ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ิญ ”             ผลการค้นหาพบ  42  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 42
กายวิญญัติ ความเคลื่อนไหวร่างกายให้รู้ความหมาย
       เช่น สั่นศีรษะ โบกมือ ขยิบตา ดีดนิ้ว เป็นต้น;
       เทียบ วจีวิญญัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 42
กายวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะโผฏฐัพพะกระทบกาย, โผฏฐัพพะกระทบกาย เกิดความรู้ขึ้น
       (ข้อ ๕ ในวิญญาณ ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 42
ขิปปาภิญญา รู้ฉับพลัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 42
ฆานวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะกลิ่นกระทบจมูก, กลิ่นกระทบจมูกเกิดความรู้ขึ้น, ความรู้กลิ่น
       (ข้อ ๓ ในวิญญาณ ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 42
จักขุวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะรูปกระทบตา, รูปกระทบตา เกิดความรู้ขึ้น, การเห็น
       (ข้อ ๑ ในวิญญาณ ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 42
เจริญพร คำเริ่มและคำรับที่ภิกษุสามเณรใช้พูดกับคฤหัสถ์ผู้ใหญ่และสุภาพชนทั่วไป ตลอดจนใช้เป็นคำขึ้นต้นและลงท้ายจดหมายที่ภิกษุสามเณรมีไปถึงบุคคลเช่นนั้นด้วย
       (เทียบได้กับคำว่า เรียน และ ครับ หรือ ขอรับ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 42
เจริญวิปัสสนา ปฏิบัติวิปัสสนา, บำเพ็ญวิปัสสนา, ฝึกอบรมปัญญาโดยพิจารณาสังขาร คือ รูปธรรมและนามธรรมทั้งหมดแยกออกเป็นขันธ์ๆ กำหนดด้วยไตรลักษณ์ว่า ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 42
ชิวหาวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะรสกระทบลิ้น, รสกระทบลิ้นเกิดความรู้ขึ้น, การรู้รส
       (ข้อ ๔ ในวิญญาณ ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 42
ฌานาทิสังกิเลสาทิญาณ ปรีชากำหนดรู้ความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว และการออกแห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ ตามความเป็นจริง
       (ข้อ ๗ ในทศพลญาณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 42
ญาตปริญญา กำหนดรู้ขั้นรู้จัก คือ กำหนดรู้สิ่งนั้นๆ ตามลักษณะที่เป็นสภาวะของมันเอง พอให้แยกออกมาจากสิ่งอื่นๆ ได้ เช่น รู้ว่า นี้คือเวทนา เวทนามีลักษณะเสวยอารมณ์ ดังนี้เป็นต้น
       (ข้อ ๑ ในปริญญา ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 42
ตีรณปริญญา กำหนดรู้ขั้นพิจารณา
       คือ กำหนดรู้สังขารด้วยการพิจารณาเห็นไตรลักษณ์ ว่าสิ่งนั้นๆ มีลักษณะไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา
       (ข้อ ๒ ในปริญญา ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 42
บุพเพนิวาสานุสติญาณ ดู ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 42
ปฏิญญา ให้คำมั่น, แสดงความยืนยัน, ให้การยอมรับ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 42
ปฏิญญาตกรณะ “ทำตามรับ” ได้แก่ ปรับอาบัติตามปฏิญญาของจำเลยผู้รับเป็นสัตย์
       การแสดงอาบัติก็จัดเข้าในข้อนี้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 42
ปฏิญาณ การให้คำมั่นโดยสุจริตใจ, การยืนยัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 42
ปริญญา การกำหนดรู้, การทำความเข้าใจโดยครบถ้วน มี ๓ คือ
       ๑. ญาตปริญญา กำหนดรู้ขั้นรู้จัก
       ๒. ตีรณปริญญา กำหนดรู้ขั้นพิจารณา
       ๓. ปหานปริญญา กำหนดรู้ถึงขั้นละได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 42
ปหานปริญญา กำหนดรู้ถึงขั้นละได้
       คือ กำหนดรู้สังขารว่าเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จนถึงขั้นละนิจจสัญญา เป็นต้น ในสังขารนั้นได้
       (ข้อ ๓ ในปริญญา ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 42
ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ พระธรรมอันวิญญูชนพึงรู้เฉพาะตน ผู้อื่นไม่พลอยตามรู้ตามเห็นด้วย เหมือนรสอาหาร ผู้บริโภคเท่านั้นจึงจะรู้รส ผู้ไม่ได้บริโภคจะพลอยรู้รสด้วยไม่ได้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 42
ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ความรู้เป็นเครื่องระลึกได้ถึงขันธ์ที่อาศัยอยู่ในก่อน, ระลึกชาติได้
       (ข้อ ๑ ในวิชชา ๓, ข้อ ๔ ในอภิญญา ๖, ข้อ ๖ ในวิชชา ๘, ข้อ ๘ ในทศพลญาณ)
       เขียนอย่างรูปเดิมในภาษาบาลีเป็น ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ;
       ใช้ว่า บุพเพนิวาสานุสสติญาณ ก็มี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 42
ผู้มีราตรีเดียวเจริญ ผู้มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันกลางคืน อยู่ด้วยความไม่ประมาท

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 42
โพธิญาณ ญาณคือความตรัสรู้, ญาณคือปัญญาตรัสรู้, มรรคญาณทั้งสี่มีโสตาปัตติมัคคญาณ เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 42
มโนวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะธรรมารมณ์เกิดกับใจ, ธรรมเกิดกับใจ เกิดความรู้ขึ้น, ความรู้อารมณ์ทางใจ
       (ข้อ ๖ ในวิญญาณ ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 42
วจีวิญญัติ การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมายด้วยวาจา ได้แก่ การพูด การกล่าวถ้อยคำ;
       เทียบ กายวิญญัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 42
วิญญัติ
       1. การเคลื่อนไหวให้รู้ความหมาย, การสื่อความหมาย มี ๒ คือ
           ๑. กายวิญญัติ การให้รู้ความหมายด้วยกาย เช่น พยักหน้า กวักมือ
           ๒. วจีวิญญัติ การให้รู้ความหมายด้วยวาจา คือพูด หรือบอกกล่าว
       2. การออกปากขอของต่อคนไม่ควรขอ หมายถึงภิกษุขอสิ่งของต่อคฤหัสถ์ผู้ไม่ใช่ญาติ ผู้ไม่ใช่คนปวารณา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 42
วิญญาณ ความรู้แจ้งอารมณ์, จิต,
       ความรู้ที่เกิดขึ้นเมื่ออายตนะภายในและอายตนะภายนอกกระทบกัน
       เช่น รูปอารมณ์ในเวลาเมื่อรูปมากระทบตา เป็นต้น
       ได้แก่ การเห็น การได้ยิน เป็นอาทิ;
       วิญญาณ ๖ คือ
           ๑. จักขุวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางตา (เห็น)
           ๒. โสตวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางหู (ได้ยิน)
           ๓. ฆานวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางจมูก (ได้กลิ่น)
           ๔. ชิวหาวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางลิ้น (รู้รส)
           ๕. กายวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางกาย (รู้สิ่งต้องกาย)
           ๖. มโนวิญญาณ ความรู้อารมณ์ทางใจ (รู้เรื่องในใจ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 42
วิญญาณฐิติ ภูมิเป็นที่ตั้งของวิญญาณ มี ๗ คือ
       ๑. สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายต่างกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกมนุษย์ พวกเทพบางหมู่ พวกวินิปาติกะ บางหมู่
       ๒. สัตว์เหล่าหนึ่งมีกายต่างกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพผู้อยู่ในจำพวกพรหมผู้เกิดในภูมิปฐมฌาน
       ๓. สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาต่างกัน เช่น พวกเทพอาภัสสระ
       ๔. สัตว์เหล่าหนึ่ง มีกายอย่างเดียวกัน มีสัญญาอย่างเดียวกัน เช่น พวกเทพสุภกิณหะ
       ๕. สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนะ
       ๖. สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้นวิญญาณัญจายตนะ
       ๗. สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึงชั้นอากิญจายตนะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 42
วิญญาณธาตุ ธาตุรู้, ความรู้แจ้ง, ความรู้อะไรได้
       (ข้อ ๖ ในธาตุ ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 42
วิญญาณัญจายตนะ ฌานอันกำหนดวิญญาณหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์หรือภพของผู้เข้าถึงฌานนี้
       (ข้อ ๒ ในอรูป ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 42
วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ, วิญญาณเป็นอาหาร คือเป็นปัจจัยอุดหนุนหล่อเลี้ยงให้เกิดนามรูป
       (ข้อ ๔ ในอาหาร ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 42
วิญญู ผู้รู้แจ้ง, นักปราชญ์;
       ผู้รู้ผิดรู้ชอบตามปรกติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 42
วิมุตติญาณทัสสนะ ความรู้ความเห็นในวิมุตติ, ความรู้เห็นว่าจิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 42
วิมุตติญาณทัสสนกถา ถ้อยคำที่ชักนำให้เกิดความรู้ความเห็นในความที่ใจพ้นจากกิเลส
       (ข้อ ๑๐ ในกถาวัตถุ ๑๐)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 42
วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ กองวิมุตติญาณทัสสนะ,
       หมวดธรรมว่าด้วย ความรู้ความเห็นว่า จิตหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ
       เช่น ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ
       (ข้อ ๕ ในธรรมขันธ์ ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 42
วุฑฒิ ธรรมเป็นเครื่องเจริญ, ธรรมเป็นเหตุให้ถึงความเจริญ มี ๔ อย่าง คือ
       ๑. สัปปุริสสังเสวะ คบหาสัตบุรุษ
       ๒. สัทธัมมัสสวนะ ฟังสัทธรรม
       ๓. โยนิโสมนสิการ ทำในใจโดยแยบคาย
       ๔. ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม,
       เรียกและเขียนเป็นวุฒิบ้าง วุฑฒิธรรมบ้าง วุฒิธรรมบ้าง,
       ในบาลีเรียกว่า ธรรมที่เป็นไปเพื่อปัญญาวุฑฒิ หรือ ปัญญาวุฒิ คือ เพื่อความเจริญแห่งปัญญา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 42
สวิญญาณกะ สิ่งที่มีวิญญาณ ได้แก่ สัตว์ต่างๆ เช่น แพะ แกะ สุกร โค กระบือ เป็นต้น;
       เทียบ อวิญญาณกะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 42
สัมมาสัมโพธิญาณ ญาณเป็นเครื่องตรัสรู้เองโดยชอบ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 42
โสตวิญญาณ ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะเสียงกระทบหู, เสียงกระทบหู เกิดความรู้ขึ้น, การได้ยิน
       (ข้อ ๒ ในวิญญาณ ๖)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 42
อภิญญา ความรู้ยิ่ง, ความรู้เจาะตรงยวดยิ่ง,
       ความรู้ชั้นสูง มี ๖ อย่างคือ
           ๑. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ต่างๆ ได้
           ๒. ทิพพโสต หูทิพย์
           ๓. เจโตปริยญาณ ญาณที่ให้ทายใจคนอื่นได้
           ๔. ปุพเพนิวาสานุสติ ญาณที่ทำให้ระลึกชาติได้
           ๕. ทิพพจักขุ ตาทิพย์
           ๖. อาสวักขยญาณ ญาณที่ทำให้อาสวะสิ้นไป,
       ๕ อย่างแรกเป็นโลกียอภิญญา ข้อสุดท้ายเป็นโลกุตตรอภิญญา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 42
อภิญญาเทสิตธรรม ธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงด้วยพระปัญญาอันยิ่ง
       หมายถึง โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ มีสติปัฏฐาน ๔ เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 42
อวิญญาณกะ พัสดุที่ไม่มีวิญญาณ เช่น เงิน ทอง ผ้านุ่งห่ม และเครื่องใช้สอย เป็นต้น;
       เทียบ สวิญญาณกะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 42
อัฏฐิมิญชะ เยื่อในกระดูก (ปัจจุบันแปลว่า ไขกระดูก)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 42
อากิญจัญญายตนะ ฌานกำหนดภาวะที่ไม่มีอะไรเลยเป็นอารมณ์,
       ภพของผู้เข้าถึงอากิญจัญญายตนฌาน
       (ข้อ ๓ ในอรูป ๔)


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ิญ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D4%AD


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]