ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ 8 ”             ผลการค้นหาพบ  4  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 4
[240] ศีล 8 หรือ อัฏฐศีล (การรักษาระเบียบทางกายวาจา, ข้อปฏิบัติในการฝึกหัดกายวาจาให้ยิ่งขึ้นไป - the Eight Precepts; training rules)
       1. ปาณาติปาตา เวรมณี (เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป - to abstain from taking life)
       2. อทินฺนาทานา เวรมณี (เว้นจากการถือเอาของที่เขามิได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย - to abstain from taking what is not given)
       3. อพฺรหฺมจริยา เวรมณี (เว้นจากกรรมอันมิใช่พรหมจรรย์, เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์ คือร่วมประเวณี - to abstain from unchastity)
       4. มุสาวาทา เวรมณี (เว้นจากการพูดเท็จ - to abstain from false speech)
       5. สุราเมรยมชฺชปมาทฏฺฐานา เวรมณี (เว้นจากน้ำเมา คือสุราและเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท - to abstain from intoxicants causing heedlessness)
       6. วิกาลโภชนา เวรมณี (เว้นจากการบริโภคอาหารในเวลาวิกาล คือตั้งแต่เที่ยงแล้วไป จนถึงรุ่งอรุณของวันใหม่ - to abstain from untimely eating)
       7. นจฺจคีตวาทิตวิสูกทสฺสนมาลาคนฺธวิเลปนธารณมณฺฑนวิภูสนฏฺฐานา เวรมณี (เว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง บรรเลงดนตรี ดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อพรหมจรรย์ การทัดทรงดอกไม้ ของหอม และเครื่องลูบไล้ ซึ่งใช้เป็นเครื่องประดับตกแต่ง - to abstain from dancing, singing, music and unseemly shows, from wearing garlands, smartening with scents, and embellishment with unguents)
       8. อุจฺจาสยนมหาสยนา เวรมณี (เว้นจากที่นอนอันสูงใหญ่หรูหราฟุ่มเฟือย - to abstain from the use of high and large luxurious couches)

       คำสมาทาน ให้เติม สิกฺขาปทํ สมาทิยามิ ต่อท้ายทุกข้อ แปลเพิ่มว่า “ข้าพเจ้าขอสมาทานสิกขาบท คือเจตนางดเว้นจาก ... หรือ ข้าพเจ้าขอถือข้อปฏิบัติในการฝึกฝนตนเพื่องดเว้นจาก ...”
       ศีล 8 นี้ สมาทานรักษาพิเศษในวันอุโบสถ เรียกว่า อุโบสถ (the Observances) หรือ อุโบสถศีล (precepts to be observed on the Observance Day)

A.IV.248. องฺ.อฏฺฐก. 23/131/253

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 4
[241] ศีล 8 ทั้งอาชีวะ หรือ อาชีวัฏฐมกศีล (ศีลมีอาชีวะเป็นคำรบ 8, หลักความประพฤติรวมทั้งอาชีวะที่บริสุทธิ์ด้วยเป็นข้อที่ 8 - virtue having livelihood as eight; the set of eight precepts of which pure livelihood is the eighth)
       1. - 7. ตรงกับ กุศลกรรมบถ 7 ข้อต้น (กายกรรม 3 วจีกรรม 4)
       8. สัมมาอาชีวะ

       อาชีวัฏฐมกศีลนี้ เป็นศีลส่วนอาทิพรหมจรรย์ คือ เป็นหลักความประพฤติเบื้องต้นของพรหมจรรย์ กล่าวคือ มรรค เป็นสิ่งที่ต้องประพฤติให้บริสุทธิ์ในขั้นต้นของการดำเนินตามอริยอัฏฐังคิกมรรค
       ว่าโดยสาระ อาชีวัฏฐมกศีล ก็คือ องค์มรรค 3 ข้อ ในหมวดศีล คือข้อที่ 3, 4, 5 ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ นั่นเอง

       ดู [293] มรรคมีองค์ 8; [319] กุศลกรรมบถ 10; [320] กุศลกรรมบถ 10

Vism.11. วิสุทธิ. 1/13

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 4
อัฏฐกะ - หมวด 8
Groups of Eight
(including related groups)
[***] ฌาน 8 ดู [10] ฌาน 8.

[293] มรรคมีองค์ 8 หรือ อัฏฐังคิกมรรค (เรียกเต็มว่า อริยอัฏฐังคิกมรรค แปลว่า “ทางมีองค์ 8 ประการ อันประเสริฐ” — the noble Eightfold Path); องค์ 8 ของมรรค (มัคคังคะ — factors or constituents of the Path) มีดังนี้
       1. สัมมาทิฏฐิ (เห็นชอบ ได้แก่ ความรู้อริยสัจจ์ 4 หรือ เห็นไตรลักษณ์ หรือ รู้อกุศลและอกุศลมูลกับกุศลและกุศลมูล หรือเห็นปฏิจจสมุปบาท — Right View; Right Understanding)
       2. สัมมาสังกัปปะ (ดำริชอบ ได้แก่ เนกขัมมสังกัป อพยาบาทสังกัป อวิหิงสาสังกัป — Right Thought) ดู [69] กุศลวิตก 3
       3. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ ได้แก่ วจีสุจริต 4 — Right Speech)
       4. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ ได้แก่ กายสุจริต 3 — Right Action)
       5. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ ได้แก่ เว้นมิจฉาชีพ ประกอบสัมมาชีพ — Right Livelihood)
       6. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ ได้แก่ ปธาน หรือ สัมมัปปธาน 4 — Right Effort)
       7. สัมมาสติ (ระลึกชอบ ได้แก่ สติปัฏฐาน 4 — Right Mindfulness)
       8. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ ได้แก่ ฌาน 4 — Right Concentration)

       องค์ 8 ของมรรค จัดเข้าในธรรมขันธ์ 3 ข้อต้น คือ ข้อ 3-4-5 เป็น ศีล ข้อ 6-7-8 เป็น สมาธิ ข้อ 1-2 เป็น ปัญญา ดู [124] สิกขา 3; [204] อริยสัจจ์ 4; และหมวดธรรมที่อ้างถึงทั้งหมด
       มรรคมีองค์ 8 นี้ ได้ชื่อว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง เพราะเป็นข้อปฏิบัติอันพอดีที่จะนำไปสู่จุดหมายแห่งความหลุดพ้นเป็นอิสระ ดับทุกข์ ปลอดปัญหา ไม่ติดข้องในที่สุดทั้งสอง คือ กามสุขัลลิกานุโยค และอัตตกิลมถานุโยค ดู [15] ที่สุด 2

D.II.321;
M.I.61;
M,III.251;
Vbh.235.
ที.ม. 10/299/348;
ม.มู. 12/149/123;
ม.อุ. 14/704/453;
อภิ.วิ. 35/569/307.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 4
[294] ลักษณะตัดสินธรรมวินัย 8 หรือ หลักกำหนดธรรมวินัย 8 (criteria of the Doctrine and the Discipline)
       ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อ
       1. วิราคะ คือ ความคลายกำหนัด, ความไม่ติดพัน เป็นอิสระ (detachment; dispassionateness) มิใช่เพื่อความกำหนัดย้อมใจ, การเสริมความติด
       2. วิสังโยค คือ ความหมดเครื่องผูกรัด, ความไม่ประกอบทุกข์ (release from bondage) มิใช่เพื่อผูกรัด หรือประกอบทุกข์
       3. อปจยะ คือ ความไม่พอกพูนกิเลส (dispersion of defilements) มิใช่เพื่อพอกพูนกิเลส
       4. อัปปิจฉตา คือ ความอยากอันน้อย, ความมักน้อย (wanting little) มิใช่เพื่อความอยากอันใหญ่, ความมักใหญ่ หรือมักมากอยากใหญ่
       5. สันตุฏฐี คือ ความสันโดษ (contentment) มิใช่เพื่อความไม่สันโดษ
       6. ปวิเวก คือ ความสงัด (seclusion; solitude) มิใช่เพื่อความคลุกคลีอยู่ในหมู่
       7. วิริยารัมภะ คือ การประกอบความเพียร (energy; exertion) มิใช่เพื่อความเกียจคร้าน
       8. สุภรตา คือ ความเลี้ยงง่าย (being easy to support) มิใช่เพื่อความเลี้ยงยาก

       ธรรมเหล่านี้ พึงรู้ว่าเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุสาสน์ คือคำสอนของพระศาสดา; หมวดนี้ ตรัสแก่พระนางมหาปชาบดีโคตมี

Vin.II.259;
A.IV.280.
วินย. 7/523/331;
องฺ.อฏฺฐก. 23/143/289.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=_8_
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=_8_


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]