ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ุญ ”             ผลการค้นหาพบ  29  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 29
กายปาคุญญตา ความคล่องแคล่วแห่งนามกาย,
       ธรรมชาติทำนามกายคือ เจตสิกทั้งหลายให้แคล่วคล่องว่องไว รวดเร็ว
       (ข้อ ๑๖ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 29
กุศลบุญจริยา ความประพฤติที่เป็นบุญ เป็นกุศล, การทำความดีอย่างฉลาด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 29
จิตตปาคุญญตา ความคล่องแคล้วแห่งจิต, ธรรมชาติที่ทำจิตให้สละสลวย คล่องแคล่วว่องไว
       (ข้อ ๑๗ ในโสภณเจตสิก ๒๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 29
ทำบุญ ทำความดี, ทำสิ่งที่ดีงาม, ประกอบกรรมดี ดังที่ท่านแสดงใน บุญกิริยาวัตถุ ๓ หรือบุญกิริยาวัตถุ ๑๐
       แต่ที่พูดกันทั่วไป มักเพ่งที่การเลี้ยงพระตักบาตร ถวายจตุปัจจัยแก่พระสงฆ์ บริจาคบำรุงวัดและการก่อสร้างในวัด เป็นสำคัญ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 29
ทิพพจักขุญาณ ญาณ คือทิพพจักขุ, ความรู้ดุจดวงอาทิตย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 29
นักบุญ ผู้ใฝ่บุญ, ผู้ถือศาสนาอย่างเคร่งครัด, ผู้ทำประโยชน์แก่พระศาสนา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 29
นานาธาตุญาณ ปรีชาหยั่งรู้ธาตุต่างๆ คือรู้จักแยกสมมติออกเป็นขันธ์ อายตนะ ธาตุต่างๆ
       (ข้อ ๔ ในทศพลญาณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 29
บุญ เครื่องชำระสันดาน, ความดี, กุศล, ความสุข, ความประพฤติชอบทางกายวาจาและใจ, กุศลธรรม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 29
บุญกิริยาวัตถุ สิ่งที่เป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ, เรื่องที่จัดเป็นการทำบุญ, ทางทำความดี,
       หมวด ๓ คือ
           ๑. ทานมัย ทำบุญด้วยการให้
           ๒. สีลมัย ทำบุญด้วยการรักษาศีลและประพฤติดี
           ๓. ภาวนามัย ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา ;
       หมวด ๑๐ คือ
           ๑. ทานมัย ทำบุญด้วยการให้
           ๒. สีลมัย ทำบุญด้วยการรักษาศีลและประพฤติดี
           ๓. ภาวนามัย ทำบุญด้วยการเจริญภาวนา
           ๔. อปจายนมัย ด้วยการประพฤติอ่อนน้อม
           ๕. เวยยาวัจจมัย ด้วยการช่วยขวนขวายรับใช้
           ๖. ปัตติทานมัย ด้วยการเฉลี่ยส่วนความดีให้ผู้อื่น
           ๗. ปัตตานุโมทนามัย ด้วยความยินดี ความดีของผู้อื่น
           ๘. ธัมมัสสวนมัย ด้วยการฟังธรรม
           ๙. ธัมมเทสนามัย ด้วยการสั่งสอนธรรม
           ๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ ด้วยการทำความเห็นให้ตรง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 29
บุญเขต เนื้อนาบุญ; ดู สังฆคุณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 29
บุญญาภิสังขาร ดู ปุญญาภิสังขาร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 29
บุญนิธิ ขุมทรัพย์คือบุญ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 29
บุญราศี กองบุญ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 29
บุญฤทธิ์ ความสำเร็จด้วยบุญ, อำนาจบุญ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 29
บูชามยบุญราศี กองบุญที่สำเร็จด้วยการบูชา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 29
ปุญญาภิสังขาร อภิสังขารที่เป็นบุญ, สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายดี
       ได้แก่กุศลเจตนา (เฉพาะที่เป็นกามาวจรและรูปวจร)
       (ข้อ ๑ ในอภิสังขาร ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 29
ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในก่อน, ทำความดีให้พร้อมไว้ก่อนแล้ว
       (ข้อ ๔ ในจักร ๔)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 29
เปสุญญวาท ถ้อยคำส่อเสียด; ดู ปิสุณาวาจา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 29
พรหมบุญ บุญอย่างสูง เป็นคำแสดงอานิสงส์ของผู้ชักนำให้สงฆ์สามัคคีปรองดองกัน ได้พรหมบุญจักแช่มชื่นในสวรรค์ตลอดกัปป์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 29
พุทธานุญาต ข้อที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาต

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 29
มุขปุญฉนะ ผ้าเช็ดปาก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 29
มุญจิตุกัมยตาญาณ ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย,
       ความหยั่งรู้ที่ทำให้ต้องการจะพ้นไปเสีย คือ ต้องการจะพ้นไปเสียจากสังขารที่เบื่อหน่ายแล้ว ด้วยนิพพิทานุปัสสนาญาณ
       (ข้อ ๖ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 29
เมณฑกานุญาต ข้ออนุญาตที่ปรารภเมณฑกเศรษฐี คืออนุญาตให้ภิกษุยินดีของที่กัปปิยการก จัดซื้อมาด้วยเงินที่ผู้ศรัทธาได้มอบให้ไว้ ตามแบบอย่างที่เมณฑกเศรษฐีเคยทำ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 29
สุญญตวิโมกข์ ความหลุดพ้นโดยว่างจาก ราคะ โทสะ โมหะ
       หมายถึง มองเห็นความว่าง หมดความยึดมั่น คือพิจารณาเห็นนามรูปโดยความเป็นอนัตตา
       พูดสั้นๆ ว่า หลุดพ้นเพราะเห็นอนัตตา
       (ข้อ ๑ ในวิโมกข์ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 29
สุญญตสมาธิ สมาธิอันพิจารณาเห็นความว่าง
       ได้แก่ วิปัสสนาที่ให้ถึงความหลุดพ้นด้วยกำหนดอนัตตลักษณะ
       (ข้อ ๑ ในสมาธิ ๓)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 29
สุญญตา “ความเป็นสภาพสูญ”, ความว่าง
       1. ความเป็นสภาพที่ว่างจากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา เฉพาะอย่างยิ่ง ภาวะที่ขันธ์ ๕ เป็นอนัตตา คือ ไร้ตัวมิใช่ตน ว่างจากความเป็นตน ตลอดจนว่างจากสาระต่างๆ เช่น สาระคือความเที่ยง สาระคือความสวยงาม สาระคือความสุข เป็นต้น,
           โดยปริยายหมายถึง หลักธรรมฝ่ายปรมัตถ์ ดังเช่นขันธ์ ธาตุ อายตนะ และปัจจยาการ (อิทัปปัจจยตา หรือ ปฏิจจสมุปบาท) ที่แสดงแต่ตัวสภาวะให้เห็นความว่างเปล่าปราศจากสัตว์ บุคคล เป็นเพียงธรรมหรือกระบวนธรรมล้วนๆ
       2. ความว่างจากกิเลส มีราคะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ก็ดี สภาวะที่ว่างจากสังขารทั้งหลายก็ดี หมายถึง นิพพาน
       3. โลกุตตรมรรค ได้ชื่อว่าเป็นสุญญตา ด้วยเหตุผล ๓ ประการ คือ
           เพราะลุด้วยปัญญาที่กำหนดพิจารณาความเป็นอนัตตา มองเห็นสภาวะที่สังขารเป็นสภาพว่าง (จากความเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน)
           เพราะว่างจากกิเลสมีราคะเป็นต้น และ
           เพราะมีสุญญตา คือ นิพพาน เป็นอารมณ์
       4. ความว่าง ที่เกิดจากความกำหนดหมายในใจ หรือทำใจเพื่อให้เป็นอารมณ์ของจิตในการเจริญสมาบัติ เช่น ผู้เจริญอากิญจัญญายตนสมาบัติกำหนดใจถึงภาวะว่างเปล่าไม่มีอะไรเลย;
       สุญตา ก็เขียน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 29
อนุญาต ยินยอม, ยอมให้, ตกลง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 29
อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส พระสงฆ์เป็นนาบุญอย่างยอดเยี่ยมของโลก
       เป็นแหล่งเพาะปลูกและเผยแพร่ความดีอย่างสูงสุด
       เพราะพระสงฆ์เป็นผู้บริสุทธิ์ เป็นผู้ฝึกฝนอบรมตน และเป็นผู้เผยแพร่ธรรม
       ไทยธรรมที่ถวายแก่ท่าน ย่อมมีผลอำนวยประโยชน์สุขอย่างกว้างขวางและตลอดกาลยาวนาน
       เหมือนนามีพื้นดินอันดี พืชที่หว่านไปย่อมเผล็ดผลไพบูลย์
       (ข้อ ๙ ในสังฆคุณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 29
อปุญญาภิสังขาร สภาพที่ปรุงแต่งกรรมฝ่ายชั่ว ได้แก่ อกุศลเจตนาทั้งหลาย
       (ข้อ ๒ ในอภิสังขาร ๓)


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ุญ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%D8%AD


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]