ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ 8 ”             ผลการค้นหาพบ  14  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 14
[10] ฌาน 8 = รูปฌาน 4 + อรูปฌาน 4 (อรูปฌาน 4 ดู [207] อรูป 4)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 14
[57] อริยบุคคล 8 แยกเป็น มรรคสมังคี (ผู้พร้อมด้วยมรรค) 4, ผลสมังคี (ผู้พร้อมด้วยผล) 4.
       1. โสดาบัน (ท่านผู้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล — one who has entered the stream; one established in the Fruition of Stream-Entry; Stream-Enterer)
       2. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งโสดาปัตติผล (พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค — one who has worked for the realization of the Fruition of Stream-Entry; one established in the Path of Stream-Entry; one established in the Path of Stream-Entry)
       3. สกทาคามี (ท่านผู้บรรลุสกทาคามิผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิผล — one who is a Once-Returner; one established in the Fruition of Once-Returning)
       4. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งสกทาคามิผล (พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิมรรค — one who has worked for the realization of the Fruition of Once-Returning; one established in the Path of Once-Returning)
       5 อนาคามี (ท่านผู้บรรลุอนาคามิผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล — one who is a Non-Returner; one established in the Fruition of Non-Returning)
       6. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอนาคามิผล (พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค — one who has worked for the realization of the Fruition of Non-Returning; one established in the Path of Non-Returning)
       7. อรหันต์ (ท่านผู้บรรลุอรหัตตผลแล้ว, พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผล — one who is an Arahant; one established in the Fruition of Arahantship)
       8. ท่านผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งอรหัตตผล (พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค — one who has worked for the realization of the Fruition of Arahantship; one established in the Path of Arahantship)

       ทั้ง 8 ท่านนี้ ในบาลีที่มาทั้งหลายเรียกว่า ทักขิไณยบุคคล 8

       ดู [163-4] มรรค 4 ผล 4 ด้วย.

D.III.255;
A.IV. 291;
Pug 73.
ที.ปา. 11/342/267;
องฺ.อฏฺฐก. 23/149/301;
อภิ.ปุ. 36/150/233.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 14
[209] อวิชชา 8 (ความไม่รู้แจ้ง, ไม่รู้จริง - ignorance; lack of essential knowledge) 4 ข้อแรกตรงกับอวิชชา 4; ข้อ 5 - 8 ดังนี้
       5. ปุพฺพนฺเต อญฺญาณํ (ไม่รู้ในส่วนอดีต - absence of knowledge of the past)
       6. อปรนฺเต อญฺญาณํ (ไม่รู้ส่วนอนาคต - of the future)
       7. ปุพฺพนฺตาปรนฺเต อญฺญาณํ (ไม่รู้ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต - of both the past and the future)
       8. อิทปฺปจฺจยตาปฏิจฺจสมุปฺปนฺเนสุ ธมฺเมสุ อญฺญาณํ (ไม่รู้ในธรรมทั้งหลาย ที่อาศัยกันจึงเกิดมีขึ้นตามหลักอิทัปปัจจยตา - of states dependently originated according to specific conditionality)

Dhs.190.195;
Vbh.326
อภิ.สํ. 34/691/273; 712/281;
อภิ.วิ. 35/926/490.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 14
[240] ศีล 8 หรือ อัฏฐศีล (การรักษาระเบียบทางกายวาจา, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ยิ่งขึ้นไป - the Eight Precepts; training rules)
       1. ปาณาติปาตา เวรมณี (เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป - to abstain from taking life)
       2. อทินฺนาทานา เวรมณี (เว้นจากการถือเอาของที่เขามิได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย - to abstain from taking what is not given)
       3. อพฺรหฺมจริยา เวรมณี (เว้นจากกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์, เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือร่วมประเวณี - to abstain from unchastity)
       4. มุสาวาทา เวรมณี (เว้นจากการพูดเท็จ - to abstain from false speech)
       5. สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี (เว้นจากน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท - to abstain from intoxicants causing heedlessness)
       6. วิกาลโภชนา เวรมณี (เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือตั้งแต่เที่ยงแล้วไป จนถึงรุ่งอรุณของวันใหม่ - to abstain from untimely eating)
       7. นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนมาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณี (เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ การทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้ ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง - to abstain from dancing, singing, music and unseemly shows, from wearing garlands, smartening with scents, and embellishment with unguents)
       8. อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี (เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่หรูหราฟุ่มเฟือย - to abstain from the use of high and large luxurious couches)

       คำสมาทาน ให้เติม สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ต่อท้ายทุกข้อ แปลเพิ่มว่า “ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจาก ... หรือ ข้าพเจ้าขอถือข้อปฏิบัติในการฝึกฝนตนเพื่องดเว้นจาก ...”
       ศีล 8 นี้ สมาทานรักษาพิเศษในวันอุโบสถ เรียกว่า อุโบสถ (the Observances) หรือ อุโบสถศีล (precepts to be observed on the Observance Day)

A.IV.248. องฺ.อฏฺฐก. 23/131/253

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 14
[241] ศีล 8 ทั้งอาชีวะ หรือ อาชีวัฏฐมกศีล (ศีลมีอาชีวะเป็นคำรบ 8, หลักความประพฤติรวมทั้งอาชีวะที่บริสุทธิ์ด้วยเป็นข้อที่ 8 - virtue having livelihood as eight; the set of eight precepts of which pure livelihood is the eighth)
       1. - 7. ตรงกับ กุศลกรรมบถ 7 ข้อต้น (กายกรรม 3 วจีกรรม 4)
       8. สัมมาอาชีวะ

       อาชีวัฏฐมกศีลนี้ เป็นศีลส่วนอาทิพรหมจรรย์ คือ เป็นหลักความประพฤติเบื้องต้นของพรหมจรรย์ กล่าวคือ มรรค เป็นสิ่งที่ต้องประพฤติให้บริสุทธิ์ในขั้นต้นของการดำเนินตามอริยอัฏฐังคิกมรรค
       ว่าโดยสาระ อาชีวัฏฐมกศีล ก็คือ องค์มรรค 3 ข้อ ในหมวดศีล คือข้อที่ 3, 4, 5 ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ นั่นเอง

       ดู [293] มรรคมีองค์ 8; [319] กุศลกรรมบถ 10; [320] กุศลกรรมบถ 10

Vism.11. วิสุทธิ. 1/13

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 14
อัฏฐกะ - หมวด 8
Groups of Eight
(including related groups)
[***] ฌาน 8 ดู [10] ฌาน 8.

[293] มรรคมีองค์ 8 หรือ อัฏฐังคิกมรรค (เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า “ทางมีองค์ 8 ประการ อันประเสริฐ” — the noble Eightfold Path); องค์ 8 ของมรรค (มัคคังคะ — factors or constituents of the Path) มีดังนี้
       1. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ 4 หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท — Right View; Right Understanding)
       2. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัป อพยาบาทสังกัป อวิหิงสาสังกัป — Right Thought) ดู [69] กุศลวิตก 3
       3. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต 4 — Right Speech)
       4. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต 3 — Right Action)
       5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ — Right Livelihood)
       6. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน 4 — Right Effort)
       7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 — Right Mindfulness)
       8. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน 4 — Right Concentration)

       องค์ 8 ของมรรค จัดเข้าในธรรมขันธ์ 3 ข้อต้น คือ ข้อ 3-4-5 เป็น ศีล ข้อ 6-7-8 เป็น สมาธิ ข้อ 1-2 เป็น ปัญญา ดู [124] สิกขา 3; [204] อริยสัจจ์ 4; และหมวดธรรมที่อ้างถึงทั้งหมด
       มรรคมีองค์ 8 นี้ ได้ชื่อว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง เพราะเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดับทุกข์ ปลอดปัญหา ไม่ติดข้องในที่สุดทั้งสอง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค ดู [15] ที่สุด 2

D.II.321;
M.I.61;
M,III.251;
Vbh.235.
ที.ม. 10/299/348;
ม.มู. 12/149/123;
ม.อุ. 14/704/453;
อภิ.วิ. 35/569/307.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 14
[294] ลักษณะตัดสินธรรมวินัย 8 หรือ หลักกำหนดธรรมวินัย 8 (criteria of the Doctrine and the Discipline)
       ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อ
       1. วิราคะ คือ ความคลายกำหนัด, ความไม่ติดพัน เป็นอิสระ (detachment; dispassionateness) มิใช่เพื่อความกำหนัดย้อมใจ, การเสริมความติด
       2. วิสังโยค คือ ความหมดเครื่องผูกรัด, ความไม่ประกอบทุกข์ (release from bondage) มิใช่เพื่อผูกรัด หรือประกอบทุกข์
       3. อปจยะ คือ ความไม่พอกพูนกิเลส (dispersion of defilements) มิใช่เพื่อพอกพูนกิเลส
       4. อัปปิจฉตา คือ ความอยากอันน้อย, ความมักน้อย (wanting little) มิใช่เพื่อความอยากอันใหญ่, ความมักใหญ่ หรือมักมากอยากใหญ่
       5. สันตุฏฐี คือ ความสันโดษ (contentment) มิใช่เพื่อความไม่สันโดษ
       6. ปวิเวก คือ ความสงัด (seclusion; solitude) มิใช่เพื่อความคลุกคลีอยู่ในหมู่
       7. วิริยารัมภะ คือ การประกอบความเพียร (energy; exertion) มิใช่เพื่อความเกียจคร้าน
       8. สุภรตา คือ ความเลี้ยงง่าย (being easy to support) มิใช่เพื่อความเลี้ยงยาก

       ธรรมเหล่านี้ พึงรู้ว่าเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุสาสน์ คือคำสอนของพระศาสดา; หมวดนี้ ตรัสแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี

Vin.II.259;
A.IV.280.
วินย. 7/523/331;
องฺ.อฏฺฐก. 23/143/289.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 14
[296] โลกธรรม 8 (ธรรมดาของโลก, เรื่องของโลก, ความเป็นไปตามคติธรรมดาซึ่งหมุนเวียนมาหาสัตว์โลกและสัตวโลกก็หมุนเวียนตามมันไป — worldly conditions; worldly vicissitudes)
       1. ลาภ (ได้ลาภ, มีลาภ — gain)
       2. อลาภ (เสื่อมลาภ, สูญเสีย — loss)
       3. ยส (ได้ยศ, มียศ — fame; rank; dignity)
       4. อยส (เสื่อมยศ — obscurity)
       5. นินทา (ติเตียน — blame)
       6. ปสังสา (สรรเสริญ — praise)
       7. สุข (ความสุข — happiness)
       8. ทุกข์ (ความทุกข์ — pain)

       โดยสรุปเป็น 2 คือ ข้อ 1-3-6-7 เป็น อิฏฐารมณ์ คือ ส่วนที่น่าปรารถนา; ข้อที่เหลือเป็น อนิฏฐารมณ์ คือ ส่วนที่ไม่น่าปรารถนา
       โลกธรรมเหล่านี้ ย่อมเกิดขึ้นทั้งแก่ปุถุชนผู้มิได้เรียนรู้ และแก่อริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ ต่างกันแต่ว่า คนพวกแรกย่อมไม่รู้เห็นเข้าใจตามความเป็นจริง ลุ่มหลง ยินดียินร้าย ปล่อยให้โลกธรรมเข้าครอบงำย่ำยีจิต ฟูยุบเรื่อยไปไม่พ้นจากทุกข์ มีโสกะ ปริเทวะ เป็นต้น ส่วนอริยสาวกผู้ได้เรียนรู้ พิจารณาเห็นตามเป็นจริง ว่าสิ่งเหล่านี้อย่างใดก็ตามที่เกิดขึ้นแก่ตน ล้วนไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา ไม่หลงใหลมัวเมาเคลิ้มไปตามอิฏฐารมณ์ ไม่ขุ่นมัวหม่นหมอง คลุ้มคลั่งไปในเพราะอนิฏฐารมณ์ มีสติดำรงอยู่ เป็นผู้ปราศจากทุกข์ มีโสกะ ปริเทวะ เป็นต้น

A.IV.157. องฺ.อฏฺฐก. 23/96/159

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 14
[297] วิชชา 8 (ความรู้แจ้ง, ความรู้วิเศษ — supernormal knowledge)
       1. วิปัสสนาญาณ (ญาณในวิปัสสนา, ญาณที่เป็นวิปัสสนา คือปัญญาที่พิจารณาเห็นสังขารคือนามรูปโดยไตรลักษณ์ มีต่างกันออกไปเป็นชั้นๆ ต่อเนื่องกัน — insight-knowledge)
       2. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ, ฤทธิ์ทางใจ คือ นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ ดุจชักไส้จากหญ้าปล้อง ชักดาบจากฝัก หรือชักงูออกจากคราบ — mind-made magical power)
       3. อิทธิวิธา หรือ อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้ — supernormal powers)
       4. ทิพพโสต (หูทิพย์ — divine ear)
       5. เจโตปริยญาณ (ความรู้ที่กำหนดใจผู้อื่นได้ — penetration of the minds of others)
       6. ปุพเพนิวาสานุสสติ (ระลึกชาติได้ — remembrance of former existences)
       7. ทิพพจักษุ (ตาทิพย์ — divine eye)
       8. อาสวักขยญาณ (ความรู้ที่ทำให้สิ้นอาสวะ — knowledge of the exhaustion of mental intoxicants)

       ข้อที่ 2 โดยมากจัดเข้าในข้อที่ 3 ด้วย ข้อที่ 3 ถึง 8 (6 ข้อท้าย) ตรงกับอภิญญา 6. ดู [106] วิชชา 3; [274] อภิญญา 6; [311] วิปัสสนาญาณ 9.

D.I.76-84; M.II.17. ที.สี. 9/131-138/101-112.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 14
[298] วิโมกข์ 8 (ความหลุดพ้น, ภาวะที่จิตปลอดพ้นจากสิ่งรบกวนและน้อมดิ่งเข้าไปในอารมณ์นั้นๆ อย่างปล่อยตัวเต็มที่ ซึ่งเป็นไปในขั้นตอนต่างๆ — liberations; the eight stages of release)
       1. ผู้มีรูป มองเห็นรูปทั้งหลาย (ได้แก่ รูปฌาน 4 ของผู้ได้ฌานโดยเจริญกสิณที่กำหนดวัตถุในกายของตน เช่น สีผม — Remaining in the fine-material sphere, one perceives corporeal forms.)
       2. ผู้มีอรูปสัญญาภายใน มองเห็นรูปทั้งหลายภายนอก (ได้แก่ รูปฌาน 4 ของผู้ได้ฌานโดยเจริญกสิณกำหนดอารมณ์ภายนอก — Not perceiving internal corporeal forms, one perceives corporeal forms externally)
       3. ผู้น้อมใจดิ่งไปว่า “งาม” (ได้แก่ ฌานของผู้เจริญวรรณกสิณ กำหนดสีที่งามหรือเจริญอัปปมัญญา — One is intent on the thought, ‘It is beautiful’.)
       4. เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจนานัตตสัญญา จึงเข้าถึงอากาสานัญจายตนะ โดยมนสิการว่า อากาศหาที่สุดมิได้ (One attains and abides in the Sphere of Unbounded Space.)
       5. เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงวิญญาณัญจายตนะ โดยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ (One attains and abides in the Sphere of Unbounded Consciousness.)
       6. เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงอากิญจัญญายตนะ โดยมนสิการว่า ไม่มีอะไรเลย (One attains and abides in the Sphere of Nothingness.)
       7. เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ (One attatins and abides in the Sphere of Neither-Perception-Nor-Nonperception.)
       8. เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงเข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ (One attains and abides in the cessation of Perception and Feeling.)

D.III.262, 288;
A.IV.306.
ที.ปา. 11/350/276; 453/328;
องฺ.อฏฺฐก. 23/163/315.

[***] ศีล 8 ดู [240] ศีล 8.
[***] ศีล 8 ทั้งอาชีวะ ดู [241] ศีล 8 ทั้งอาชีวะ.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 14
[299] สมาบัติ 8 (คุณวิเศษเป็นที่อันบุคคลเข้าถึง หรือ ธรรมวิเศษที่ควรเข้าถึง, การบรรลุขั้นสูง — attainment) ได้แก่ ฌาน 8 คือ รูปฌาน 4 และ อรูปฌาน 4

       ดู [9] ฌาน 4; [10] ฌาน 8; [207] อรูป 4.

Ps.I.20 ขุ.ปฏิ. 31/60/34

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 14
[300] สัปปุริสทาน 8 (ทานของสัตบุรุษ, การให้อย่างสัตบุรุษ — gifts of a good man)
       1. สุจึ เทติ (ให้ของสะอาด — to give clean things)
       2. ปณีตํ เทติ (ให้ของประณีต — to give choice things)
       3. กาเลน เทติ (ให้เหมาะกาล ให้ถูกเวลา — to give at fitting times)
       4. กปฺปิยํ เทติ (ให้ของสมควร ให้ของที่ควรแก่เขา ซึ่งเขาจะใช้ได้ — to give proper things)
       5. วิเจยฺย เทติ (พิจารณาเลือกให้ ให้ด้วยวิจารณญาณ เลือกของ เลือกคนที่จะให้ ให้เกิดผลเกิดประโยชน์มาก — to give with discretion)
       6. อภิณฺหํ เทติ (ให้เนืองนิตย์ ให้ประจำ หรือสม่ำเสมอ — to give repeatedly or regularly)
       7. ททํ จิตฺตํ ปสาเทติ (เมื่อให้ ทำจิตผ่องใส — to calm one’s mind on giving)
       8. ทตฺวา อตฺตมโน โหติ (ให้แล้ว เบิกบานใจ — to be glad after giving)

A.IV.243 องฺ.อฏฺฐก. 23/127/248.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 14
[301] สัปปุริสธรรม 8 (ธรรมของสัตบุรุษ, ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ, คุณสมบัติของคนดี — qualities of a good man)
       1. สัทธัมมสมันนาคโต (ประกอบด้วยสัทธรรม 7 ประการ — to be endowed with the seven virtues) คือ
           ก. มีศรัทธา — to have confidence
           ข. มีหิริ — to have moral shame
           ค. มีโอตตัปปะ — to have moral fear
           ง. เป็นพหูสูต — to be much learned
           จ. มีความเพียรอันปรารภแล้ว — to be of stirred up energy
           ฉ. มีสติมั่นคง — to have established mindfulness
           ช. มีปัญญา — to have wisdom
       2. สัปปุริสภัตตี (ภักดีสัตบุรุษ คือ คบหาสมณพราหมณ์ ท่านผู้ประกอบด้วยสัทธรรม 7 ประการข้างต้น เป็นมิตรสหาย — to consort with good men)
       3. สัปปุริสจินตี (คิดอย่างสัตบุรุษ คือ จะคิดสิ่งใด ก็ไม่คิดเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น — to think as do good men)
       4. สัปปุริสมันตี (ปรึกษาอย่างสัตบุรุษ คือ จะปรึกษาการใด ก็ไม่ปรึกษาเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่น — to consult as do good men)
       5. สัปปุริสวาโจ (พูดอย่างสัตบุรุษ คือ พูดแต่คำที่ถูกต้องตามวจีสุจริต 4 — to speak as do good men)
       6. สัปปุริสกัมมันโต (ทำอย่างสัตบุรุษ คือ ทำการที่ถูกต้องตามกายสุจริต 4 — to act as do good men)
       7. สัปปุริสทิฏฐิ (มีความเห็นอย่างสัตบุรุษ คือ มีสัมมาทิฏฐิ เช่นว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น — to have the views of good men)
       8. สัปปุริสทานัง เทติ (ให้ทานอย่างสัตบุรุษ คือ ให้ตามหลักสัปปุริสทาน เช่น ให้โดยเอื้อเฟื้อทั้งแต่ของที่ตัวให้ทั้งแก่ผู้รับทาน ให้ของบริสุทธิ์ ให้โดยเข้าใจถึงผลที่จะมีตามมา เป็นต้น — to give a gift as do good men)

       บางทีเรียกว่า สัปปุริสธรรม 7 เพราะนับเฉพาะสัทธรรม 7 ในข้อ 1

M.III.23. ม.อุ. 14/143/112

[***] หลักตัดสินธรรมวินัย 8 ดู [294] ลักษณะตัดสินธรรมวินัย 8.
[***] อริยบุคคล 8 ดู [57] อริยบุคคล 8.
[***] อริยอัฏฐังคิกมรรค ดู [293] มรรคมีองค์ 8.
[***] อวิชชา 8 ดู [209] อวิชชา 8.
[***] อาชีวัฏฐมกศีล ดู [241] ศีล 8 ทั้งอาชีวะ.
[***] อุโบสถศีล ดู [240] ศีล 8.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 14
[356] จิต 89 หรือ 121 (ธรรมชาติที่รู้อารมณ์, สภาพที่นึกคิด, ความคิด, ใจ, วิญญาณ — mind; thought; consciousness; a state of consciousness)
       “จิต” มีไวพจน์ คือ คำที่ต่างเพียงรูป แต่มีความหมายเหมือนกันหรือคล้ายกัน ใช้แทนกันได้หลายคำ เช่น มโน มานัส หทัย บัณฑร มนายตนะ มนินทรีย์ และ วิญญาณ เป็นต้น (อภิ.สํ. 34/21/10; ฯลฯ) คำเหล่านี้มีความหมายเกยกัน มิใช่ตรงกันโดยสมบูรณ์ ใช้แทนกันได้ในบางโอกาส มิใช่เสมอไป
       เมื่อจัดแบ่งสภาวธรรมทั้งหลายเป็นประเภทๆ ที่เรียกว่า ขันธ์ 5 จิตได้แก่ วิญญาณขันธ์ แต่ในคัมภีร์อภิธรรมยุคต่อมา นิยมประมวลสภาวธรรมเข้าเป็น 4 อย่าง เรียกว่า ปรมัตถธรรม 4 จิต เป็นปรมัตถธรรมอย่างที่ 1; ดู [157] ปรมัตถธรรม 4; [216] ขันธ์ 5.
       คัมภีร์อภิธรรมรุ่นอรรถกถา ประมวลเรื่องจิตที่แสดงไว้ในพระอภิธรรมปิฎกแล้ว แจงนับสภาพจิตทั้งหลายไว้ว่ามีจำนวน 89 หรือโดยพิสดารมี 121 เรียกว่า จิต 89 หรือ 121
       เบื้องต้นนี้ จะประมวลจิตทั้งหมดไว้เป็นหมวดหมู่ใหญ่ๆ ก่อน เพื่อสะดวกในการศึกษากำหนดจดจำและทบทวนต่อไป ในที่นี้ พึงทราบวิธีจำแนกประเภท 2 แบบ เปรียบเทียบกัน ดังนี้ *
----------------------------------------------
* ท่านเรียบเรียงเป็นคาถาสรุปความไว้ ดังนี้
               ทฺวาทสากุสลาเนว กุสลาเนกวีสติ
               ฉตฺตึเสว วิปากานิ กฺริยาจิตฺตานิ วีสติ ฯ
               จตุปญฺญาสธา กาเม รูเป ปณฺณรสีริเย
               จิตฺตานิ ทฺวาทสารูเป อฏฺฐธานุตฺตเร ตถา ฯ
               อิตฺถเมกูนนวุติปฺ ปเภทํ ปน มานสํ
               เอกวีสสตํ วาถ วิภชนฺติ วิจกฺขณา ฯ

       ก. โดยชาติประเภท
           1. อกุศลจิต 12
               - โลภมูลจิต 8
               - โทสมูลจิต 2
               - โมหมูลจิต 2
           2. กุศลจิต 21 (37)
               - มหากุศลจิต 8
               - รูปาวจรกุศลจิต 5
               - อรูปาวจรกุศลจิต 4
               - โลกุตตรกุศลจิต 4 (20)
           3. วิปากจิต 36 (52)
               - อกุศลวิบากจิต 7
               - กุศลวิบากอเหตุกจิต 8
               - มหาวิบากจิต 8
               - รูปาวจรวิบากจิต 5
               - อรูปาวจรวิบากจิต 4
               - โลกุตตรวิบากจิต 4 (20)
           4. กิริยาจิต 20
               - อเหตุกกิริยาจิต 3
               - มหากิริยาจิต 8
               - รูปาวจรกิริยาจิต 5
               - อรูปาวจรกิริยาจิต 4

       ข. โดยภูมิประเภท
           1. กามาวจรจิต 54
               1) อกุศลจิต 12
                      - โลภมูลจิต 8
                      - โทสมูลจิต 2
                      - โมหมูลจิต 2
               2) อเหตุกจิต 18
                      - อกุศลวิบากจิต 7
                      - กุศลวิบากอเหตุกจิต 8
                      - อเหตุกกิริยาจิต 3
               3) กามาวจรโสภณจิต 24
                      - มหากุศลจิต 8
                      - มหาวิบากจิต 8
                      - มหากิริยาจิต 8
           2. รูปาวจรจิต 15
               1) รูปาวจรกุศลจิต 5
               2) รูปาวจรวิบากจิต 5
               3) รูปาวจรกิริยาจิต 5
           3. อรูปาวจรจิต 12
               1) อรูปาวจรกุศลจิต 4
               2) อรูปาวจรวิบากจิต 4
               3) อรูปาวจรกิริยาจิต 4
           4. โลกุตตรจิต 8 (x ฌาน 5 = 40)
               1) โลกุตตรกุศลจิต 4 (20)
               2) โลกุตตรวิบากจิต 4 (20)

       หมายเหตุ : ตัวเลขในวงเล็บ ( ) หมายถึงจำนวนอย่างพิสดาร เมื่อนับจิตเป็น 121 (พึงสังเกตว่าจำนวนจะเพิ่มเฉพาะ โลกุตตรจิต อย่างเดียว คือ โลกุตตรจิต อย่างย่อมี 8 อย่างพิสดารจำแนกออกไปตามฌานทั้ง 5 เป็น 40)

       ต่อไปจะแสดง จิต 89 [122] ตามแบบภูมิประเภท (แบบชาติประเภทพึงกำหนดเอาจากแบบภูมิประเภทนี้ ตามหัวข้อที่แสดงไว้แล้ว)
       1. กามาวจรจิต 54 (จิตที่เป็นไปในกามภูมิ — consciousness of the Sense-Sphere)
           1) อกุศลจิต 12 (จิตอันเป็นอกุศล — immoral consciousness) อกุศลจิตมีแต่ที่เป็นกามาวจรนี้เท่านั้น คือ
               โลภมูลจิต 8 (จิตมีโลภะเป็นมูล — consc rooted in greed)
                      1. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      2. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
                      3. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      4. โสมนสฺสสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
                      5. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      6. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
                      7. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      8. อุเปกฺขาสหคตํ ทิฏฺฐิคตวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ

                      1. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีการชักนำ
                      2. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีการชักนำ
                      3. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีการชักนำ
                      4. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีการชักนำ
                      5. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีการชักนำ
                      6. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีการชักนำ
                      7. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ ไม่มีการชักนำ
                      8. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ไม่ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีการชักนำ

                      1. One consc, acc by joy, asso with wrong view, unprompted.*
* consc = consciousness; acc = accompanied; asso = associated; diss = dissociated; indif = indiffernce.

                      2. One consc, acc by joy, asso with wrong view, prompted.
                      3. One consc, acc by joy, disso from wrong view, unprompted.
                      4. One consc, acc by joy, disso from wrong view, prompted.
                      5. One consc, acc by indif, asso with wrong view, unprompted.
                      6. One consc, acc by indif, asso with wrong view, prompted.
                      7. One consc, acc by indif, disso from wrong view, unprompted.
                      8. One consc, acc by indif, disso from wrong view, prompted.

               โทสมูลจิต 2 (จิตมีโทสะเป็นมูล — consc rooted in hatred)
เรียก ปฏิฆสัมปยุตตจิต ก็ได้.

                      1. โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      2. โทมนสฺสสหคตํ ปฏิฆสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ

                      1. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโทมนัสสเวทนา ประกอบด้วยปฏิฆะ ไม่มีการชักนำ
                      2. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโทมนัสสเวทนา ประกอบด้วยปฏิฆะ มีการชักนำ

                      1. One consc, acc by grief, asso with resentment, unprompted.
                      2. One consc, acc by grief, asso with resentment, prompted.

               โมหมูลจิต หรือ โมมูหจิต 2 (จิตมีโมหะเป็นมูล — consc rooted in delusion)
                      1. อุเปกฺขาสหคตํ วิจิกิจฺฉาสมฺปยุตฺตํ
                      2. อุเปกฺขาสหคตํ อุทฺธจฺจสมฺปยุตฺตํ

                      1. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยวิจิกิจฉา
                      2. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยอุทธัจจะ

                      1. One consc, acc by indif, asso with uncertainty.
                      2. One consc, acc by indif, asso with restlessness.

           2) อเหตุกจิต 18 (จิตอันไม่มีสัมปยุตตเหตุ คือ ไม่ประกอบด้วยเหตุ 6 ได้แก่ โลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ — rootless consc)
                อกุศลวิบากจิต 7 (จิตที่เป็นผลของอกุศล — rootless resultant-of-immorality consc)
                      1. อุเปกฺขาสหคตํ จกฺขุวิญฺญาณํ
                      2. อุเปกฺขาสหคตํ โสตวิญฺญาณํ
                      3. อุเปกฺขาสหคตํ ฆานวิญฺญาณํ
                      4. อุเปกฺขาสหคตํ ชิวฺหาวิญฺญาณํ
                      5. ทุกฺขสหคตํ กายวิญฺญาณํ
                      6. อุเปกฺขาสหคตํ สมฺปฏิจฺฉนฺนํ
                      7. อุเปกฺขาสหคตํ สนฺตีรณํ

                      1. จักขุวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      2. โสตวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      3. ฆานวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      4. ชิวหาวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      5. กายวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยทุกขเวทนา
                      6. สัมปฏิจฉันนจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      7. สันตีรณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา

                      1. Eye-consc, acc by indif.
                      2. Ear-consc, acc by indif.
                      3. Nose-consc, acc by indif.
                      4. Tongue-consc, acc by indif.
                      5. Body-consc, acc by pain.
                      6. Receiving-consc, acc by indif.
                      7. Investigating-consc, acc by indif.

               กุศลวิบากอเหตุกจิต 8 (จิตที่เป็นผลของกุศล ไม่มีสัมปยุตตเหตุ — rootless resultant-of-morality consc)
                      1. อุเปกฺขาสหคตํ จกฺขุวิญฺญาณํ
                      2. อุเปกฺขาสหคตํ โสตวิญฺญาณํ
                      3. อุเปกฺขาสหคตํ ฆานวิญฺญาณํ
                      4. อุเปกฺขาสหคตํ ชิวฺหาวิญฺญาณํ
                      5. สุขสหคตํ กายวิญฺญาณํ
                      6. อุเปกฺขาสหคตํ สมฺปฏิจฺฉนฺนํ
                      7. โสมนสฺสสหคตํ สนฺตีรณํ
                      8. อุเปกฺขาสหคตํ สนฺตีรณํ

                      1. จักขุวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      2. โสตวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      3. ฆานวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      4. ชิวหาวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      5. กายวิญญาณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยสุขเวทนา
                      6. สัมปฏิจฉันนจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      7. สันตีรณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา
                      8. สันตีรณจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา

                      1. Eye-consc, acc by indif.
                      2. Ear-consc, acc by indif.
                      3. Nose-consc, acc by indif.
                      4. Tongue-consc, acc by indif.
                      5. Body-consc, acc by pleasure.
                      6. Receiving-consc, acc by indif.
                      7. Investigating-consc acc by joy.
                      8. Investigating-consc, acc by indif.

               อเหตุกกริยาจิต 3 (จิตที่เป็นเพียงกิริยา ไม่มีสัมปยุตตเหตุ — rootless functional consc)
                      1. อุเปกฺขาสหคตํ ปญฺจทฺวาราวชฺชนํ
                      2. อุเปกฺขาสหคตํ มโนทฺวาราวชฺชนํ
                      3. โสมนสฺสสหคตํ หสิตุปฺปาทจิตฺตํ

                      1. ปัญจทวาราวัชชนจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      2. มโนทวาราวัชชนจิต ที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา
                      3. หสิตุปปาทจิต ที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา
----------------------------------------------
จิตที่รำพึงถึงอารมณ์ที่กระทบทวารทั้ง 5
จิตที่รำพึงถึงอารมณ์อันมาถึงคลองในมโนทวาร = โวฏฐัพพนะ
จิตที่ทำให้เกิดการแย้มยิ้มของพระอรหันต์

                      1. Five-sense-door adverting consc, acc by indif.
                      2. Mind-door adverting consc, acc by indif.
                      3. Smile-producing consc, acc by joy.

           3) กามาวจรโสภณจิต 24 (จิตดีงามที่เป็นไปในกามภูมิ — Sense-Sphere beautiful consc)
               มหากุศลจิต หรือ สเหตุกกามาวจรกุศลจิต 8 (จิตที่เป็นกุศลยิ่งใหญ่ หรือ กุศลจิตที่เป็นไปในกามภูมิ มีสัมปยุตตเหตุ — moral consc)
                      1. โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      2. โสมนสฺสสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
                      3. โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      4. โสมนสฺสสหคตํ ญาณวิปฺยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
                      5. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      6. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณสมฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ
                      7. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ
                      8. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ สสงฺขาริกํ

                      1. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ
                      2. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ
                      3. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ไม่ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ
                      4. จิตที่เกิดพร้อมด้วยโสมนัสสเวทนา ไม่ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ
                      5. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ
                      6. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ
                      7. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ไม่ประกอบด้วยปัญญา ไม่มีการชักนำ
                      8. จิตที่เกิดพร้อมด้วยอุเบกขาเวทนา ไม่ประกอบด้วยปัญญา มีการชักนำ

                      1. One consc, acc by joy, asso with knowledge, unprompted.
                      2. One consc, acc by joy, asso with knowledge, prompted.
                      3. One consc, acc by joy, diss from knowledge, unprompted.
                      4. One consc, acc by joy, diss from knowledge, prompted.
                      5. One consc, acc by indif, asso with knowledge, unprompted.
                      6. One consc, acc by indif, asso with knowledge, prompted.
                      7. One consc, acc by indif, diss from knowledge, unprompted.
                      8. One consc, acc by indif, diss from knowledge, prompted.

               มหาวิบากจิต หรือ สเหตุกกามาวจรวิบากจิต 8 (จิตอันเป็นผลของมหากุศล หรือวิบากจิตที่เป็นไปในกามภูมิ มีสัมปยุตตเหตุ — resultant consc)
                      (เหมือนกับมหากุศลจิตทุกข้อ)

               มหากิริยาจิต หรือ สเหตุกกามาวจรกริยาจิต 8 (จิตอันเป็นกริยาอย่างที่ทำมหากุศล แต่ไม่มีวิบาก ได้แก่การกระทำมหากุศลของพระอรหันต์ หรือกิริยาจิตในกามภูมิ มีสัมปยุตตเหตุ — functional consc)
                      (เหมือนกับมหากุศลจิตทุกข้อ)

       2. รูปาวจรจิต 5 (จิตอันเป็นไปในภูมิ — Form-Sphere consciousness)
           1) รูปาวจรกุศลจิต 5 (กุศลจิตที่เป็นไปในภูมิ ได้แก่จิตของผู้เข้าถึงรูปฌาน — Form-Sphere moral consc)
               1. วิตกฺกวิจารปีติสุเขกคฺคตาสหิตํ ปฐมชฺฌานกุสลจิตฺตํ
               2. วิจารปีติสุเขกคฺคตาสหิตํ ทุติยชฺฌานกุสลจิตฺตํ
               3. ปีติสุเขกคฺคตาสหิตํ ตติยชฺฌานกุสลจิตฺตํ
               4. สุเขกคฺคตาสหิตํ จตุตฺถชฺฌานกุสลจิตฺตํ
               5. อุเปกฺเขกคฺคตาสหิตํ ปญฺจมชฺฌานกุสลจิตฺตํ

               1. ปฐมฌานกุศลจิต ที่ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
               2. ทุติยฌานกุศลจิต ที่ประกอบด้วย วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา
               3. ตติยฌานกุศลจิต ที่ประกอบด้วย ปีติ สุข เอกัคคตา
               4. จตุตถฌานกุศลจิต ที่ประกอบด้วย สุข เอกัคคตา
               5. ปัญจมฌานกุศลจิต ที่ประกอบด้วย อุเบกขา เอกัคคตา

               1. First Jhana consc with initial application, sustained application, rapture, happiness and one-pointedness.
               2. Second Jhana consc with sustained application, rapture, happiness and one-pointedness.
               3. Third Jhana consc with rapture, happiness and one-pointedness.
               4. Fourth Jhana consc with happiness and one-pointedness.
               5. Fifth Jhana consc with equanimity and one-pointedness.

           2) รูปาวจรวิบากจิต 5 (วิบากจิตที่เป็นไปในรูปภูมิ คือ จิตที่เป็นผลของรูปาวจรกุศล — Form-Sphere resultant consc)
               (เหมือนกับรูปาวจรกุศลจิตทุกข้อ เปลี่ยนแต่คำท้ายเป็น วิปากจิตฺตํ)

           3) รูปาวจรกิริยาจิต 5 (กิริยาจิตที่เป็นไปในรูปภูมิ คือ จิตของพระอรหันต์ผู้กระทำรูปาวจรกุศล — Form-Sphere resultant consc)
               (เหมือนกับรูปาวจรกุศลจิตทุกข้อ เปลี่ยนแต่คำท้ายเป็น กฺริยาจิตฺตํ)

       3. อรูปาวจรจิต 12 (จิตที่เป็นไปในอรูปภูมิ — Formless-Sphere consc)
           1) อรูปาวจรกุศลจิต 4 (กุศลจิตที่เป็นไปในอรูปภูมิ ได้แก่ จิตของผู้เข้าถึงอรูปฌาน — Formless-Sphere moral consc)
               1. อากาสานญฺจายตนกุสลจิตฺตํ
               2. วิญฺญาณญฺจายตนกุสลจิตฺตํ
               3. อากิญฺจญฺญายตนกุสลจิตฺตํ
               4. เนวสญฺญานาสญฺญายตนกุสลจิตฺตํ

               1. กุศลจิตประกอบด้วยอากาสานัญจายตนฌาน
               2. กุศลจิตประกอบด้วยวิญญาณัญจายตนฌาน
               3. กุศลจิตประกอบด้วยอากิญจัญญายตนฌาน
               4. กุศลจิตประกอบด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน

               1. Moral Jhana consc dwelling on the infinity of space.
               2. Moral Jhana consc dwelling on the infinity of consciousness.
               3. Moral Jhana consc dwelling on nothingness.
               4. Moral Jhana consc wherein perception neither is nor is not.

           2) อรูปาวจรวิบากจิต (วิบากจิตที่เป็นไปในอรูปภูมิ คือ จิตที่เป็นผลของอรูปาวจรกุศล — Formless-Sphere resultant consc)
               (เหมือนกับอรูปาวจรกุศลจิตทุกข้อ เปลี่ยนแต่คำท้ายเป็น วิปากจิตฺตํ)

           3) อรูปาวจรกิริยาจิต (กิริยาจิตที่เป็นไปในอรูปภูมิ คือ จิตของพระอรหันต์ ผู้กระทำอรูปาวจรกุศล — Formless-Sphere functional consc)
               (เหมือนกับอรูปาวจรกุศลจิตทุกข้อ เปลี่ยนแต่คำท้ายเป็น กฺริยาจิตฺตํ)

       4. โลกุตตรจิต 8 หรือ 40 (จิตที่เป็นโลกุตตระ — supermundane consc)
           1) โลกุตตรกุศลจิต 4 หรือ 20 (กุศลจิตที่เป็นโลกุตตระ คือ กุศลจิตที่ทำให้ข้ามพ้นอยู่เหนือโลก — moral supermundane consc)
               1. โสตาปตฺติมคฺคจิตฺตํ
               2. สกทาคามิมคฺคจิตฺตํ
               3. อนาคามิมคฺคจิตฺตํ
               4. อรหตฺตมคฺคจิตฺตํ

               1. จิตที่ประกอบด้วยโสตาปัตติมัคคญาณ คือ กุศลจิตที่เป็นทางให้ถึงกระแสอันไหลไปสู่นิพพานธาตุ
               2. จิตที่ประกอบด้วยสกทาคามิมัคคญาณ คือ กุศลจิตที่เป็นทางให้ถึงความเป็นพระสกทาคามี
               3. จิตที่ประกอบด้วยอนาคามิมัคคญาณ คือ กุศลจิตที่เป็นทางให้ถึงความเป็นพระอนาคามี
               4. จิตที่ประกอบด้วยอรหัตตมัคคญาณ คือ กุศลจิตที่เป็นทางให้ถึงความเป็นพระอรหันต์

               1. Consc belonging to the Path of Stream-Entry.
               2. Consc belonging to the Path of Once-Returning.
               3. Consc belonging to the Path of Non-Returning.
               4. Consc belonging to the Path of Arahantship.

           อย่างพิสดาร ให้แจกมัคคจิต 4 นี้ ด้วยฌาน 5 ตามลำดับ ก็จะได้จำนวน 20 ตามตัวอย่างดังนี้
               วิตกฺกวิจารปีติสุเขกคฺคตาสหิตํ ปฐมชฺฌานโสตาปตฺติมคฺคจิตฺตํ ฯลฯ

           2) โลกุตตรวิบากจิต 4 หรือ 20 (วิบากจิตที่เป็นโลกุตตระ คือ จิตที่เป็นผลของโลกุตตรกุศล — resultant supermundane consc)
               1. โสตาปตฺติผลจิตฺตํ
               2. สกทาคามิผลจิตฺตํ
               3. อนาคามิผลจิตฺตํ
               4. อรหตฺตผลจิตฺตํ

               1. จิตที่ประกอบด้วยโสตาปัตติผลญาณ
               2. จิตที่ประกอบด้วยสกทาคามิผลญาณ
               3. จิตที่ประกอบด้วยอนาคามิผลญาณ
               4. จิตที่ประกอบด้วยอรหัตตผลญาณ

               1. Consc belonging to the Fruition of Stream-Entry.
               2. Consc belonging to the Fruition of Once-Returning.
               3. Consc belonging to the Fruition of Non-Returning.
               4. Consc belonging to the Fruition of Arahantship.

           อย่างพิสดาร ให้แจกผลจิต 4 นี้ ด้วยฌาน 5 ตามลำดับ ก็จะได้จำนวน 20 ตามตัวอย่างดังนี้
               วิตกฺกวิจารปีติสุเขกคฺคตาสหิตํ ปฐมชฺฌานโสตาปตฺติผลจิตฺตํ ฯลฯ

Comp.81-93. สงฺคห. 1-6.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=_8
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=_8


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]