คุณธรรมที่ทำให้พระเถระอยู่สำราญในที่ทุกสถาน — qualities which make for happy living of an elder monk)
       1. เถโร รัตตัญญู (เป็นผู้ใหญ่ บวชนาน รู้เห็นกิจการ ทรงจำเรื่องราวไว้ได้มาก — to be an elder monk of long experience)
       2. สีลวา (มีศีล เคร่งครัดในสิกขาบททั้งหลาย — to be virtuous; to have good conduct)
       3. พหุสสุโต (เป็นพหูสูตทรงความรู้ — to be much learned)
       4. สวาคตปาฏิโมกโข (ทรงปาติโมกข์ รู้หลักแห่งวินัย แคล่วคล่อง ชำนิชำนาญ สามารถวินิจฉัยได้ด้วยดี — to be well versed in the codes of discipline)
       5. อธิกรณสมุปปาทวูปสมกุสโล (ฉลาดในการระงับอธิกรณ์ที่เกิดขึ้น — to be skilled in setting a legal question that has arisen)
       6. ธัมมกาโม (เป็นผู้ใคร่ธรรม รักความรู้ รักความจริง รู้จักรับฟังและรู้จักพูดทำให้เป็นที่ชื่นชมสนิทสนมสบายใจ น่าเข้าไปปรึกษาสนทนา และชอบศึกษา ยินดีปรีดาในหลักธรรมหลักวินัยที่ยิ่งๆ ขึ้นไป — to love the Doctrine, be pleasant to consult and converse with, and find joy in the advanced teaching of both the Doctrine and the Discipline)
       7. สันตุฏโฐ (เป็นผู้สันโดษด้วยปัจจัยสี่ตามมีตามได้ — to be content with whatsoever supply of the four requisites he may get)
       8. ปาสาทิโก (จะไปจะมา มีอาการกิริยาน่าเลื่อมใส แม้เข้าไปในละแวกบ้าน ก็สำรวมเป็นอันดี — to be charming and perfectly composed in his goings out and comings and in sitting in the house)
       9. ฌานลาภี (ได้แคล่วคล่องในฌาน 4 ที่เป็นเครื่องอยู่สุขสบายในปัจจุบัน — to be able to gain pleasure of the Four Absorptions)
       10. อนาสวเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ (บรรลุเจโตวิมุตติปัญญาวิมุตติ สิ้นอาสวะ — to have gained the Deliverance)

A.V.201. องฺ.ทสก. 24/98/215.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=ปาติโมกข์&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%BB%D2%B5%D4%E2%C1%A1%A2%EC&detail=on


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]