ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ เวสา ”             ผลการค้นหาพบ  2  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 2
[180] เวสารัชชะ หรือ เวสารัชชญาณ 4 (ความไม่ครั่นคร้าน, ความแกล้วกล้าอาจหาญ, พระญาณอันเป็นเหตุให้ทรงแกล้วกล้า ไม่ครั่นคร้าม - intrepidity; self-confidences)
       พระตถาคตเจ้าไม่ทรงมองเห็นว่า ใครก็ตาม จักทักท้วงพระองค์ได้โดยชอบธรรมในฐานะเหล่านี้ คือ (The Perfect One sees no grounds on which anyone can with justice make the following charges;)
       1. สัมมาสัมพุทธปฏิญญา (ท่านปฏิญญาว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ท่านยังไม่รู้ - You who claim to be fully self-enlightened are not fully enlightened in these things.)
       2. ขีณาสวปฏิญญา (ท่านปฏิญญาว่าเป็นขีณาสพ อาสวะเหล่านี้ของท่านยังไม่สิ้น - You who claim to gave destroyed all taints have not utterly destroyed these taints.)
       3. อันตรายิกธรรมวาทะ (ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าเป็นอันตราย ธรรมเหล่านั้น ไม่อาจก่ออันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง - Those things which have been declared by you to be harmful have no power to harm him that follows them.
       4. นิยยานิกธรรมเทศนา (ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็นทางนำผู้ทำตามให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบจริง - The Doctrine taught by you for the purpose of utter extinction of suffering does not lead him who acts accordingly to such a goal.)

       ด้วยเหตุนี้ พระองค์นี้จึงทรงถึงความเกษม ถึงความไม่มีภัย แกล้วกล้าไม่ครั่นคร้ามอยู่ (Since this is so, he abides in the attainment of security, of fearlessness and intrepidity.)
       เวสารัชชะ 4 นี้ คู่กับทศพล หรือ ตถาคตพล 10 (เรียกกันทั่วๆ ไปว่า ทศพลญาณ) เป็นธรรมที่ทำให้พระตถาคต ทรงปฏิญญาฐานะแห่งผู้นำ เปล่งสีหนาทในบริษัททั้งหลาย ยังพรหมจักรให้เป็นไป (Endowed with these four kinds of intrepidity, the Perfect One claims the leader's place, roars his lion's roar in assemblies, and sets rolling the Divine Wheel.)

       ดู [323] ทศพลญาณ

M.I.71;
A.II.8.
ม.มู. 12/167/144;
องฺ.จตุกฺก. 21/8/10.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 2
[237] เวสารัชชกรณธรรม 5 (ธรรมทำความกล้าหาญ, คุณธรรมที่ทำให้เกิดความแกล้วกล้า — qualities making for intrepidity)
       1. ศรัทธา (ความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในหลักที่ถือและในการดีที่ทำ — faith; confidence)
       2. ศีล (ความประพฤติถูกต้องดีงาม ไม่ผิดระเบียบวินัย ไม่ผิดศีลธรรม — good conduct; morality)
       3. พาหุสัจจะ (ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก — great learning)
       4. วิริยารัมภะ (ปรารภความเพียร คือ การที่ได้เริ่มลงมือทำความเพียรพยายามในกิจการนั้นๆ อยู่แล้วอย่างมั่นคงจริงจัง — exertion; energy)
       5. ปัญญา (ความรอบรู้ เข้าใจซึ้งในเหตุผล ดี ชั่ว ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ เป็นต้น รู้คิด รู้วินิจฉัย และรู้ที่จะจัดการ — wisdom; understanding)

A.III.127 องฺ.ปญฺจก. 22/101/144

[***] โวสสัคคะ 5 ดู [224] นิโรธ 5.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=เวสา
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%E0%C7%CA%D2


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]