ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ หต ”             ผลการค้นหาพบ  9  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 9
โกศล ๒- ชื่อแคว้นหนึ่งในบรรดา ๑๖ แคว้น แห่งชมพูทวีป โกศลเป็นแคว้นใหญ่มีอำนาจมากในสมัยพุทธกาล
       กษัตริย์ผู้ครองแคว้นมีพระนามว่า พระเจ้าปเสนทิโกศล มีนครหลวงชื่อ สาวัตถี
       บัดนี้เรียก Sahet-Mahet

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 9
ธรรมเป็นเหตุให้สมหมาย ธรรมที่จะช่วยให้ได้ ทุลลภธรรม สมหมายมี ๔ คือ
       ๑. สัทธาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศรัทธา
       ๒. สีลสัมปทา ถึงพร้อมด้วยศีล
       ๓. จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาค
       ๔. ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 9
ปกฺขหตตา ความเป็นผู้ชาไปซีกหนึ่ง ได้แก่ โรคอัมพาต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 9
ผลเหตุสนธิ ต่อผลเข้ากับเหตุ หมายถึง เงื่อนต่อระหว่างผลในปัจจุบัน กับเหตุในปัจจุบัน ในวงจรปฏิจจสมุปบาท คือ
       ระหว่างวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ข้างหนึ่ง (ฝ่ายผล)
       กับ ตัณหา อุปาทาน ภพ อีกข้างหนึ่ง (ฝ่ายเหตุ);
       เทียบ เหตุผลสนธิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 9
วุฑฒิ ธรรมเป็นเครื่องเจริญ, ธรรมเป็นเหตุให้ถึงความเจริญ มี ๔ อย่าง คือ
       ๑. สัปปุริสสังเสวะ คบหาสัตบุรุษ
       ๒. สัทธัมมัสสวนะ ฟังสัทธรรม
       ๓. โยนิโสมนสิการ ทำในใจโดยแยบคาย
       ๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม,
       เรียกและเขียนเป็นวุฒิบ้าง วุฑฒิธรรมบ้าง วุฒิธรรมบ้าง,
       ในบาลีเรียกว่า ธรรมที่เป็นไปเพื่อปัญญาวุฑฒิ หรือ ปัญญาวุฒิ คือ เพื่อความเจริญแห่งปัญญา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 9
เหตุ สิ่งที่ให้เกิดผล, เค้ามูล, เรื่องราว, สิ่งที่ก่อเรื่อง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 9
เหตุผลสนธิ หัวเงื่อนระหว่างเหตุในอดีตกับผลในปัจจุบัน หรือหัวเงื่อนระหว่างเหตุในปัจจุบันกับผลในอนาคต ในวงจรปฏิจจสมุปบาท
       (เหตุในอดีต คืออวิชชาและสังขาร, ผลในปัจจุบัน คือวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา,
       เหตุในปัจจุบัน คือตัณหา อุปาทาน ภพ, ผลในอนาคต คือชาติ ชรา มรณะ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 9
อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นว่าไม่มีเหตุ
       คือ ความเห็นผิดว่า คนเราจะได้ดีหรือชั่วตามคราวเคราะห์ ถึงคราวจะดี ก็ดีเอง ถึงคราวจะร้าย ก็ร้ายเอง ไม่มีเหตุอื่นจะทำให้คนดีคนชั่วได้
       (ข้อ ๒ ในทิฏฐิ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 9
อุปัตติเหตุ เหตุที่เกิดขึ้น, เหตุการณ์ที่เกิด
       เช่น ควรเทศนาให้เหมาะแก่อุปัตติเหตุ คือ แสดงธรรมให้เข้ากับเรื่องที่เกิดขึ้น;
       บัดนี้เขียน อุบัติเหตุ และใช้ในความหมายที่ต่างออกไป


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=หต
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CB%B5


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]