ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ธุดงค ”             ผลการค้นหาพบ  3  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 3
ธุดงค์ องค์คุณเครื่องกำจัดกิเลส,
       ชื่อข้อปฏิบัติประเภทวัตร ที่ผู้สมัครใจจะพึงสมาทานประพฤติได้ เป็นอุบายขัดเกลากิเลส ส่งเสริมความมักน้อยสันโดษเป็นต้น มี ๑๓ ข้อคือ
       หมวดที่ ๑ จีวรปฏิสังยุต - เกี่ยวกับจีวร มี
           ๑. ปังสุกูลิกังคะ ถือใช้แต่ผ้าบังสุกุล
           ๒. เตจีวริกังคะ ใช้ผ้าเพียง ๓ ผืน;
       หมวดที่ ๒ ปิณฑปาตปฏิสังยุต - เกี่ยวกับบิณฑบาต มี
           ๓. ปิณฑปาติกังคะ เที่ยวบิณฑบาตเป็นประจำ
           ๔. สปทานจาริกังคะ บิณฑบาตตามลำดับบ้าน
           ๕. เอกาสนิกังคะ ฉันวันละครั้งเดียว
           ๖. ปัตตปิณฑิกังคะ ฉันเฉพาะในบาตร
           ๗. ขลุปัจฉาภัตติกังคะ ลงมือฉันแล้วไม่ยอมรับเพิ่ม;
       หมวดที่ ๓ เสนาสนปฏิสังยุต - เกี่ยวกับเสนาสนะมี
           ๘. อารัญญิกังคะ ถืออยู่ป่า
           ๙. รุกขมูลิกังคะ อยู่โคนไม้
           ๑๐. อัพโภกาสิกังคะ อยู่กลางแจ้ง
           ๑๑. โสสานิกังคะ อยู่ป่าช้า
           ๑๒. ยถาสันถติกังคะ อยู่ในที่แล้วแต่เขาจัดให้;
       หมวดที่ ๔ วิริยปฏิสังยุต - เกี่ยวกับความเพียร มี
           ๑๓. เนสัชชิกังคะ ถือนั่งอย่างเดียวไม่นอน
       (นี้แปลเอาความสั้นๆ ความหมายละเอียด พึงดูตามลำดับอักษรของคำนั้นๆ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 3
ปิณฑปาติกธุดงค์ องค์คุณเครื่องขจัดกิเลสแห่งภิกษุเป็นต้น ผู้ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร
       หมายถึง ปิณฑปาติกังคะ นั่นเอง

ปิณฑปาติกังคะ องค์แห่งผู้ถือเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร คือ ไม่รับนิมนต์หรือลาภพิเศษอย่างอื่นใด ฉันเฉพาะอาหารที่บิณฑบาตมาได้
       (ข้อ ๓ ใน ธุดงค์ ๑๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 3
อรัญญิกธุดงค์ องค์คุณเครื่องขจัดกิเลสของผู้ถืออยู่ในป่าเป็นวัตร
       ได้แก่ ธุดงค์ข้อ อารัญญิกังคะ


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ธุดงค
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%B8%D8%B4%A7%A4


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]