ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)

ศีลธรรม
       ความประพฤติที่ดีที่ชอบ, ความประพฤติดีงาม;
       นิยมแปลกันว่า ศีลและธรรม โดยถือว่า
           ศีล หมายถึง เว้นชั่วหรือเว้นจากข้อห้าม
           ธรรม หมายถึง ประพฤติดี หรือทำตามคำแนะนำสั่งสอน,
       แต่แปลตามหลักว่า ธรรมขั้นศีล เพราะศีลเป็นธรรมอย่างหนึ่ง เช่นเดียวกับสมาธิและปัญญา (ในไตรสิกขา)
       ความประพฤติดีงามทางกายวาจา, ความประพฤติที่ดีที่ชอบ, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีวะ;
       โดยทางศัพท์ ศีลธรรม แปลว่า “ธรรมคือศีล” หมายถึง ธรรมขั้นศีล หรือธรรมในระดับศีล เพราะศีลเป็นธรรมอย่างหนึ่ง ในบรรดาธรรมภาคปฏิบัติ ๓ อย่าง คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ดังนั้นต่อจากธรรมขั้นศีล จึงมีธรรมขั้นสมาธิ และธรรมขั้นปัญญา;
       ได้มีผู้พยายามแปลศีลธรรม อีกอย่างหนึ่งว่า “ศีลและธรรม” (ถ้าแปลให้ถูกต้องจริงต้องว่าศีลและธรรมอื่นๆ คือศีลและธรรมอื่นๆ นอกจากศีล เช่น สมาธิ และปัญญา เป็นต้น เพราะศีลก็เป็นธรรมอย่างหนึ่ง)
       ถ้าแปลอย่างนี้ จะต้องเข้าใจว่า ศีลธรรม มิใช่เป็นเพียงความประพฤติดีงามเท่านั้น แต่รวมถึง สมถะวิปัสสนา ขันธ์ ๕ ปฏิจจสมุปบาท ไตรลักษณ์ เป็นต้น ด้วย


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ บรรทัดที่ ๓๐๙๔ - ๓๐๙๕.
http://84000.org/tipitaka/dic/v_line.php?A=3094&Z=3095

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]