ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ วิญญู ”             ผลการค้นหาพบ  4  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 4
ธรรมคุณ คุณของพระธรรม มี ๖ อย่าง คือ
       ๑. สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว
       ๒. สนฺทิฏฺฐิโก อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง
       ๓. อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาล
       ๔. เอหิปสฺสิโก ควรเรียกให้มาดู
       ๕. โอปนยิโก ควรน้อมเข้ามา
       ๖. ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 4
ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ พระธรรมอันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ผู้อื่นไม่พลอยตามรู้ตามเห็นด้วย เหมือนรสอาหาร ผู้บริโภคเท่านั้นจึงจะรู้รส ผู้ไม่ได้บริโภคจะพลอยรู้รสด้วยไม่ได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 4
วิญญู ผู้รู้แจ้ง, นักปราชญ์;
       ผู้รู้ผิดรู้ชอบตามปรกติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 4
อภิณหปัจจเวกขณ์ ข้อที่ควรพิจารณาเนืองๆ,
       เรื่องที่ควรพิจารณาทุกๆ วัน มี ๕ อย่าง คือ
           ๑. ควรพิจารณาทุกวันๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้
           ๒. ว่า เรามีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไข้ไปได้
           ๓. ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้
           ๔. ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
           ๕. ว่า เรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว;
       อีกหมวดหนึ่ง สำหรับบรรพชิต แปลว่า “ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ” มี ๑๐ อย่าง
       (ปัพพชิตอภิณหปัจจเวกขณ์) คือ
           ๑. บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ว่า บัดนี้ เรามีเพศต่างจากคฤหัสถ์แล้ว
           ๒. ว่า การเลี้ยงชีพของเราเนื่องด้วยผู้อื่น
           ๓. ว่า เรามีอากัปกิริยาอย่างอื่นที่จะพึงทำ
           ๔. ว่า ตัวเราเองยังติเตียนตัวเราเองโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่
           ๕. ว่า เพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญู ใคร่ครวญแล้ว ยังติเตียนเราโดยศีลไม่ได้อยู่หรือไม่
           ๖. ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น
           ๗. ว่า เรามีกรรมเป็นของตน เราทำดีจักได้ดี เราทำชั่วจักได้ชั่ว
           ๘. ว่า วันคืนล่วงไปๆ บัดนี้เราทำอะไรอยู่
           ๙. ว่า เรายินดีในที่สงัดอยู่หรือไม่
           ๑๐. ว่า คุณวิเศษที่เราบรรลุแล้วมีอยู่หรือไม่ ที่จะทำให้เราเป็นผู้ไม่เก้อเขิน เมื่อถูกเพื่อนบรรพชิตถามในกาลภายหลัง
       (ข้อ ๑. ท่านเติมท้ายว่า อาการกิริยาใดๆ ของสมณะ เราต้องทำอาการกิริยานั้นๆ ข้อ ๒. เติมว่า เราควรทำตัวให้เขาเลี้ยงง่าย ข้อ ๓. ท่านเขียนว่า อาการกายวาจาอย่างอื่นที่เราจะต้องทำให้ดีขึ้นไปกว่านี้ยังมีอยู่อีก ไม่ใช่เพียงเท่านี้)


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=วิญญู&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%C7%D4%AD%AD%D9&detail=on


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]