ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ฌาน ”             ผลการค้นหาพบ  13  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 13
จตุกกัชฌาน ฌานหมวด ๔ คือ รูปฌานที่แบ่งเป็น ๔ ขั้น อย่างที่รู้จักกันทั่วไป;
       ดู ฌาน ๔;
       เทียบ ปัญจกัชฌาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 13
จตุตถฌาน ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ ละสุขเสียได้ มีแต่อุเบกขากับเอกัคคตา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 13
ฌาน การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่ เป็นอัปปนาสมาธิ, ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก;
       ฌาน ๔ คือ
           ๑. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)
           ๒. ทุติยฌาน มีองค์ ๓ (ปีติ สุข เอกัคคตา)
           ๓. ตติยฌาน มีองค์ ๒ (สุข เอกัคคตา)
           ๔. จตุตถฌาน มีองค์ ๒ (อุเบกขา เอกัคคตา);
       ฌาน ๕ ก็เหมือนอย่าง ฌาน ๔ นั่นเอง แต่ตามแบบอภิธรรม ท่านซอยละเอียดออกไป โดยเพิ่มข้อ ๒ แทรกเข้ามา คือ
           ๑. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)
           ๒. ทุติยฌาน มีองค์ ๔ (วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)
           ข้อ ๓. ๔. ๕. ตรงกับ ข้อ ๒. ๓. ๔. ในฌาน ๔ ตามลำดับ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 13
ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ปรีชากำหนดรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว และการออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ตามความเป็นจริง
       (ข้อ ๗ ในทศพลญาณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 13
ตติยฌาน ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุข กับ เอกัคคตา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 13
ทุติยฌาน ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ ละวิตก วิจารได้ คงมีแต่ ปีติ สุข อันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคคตา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 13
ปฐมฌาน ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ
       วิตก (ความตรึก)
       วิจาร (ตรอง)
       ปีติ (ความอิ่มใจ)
       สุข (ความสบายใจ)
       เอกัคคตา (ความมีอารมณ์เป็นหนึ่ง)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 13
ปัญจกัชฌาน ฌานหมวด ๕ หมายถึงรูปฌานที่ตามปกติอย่างในพระสูตรแบ่งเป็น ๔ ขั้น
       แต่ในพระอภิธรรมนิยมแบ่งซอยละเอียดออกไปเป็น ๕ ชั้น
       (ท่านว่าที่แบ่ง ๕ นี้ เป็นการแบ่งในกรณีที่ผู้เจริญฌานมีญาณไม่แก่กล้า จึงละวิตกและวิจารได้ทีละองค์);
       ดู ฌาน ๕

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 13
ปัญจมฌาน ฌานที่ ๕ ตามแบบที่นิยมในอภิธรรม
       ตรงกับฌานที่ ๔ แบบทั่วไป หรือแบบพระสูตร มีองค์ ๒ คือ อุเบกขาและเอกัคคตา;
       ดู ฌาน ๕

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 13
รูปฌาน ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์มี ๔ คือ
       ๑. ปฐมฌาน ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ
           วิตก(ตรึก)
           วิจาร(ตรอง)
           ปีติ(อิ่มใจ)
           สุข(สบายใจ)
           เอกัคคตา(จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง)
       ๒. ทุติยฌาน ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ปีติ, สุข, เอกัคคตา
       ๓. ตติยฌาน ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ สุข, เอกัคคตา
       ๔. จตุตถฌาน ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา, เอกัคคตา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 13
โลกิยฌาน ฌานโลกีย์, ฌานอันเป็นวิสัยของโลก, ฌานของผู้มีจิตยังไม่เป็นโลกุตตระ, ฌานที่ปุถุชนได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 13
องค์ฌาน (บาลี ว่า ฌานงฺค) องค์ประกอบของฌาน,
       องค์ธรรมทั้งหลายที่ประกอบกันเข้าเป็นฌานขั้นหนึ่งๆ
       เช่น ปีติ สุข เอกัคคตา รวมกันเรียกว่า ฌานที่ ๒ หรือทุติยฌาน;
       องค์ฌานทั้งหมดในฌานต่างๆ นับแยกเป็นหน่วยๆ ไม่ซ้ำกัน มีทั้งหมด ๖ อย่าง คือ
           วิตก ความตรึก
           วิจาร ความตรอง
           ปีติ ความอิ่มใจ
           สุข ความสุข
           อุเบกขา ความมีจิตเรียบสมดุลเป็นกลาง และ
           เอกัคคตา ความมีอารมณ์หนึ่งเดียว;
       ดู ฌาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 13
อรูปฌาน ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔;
       ดู อรูป


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ฌาน
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%AC%D2%B9


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]