ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ธรรม ”             ผลการค้นหาพบมากกว่า  80  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 80
กัลยาณธรรม ธรรมอันดี, ธรรมดีงาม, ธรรมของกัลยาณชน;
       ดู เบญจธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 80
กุปปธรรม “ผู้มีธรรมที่ยังกำเริบได้” หมายถึง ผู้ที่ได้สมาบัติแล้วแต่ยังไม่ชำนาญ อาจเสื่อมได้
       เทียบ อกุปปธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 80
กุศลธรรม ธรรมที่เป็นกุศล, ธรรมฝ่ายกุศล, ธรรมที่ดี, ธรรมฝ่ายดี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 80
เกษมจากโยคธรรม ปลอดภัยจากธรรมเครื่องผูกมัด, ปลอดโปร่งจากเรื่องที่จะต้องถูกเทียมแอก, พ้นจากภัยคือกิเลสที่เป็นตัวการสวมแอก;
       ดู โยคเกษมธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 80
ขนบธรรมเนียม แบบอย่างที่นิยมกัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 80
ขัตติยธรรม หลักธรรมสำหรับกษัตริย์, ธรรมของพระเจ้าแผ่นดิน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 80
คณะธรรมยุต คณะสงฆ์ที่ตั้งขึ้นใหม่ เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชเป็นภิกษุในรัชกาลที่ ๓ (เรียกว่า ธรรมยุตติกา หรือ ธรรมยุติกนิกาย ก็มี);
       สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงให้ความหมายว่า “พระสงฆ์ออกจากมหานิกายนั้นเอง แต่ได้รับอุปสมบทในรามัญนิกายด้วย” (การคณะสงฆ์ น.๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 80
คดีธรรม ทางธรรม, คติแห่งธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 80
ครุธรรม ธรรมอันหนัก, หลักความประพฤติสำหรับนางภิกษุณีจะพึงถือเป็นเรื่องสำคัญอันต้องปฏิบัติด้วยความเคารพไม่ละเมิดตลอดชีวิต มี ๘ ประการ คือ
       ๑. ภิกษุณีแม้บวชร้อยพรรษาแล้ว ก็ต้องกราบไหว้ภิกษุแม้บวชวันเดียว
       ๒. ภิกษุณีจะอยู่ในวัดที่ไม่มีภิกษุไม่ได้
       ๓. ภิกษุณีต้องไปถามวันอุโบสถและเข้าไปฟังโอวาทจากภิกษุทุกกึ่งเดือน
       ๔. ภิกษุณีอยู่จำพรรษาแล้วต้องปวารณาในสงฆ์ ๒ ฝ่ายโดยสถานทั้ง ๓ คือ โดยได้เห็น โดยได้ยิน โดยรังเกียจ (รังเกียจหมายถึง ระแวงสงสัยหรือประพฤติกรรมอะไรที่น่าเคลือบแคลง)
       ๕. ภิกษุณีต้องอาบัติหนัก ต้องประพฤติมานัตในสงฆ์ ๒ ฝ่าย (คือ ทั้งภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์) ๑๕ วัน
       ๖. ภิกษุณีต้องแสวงหาอุปสัมปทาในสงฆ์ ๒ ฝ่าย เพื่อนางสิกขมานา
       ๗. ภิกษุณีไม่พึงด่าไม่พึงบริภาษภิกษุไม่ว่าจะโดยปริยายใดๆ
       ๘. ไม่ให้ภิกษุณีว่ากล่าวภิกษุแต่ภิกษุว่ากล่าวภิกษุณีได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 80
คุณธรรม ธรรมที่เป็นคุณ, ความดีงาม, สภาพที่เกื้อกูล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 80
ฆราวาสธรรม หลักธรรมสำหรับการครองเรือน,
       ธรรมของผู้ครองเรือน มี ๔ อย่างคือ
           ๑. สัจจะ ความจริง เช่น ซื่อสัตย์ต่อกัน
           ๒. ทมะ ความฝึกฝน ปรับปรุงตน เช่น รู้จักข่มใจ ควบคุมอารมณ์ บังคับตนเองปรับตัวเข้ากับการงานและสิ่งแวดล้อมให้ได้ดี
           ๓. ขันติ ความอดทน
           ๔. จาคะ ความเสียสละ เผื่อแผ่ แบ่งปัน มีน้ำใจ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 80
จริยธรรม “ธรรมคือความประพฤติ”, “ธรรมคือการดำเนินชีวิต”, หลักความประพฤติ, หลักการดำเนินชีวิต;
       คำ “จริยธรรม” นี้ นักปราชญ์ในประเทศไทยได้บัญญัติให้ใช้สำหรับคำภาษาอังกฤษว่า ethics หมายถึง ธรรมที่เป็นข้อประพฤติปฏิบัติ ศีลธรรม หรือกฎศีลธรรม;
       จริยะ (หรือ จริยธรรม) อันประเสริฐ เรียกว่า พรหมจริยะ (พรหมจริยธรรม หรือพรหมจรรย์) แปลว่า “ความประพฤติอันประเสริฐ” หรือทางดำเนินชีวิตอย่างประเสริฐ หมายถึง มรรคมีองค์ ๘ หรือ ศีล สมาธิ ปัญญา;
       เทียบ ศีลธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 80
จักร ล้อ, ล้อรถ, ธรรมนำชีวิตไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง ดุจล้อนำรถไปสู่ที่หมายมี ๔ อย่างคือ
       ๑. ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในถิ่นที่เหมาะ
       ๒. สัปปุริสูปัสสยะ สมาคมกับคนดี
       ๓. อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ
       ๔. ปุพเพกตปุญญตา ได้ทำความดีไว้ก่อน

จักรธรรม ธรรมเปรียบด้วยล้อรถ ซึ่งจะนำไปสู่ความเจริญ หรือให้ถึงจุดมุ่งหมาย มี ๔ อย่าง
       ดู จักร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 80
ชราธรรม มีความแก่เป็นธรรมดา, มีความแก่เป็นของแน่นอน, ธรรมคือความแก่

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 80
ญายะ, ญายธรรม ความถูกต้องชอบธรรม, ความยุติธรรม, สิ่งที่สมเหตุผล, ทางที่ถูกต้อง, ข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง หมายถึง อริยอัฏฐังคิกมรรค, ภาวะอันจะลุถึงได้ด้วยข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง ได้แก่ นิพพาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 80
ไญยธรรม ธรรมอันควรรู้, สิ่งที่ควรรู้ควรเข้าใจ;
       เญยธรรม ก็เขียน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 80
ดวงตาเห็นธรรม แปลจากคำว่า ธรรมจักษุ หมายถึงความรู้เห็นตามเป็นจริง ด้วยปัญญาว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับเป็นธรรมดา;
       ดู ธรรมจักษุ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 80
ทศพิธราชธรรม ดู ราชธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 80
ทิฏฐธัมมิกัตถะ ประโยชน์ในปัจจุบัน, ประโยชน์สุขสามัญที่มองเห็นกันในชาตินี้ ที่คนทั่วไปปรารถนา มีทรัพย์ ยศ เกียรติ ไมตรี เป็นต้น อันจะสำเร็จด้วยธรรม ๔ ประการ คือ
       ๑. อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น
       ๒. อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา
       ๓. กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี
       ๔. สมชีวิตา การเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้;
           มักเรียกคล่องปากว่า ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 80
ทุลลภธรรม สิ่งที่ได้ยาก,
       ความปรารถนาของคนในโลกที่ได้สมหมายโดยยาก มี ๔ คือ
           ๑. ขอโภคสมบัติจงเกิดมีแก่เราโดยทางชอบธรรม
           ๒. ขอยศจงเกิดมีแก่เรากับญาติพวกพ้อง
           ๓. ขอเราจงรักษาอายุอยู่ได้ยืนนาน
           ๔. เมื่อสิ้นชีพแล้ว ขอเราจงไปบังเกิดในสวรรค์;
       ดู ธรรมเป็นเหตุให้สมหมาย ด้วย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 80
เทวธรรม ธรรมของเทวดา,
       ธรรมที่ทำให้เป็นเทวดา หมายถึงธรรม ๒ อย่าง คือ
           หิริ ความละอายแก่ใจคือละอายต่อความชั่ว และ
           โอตตัปปะ ความเกรงกลัวบาป คือ เกรงกลัวต่อความชั่ว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 80
ไทยธรรม ของควรให้, ของทำบุญต่างๆ ของถวายพระ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 80
ธรรม สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจจธรรม, ความจริง;
       เหตุ, ต้นเหตุ;
       สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด;
       คุณธรรม, ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ;
       หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่;
       ความชอบ, ความยุติธรรม;
       พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฏขึ้น

ธรรม ในประโยคว่า “ให้กล่าวธรรมโดยบท” บาลีแสดงคำสอนในพระพุทธศาสนา ที่ท่านเรียงไว้ จะเป็นพุทธภาษิตก็ตาม สาวกภาษิตก็ตาม ฤษีภาษิตก็ตาม เทวดาภาษิตก็ตาม เรียกว่า ธรรม ในประโยคนี้

ธรรม (ในคำว่า “การกรานกฐินเป็นธรรม”) ชอบแล้ว, ถูกระเบียบแล้ว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 80
ธรรม ๒
       หมวดหนึ่ง คือ
           ๑. รูปธรรม ได้แก่ รูปขันธ์ทั้งหมด
           ๒. อรูปธรรม ได้แก่ นามขันธ์ ๔ และนิพพาน;
       อีกหมวดหนึ่ง คือ
           ๑. โลกียธรรม ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก
           ๒. โลกุตตรธรรม ธรรมอันมิใช่วิสัยของโลก ได้แก่ มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ ;
       อีกหมวดหนึ่ง คือ
           ๑. สังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยปรุงแต่ง ได้แก่ ขันธ์ ๕ ทั้งหมด
           ๒. อสังขตธรรม ธรรมที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ได้แก่ นิพพาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 80
ธรรมกถา การกล่าวธรรม, คำกล่าวธรรม, ถ้อยคำที่กล่าวถึงธรรม, คำบรรยายหรืออธิบายธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 80
ธรรมกถึก ผู้กล่าวสอนธรรม, ผู้แสดงธรรม, นักเทศก์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 80
ธรรมกามะ ผู้ใคร่ธรรม, ผู้ชอบตริตรอง สอดส่องธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 80
ธรรมกาย
       1. “ผู้มีธรรมเป็นกาย” เป็นพระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า (ตามความในอัคคัญญสูตร แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค) หมายความว่า พระองค์ทรงคิดพุทธพจน์คำสอนด้วยพระหทัยแล้วทรงนำออกเผยแพร่ด้วยพระวาจา เป็นเหตุให้พระองค์ก็คือพระธรรม เพราะทรงเป็นแหล่งที่ประมวลหรือที่ประชุมอยู่แห่งธรรมอันปรากฏเปิดเผยออกมาแก่ชาวโลก; พรหมกาย หรือ พรหมภูต ก็เรียก;
       2. “กองธรรม” หรือ “ชุมนุมแห่งธรรม” ธรรมกายย่อมเจริญงอกงามเติบขยายขึ้นได้โดยลำดับจนไพบูลย์ ในบุคคลผู้เมื่อได้สดับคำสอนของพระองค์ แล้วฝึกอบรมตนด้วยไตรสิกขาเจริญมรรคให้บรรลุภูมิแห่งอริยชน
       ดังตัวอย่างดำรัสของพระมหาปชาบดีโคตมี เมื่อครั้งกราบทูลลาพระพุทธเจ้าเพื่อปรินิพพาน ตามความในคัมภีร์อปทานตอนหนึ่งว่า
           “ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์, ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์ก็เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน ... รูปกายของพระองค์นี้ หม่อมฉันได้ทำให้เจริญเติบโต ส่วนธรรมกายอันเป็นที่เอิบสุขของหม่อมฉัน ก็เป็นสิ่งอันพระองค์ได้ทำให้เจริญเติบโต”;
       สรุปตามนัยอรรถกถา ธรรมกาย ในความหมายนี้ ก็คือ โลกุตตรธรรม ๙ หรือ อริยสัจจ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 80
ธรรมของฆราวาส ๔ ดู ฆราวาสธรรม ๔

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 80
ธรรมขันธ์ กองธรรม, หมวดธรรม, ประมวลธรรมเข้าเป็นหมวดใหญ่ มี ๕ คือ สีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์ วิมุตติญาณทัสสนขันธ์;
       กำหนดหมวดธรรมในพระไตรปิฎกว่ามี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็นวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ สุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ และอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 80
ธรรมคุณ คุณของพระธรรม มี ๖ อย่าง คือ
       ๑. สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว
       ๒. สนฺทิฏฺฐิโก อันผู้ปฏิบัติจะพึงเห็นชัดด้วยตนเอง
       ๓. อกาลิโก ไม่ประกอบด้วยกาล
       ๔. เอหิปสฺสิโก ควรเรียกให้มาดู
       ๕. โอปนยิโก ควรน้อมเข้ามา
       ๖. ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ อันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 80
ธรรมคุ้มครองโลก ดู โลกบาลธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 80
ธรรมจริยา การประพฤติธรรม, การประพฤติเป็นธรรม, การประพฤติถูกตามธรรม
       เป็นชื่อหนึ่งของ กุศลกรรมบถ ๑๐

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 80
ธรรมจักร จักรคือธรรม, วงล้อธรรม หรืออาณาจักรธรรม
       หมายถึงเทศนากัณฑ์แรก ที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์
       (ชื่อของปฐมเทศนา เรียกเต็มว่า ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 80
ธรรมจักษุ ดวงตาเห็นธรรม คือ ปัญญา รู้เห็นความจริงว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวง ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา;
       ธรรมจักษุโดยทั่วไป เช่น ที่เกิดแก่ท่านโกณฑัญญะเมื่อสดับธรรมจักร ได้แก่ โสดาปัตติมรรคหรือโสดาปัตติมรรคญาณ คือญาณที่ทำให้เป็นโสดาบัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 80
ธรรมจารี ผู้ประพฤติธรรม, ผู้ประพฤติเป็นธรรม, ผู้ประพฤติถูกธรรม;
       คู่กับ สมจารี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 80
ธรรมเจดีย์ เจดีย์บรรจุพระธรรม คือ จารึกพระพุทธพจน์ เช่น อริยสัจจ์ ปฏิจจสมุปบาทเป็นต้น ลงในใบลานแล้วนำไปบรรจุในเจดีย์
       (ข้อ ๓ ในเจดีย์ ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 80
ธรรมเจดียสูตร สูตรหนึ่งในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ แห่งพระสุตตันตปิฎก
       ว่าด้วยข้อความที่พระเจ้าปเสนทิโกศลกราบทูลพระพุทธเจ้า พรรณนาความเลื่อมใสศรัทธาของพระองค์ที่มีต่อพระรัตนตรัย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 80
ธรรมชาติ ของที่เกิดเองตามวิสัยของโลก เช่น คน สัตว์ ต้นไม้ เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 80
ธรรมฐิติ ความดำรงคงตัวแห่งธรรม, ความตั้งอยู่แน่นอนแห่งกฎธรรมดา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 80
ธรรมดา อาการหรือความเป็นไปแห่งธรรมชาติ; สามัญ, ปกติ, พื้นๆ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 80
ธรรมทาน การให้ธรรม, การสั่งสอนแนะนำเกี่ยวกับธรรม, การให้ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง
       ดู ทาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 80
ธรรมทายาท ทายาทแห่งธรรม, ผู้รับมรดกธรรม, ผู้รับเอาธรรมของพระพุทธเจ้ามาเป็นสมบัติด้วยการประพฤติปฏิบัติให้เข้าถึง;
       โดยตรง หมายถึง รับเอาโลกุตตรธรรม ๙ ไว้ได้ด้วยการบรรลุเอง
       โดยอ้อม หมายถึง รับปฏิบัติกุศลธรรม จะเป็นทาน ศีล หรือภาวนาก็ตาม ตลอดจนการบูชา ที่เป็นไปเพื่อบรรลุซึ่งโลกุตตรธรรมนั้น;
       เทียบ อามิสทายาท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 80
ธรรมทำให้งาม ๒ คือ
       ๑. ขันติ ความอดทน
       ๒. โสรัจจะ ความเสงี่ยมหรือความมีอัธยาศัยประณีต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 80
ธรรมทินนา ดู ธัมมทินนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 80
ธรรมที่บรรพชิตควรพิจารณาเนืองๆ ๑๐ ดู อภิณหปัจจเวกขณ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 80
ธรรมเทศนา การแสดงธรรม, การบรรยายธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 80
ธรรมเทศนาปฏิสังยุต ธรรมเนียมที่เกี่ยวกับการแสดงธรรม (หมวดที่ ๓ แห่งเสขิยวัตร มี ๑๖ สิกขาบท)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 80
ธรรมเทศนาสิกขาบท สิกขาบทปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้แสดงธรรมแก่มาตุคาม เกินกว่า ๕-๖ คำ เว้นแต่มีบุรุษผู้รู้เดียงสาอยู่ด้วย
       (สิกขาบทที่ ๗ ในมุสาวาทวรรคแห่งปาจิตตีย์)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  50 / 80
ธรรมนิยาม กำหนดแน่นอนแห่งธรรมดา, กฎธรรมชาติ,
       ความจริงที่มีอยู่หรือดำรงอยู่ธรรมชาติของมัน ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบแล้วทรงนำมาแสดงชี้แจงอธิบายให้คนทั้งหลายให้รู้ตาม มี ๓ อย่าง
       แสดงความตามพระบาลีดังนี้
           ๑. สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา สังขารทั้งปวง ไม่เที่ยง
           ๒. สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา สังขารทั้งปวง คงทนอยู่มิได้
           ๓. สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา ธรรมทั้งปวง ไม่เป็นตัวตน;
       ดู ไตรลักษณ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  51 / 80
ธรรมเนียม ประเพณี, แบบอย่างที่เคยทำกันมา, แบบอย่างที่นิยมใช้กัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  52 / 80
ธรรมบท บทแห่งธรรม, บทธรรม, ข้อธรรม;
       ชื่อคาถาบาลีหมวดหนึ่ง จัดเป็นคัมภีร์ที่ ๒ ในขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎก มี ๔๒๓ คาถา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  53 / 80
ธรรมปฏิบัติ การปฏิบัติธรรม; การปฏิบัติที่ถูกต้องตามธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  54 / 80
ธรรมปฏิรูป ธรรมปลอม, ธรรมที่ไม่แท้, ธรรมเทียม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  55 / 80
ธรรมปฏิสันถาร การต้อนรับด้วยธรรม คือกล่าวธรรมให้ฟังหรือแนะนำในทางธรรม อย่างนี้เป็นธรรมปฏิสันถารโดยเอกเทศ คือส่วนหนึ่งด้านหนึ่ง
       ธรรมปฏิสันถารที่บำเพ็ญอย่างบริบูรณ์ คือการต้อนรับโดยธรรม ได้แก่ เอาใจใส่ช่วยเหลือสงเคราะห์ แก้ไขปัญหาบรรเทาข้อสงสัย ขจัดปัดเป่าข้อติดขัดยากลำบากเดือนร้อนทั้งหลาย ให้เขาลุล่วงกิจอันเป็นกุศล พ้นความอึดอัดขัดข้อง
       (ข้อ ๒ ในปฏิสันถาร ๒)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  56 / 80
ธรรมเป็นโลกบาล ๒ คือ
       ๑. หิริ ความละอายแก่ใจ
       ๒. โอตตัปปะ ความกลัวบาป;
       ดู โลกบาลธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  57 / 80
ธรรมเป็นเหตุให้สมหมาย ธรรมที่จะช่วยให้ได้ ทุลลภธรรม สมหมายมี ๔ คือ
       ๑. สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา
       ๒. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล
       ๓. จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาค
       ๔. ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  58 / 80
ธรรมพิเศษ ดู ธรรมวิเศษ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  59 / 80
ธรรมไพบูลย์ ความไพบูลย์แห่งธรรม, ความพรั่งพร้อมเต็มเปี่ยมแห่งธรรม ด้วยการฝึกฝนอบรมให้มีในตนจนบริบูรณ์ หรือด้วยการประพฤติปฏิบัติกันในสังคมจนแพร่หลายทั่วไปทั้งหลาย;
       ดู ไพบูลย์, เวปุลละ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  60 / 80
ธรรมภาษิต ถ้อยคำที่เป็นธรรม, ถ้อยคำที่แสดงธรรม หรือเกี่ยวกับธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  61 / 80
ธรรมมีอุปการะมาก ๒ คือ
       ๑. สติ ความระลึกได้
       ๒. สัมปชัญญะ ความรู้ตัว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  62 / 80
ธรรมยุต, ธรรมยุติกนิกาย ดู คณะธรรมยุต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  63 / 80
ธรรมราชา พระราชาแห่งธรรม,
       พระราชาโดยธรรม หมายถึงพระพุทธเจ้า
       และบางแห่งหมายถึง พระเจ้าจักรพรรดิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  64 / 80
ธรรมวัตร ลักษณะเทศน์ทำนองธรรมดาเรียบๆ ที่แสดงอยู่ทั่วไป อันต่างไปจากทำนองเทศน์แบบมหาชาติ,
       ทำนองแสดงธรรม ซึ่งมุ่งอธิบายตามแนวเหตุผล มิใช่แบบเรียกร้องอารมณ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  65 / 80
ธรรมวาที “ผู้มีปกติกล่าวธรรม”, ผู้พูดเป็นธรรม, ผู้พูดตามธรรม, ผู้พูดตรงตามธรรมหรือพูดถูกต้องตามหลัก ไม่พูดผิดธรรม ไม่พูดนอกหลักธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  66 / 80
ธรรมวิจัย การเฟ้นธรรม; ดู ธัมมวิจยะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  67 / 80
ธรรมวิจารณ์ การใคร่ครวญพิจารณาข้อธรรมต่างๆ ว่าแต่ละข้อมีอรรถ คือความหมายอย่างไร ตื้นลึกเพียงไร แล้วแสดงความคิดเห็นออกมาว่า ธรรมข้อนั้นข้อนี้มีอรรถ คือความหมายอย่างนั้นอย่างนี้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  68 / 80
ธรรมวินัย ธรรมและวินัย,
       คำสั่งสอนทั้งหมดของพระพุทธเจ้า ซึ่งประกอบด้วย
           ธรรม = คำสอนแสดงหลักความจริงและแนะนำความประพฤติ,
           วินัย = บทบัญญัติกำหนดระเบียบความเป็นอยู่และกำกับความประพฤติ ;
       ธรรม = เครื่องควบคุมใจ, วินัย = เครื่องควบคุมกายและวาจา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  69 / 80
ธรรมวิภาค การจำแนกธรรม, การจัดหัวข้อธรรมจำแนกออกเป็นหมวดหมู่ เพื่อสะดวกแก่การศึกษาค้นคว้าอธิบายและทำความเข้าใจ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  70 / 80
ธรรมวิเศษ ธรรมชั้นสูง หมายถึง โลกุตตรธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  71 / 80
ธรรมสภา ที่ประชุมฟังธรรม, โรงธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  72 / 80
ธรรมสมโภค คบหากันในทางเรียนธรรม ได้แก่ สอนธรรมให้หรือขอเรียนธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  73 / 80
ธรรมสมาทาน การสมาทานหรือปฏิบัติธรรม,
       การทำกรรม จัดได้เป็น ๔ ประเภท คือ
           การทำกรรมบางอย่างให้ทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป,
           บางอย่างให้ทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป,
           บางอย่างให้สุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป,
           บางอย่างให้สุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  74 / 80
ธรรมสวนะ การฟังธรรม, การหาความรู้ความเข้าใจในหลักความจริง ความถูกต้องดีงาม ด้วยการเล่าเรียน อ่านและสดับฟัง, การศึกษาหาความรู้ ที่ปราศจากโทษ;
       ธัมมัสสวนะ ก็เขียน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  75 / 80
ธรรมสวามิศร ผู้เป็นใหญ่โดยฐานเป็นเจ้าของธรรม หมายถึงพระพุทธเจ้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  76 / 80
ธรรมสังคาหกะ พระอรหันต์ ๕๐๐ องค์ ผู้รวบรวมร้อยกรองพระธรรมวินัยในคราวปฐมสังคายนา

ธรรมสังคาหกาจารย์ อาจารย์ผู้ร้อยกรองธรรม;
       ดู ธรรมสังคาหกะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  77 / 80
ธรรมสังคีติ การสังคายนาธรรม, การร้อยกรองธรรม, การจัดสรรธรรม เป็นหมวดหมู่

แสดงผลการค้น ลำดับที่  78 / 80
ธรรมสังเวช ความสังเวชโดยธรรมเมื่อเห็นความแตกดับของสังขาร (เป็นอารมณ์ของพระอรหันต์);
       ดู สังเวช

แสดงผลการค้น ลำดับที่  79 / 80
ธรรมสากัจฉา การสนทนาธรรม, การสนทนากันในทางธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  80 / 80
ธรรมสามัคคี ความพร้อมเพรียงขององค์ธรรม,
       องค์ธรรมทั้งหลายที่เกี่ยวข้องทุกอย่างทำกิจหน้าที่ของแต่ละอย่างๆ พร้อมเพรียงและประสานสอดคล้องกัน ให้สำเร็จผลที่เป็นจุดหมาย เช่น ในการบรรลุมรรคผล เป็นต้น


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ธรรม
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%B8%C3%C3%C1


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]