ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ าณ ”             ผลการค้นหาพบ  12  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 12
ญาณ ความรู้, ปรีชาหยั่งรู้, ปรีชากำหนดรู้;
       ญาณ ๓ หมวดหนึ่ง ได้แก่
           ๑. อตีตังสญาณ ญาณในส่วนอดีต
           ๒. อนาคตังสญาณ ญาณในส่วนอนาคต
           ๓. ปัจจุปปันนังสญาณ ญาณในส่วนปัจจุบัน;
       อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่
           ๑. สัจจญาณ หยั่งรู้อริยสัจแต่ละอย่าง
           ๒. กิจจญาณ หยั่งรู้กิจในอริยสัจ
           ๓. กตญาณ หยั่งรู้กิจอันได้ทำแล้วในอริยสัจ;
       อีกหมวดหนึ่ง ได้แก่ วิชชา ๓

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 12
ญาณ ๑๖ ญาณที่เกิดแก่ผู้บำเพ็ญวิปัสสนาโดยลำดับตั้งแต่ต้นจนถึงจุดหมาย คือมรรคผลนิพพาน ๑๖ อย่างคือ
       ๑. นามรูปปริจเฉทญาณ ญาณกำหนดแยกนามรูป
       ๒. (นามรูป) ปัจจัยปริคคหญาณ ญาณกำหนดจับปัจจัยแห่งนามรูป
       ๓. สัมมสนญาณ ญาณพิจารณานามรูปโดยไตรลักษณ์
       ๔. - ๑๒. (ตรงกับวิปัสสนาญาณ ๙)
       ๑๓. โคตรภูญาณ ญาณครอบโคตรคือหัวต่อที่ข้ามพ้นภาวะปุถุชน
       ๑๔. มัคคญาณ ญาณในอริยมรรค
       ๑๕. ผลญาณ ญาณในอริยผล
       ๑๖. ปัจจเวกขณญาณ ญาณที่พิจารณาทบทวน;
       ญาณ ๑๖ นี้เรียกเลียนคำบาลีว่า โสฬสญาณ หรือ เรียกกึ่งไทยว่า ญาณโสฬส;
       ดู วิปัสสนาญาณ ๙

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 12
ทสพลญาณ พระญาณเป็นกำลังของพระพุทธเจ้า ๑๐ ประการ เรียกตามบาลีว่า ตถาคตพลญาณ (ญาณเป็นกำลังของพระตถาคต) ๑๐ คือ
       ๑. ฐานาฐานญาณ
       ๒. กรรมวิปากญาณ
       ๓. สัพพัตถคามินีปฏิปทาญาณ
       ๔. นานาธาตุญาณ
       ๕. นานาธิมุตติกญาณ
       ๖. อินทริยปโรปริยัตตญาณ
       ๗. ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ
       ๘. ปุพเพนิวาสานุสติญาณ
       ๙. จุตูปปาตญาณ
       ๑๐. อาสวักขยญาณ;
           นิยมเขียน ทศพลญาณ;
           ดู ญาณ ชื่อนั้นๆ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 12
นิพพิทาญาณ ความรู้ที่ทำให้เบื่อหน่ายในกองทุกข์, ปรีชาหยั่งเห็นสังขาร ด้วยความหน่าย;
       ดู วิปัสสนาญาณ

นิพพิทานุปัสสนาญาณ ปรีชาคำนึงถึงสังขารด้วยความหน่าย เพราะมีแต่โทษมากมาย แต่ไม่ใช่ทำลายตนเองเพราะเบื่อสังขาร
       เรียกสั้นว่า นิพพิทาญาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 12
ประมาณ การวัด, การกะ, เครื่องวัด, เกณฑ์, การถือเกณฑ์;
       บุคคลในโลกแบ่งตามประมาณ คือหลักเกณฑ์ในใจที่ใช้วัดในการที่จะเกิดความเชื่อถือ หรือความนิยมเลื่อมใส
       ท่านแสดงไว้ ๔ จำพวก คือ
           ๑. รูปประมาณ หรือ รูปัปปมาณิกา ผู้ถือรูปร่าง เป็นประมาณ
           ๒. โฆษประมาณ หรือ โฆสัปปมาณิกา ผู้ถือเสียงหรือชื่อเสียง เป็นประมาณ
           ๓. ลูขประมาณ หรือ ลูขัปปมาณิกา ผู้ถือความคร่ำหรือปอนๆ เป็นประมาณ
           ๔. ธรรมประมาณ หรือ ธัมมัปปมาณิกา ผู้ถือธรรม คือเอาเนื้อหาสาระเหตุผลหลักการและความถูกต้อง เป็นประมาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 12
ประหาน ละ, กำจัด; การละ, การกำจัด;
       ตามหลักภาษาควรเขียน ปหาน หรือ ประหาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 12
ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ความรู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน, ระลึกชาติได้
       (ข้อ ๑ ในวิชชา ๓, ข้อ ๔ ในอภิญญา ๖, ข้อ ๖ ในวิชชา ๘, ข้อ ๘ ในทศพลญาณ)
       เขียนอย่างรูปเดิมในภาษาบาลีเป็น ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ;
       ใช้ว่า บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ก็มี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 12
วิญญาณ ความรู้แจ้งอารมณ์, จิต,
       ความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายในและอายตนะภายนอกกระทบกัน
       เช่น รูปอารมณ์ในเวลาเมื่อรูปมากระทบตา เป็นต้น
       ได้แก่ การเห็น การได้ยิน เป็นอาทิ;
       วิญญาณ ๖ คือ
           ๑. จักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา (เห็น)
           ๒. โสตวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางหู (ได้ยิน)
           ๓. ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก (ได้กลิ่น)
           ๔. ชิวหาวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น (รู้รส)
           ๕. กายวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางกาย (รู้สิ่งต้องกาย)
           ๖. มโนวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางใจ (รู้เรื่องในใจ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 12
วิปัสสนาญาณ ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนามี ๙ อย่าง คือ
       ๑. อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป
       ๒. ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา
       ๓. ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว
       ๔. อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นโทษ
       ๕. นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นด้วยความหน่าย
       ๖. มุจจิตุกัมยตาญาณ ญาณหยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย
       ๗. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง
       ๘. สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร
       ๙. สัจจานุโลมิกญาณ ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจจ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 12
เวสารัชชญาณ พระปรีชาญาณอันทำให้พระพุทธเจ้าทรงมีความแกล้วกล้าไม่ครั่นคร้าม ด้วยไม่ทรงเห็นว่าจะมีใครท้วงพระองค์ได้โดยชอบธรรม ในฐานะทั้ง ๔ คือ
       ๑. ท่านปฏิญญาว่าเป็นสัมมาสัมพุทธะ ธรรมเหล่านี้ ท่านยังไม่รู้แล้ว
       ๒. ท่านปฏิญญาว่าเป็นขีณาสพ อาสวะนี้ของท่านยังไม่สิ้นแล้ว
       ๓. ท่านกล่าวธรรมเหล่าใดว่าทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่อาจทำอันตรายแก่ผู้ส้องเสพได้จริง
       ๔. ท่านแสดงธรรมเพื่อประโยชน์อย่างใด ประโยชน์อย่างนั้นไม่เป็นทางนำผู้ทำตามให้ถึงความสิ้นทุกข์ โดยชอบได้จริง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 12
สัจจานุโลมญาณ ดู สัจจานุโลมิกญาณ

สัจจานุโลมิกญาณ ปรีชาเป็นไปโดยสมควรแก่การกำหนดรู้อริยสัจจ์,
       ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจจ์;
       อนุโลมญาณ ก็เรียก
       (ข้อ ๙ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 12
อุทยัพพยญาณ ปรีชาหยั่งรู้ความเกิดและความดับแห่งสังขาร;
       ดู อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ

อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ปรีชาคำนึงเห็นความเกิดและความดับแห่งสังขาร,
       ญาณที่มองเห็นนามรูปเกิดดับ
       (ข้อ ๑ ในวิปัสสนาญาณ ๙)


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=าณ_
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D2%B3_


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]