ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ าฏ ”             ผลการค้นหาพบ  26  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 26
นิครนถนาฏบุตร คณาจารย์เจ้าลัทธิคนหนึ่งในจำนวนครูทั้ง ๖ มีคนนับถือมาก
       มีชื่อเรียกหลายอย่าง เช่น วรรธมานบ้าง พระมหาวีระบ้าง
       เป็นต้นศาสนาเชน ซึ่งยังมีอยู่ในประเทศอินเดีย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 26
นิคัณฐนาฏบุตร ดู นิครนถนาฏบุตร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 26
ปาฏลีบุตร เมืองหลวงของแคว้นมคธ สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 26
ปาฏิเทสนียะ “จะพึงแสดงคืน”,
       อาบัติที่จะพึงแสดงคืน เป็นชื่อลหุกาบัติ คือ อาบัติเบาอย่างหนึ่งถัดรองมาจากปาจิตตีย์ และ
       เป็นชื่อสิกขาบท ๔ ข้อ ซึ่งแปลได้ว่า พึงปรับด้วยอาบัติปาฏิเทสนียะ
       เช่น ภิกษุรับของเคี้ยวของฉัน จากมือของภิกษุณีที่มิใช่ญาติ ด้วยมือของตน มาบริโภค ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ;
       ดู อาบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 26
ปาฏิบท วันขึ้นค่ำหนึ่ง หรือวันแรมค่ำหนึ่ง แต่มักหมายถึงอย่างหลัง คือแรมค่ำหนึ่ง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 26
ปาฏิบุคลิก ดู ปาฏิปุคคลิก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 26
ปาฏิปทิกะ อาหารถวายในวันปาฏิบท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 26
ปาฏิปุคคลิก เฉพาะบุคคล, ไม่ทั่วไป, ถวายเป็นส่วนปาฏิปุคคลิก คือ ถวายเจาะจงบุคคลไม่ใช่ถวายแก่สงฆ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 26
ปาฏิโมกข์ ชื่อคัมภีร์ที่ประมวลพุทธบัญญัติอันทรงตั้งขึ้นเป็นพุทธอาณา ได้แก่ อาทิพรหมจริยกาสิกขา มีพระพุทธานุญาตให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ทุกกึ่งเดือน เรียกกันว่า พระสงฆ์ทำอุโบสถ,
       คัมภีร์ที่รวมวินัยของสงฆ์ ๒๒๗ ข้อ
       (พจนานุกรมเขียน ปาติโมกข์)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 26
ปาฏิโมกข์ย่อ มีพุทธานุญาตให้สวดปาฏิโมกข์ย่อได้ ในเมื่อมีเหตุจำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง ในเหตุ ๒ อย่าง คือ
       ๑. ไม่มีภิกษุจำปาฏิโมกข์ได้จนจบ (พึงสวดเท่าอุเทศที่จำได้)
       ๒. เกิดเหตุฉุกเฉินขัดข้องที่เรียกว่าอันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งในอันตรายทั้ง ๑๐
           (กำลังสวดอุเทศใดค้างอยู่ เลิกอุเทศนั้นกลางคันได้ และพึงย่อตั้งแต่อุเทศนั้นไปด้วยสุตบท คือ คำว่า สุต ที่ประกอบรูปเป็น สุตา ตามไวยากรณ์ ทั้งนี้ยกเว้นนิทานุทเทสซึ่งต้องสวดให้จบ)
       สมมติว่าสวดปาราชิกุทเทสจบแล้ว ถ้าสวดย่อตามแบบที่ท่านวางไว้ จะได้ดังนี้:
       สุตา โข อายสฺมนฺเตหิ เตรส สงฺฆาทิเสสา ธมฺมา, สุตา โข อายสฺมนฺเตหิ เทฺว อนิยตา ธมฺมา, ฯเปฯ
       ลงท้ายว่า เอตฺตกํ ตสฺส ภควโต ฯเปฯ สิกฺขิตพฺพํ
       แบบที่วางไว้เดิมนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ไม่ทรงเห็นด้วยในบางประการ และทรงมีพระมติว่า ควรสวดย่อดังนี้
       (สวดปาราชิกุทเทสจบแล้ว สวดคำท้ายทีเดียว):
       “อุทฺทิฏฺฐํ โข อายสฺมนฺโต นิทานํ, อุทฺทิฏฺฐา จตฺตาโร ปาราชิกา ธมฺมา, สุตา เตรส สงฺฆาทิเสสา ธมฺมา, ฯเปฯ สุตา สตฺตาธิกรณสมถา ธมฺมา, เอตฺตกํ ฯเปฯ สิกฺขิตพฺพํ”;
       ดู อันตราย ๑๐

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 26
ปาฏิโมกขสังวร สำรวมในพระปาฏิโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามข้อที่พระองค์อนุญาต
       (ข้อ ๑ ในปาริสุทธิศีล ๔, ข้อ ๑ ในสังวร ๕, ข้อ ๑ ในองค์แห่งภิกษุใหม่ ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 26
ปาฏิหาริย์ สิ่งที่น่าอัศจรรย์, เรื่องที่น่าอัศจรรย์,
       การกระทำที่ให้บังเกิดผลเป็นอัศจรรย์ มี ๓ คือ
           ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์
           ๒. อาเทศนาปาฏิหาริย์ ทายใจได้เป็นอัศจรรย์
           ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ คำสอนมีผลจริงเป็นอัศจรรย์
       ใน ๓ อย่างนี้ ข้อสุดท้ายดีเยี่ยมเป็นประเสริฐ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 26
ปาตลีบุตร ชื่อเมืองหลวงของพระเจ้าอโศกมหาราช;
       เขียน ปาฏลีบุตร ก็มี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 26
ผ้าวัสสาวาสิกสาฏิกา ดู ผ้าจำนำพรรษา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 26
ผ้าวัสสิกสาฏิกา ดู ผ้าอาบน้ำฝน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 26
ผ้าสาฏิกา ผ้าคลุม, ผ้าห่ม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 26
ภิกขุนีปาฏิโมกข์ ประมวลสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้สำหรับภิกษุณี มี ๓๑๑ ข้อ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 26
ภิกขุปาฏิโมกข์ ประมวลสิกขาบทที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้สำหรับภิกษุ มี ๒๒๗ ข้อ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 26
สังฆาฏิ ผ้าทาบ, ผ้าคลุมกันหนาวที่พระใช้ทาบบนจีวร เป็นผ้าผืนหนึ่งในสามผืนที่เรียกว่า ไตรจีวร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 26
สาฏก ผ้า, ผ้าห่ม, ผ้าคลุม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 26
อนุศาสนีปาฏิหาริยะ ดู อนุสาสนีปาฏิหาริย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 26
อนุสาสนีปาฏิหาริกะ ดู อนุสาสนีปาฏิหาริย์

อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ คืออนุศาสนี,
       คำสอนเป็นจริง สอนให้เห็นจริง นำไปปฏิบัติได้ผลสมจริง เป็นอัศจรรย์
       (ข้อ ๓ ใน ปาฏิหาริย์ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 26
อาเทสนาปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์ คือการทายใจ, รอบรู้กระบวนของจิตต์ อ่านความคิดและอุปนิสัยของผู้อื่นได้เป็นอัศจรรย์
       (ข้อ ๒ ในปาฏิหาริย์ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 26
อิทธิปาฏิหาริย์ ปาฏิหาริย์คือฤทธิ์, แสดงฤทธิ์ได้เป็นอัศจรรย์
       เช่น ล่องหน ดำดิน เหาะได้ เป็นต้น
       (ข้อ ๑ ในปาฏิหาริย์ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 26
อุทกสาฏิกา ผ้าอาบ, เป็นจีวรอย่างหนึ่งในจีวร ๕ อย่างของภิกษุณี
       ดู สังกัจฉิกะ ด้วย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 26
โอวาทปาฏิโมกข์ [โอ-วา-ทะ-ปา-ติ-โมก]
       หลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา หรือคำสอนอันเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา
       ได้แก่ พระพุทธพจน์ ๓ คาถากึ่ง ที่พระพุทธเจ้าตรัสแก่พระอรหันต์ ๑,๒๕๐ รูป ผู้ไปประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ พระเวฬุวนาราม ในวันเพ็ญเดือน ๓ ที่เราเรียกกันว่า วันมาฆบูชา
       (อรรถกถากล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาฏิโมกข์นี้แก่ที่ประชุมสงฆ์ตลอดมา เป็นเวลา ๒๐ พรรษา ก่อนที่จะโปรดให้สวดปาฏิโมกข์อย่างปัจจุบันนี้แทนต่อมา),
       คาถาโอวาทปาฏิโมกข์ มีดังนี้ (โอวาทปาติโมกข์ ก็เขียน)
           สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
           สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ
                          ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
                          นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
                          น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
                          สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต ฯ
           อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
           มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
           อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํ ฯ
       แปล: การไม่ทำความชั่วทั้งปวง ๑ การบำเพ็ญแต่ความดี ๑ การทำจิตต์ของตนให้ผ่องใส ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
       ขันติ คือความอดกลั้น เป็นตบะอย่างยิ่ง, พระพุทธเจ้าทั้งหลายกล่าวว่า นิพพานเป็นบรมธรรม, ผู้ทำร้ายคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต, ผู้เบียดเบียนคนอื่น ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะ
       การไม่กล่าวร้าย ๑ การไม่ทำร้าย ๑ ความสำรวมในปาฏิโมกข์ ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร ๑ ที่นั่งนอนอันสงัด ๑ ความเพียรในอธิจิตต์ ๑ นี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
       ที่เข้าใจกันโดยทั่วไป และจำกันได้มาก ก็คือ ความในคาถาแรกที่ว่า
           ไม่ทำชั่ว ทำแต่ความดี ทำจิตใจให้ผ่องใส

โอวาทปาติโมกข์ ดู โอวาทปาฏิโมกข์


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=าฏ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D2%AF


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]