ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ อนุต ”             ผลการค้นหาพบ  7  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 7
[73] ญาณ 3 (ความหยั่งรู้, ปรีชาหยั่งรู้ — insight; knowledge)
       1. สัจจญาณ (หยั่งรู้สัจจะ คือ ความหยั่งรู้อริยสัจ 4 แต่ละอย่างตามที่เป็นๆ ว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา — knowledge of the Truths as they are)
       2. กิจจญาณ (หยั่งรู้กิจ คือ ความหยั่งรู้กิจอันจะต้องทำในอริยสัจ 4 แต่ละอย่างว่า ทุกข์ควรกำหนดรู้ ทุกขสมุทัยควรละเสีย ทุกขนิโรธควรทำให้แจัง ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาควรเจริญ — knowledge of the functions with regard to the respective Four Noble Truths)
       3. กตญาณ (หยั่งรู้การอันทำแล้ว คือ ความหยั่งรู้ว่ากิจอันจะต้องทำในอริยสัจ 4 แต่ละอย่างนั้นได้ทำสำเร็จแล้ว — knowledge of what has been done with regard to the respective Four Noble Truths)

       ญาณ 3 ในหมวดนี้ เนื่องด้วยอริยสัจ 4 โดยเฉพาะ เรียกชื่อเต็มตามที่มาว่า ญาณทัสสนะ อันมีปริวัฏฏ์ 3 (ญาณทัสสนะมีรอบ 3 หรือ ความหยั่งรู้ หยั่งเห็นครบ 3 รอบ -- thrice-revolved knowledge and insight) หรือ ปริวัฏฏ์ 3 แห่งญาณทัสสนะ (the three aspects of intuitive knowledge regarding the Four Noble Truths)
       ปริวัฏฏ์ หรือวนรอบ 3 นี้ เป็นไปในอริยสัจทั้ง 4 รวมเป็น 12 ญาณทัสสนะนั้น จึงได้ชื่อว่ามีอาการ 12 (twelvefold intuitive insight หรือ knowing and seeing under twelve modes)

       พระผู้มีพระภาคทรงมีญาณทัสสนะตามเป็นจริงในอริยสัจ 4 ครบวนรอบ 3 มีอาการ 12 (ติปริวฏฺฏํ ทฺวาทสาการํ ยถาภูตํ ญาณทสฺสนํ) อย่างนี้แล้ว จึงปฏิญาณพระองค์ได้ว่าทรงบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว.

       ดู [205] กิจในอริยสัจ 4.

Vin.I.11;
S.V.422.
วินย. 4/16/21;
สํ.ม. 19/1670/530;
สํ.อ. 3/409.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 7
[126] อนุตตริยะ 3 (ภาวะอันยอดเยี่ยม, สิ่งที่ยอดเยี่ยม — excellent states; highest ideal; greatest good; unsurpassable experiences)
       1. ทัสสนานุตตริยะ (การเห็นอันเยี่ยม ได้แก่ ปัญญาอันเห็นธรรม หรืออย่างสูงสุดคือเห็นนิพพาน — ideal sight, supreme or unsurpassable vision)
       2. ปฏิปทานุตตริยะ (การปฏิบัติอันเยี่ยม ได้แก่ การปฏิบัติธรรมที่เห็นแล้ว กล่าวให้ง่ายหมายเอามรรคมีองค์ 8 — ideal course; supreme way)
       3. วิมุตตานุตตริยะ (การพ้นอันเยี่ยม ได้แก่ ความหลุดพ้นอันเป็นผลแห่งการปฏิบัตินั้น คือ ความหลุดพ้นจากกิเลสและทุกข์ทั้งปวง หรือนิพพาน — ideal freedom; supreme deliverance)

D.III.291;
M.I.235.
ที.ปา. 11/228/231;
ม.มู. 12/402/435.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 7
[127] อนุตตริยะ 6 (ภาวะอันเยี่ยม, สิ่งที่ยอดเยี่ยม — excellent, supreme or unsurpassable experiences)
       1. ทัสสนานุตริยะ (การเห็นอันเยี่ยม ได้แก่ การเห็นพระตถาคต และตถาคตสาวกรวมถึงสิ่งทั้งหลายที่จะให้เกิดความเจริญงอกงามแห่งจิตใจ — supreme sight)
       2. สวนานุตตริยะ (การฟังอันเยี่ยม ได้แก่ การสดับธรรมของพระตถาคต และ ตถาคตสาวก — supreme hearing)
       3. ลาภานุตตริยะ (การได้อันเยี่ยม ได้แก่ การได้ศรัทธาในพระตถาคตและตถาคตสาวก หรือการได้อริยทรัพย์ — supreme gain)
       4. สิกขานุตตริยะ (การศึกษาอันเยี่ยม ได้แก่ การฝึกอบรมในอธิศีล อธิจิต และอธิปัญญา — supreme training)
       5. ปาริจริยานุตตริยะ (การบำเรออันเยี่ยม ได้แก่ การบำรุงรับใช้พระตถาคตและตถาคตสาวก — supreme service or ministry)
       6. อนุสสตานุตตริยะ (การระลึกอันเยี่ยม ได้แก่ การระลึกถึงพระตถาคต และตถาคตสาวก — supreme memory)

       โดยสรุปคือ การเห็น การฟัง การได้ การศึกษา การช่วยรับใช้ และการรำลึกที่จะเป็นไปเพื่อความบริสุทธิ์ ล่วงพ้นโสกะปริเทวะ ดับสูญทุกข์โทมนัส เพื่อการบรรลุญายธรรม ทำให้แจ้งซึ่งนิพพาน

D.III.250,281;
A.III.284,325,452.
ที.ปา. 11/321/262; 430/307;
องฺ.ฉกฺก. 22/279/316; 301/363.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 7
[188] สังเวชนียสถาน 4 (สถานที่เป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช, สถานที่เนื่องด้วยพุทธประวัติ ซึ่งพุทธศาสนิกชนควรไปดูเพื่อเป็นเครื่องเตือนใจให้เกิดความไม่ประมาท จะได้เร่งขวนขวายประกอบกุศลกรรม และสำหรับผู้ศรัทธาจะได้จาริกไปชม เพื่อเพิ่มพูนปสาทะ กระทำสักการบูชา อันจะนำให้เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ - places apt to cause the feeling of urgency; places made sacred by the Buddha's association; places to be visited with reverence; the four Buddhist Holy Places)
       1. ชาตสถาน (ที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือ อุทยานลุมพินี - birthplace of the Buddha)
       2. อภิสัมพุทธสถาน (ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ คือ ควงโพธิ์ที่ตำบลพุทธคยา - place where the Buddha attained the Enlightenment)
       3. ธัมมจักกัปปวัตตนสถาน (ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร คือ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เรียกปัจจุบันว่า สารนาถ - place where the Buddha preached the First Sermon)
       4. ปรินิพพุตสถาน (ที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพาน คือ ที่สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา - place where the Buddha passed away into Parinibbana)

D.II.140. ที.ม. 10/131/163.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 7
[273] สารณียธรรม 6 (ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง, ธรรมเป็นเหตุที่ระลึกถึงกัน, หลักการอยู่ร่วมกัน — states of conciliation; virtues for fraternal living) สาราณียธรรม ก็ใช้
       1. เมตตากายกรรม (ตั้งเมตตากายกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยเหลือกิจธุระของผู้ร่วมคณะด้วยความเต็มใจ แสดงกิริยาอาการสุภาพ เคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง — to be amiable in deed, openly and in private)
       2. เมตตาวจีกรรม (ตั้งเมตตาวจีกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยบอกแจ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ สั่งสอน แนะนำตักเตือนด้วยความหวังดี กล่าววาจาสุภาพ แสดงความเคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง — to be amiable in word, openly and in private)
       3. เมตตามโนกรรม (ตั้งเมตตามโนกรรม ในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือตั้งจิตปรารถนาดี คิดทำสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่กัน มองกันในแง่ดี มีหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใสต่อกัน — to be amiable in thought, openly and in private)
       4. สาธารณโภคี (ได้ของสิ่งใดมาก็แบ่งปันกัน คือ เมื่อได้สิ่งใดมาโดยชอบธรรม แม้เป็นของเล็กน้อย ก็ไม่หวงไว้ผู้เดียว นำมาแบ่งปันเฉลี่ยเจือจาน ให้ได้มีส่วนร่วมใช้สอยบริโภคทั่วกัน — to share any lawful gains with virtuous fellows) ข้อนี้ ใช้ อัปปฏิวิภัตตโภคี ก็ได้
       5. สีลสามัญญตา (มีศีลบริสุทธิ์เสมอกันกับเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ มีความประพฤติสุจริตดีงาม ถูกต้องตามระเบียบวินัย ไม่ทำตนให้เป็นที่น่ารังเกียจของหมู่คณะ — to keep without blemish the rules of conduct along with one’s fellows, openly and in private)
       6. ทิฏฐิสามัญญตา (มีทิฏฐิดีงามเสมอกันเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ มีความเห็นชอบร่วมกัน ในข้อที่เป็นหลักการสำคัญที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้น สิ้นทุกข์ หรือขจัดปัญหา — to be endowed with right views along with one’s fellows, openly and in private)

       ธรรม 6 ประการนี้ มีคุณคือ เป็น สารณียะ (ทำให้เป็นที่ระลึกถึง — making others to keep one in mind) เป็น ปิยกรณ์ (ทำให้เป็นที่รัก — endearing) เป็น ครุกรณ์ (ทำให้เป็นที่เคารพ — bringing respect) เป็นไปเพื่อ ความสงเคราะห์ (ความกลมกลืนเข้าหากัน — conducing to sympathy or solidarity) เพื่อ ความไม่วิวาท (to non—quarrel) เพื่อ ความสามัคคี (to concord; harmony) และ เอกีภาพ (ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน — to unity)

D.III.245;
A.III.288-9
ที.ปา. 11/317/257;
องฺ.ฉกก. 22/282-283/321-323.

[***] อนุตตริยะ 6 ดู [127] อนุตตริยะ 6
[***] อบายมุข 6 ดู [200] อบายมุข 6.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 7
[303] พุทธคุณ 9 (คุณของพระพุทธเจ้า — virtues or attributes of the Buddha)
       อิติปิ โส ภควา (แม้เพราะอย่างนี้ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น — thus indeed is he, the Blessed One,)
       1. อรหํ (เป็นพระอรหันต์ คือ เป็นผู้บริสุทธิ์ ไกลจากกิเลส ทำลายกำแห่งสังสารจักรได้แล้ว เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ควรได้รับความเคารพบูชา เป็นต้น — holy; worthy; accomplished)
       2. สมฺมาสมฺพุทฺโธ (เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเอง — fully self-enlightened)
       3. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน (เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชา คือความรู้ และจรณะ คือความประพฤติ — perfect in knowledge and conduct)
       4. สุคโต (เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว คือ ทรงดำเนินพระพุทธจริยาให้เป็นไปโดยสำเร็จผลด้วยดี พระองค์เองก็ได้ตรัสรู้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า ทรงบำเพ็ญพุทธกิจก็สำเร็จประโยชน์ยิ่งใหญ่แก่ชนทั้งหลายในที่ที่เสด็จไป และแม้ปรินิพพานแล้ว ก็ได้ประดิษฐานพระศาสนาไว้เป็นประโยชน์แก่มหาชนสืบมา — well-gone; well-farer; sublime)
       5. โลกวิทู (เป็นผู้รู้แจ้งโลก คือ ทรงรู้แจ้งสภาวะอันเป็นคติธรรมดาแห่งโลกคือสังขารทั้งหลาย ทรงหยั่งทราบอัธยาศัยสันดานแห่งสัตวโลกทั้งปวง ผู้เป็นไปตามอำนาจแห่งคติธรรมดาโดยถ่องแท้ เป็นเหตุให้ทรงดำเนินพระองค์เป็นอิสระ พ้นจากอำนาจครอบงำแห่งคติธรรมดานั้น และทรงเป็นที่พึ่งแห่งสัตว์ทั้งหลายผู้ยังจมอยู่ในกระแสโลกได้ — knower of the worlds)
       6. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ (เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ฝึกได้ ไม่มีใครยิ่งไปกว่า คือ ทรงเป็นผู้ฝึกคนได้ดีเยี่ยม ไม่มีผู้ใดเทียมเท่า — the incomparable leader of men to be tamed)
       7. สตฺถา เทวมนุสฺสานํ (เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย — the teacher of gods and men)
       8. พุทฺโธ (เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว คือ ทรงตื่นเองจากความเชื่อถือและข้อปฏิบัติทั้งหลายที่ถือกันมาผิดๆ ด้วย ทรงปลุกผู้อื่นให้พ้นจากความหลงงมงายด้วย อนึ่ง เพราะไม่ติด ไม่หลง ไม่ห่วงกังวลในสิ่งใดๆ มีการคำนึงประโยชน์ส่วนตน เป็นต้น จึงมีพระทัยเบิกบาน บำเพ็ญพุทธกิจได้ถูกต้องบริบูรณ์ โดยถือธรรมเป็นประมาณ การที่ทรงพระคุณสมบูรณ์เช่นนี้ และทรงบำเพ็ญพุทธกิจได้เรียบร้อยบริบูรณ์เช่นนี้ ย่อมอาศัยเหตุคือความเป็นผู้ตื่นและย่อมให้เกิดผลคือทำให้ทรงเบิกบานด้วย — awakened)
       9. ภควา (ทรงเป็นผู้มีโชค คือ จะทรงทำการใด ก็ลุล่วงปลอดภัยทุกประการ หรือ เป็นผู้จำแนกแจกธรรม — blessed; analyst)

       พุทธคุณ 9 นี้ เรียกอีกอย่างว่า นวารหาทิคุณ (คุณของพระพุทธเจ้า 9 ประการ มีอรหํ เป็นต้น) บางทีเลือนมาเป็น นวรหคุณ หรือ นวารหคุณ แปลว่า คุณของพระพุทธเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ 9 ประการ

M.I.37;
A.III.285.
ม.มู. 12/95/67;
องฺ.ฉกฺก. 22/281/317.

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 7
[307] สังฆคุณ 9 (คุณของพระสงฆ์ — virtues of the Sangha; virtues or attributes of the community of noble disciples)
       1. สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ (พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดี — Of good conduct is the community of noble disciples of the Blessed One)
       2. อุชุปฏิปนฺโน (เป็นผู้ปฏิบัติตรง — of upright conduct)
       3. ญายปฏิปนฺโน (เป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง — of right conduct)
       4. สามีจิปฏิปนฺโน (เป็นผู้ปฏิบัติสมควร — of dutiful conduct; of proper conduct)
           ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺฐ ปุริสปุคฺคลา (ได้แก่ คู่บุรุษ 4 ตัวบุคคล 8 — namely, the four pairs of men, the eight types of individuals.)
           เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ (พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้ — This community of the disciples of the Blessed One is)
       5. อาหุเนยฺโย (เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ คือควรรับของที่เขานำมาถวาย — worthy of gifts)
       6. ปาหุเนยฺโย (เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ — worthy of hospitality)
       7. ทกฺขิเณยฺโย (เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา, ควรแก่ของทำบุญ — worthy of offerings)
       8. อญฺชลีกรณีโย (เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี, ควรแก่การกราบไหว้ — worthy of reverential salutation)
       9. อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส (เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก, เป็นแหล่งปลูกฝังและเผยแพร่ความดีที่ยอดเยี่ยมของโลก — the incomparable field of merit or virtue for the world)

M.I.37;
A.III.286
ม.มู. 12/95/67;
องฺ.ฉกฺก. 22/281/318.


พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=อนุต&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/d_seek.php?text=%CD%B9%D8%B5&detail=on


บันทึก  ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗,  ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๘ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๗ พ.ศ. ๒๕๓๕, พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]