ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ส่อเสียด ”             ผลการค้นหาพบ  10  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 10
กุศลกรรมบถ ทางแห่งกรรมดี, ทางทำดี, ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล,
       กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติมี ๑๐ อย่าง คือ
       ก. กายกรรม ๓ ได้แก่
           ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำลายชีวิต
           ๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้
           ๓. กาเมสุมิจฉาจาร เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม
       ข. วจีกรรม ๔ ได้แก่
           ๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ
           ๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด
           ๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ
           ๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ
       ค. มโนกรรม ๓ ได้แก่
           ๘. อนภิชฌา ไม่โลภคอยจ้องอยากได้ของเขา
           ๙. อพยาบาท ไม่คิดร้ายเบียดเบียนเขา
           ๑๐. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม
       เทียบ อกุศลกรรมบถ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 10
ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากการพูดส่อเสียด, เว้นจากพูดยุยงให้เขาแตกร้าวกัน
       (ข้อ ๕ ในกุศลกรรมบถ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 10
ปิสุณาวาจา วาจาส่อเสียด, พูดส่อเสียด, พูดยุยงให้เขาแตกร้าวกัน
       (ข้อ ๕ ใน อกุศลกรรมบถ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 10
เปสุญญวาท ถ้อยคำส่อเสียด; ดู ปิสุณาวาจา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 10
มิจฉาวาจา วาจาผิด, เจรจาผิด ได้แก่
       ๑. มุสาวาท พูดปด
       ๒. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด
       ๓. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ
       ๔. สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ
       (ข้อ ๓ ในมิจฉัตตะ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 10
วจีทุจริต ประพฤติชั่วด้วยวาจา, ประพฤติชั่วทางวาจามี ๔ อย่างคือ
       ๑. มุสาวาท พูดเท็จ
       ๒. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด
       ๓. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ
       ๔. สัมผัปปลาป พูดเพ้อเจ้อ
       ดู ทุจริต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 10
วจีสุจริต ประพฤติชอบด้วยวาจา, ประพฤติชอบทางวาจา มี ๔ อย่าง คือ
       เว้นจากพูดเท็จ เว้นจากพูดส่อเสียด เว้นจากพูดคำหยาบ เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ;
       ดู สุจริต; เทียบ วจีทุจริต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 10
วัตรบท ๗ หลักปฏิบัติ หรือข้อที่ถือปฏิบัติประจำ ๗ อย่าง ที่ทำให้มฆมาณพได้เป็นท้าวสักกะหรือพระอินทร์คือ
       ๑. มาตาเปติภโร เลี้ยงมารดาบิดา
       ๒. กุเลเชฏฺฐาปจายี เคารพผู้ใหญ่ในตระกูล
       ๓. สณฺหวาโจ พูดคำสุภาพอ่อนหวาน
       ๔. อปิสุณวาโจ หรือ เปสุเณยฺยปฺปหายี ไม่พูดส่อเสียด พูดสมานสามัคคี
       ๕. ทานสํวิภาครโต หรือ มจฺเฉรวินย ชอบเผื่อแผ่ให้ปัน ปราศจากความตระหนี่
       ๖. สจฺจวาโจ มีวาจาสัตย์
       ๗. อโกธโน หรือ โกธาภิกู ไม่โกรธ ระงับความโกรธได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 10
ส่อเสียด ยุให้แตกกัน คือฟังคำของข้างนี้แล้ว เก็บเอาไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลายข้างนี้ ฟังคำของข้างโน้นแล้วเก็บเอามาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายข้างโน้น;
       ดู ปิสุณาวาจา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 10
อกุศลกรรมบถ ทางแห่งกรรมชั่ว, ทางแห่งกรรมที่เป็นอกุศล,
       กรรมชั่วอันเป็นทางนำไปสู่ทุคติ มี ๑๐ อย่าง คือ
       ก. กายกรรม ๓ ได้แก่
           ๑. ปาณาติบาต การทำลายชีวิต
           ๒. อทินนาทาน ถือเอาของที่เขามิได้ให้
           ๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม
       ข. วจีกรรม ๔ ได้แก่
           ๔. มุสาวาท พูดเท็จ
           ๕. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด
           ๖. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ
           ๗. สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ
       ค. มโนกรรม ๓ ได้แก่
           ๘. อภิชฌา ละโมบคอยจ้องอยากได้ของเขา
           ๙. พยาบาท คิดร้ายเขา
           ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม;
       เทียบ กุศลกรรมบถ


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ส่อเสียด&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CA%E8%CD%E0%CA%D5%C2%B4&detail=on


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]