ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ สมถยานิก ”             ผลการค้นหาพบ  2  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 2
สมถยานิก ผู้มีสมถะเป็นยาน หมายถึง ผู้เจริญสมถกรรมฐาน จนได้ฌานก่อนแล้วจึงเจริญวิปัสสนาต่อ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 2
อรหันต์ ผู้สำเร็จธรรมวิเศษสูงสุดในพระพุทธศาสนา, พระอริยบุคคลชั้นสูงสุด ผู้ได้บรรลุอรหัตตผล,
       พระอรหันต์ ๒ ประเภท คือ พระสุกขวิปัสสก กับพระสมถยานิก;
       พระอรหันต์ ๔ คือ
           ๑. พระสุกขวิปัสสก
           ๒. พระเตวิชชะ (ผู้ได้วิชชา ๓)
           ๓. พระฉฬภิญญะ (ผู้ได้อภิญญา ๖)
           ๔. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ (ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ๔);
       พระอรหันต์ ๕ คือ
           ๑. พระปัญญาวิมุต
           ๒. พระอุภโตภาควิมุต
           ๓. พระเตวิชชะ
           ๔. พระฉฬภิญญะ
           ๕. พระปฏิสัมภิทัปปัตตะ;
       ดู อริยบุคคล
       พระอรรถกถาจารย์แสดงความหมายของ อรหันต์ ไว้ ๕ นัย คือ
           ๑. เป็นผู้ไกล (อารกะ) จากกิเลส
               (คือห่างไกลไม่อยู่ในกระแสกิเลสที่จะทำให้มัวหมองได้เลย)
           ๒. กำจัดข้าศึก (อริ+หต) คือกิเลสหมดสิ้นแล้ว
           ๓. เป็นผู้หักคือรื้อทำลายกำ (อร+หต) แห่งสังสารจักรเสร็จแล้ว
           ๔. เป็นผู้ควร (อรห) แก่การบูชาพิเศษของเทพและมนุษย์ทั้งหลาย
           ๕. ไม่มีที่ลับ (น+รห) ในการทำบาป คือไม่มีความชั่วความเสียหายที่จะต้องปิดบัง;
       ความหมายทั้ง ๕ นี้ ตามปกติใช้อธิบายคำว่า อรหันต์ ที่เป็นพุทธคุณข้อที่ ๑;
       ดู อรหํ


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สมถยานิก&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%C1%B6%C2%D2%B9%D4%A1&detail=on


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]