ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ าน ”             ผลการค้นหาพบ  19  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 19
กรรมฐาน ดู กัมมัฏฐาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 19
กัมมัฏฐาน ที่ตั้งแห่งการงาน, อารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งการงานของใจ, อุบายทางใจ,
       วิธีฝึกอบรมจิต มี ๒ ประเภท คือ
           สมถกัมมัฏฐาน อุบายสงบใจ ๑
           วิปัสสนากัมมัฏฐาน อุบายเรืองปัญญา ๑
       (นิยมเขียน กรรมฐาน);
       ดู ภาวนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 19
กัมมัฏฐาน ๔๐ คือ
       กสิณ ๑๐
       อสุภะ ๑๐
       อนุสสติ ๑๐
       พรหมวิหาร ๔
       อาหาเรปฏิกูลสัญญา ๑
       จตุธาตุววัตถาน ๑
       อรูป ๔

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 19
ฌาน การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่ เป็นอัปปนาสมาธิ, ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก;
       ฌาน ๔ คือ
           ๑. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)
           ๒. ทุติยฌาน มีองค์ ๓ (ปีติ สุข เอกัคคตา)
           ๓. ตติยฌาน มีองค์ ๒ (สุข เอกัคคตา)
           ๔. จตุตถฌาน มีองค์ ๒ (อุเบกขา เอกัคคตา);
       ฌาน ๕ ก็เหมือนอย่าง ฌาน ๔ นั่นเอง แต่ตามแบบอภิธรรม ท่านซอยละเอียดออกไป โดยเพิ่มข้อ ๒ แทรกเข้ามา คือ
           ๑. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)
           ๒. ทุติยฌาน มีองค์ ๔ (วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา)
           ข้อ ๓. ๔. ๕. ตรงกับ ข้อ ๒. ๓. ๔. ในฌาน ๔ ตามลำดับ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 19
ตจปัญจกกัมมัฏฐาน กรรมฐานมีหนังเป็นที่คำรบห้า,
       กรรมฐานอันบัณฑิตกำหนดด้วยอาการมีหนังเป็นที่ ๕ เป็นอารมณ์
       คือ กรรมฐานที่ท่านสอนให้พิจารณาส่วนของร่างกาย ๕ อย่าง คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง โดยความเป็นของปฏิกูล หรือโดยความเป็นสภาวะอย่างหนึ่งๆ ตามที่มันเป็นของมัน ไม่เอาใจเข้าไปผูกพันแล้วคิดวาดภาพใฝ่ฝันตามอำนาจกิเลส
       พจนานุกรมเขียน ตจปัญจกกรรมฐาน
       เรียกอีกอย่างว่า มูลกัมมัฏฐาน (กรรมฐานเบื้องต้น)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 19
ทาน การให้, สิ่งที่ให้, ให้ของที่ควรให้แก่คนที่ควรให้เพื่อประโยชน์แก่เขา, สละให้ปันสิ่งของของตนเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น;
       ทาน ๒ คือ
           ๑. อามิสทาน ให้สิ่งของ
           ๒. ธรรมทาน ให้ธรรม;
       ทาน ๒ อีกหมวดหนึ่ง คือ
           ๑. สังฆทาน ให้แก่สงฆ์ หรือให้เพื่อส่วนรวม
           ๒. ปาฏิบุคลิกทาน ให้เจาะจงแก่บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งโดยเฉพาะ
       (ข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม, ข้อ ๑ ในบารมี ๑๐, ข้อ ๑ ในบุญกิริยาวัตถุ ๓ และ ๑๐, ข้อ ๑ ในสังคหวัตถุ ๔, ข้อ ๑ ในสัปปุริสบัญญัติ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 19
ธรรมสมาทาน การสมาทานหรือปฏิบัติธรรม,
       การทำกรรม จัดได้เป็น ๔ ประเภท คือ
           การทำกรรมบางอย่างให้ทุกข์ในปัจจุบัน และมีทุกข์เป็นวิบากต่อไป,
           บางอย่างให้ทุกข์ในปัจจุบัน แต่มีสุขเป็นวิบากต่อไป,
           บางอย่างให้สุขในปัจจุบัน แต่มีทุกข์เป็นวิบากต่อไป,
           บางอย่างให้สุขในปัจจุบัน และมีสุขเป็นวิบากต่อไป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 19
นิพพาน การดับกิเลสและกองทุกข์ เป็นโลกุตตรธรรม และเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา;
       ดู นิพพานธาตุ

นิพพานธาตุ ภาวะแห่งนิพพาน;
       นิพพาน หรือ นิพพานธาตุ ๒ คือ
           ๑. สอุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสมีเบญจขันธ์เหลือ
           ๒. อนุปาทิเสสนิพพาน ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 19
ปธาน ความเพียร,
       ความเพียรที่ชอบเป็นสัมมาวายามะ มี ๔ อย่าง คือ
           ๑. สังวรปธาน เพียรระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น
           ๒. ปหานปธาน เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
           ๓. ภาวนาปธาน เพียรเจริญทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น
           ๔. อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เสื่อมไปและให้เพิ่มไพบูลย์;
       สัมมัปปธาน ก็เรียก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 19
ประหาน ละ, กำจัด; การละ, การกำจัด;
       ตามหลักภาษาควรเขียน ปหาน หรือ ประหาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 19
ปานะ เครื่องดื่ม, น้ำสำหรับดื่ม ที่คั้นจากลูกไม้ (น้ำคั้นผลไม้) จัดเป็นยามกาลิก
       ท่านแสดงไว้ ๘ ชนิด คือ
           ๑. อมฺพปานํ น้ำมะม่วง
           ๒. ชมฺพุปานํ น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า
           ๓. โจจปานํ น้ำกล้วยมีเม็ด
           ๔. โมจปานํ น้ำกล้วยไม่มีเม็ด
           ๕. มธุกปานํ น้ำมะทราง (ต้องเจือน้ำจึงจะควร)
           ๖. มุทฺทิกปานํ น้ำลูกจันทร์หรือองุ่น
           ๗. สาลุกปานํ น้ำเหง้าอุบล
           ๘. ผารุสกปานํ น้ำมะปรางหรือลิ้นจี่
       นิยมเรียกว่า อัฏฐบาน หรือ น้ำอัฏฐบาน (ปานะ ๘ อย่าง)
       วิธีทำปานะที่ท่านแนะไว้ คือ ปอกหรือคว้านผลไม้เหล่านี้ที่สุก เอาผ้าห่อ บิดให้ตึงอัดเนื้อผลไม้ให้คายน้ำออกจากผ้า เติมน้ำลงให้พอดี (จะไม่เติมน้ำก็ได้เว้นแต่ผลมะทรางซึ่งท่านระบุว่าต้องเจือน้ำจึงควร) แล้วผสมน้ำตาลและเกลือเป็นต้นลงไปพอให้ได้รสดี
       ข้อจำกัดที่พึงทราบคือ
           ๑. ปานะนี้ให้ใช้ของสดห้ามมิให้ต้มด้วยไฟ
               (ข้อนี้พระมติสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสว่าแม้สุกก็ไม่น่ารังเกียจ)
           ๒. ต้องเป็นของที่อนุปสัมบันทำ จึงควรฉันในเวลาวิกาล
               (ถ้าภิกษุทำถือเป็นเหมือนยาวกาลิก เพราะรับประเคนมาทั้งผล)
           ๓. ของประกอบเช่นน้ำตาลและเกลือ ไม่ให้เอาของที่รับประเคนค้างคืนไว้มาใช้
               (แสดงว่ามุ่งให้เป็นปานะที่อนุปสัมบันทำถวายด้วยของของเขาเอง)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 19
รูปฌาน ฌานมีรูปธรรมเป็นอารมณ์มี ๔ คือ
       ๑. ปฐมฌาน ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ
           วิตก(ตรึก)
           วิจาร(ตรอง)
           ปีติ(อิ่มใจ)
           สุข(สบายใจ)
           เอกัคคตา(จิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง)
       ๒. ทุติยฌาน ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ปีติ, สุข, เอกัคคตา
       ๓. ตติยฌาน ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ สุข, เอกัคคตา
       ๔. จตุตถฌาน ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ คือ อุเบกขา, เอกัคคตา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 19
วิขัมภนปหาน การละกิเลสได้ด้วยข่มไว้ด้วยฌาน;
       มักเขียน วิกขัมภนปหาน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 19
สติปัฏฐาน ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ, ข้อปฏิบัติมีสติเป็นประธาน, การตั้งสติกำหนดพิจารณาสิ่งทั้งหลายให้รู้เห็นเท่าทันตามความเป็นจริง, การมีสติกำกับดูสิ่งต่างๆ และความเป็นไปทั้งหลาย โดยรู้เท่าทันตามสภาวะของมัน ไม่ถูกครอบงำด้วยความยินดียินร้าย ที่ทำให้มองเห็นเพี้ยนไปตามอำนาจกิเลส มี ๔ อย่างคือ
       ๑. กายานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณากาย, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันกายและเรื่องทางกาย
       ๒. เวทนานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาเวทนา, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันเวทนา
       ๓. จิตตานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาจิต, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันจิตหรือสภาพและอาการของจิต
       ๔. ธัมมานุปัสสนา สติปัฏฐาน การตั้งสติกำหนดพิจารณาธรรม, การมีสติกำกับดูรู้เท่าทันธรรม;
       เรียกสั้นๆ ว่า กาย เวทนา จิต ธรรม;
       ดู โพธิปักขิยธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 19
อธิษฐาน
       1. ในทางพระวินัย แปลว่า การตั้งเอาไว้หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ คือ ตั้งเอาไว้เป็นของนั้นๆ หรือตั้งใจกำหนดเอาไว้ว่าจะใช้เป็นของประจำตัวชนิดนั้นๆ
           เช่น ได้ผ้ามาผืนหนึ่ง ตั้งใจว่าจะใช้เป็นอะไร คือจะเป็นสังฆาฏิ อุตตราสงค์ อันตรวาสก ก็อธิษฐานเป็นอย่างนั้นๆ เมื่ออธิษฐานแล้ว ของนั้นเรียกว่าเป็นของอธิษฐาน เช่น เป็นสังฆาฏิอธิษฐาน จีวรอธิษฐาน (นิยมเรียกกันว่า จีวรครอง) ตลอดจนบาตรอธิษฐาน
           ส่วนของชนิดนั้น ที่ได้เพิ่มมาอีกหรือเกินจากนั้นไปก็เป็นอติเรก เช่น เป็นอติเรกจีวร อติเรกบาตร,
           คำอธิษฐาน เช่น “อิมํ สงฺฆาฏึ อธิฏฺฐามิ”
           (ถ้าอธิษฐานของอื่น ก็เปลี่ยนไปตามชื่อของนั้น เช่น เป็น อุตฺตราสงฺคํ, อนฺตรวาสกํ เป็นต้น)
       2. ความตั้งใจมั่น, การตัดสินใจเด็ดเดี่ยว, ความมั่นคง เด็ดเดี่ยว แน่วแน่ในทางดำเนินและจุดมุ่งหมายของตน (ข้อ ๘ ในบารมี ๑๐),
           ในภาษาไทยมักใช้ในความหมายว่า ความตั้งใจมุ่งผลอย่างใดอย่างหนึ่ง, ความตั้งจิตปรารถนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 19
อภิฐาน ฐานะอย่างหนัก,
       ความผิดสถานหนัก มี ๖ อย่าง คือ
           ๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา
           ๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา
           ๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์
           ๔. โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าให้ถึงห้อพระโลหิต
           ๕. สังฆเภท ทำสงฆ์ให้แตกกัน
           ๖. อัญญสัตถุทเทส ถือศาสดาอื่น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 19
อรูปฌาน ฌานมีอรูปธรรมเป็นอารมณ์ มี ๔;
       ดู อรูป

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 19
อารักขกัมมัฏฐาน กรรมฐานเป็นเครื่องรักษาตน,
       กรรมฐานเป็นเครื่องรักษาผู้ปฏิบัติให้สงบระงับ ซึ่งควรเจริญเป็นนิตย์ เป็นของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ทรงไว้ มี ๔ อย่างคือ
           ๑. พุทธานุสสติ ระลึกถึงคุณพระพุทธเจ้าที่มีในพระองค์ และทรงเกื้อกูลแก่ผู้อื่น
           ๒. เมตตา แผ่ไมตรีจิตต์ คิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า
           ๓. อสุภะ พิจารณาร่างกายตนและผู้อื่นให้เห็นเป็นไม่งาม
           ๔. มรณัสสติ นึกถึงความตายอันจะมีแก่ตนเป็นธรรมดา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 19
อุปาทาน ความยึดมั่น, ความถือมั่นด้วยอำนาจกิเลส มี ๔ คือ
       ๑. กามุปาทาน ความถือมั่นในกาม
       ๒. ทิฏฐุปาทาน ความถือมั่นในทิฏฐิ
       ๓. สีลัพพตุปาทาน ความถือมั่นในศีลและพรต
       ๔. อัตตวาทุปาทาน ความถือมั่นวาทะว่าตน


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=าน_
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D2%B9_


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]