ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ลธ ”             ผลการค้นหาพบ  5  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 5
กุลธิดา ลูกหญิงผู้มีตระกูลมีความประพฤติดี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 5
กุศลธรรม ธรรมที่เป็นกุศล, ธรรมฝ่ายกุศล, ธรรมที่ดี, ธรรมฝ่ายดี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 5
โลกบาลธรรม ธรรมคุ้มครองโลก คือ ปกครองควบคุมใจมนุษย์ไว้ให้อยู่ในความดี มิให้ละเมิดศีลธรรม และให้อยู่กันด้วยความเรียบร้อยสงบสุข ไม่เดือดร้อนสับสนวุ่นวาย มี ๒ คือ
       ๑. หิริ ความละอายบาป ละอายใจต่อการทำความชั่ว
       ๒. โอตตัปปะ ความกลัวบาป เกรงกลัวต่อความชั่วและผลของกรรมชั่ว

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 5
ศีลธรรม
       ความประพฤติที่ดีที่ชอบ, ความประพฤติดีงาม;
       นิยมแปลกันว่า ศีลและธรรม โดยถือว่า
           ศีล หมายถึง เว้นชั่วหรือเว้นจากข้อห้าม
           ธรรม หมายถึง ประพฤติดี หรือทำตามคำแนะนำสั่งสอน,
       แต่แปลตามหลักว่า ธรรมขั้นศีล เพราะศีลเป็นธรรมอย่างหนึ่ง เช่นเดียวกับสมาธิและปัญญา (ในไตรสิกขา)
       ความประพฤติดีงามทางกายวาจา, ความประพฤติที่ดีที่ชอบ, ความสุจริตทางกายวาจาและอาชีวะ;
       โดยทางศัพท์ ศีลธรรม แปลว่า “ธรรมคือศีล” หมายถึง ธรรมขั้นศีล หรือธรรมในระดับศีล เพราะศีลเป็นธรรมอย่างหนึ่ง ในบรรดาธรรมภาคปฏิบัติ ๓ อย่าง คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ดังนั้นต่อจากธรรมขั้นศีล จึงมีธรรมขั้นสมาธิ และธรรมขั้นปัญญา;
       ได้มีผู้พยายามแปลศีลธรรม อีกอย่างหนึ่งว่า “ศีลและธรรม” (ถ้าแปลให้ถูกต้องจริงต้องว่าศีลและธรรมอื่นๆ คือศีลและธรรมอื่นๆ นอกจากศีล เช่น สมาธิ และปัญญา เป็นต้น เพราะศีลก็เป็นธรรมอย่างหนึ่ง)
       ถ้าแปลอย่างนี้ จะต้องเข้าใจว่า ศีลธรรม มิใช่เป็นเพียงความประพฤติดีงามเท่านั้น แต่รวมถึง สมถะวิปัสสนา ขันธ์ ๕ ปฏิจจสมุปบาท ไตรลักษณ์ เป็นต้น ด้วย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 5
อกุศลธรรม ธรรมที่เป็นอกุศล, ธรรมฝ่ายอกุศล, ธรรมที่ชั่ว, ธรรมฝ่ายชั่ว


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ลธ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%C5%B8


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]