ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ สังฆคุณ ”             ผลการค้นหาพบ  14  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 14
ญายปฏิปนฺโน พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง หรือปฏิบัติเป็นธรรม
       คือปฏิบัติปฏิปทาที่จะให้เกิดความรู้ หรือปฏิบัติเพื่อได้ความรู้ธรรม ปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์
       อีกนัยหนึ่งว่าปฏิบัติมุ่งธรรมเป็นใหญ่ ถือความถูกเป็นประมาณ
       (ข้อ ๓ ในสังฆคุณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 14
ทกฺขิเณยฺโย ผู้ควรแก่ทักขิณา,
       พระสงฆ์เป็นผู้ควรได้ของทำบุญ คือไทยธรรม มีอาหาร ผ้านุ่งห่ม เป็นต้น ที่มีผู้บริจาค
       (ข้อ ๗ ในสังฆคุณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 14
บริกรรมภาวนา ภาวนาขั้นต้นหรือขั้นตระเตรียม คือ กำหนดใจ โดยเพ่งดูวัตถุ หรือนึกว่าพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ เป็นต้น ซ้ำๆ อยู่ในใจ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 14
บุญเขต เนื้อนาบุญ; ดู สังฆคุณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 14
ปาหุเนยฺโย ผู้ควรแก่ของต้อนรับ, พระสงฆ์เป็นผู้ควรได้รับของต้อนรับ คือของสำหรับแขกที่ควรถวายเมื่อไปถึงบ้าน เช่น น้ำดื่ม อาหาร เป็นต้น
       (ข้อ ๖ ในสังฆคุณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 14
สงฆ์ หมู่, ชุมนุม
       1. หมู่สาวกของพระพุทธเจ้า เรียกว่า สาวกสงฆ์ ดังคำสวดในสังฆคุณ ประกอบด้วยคู่บุรุษ ๔ บุรุษบุคคล ๘ เริ่มแต่ท่านผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค จนถึงพระอรหันต์ ต่างจาก ภิกขุสงฆ์ คือ หมู่แห่งภิกษุหรือชุมนุมภิกษุ (ดูความหมาย ๒),
           ต่อมา บางทีเรียกอย่างแรกว่า อริยสงฆ์ อย่างหลังว่า สมมติสงฆ์
       2. ชุมนุมภิกษุหมู่หนึ่งตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ซึ่งสามารถประกอบสังฆกรรมได้ตามกำหนดทางพระวินัย ต่างโดยเป็นสงฆ์จตุรวรรคบ้าง ปัญจวรรคบ้าง ทศวรรคบ้าง วีสติวรรคบ้าง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 14
สังฆคุณ คุณของพระสงฆ์ (หมายถึงสาวกสงฆ์ หรือ อริยสงฆ์) มี ๙ คือ
       ๑. สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ปฏิบัติดี
       ๒. อุชุปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติตรง
       ๓. ญายปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติถูกทาง
       ๔. สามีจิปฏิปนฺโน เป็นผู้ปฏิบัติสมควร
           (ยทิทํ จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺฐปุริสปุคฺคลา ได้แก่ คู่บุรุษ ๔ ตัวบุคคล ๘
           เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคนี้)
       ๕. อาหุเนยฺโย เป็นผู้ควรแก่ของคำนับ คือควรรับของที่เขานำมาถวาย
       ๖. ปาหุเนยฺโย เป็นผู้ควรแก่การต้อนรับ
       ๗. ทกฺขิเณยฺโย เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา คือควรแก่ของทำบุญ
       ๘. อญฺชลีกรณีโย เป็นผู้ควรแก่การทำอัญชลี คือควรแก่การกราบไหว้
       ๙. อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส เป็นนาบุญอันยอดเยี่ยมของโลก คือเป็นแหล่งเพาะปลูกและเผยแพร่ความดีที่ยอดเยี่ยมของโลก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 14
สังฆานุสสติ ระลึกถึงคุณของพระสงฆ์ (ข้อ ๓ ในอนุสติ ๑๐)
       เขียนอย่างรูปเดิมในภาษาบาลีเป็น สังฆานุสสสติ;
       ดู สังฆคุณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 14
สามีจิปฏิปนฺโน พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติชอบ, ปฏิบัติสมควรได้รับสามีจิกรรม คือปฏิบัติน่าเคารพนับถือ
       (ข้อ ๔ ในสังฆคุณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 14
สุปฏิปนฺโน พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติดี คือปฏิบัติตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา ปฏิบัติไม่ถอยหลัง ปฏิบัติสอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้า ดำรงอยู่ในธรรมวินัย
       (ข้อ ๑ ในสังฆคุณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 14
อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส พระสงฆ์เป็นนาบุญอย่างยอดเยี่ยมของโลก
       เป็นแหล่งเพาะปลูกและเผยแพร่ความดีอย่างสูงสุด
       เพราะพระสงฆ์เป็นผู้บริสุทธิ์ เป็นผู้ฝึกฝนอบรมตน และเป็นผู้เผยแพร่ธรรม
       ไทยธรรมที่ถวายแก่ท่าน ย่อมมีผลอำนวยประโยชน์สุขอย่างกว้างขวางและตลอดกาลยาวนาน
       เหมือนนามีพื้นดินอันดี พืชที่หว่านไปย่อมเผล็ดผลไพบูลย์
       (ข้อ ๙ ในสังฆคุณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 14
อญฺชลีกรณีโย พระสงฆ์เป็นผู้ควรได้รับอัญชลีกรรม คือ การกราบไหว้ ประนมมือไหว้ เพราะมีความดีที่ควรแก่การไหว้ ทำให้ผู้ไหว้ผู้กราบ ไม่ต้องกระดากใจ
       (ข้อ ๘ ในสังฆคุณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 14
อาหุเนยฺโย พระสงฆ์เป็นผู้ควรได้ของคำนับ คือ เครื่องสักการะที่เขานำมาถวายในโอกาสต่างๆ
       (ข้อ ๕ ใน สังฆคุณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 14
อุชุปฏิปนฺโน พระสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติตรง
       คือ ไม่ลวงโลก ไม่มีมายาสาไถย ไม่อำพราง
       หรือดำเนินทางตรง คือ มัชฌิมาปฏิปทา
       (ข้อ ๒ ในสังฆคุณ)


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=สังฆคุณ&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%D1%A7%A6%A4%D8%B3&detail=on


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]