ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ อกุศลกรรมบถ ”             ผลการค้นหาพบ  12  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 12
กุศลกรรมบถ ทางแห่งกรรมดี, ทางทำดี, ทางแห่งกรรมที่เป็นกุศล,
       กรรมดีอันเป็นทางนำไปสู่สุคติมี ๑๐ อย่าง คือ
       ก. กายกรรม ๓ ได้แก่
           ๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากทำลายชีวิต
           ๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจากถือเอาของที่เขามิได้ให้
           ๓. กาเมสุมิจฉาจาร เวรมณี เว้นจากประพฤติผิดในกาม
       ข. วจีกรรม ๔ ได้แก่
           ๔. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากพูดเท็จ
           ๕. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดส่อเสียด
           ๖. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ
           ๗. สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากพูดเพ้อเจ้อ
       ค. มโนกรรม ๓ ได้แก่
           ๘. อนภิชฌา ไม่โลภคอยจ้องอยากได้ของเขา
           ๙. อพยาบาท ไม่คิดร้ายเบียดเบียนเขา
           ๑๐. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม
       เทียบ อกุศลกรรมบถ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 12
ปิสุณาวาจา วาจาส่อเสียด, พูดส่อเสียด, พูดยุยงให้เขาแตกร้าวกัน
       (ข้อ ๕ ใน อกุศลกรรมบถ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 12
ผรุสวาจา วาจาหยาบ, คำพูดเผ็ดร้อน, คำหยาบคาย
       (ข้อ ๖ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 12
ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากพูดคำหยาบ
       (ข้อ ๖ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 12
มโนกรรม การกระทำทางใจ
       ทางชั่ว เช่น คิดเพ่งเล็งจ้องจะเอาของเขา
       ทางดี เช่น คิดช่วยเหลือผู้อื่น;
       ดู กุศลกรรมบถ, อกุศลกรรมบถ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 12
มุสาวาท พูดเพ็จ, พูดโกหก, พูดไม่จริง
       (ข้อ ๔ ในกรรมกิเลส ๔, ข้อ ๗ ในมละ ๙, ข้อ ๔ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 12
วจีกรรม การกระทำทางวาจา, การกระทำด้วยวาจา, ทำกรรมด้วยคำพูด,
       ที่ดี เช่น พูดจริง พูดคำสุภาพ
       ที่ชั่ว เช่น พูดเท็จ พูดคำหยาบ;
       ดู กุศลกรรมบถ, อกุศลกรรมบถ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 12
วินัย ระเบียบสำหรับกำกับความประพฤติให้เป็นแบบแผนอันหนึ่งอันเดียวกัน,
       ประมวลสิกขาบทของพระสงฆ์ทั้งส่วนอาทิพรหมจรรย์และอภิสมาจาร;
       ถ้าพูดว่าพระวินัย มักหมายถึงพระวินัยปิฎก

วินัย ระเบียบแบบแผนสำหรับฝึกฝนควบคุมความประพฤติของบุคคลให้มีชีวิตที่ดีงามเจริญก้าวหน้าและควบคุมหมู่ชนให้อยู่ร่วมกันด้วยความสงบเรียบร้อยดีงาม,
       ประมวลบทบัญญัติข้อบังคับสำหรับฝึกฝนควบคุมความประพฤติ;
       วินัย มี ๒ อย่างคือ
           ๑. อนาคาริยวินัย วินัยของผู้ไม่ครองเรือน คือ วินัยของบรรพชิต หรือวินัยของพระสงฆ์
               ได้แก่ การไม่ต้องอาบัติทั้ง ๗ หรือ ปาริสุทธิศีล ๔
           ๒. อาคาริยวินัย วินัยของผู้ครองเรือน คือ วินัยของชาวบ้าน
               ได้แก่ การงดเว้นจากอกุศลกรรมบถ ๑๐ โดยนัยก็คือ กุศลกรรมบถ ๑๐

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 12
สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ, พูดเหลวไหล, พูดไม่เป็นประโยชน์ ไม่มีเหตุผล ไร้สาระ ไม่ถูกกาลถูกเวลา
       (ข้อ ๗ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 12
อกุศลกรรมบถ ทางแห่งกรรมชั่ว, ทางแห่งกรรมที่เป็นอกุศล,
       กรรมชั่วอันเป็นทางนำไปสู่ทุคติ มี ๑๐ อย่าง คือ
       ก. กายกรรม ๓ ได้แก่
           ๑. ปาณาติบาต การทำลายชีวิต
           ๒. อทินนาทาน ถือเอาของที่เขามิได้ให้
           ๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม
       ข. วจีกรรม ๔ ได้แก่
           ๔. มุสาวาท พูดเท็จ
           ๕. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด
           ๖. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ
           ๗. สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ
       ค. มโนกรรม ๓ ได้แก่
           ๘. อภิชฌา ละโมบคอยจ้องอยากได้ของเขา
           ๙. พยาบาท คิดร้ายเขา
           ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม;
       เทียบ กุศลกรรมบถ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 12
อทินนาทาน ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ด้วยอาการแห่งขโมย, ขโมยสิ่งของ, ลักทรัพย์
       (ข้อ ๒ ในกรรมกิเลส ๔ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 12
อภิชฌา โลภอยากได้ของเขา, ความคิด เพ่งเล็งจ้องจะเอาของของคนอื่น
       (ข้อ ๘ ในอกุศลกรรมบถ ๑๐)


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อกุศลกรรมบถ&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CD%A1%D8%C8%C5%A1%C3%C3%C1%BA%B6&detail=on


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]