ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ มาฆ ”             ผลการค้นหาพบ  5  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 5
จาตุรงคสันนิบาต การประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔ คือ
       ๑. วันนั้นดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (เพ็ญเดือน ๓)
       ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปมาประชุมกัน โดยมิได้นัดหมาย
       ๓. พระสงฆ์เหล่านั้นทั้งหมดล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา ๖
       ๔. พระสงฆ์เหล่านั้นทั้งหมดล้วนเป็นเอหิภิกขุ
           ดู มาฆบูชา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 5
มาฆบูชา การบูชาใหญ่ในวันเพ็ญ เดือน ๓ ในโอกาสคล้ายวันประชุมใหญ่แห่งพระสาวก ซึ่งเรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต ณ พระเวฬุวัน หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ๙ เดือน ที่พระองค์ทรงแสดง โอวาทปาฏิโมกข์
       (การปลงพระชนมายุสังขาร ก็ตรงในวันนี้)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 5
มาฆมาส เดือน ๓

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 5
มาตรา กิริยากำหนดประมาณ, เครื่องวัดต่างๆ เช่นวัดขนาด จำนวน เวลา ระยะทางเป็นต้น,
       มาตราที่ควรรู้ ดังนี้
มาตราเวลา
๑๕ หรือ ๑๔ วัน เป็น ๑ ปักษ์
๒ ปักษ์ เป็น ๑ เดือน
๔ เดือน เป็น ๑ ฤดู
๓ ฤดู เป็น ๑ ปี
       (๑๔ วัน คือ ข้างแรมเดือนขาด, ๑๒ เดือนตั้งแต่เดือนอ้ายมีชื่อดังนี้;
           มาคสิรมาส, ปุสสมาส, มาฆมาส, ผัคคุณมาส, จิตตมาส, เวสาขมาส, เชฏฐมาส, อาสาฬหมาส, สาวนมาส, ภัททปทมาส หรือโปฏฐปทมาส, อัสสยุชมาส หรือปฐมกัตติกมาส, กัตติกามาส;
       ฤดู ๓ คือ
           เหมันต์ ฤดูหนาว เริ่มเดือนมาคสิระ ของเราเป็นแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒,
           คิมหะ ฤดูร้อน เริ่มเดือนจิตตะ ของเราเป็นแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔,
           วัสสานะ ฤดูฝน เริ่มเดือนสาวนะ ของเราเป็นแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘)
มาตราวัด
๗ เมล็ดข้าว เป็น ๑ นิ้ว
๑๒ นิ้ว เป็น ๑ คืบ
๒ คืบ เป็น ๑ ศอก
๔ ศอก เป็น ๑ วา
๒๕ วา เป็น ๑ อุสภะ
๘๐ อุสภะ เป็น ๑ คาวุต
๔ คาวุต เป็น ๑ โยชน์
หรือ
๔ ศอก เป็น ๑ ธนู
๕๐๐ ธนู เป็น ๑ โกสะ
๔ โกสะ เป็น ๑ คาวุต
๔ คาวุต เป็น ๑ โยชน์
มาตราตวง
๔ มุฏฐิ (กำมือ) เป็น ๑ กุฑวะ (ฟายมือ)
๒ กุฑวะ เป็น ๑ ปัตถะ (กอบ)
๒ ปัตถะ เป็น ๑ นาฬี (ทะนาน)
๔ นาฬี เป็น ๑ อาฬหก
มาตรารูปิยะ
๕ มาสก เป็น ๑ บาท
๔ บาท เป็น ๑ กหาปณะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 5
โอวาทปาฏิโมกข์ [โอ-วา-ทะ-ปา-ติ-โมก]
       หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา หรือคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
       ได้แก่ พระพุทธพจน์ ๓ คาถากึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป ผู้ไปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ พระเวฬุวนาราม ในวันเพ็ญเดือน ๓ ที่เราเรียกกันว่า วันมาฆบูชา
       (อรรถกถากล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์นี้แก่ที่ประชุมสงฆ์ตลอดมา เป็นเวลา ๒๐ พรรษา ก่อนที่จะโปรดให้สวดปาฏิโมกข์อย่างปัจจุบันนี้แทนต่อมา),
       คาถาโอวาทปาฏิโมกข์ มีดังนี้ (โอวาทปาติโมกข์ ก็เขียน)
           สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
           สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ
                          ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
                          นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
                          น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
                          สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต ฯ
           อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
           มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
           อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ
       แปล: การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๑ การบำเพ็ญแต่ความดี ๑ การทำจิตต์ของตนให้ผ่องใส ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
       ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง, พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า นิพพานเป็นบรมธรรม, ผู้ทำร้ายคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต, ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
       การไม่กล่าวร้าย ๑ การไม่ทำร้าย ๑ ความสำรวมในปาฏิโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร ๑ ที่นั่งนอนอันสงัด ๑ ความเพียรในอธิจิตต์ ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
       ที่เข้าใจกันโดยทั่วไป และจำกันได้มาก ก็คือ ความในคาถาแรกที่ว่า
           ไม่ทำชั่ว ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ผ่องใส

โอวาทปาติโมกข์ ดู โอวาทปาฏิโมกข์


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=มาฆ&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%C1%D2%A6&detail=on


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]