ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ ตรัสรู้ ”             ผลการค้นหาพบ  78  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 78
คยา จังหวัดที่พระพุทธเจ้าเคยเสด็จเมื่อครั้งโปรดนักบวชชฎิล และได้ทรงแสดงพระธรรมเทศนาอาทิตตปริยายสูตรที่ตำบลคยาสีสะในจังหวัดนี้
       ปัจจุบันตัวเมืองคยาอยู่ห่างจากพุทธคยา สถานที่ตรัสรู้พระพุทธเจ้าประมาณ ๗ ไมล์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 78
ดุสิต สวรรค์ชั้นที่ ๔ แห่งสวรรค์ ๖ ชัน มีท้าวสันดุสิตเทวราชปกครอง สวรรค์ชั้นนี้เป็นที่สถิตของพระโพธิสัตว์ ก่อนจุติลงมาสู่มนุษยโลกและตรัสรู้ในพระชาติสุดท้าย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 78
โดยชอบ ในประโยคว่า “เป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ” ความตรัสรู้นั้นชอบ ถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ ไม่วิปริต ให้สำเร็จประโยชน์แก่พระองค์เองและผู้อื่น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 78
ตถาคต พระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า เป็นคำที่พระพุทธเจ้าทรงเรียกหรือตรัสถึงพระองค์เอง แปลได้ความหมาย ๘ อย่าง คือ
       ๑. พระผู้เสด็จมาแล้วอย่างนั้น คือ เสด็จมาทรงบำเพ็ญพุทธจริยา เพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก เป็นต้น เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ อย่างไรก็อย่างนั้น
       ๒. พระผู้เสด็จไปแล้วอย่างนั้น คือทรงทำลายอวิชชา สละปวงกิเลส เสด็จไป เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ อย่างไรก็อย่างนั้น
       ๓. พระผู้เสด็จมาถึงตถลักษณะ คือ ทรงมีพระญาณหยั่งรู้เข้าถึงลักษณะที่แท้จริงของสิ่งทั้งหลายหรือของธรรมทุกอย่าง
       ๔. พระผู้ตรัสรู้ตถธรรมตามที่มันเป็น คือ ตรัสรู้อริยสัจ ๔ หรือปฏิจจสมุปบาทอันเป็นธรรมที่จริงแท้แน่นอน
       ๕. พระผู้ทรงเห็นอย่างนั้น คือ ทรงรู้เท่าทันสรรพอารมณ์ที่ปรากฏแก่หมู่สัตว์ทั้งเทพและมนุษย์ ซึ่งสัตวโลกตลอดถึงเทพถึงพรหมได้ประสบและพากันแสวงหา ทรงเข้าใจสภาพที่แท้จริง
       ๖. พระผู้ตรัสอย่างนั้น (หรือมีพระวาจาที่แท้จริง) คือ พระดำรัสทั้งปวงนับแต่ตรัสรู้จนเสด็จดับขันธปรินิพพาน ล้วนเป็นสิ่งแท้จริงถูกต้อง ไม่เป็นอย่างอื่น
       ๗. พระผู้ทำอย่างนั้น คือ ตรัสอย่างใดทำอย่างนั้น ทำอย่างใด ตรัสอย่างนั้น
       ๘. พระผู้เป็นเจ้า (อภิภู) คือ ทรงเป็นผู้ใหญ่ยิ่งเหนือกว่าสรรพสัตว์ตลอดถึงพระพรหมที่สูงสุด เป็นผู้เห็นถ่องแท้ ทรงอำนาจ เป็นราชาที่พระราชาทรงบูชา เป็นเทพแห่งเทพ เป็นอินทร์เหนือพระอินทร์ เป็นพรหมเหนือประดาพรหม ไม่มีใครจะอาจวัดหรือจะทัดเทียมพระองค์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติ และวิมุตติญาณทัสสนะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 78
ตปุสสะ พ่อค้าที่มาจากอุกกลชนบท คู่กับภัลลิกะ พบพระพุทธเจ้าขณะประทับอยู่ ณ ภายใต้ต้นไม้ราชายตนะ ภายหลังตรัสรู้ใหม่ๆ ได้ถวายเสบียงเดินทาง คือ ข้าวสัตตุผล ข้าวสัตตุก้อน แล้วแสดงตนเป็นอุบาสก ถึงพระพุทธเจ้ากับพระธรรมเป็นสรณะ
       นับเป็นปฐมอุบาสกผู้ถึงสรณะ ๒ ที่เรียกว่า เทฺววาจิก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 78
ตรัสรู้ รู้แจ้ง หมายถึงรู้อริยสัจจ์ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 78
ตัณหา ๒- ธิดามารนางหนึ่งใน ๓ นาง ที่อาสาพระยามารผู้เป็นบิดา เข้าไปประโลมพระพุทธเจ้าด้วยอาการต่างๆ ในสมัยที่พระองค์ประทับอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธภายหลังตรัสรู้ใหม่ๆ
       (อีก ๒ นาง คือ อรดีกับราคา)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 78
ไตรปิฎก “ปิฎกสาม”; ปิฎก แปลตามศัพท์อย่างพื้นๆ ว่า กระจาดหรือตะกร้า อันเป็นภาชนะสำหรับใส่รวมของต่างๆ เข้าไว้ นำมาใช้ในความหมายว่า เป็นที่รวบรวมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จัดเป็นหมวดหมู่แล้ว
       โดยนัยนี้ ไตรปิฎกจึงแปลว่า คัมภีร์ที่บรรจุพระพุทธพจน์ (และเรื่องราวชั้นเดิมของพระพุทธศาสนา) ๓ ชุด หรือ ประมวลแห่งคัมภีร์ที่รวบรวมพระธรรมวินัย ๓ หมวด กล่าวคือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และอภิธรรมปิฎก;
       พระไตรปิฎก จัดแบ่งหมวดหมู่ โดยย่อดังนี้
       ๑. พระวินัยปิฎก ประมวลพุทธพจน์ หมวดพระวินัย คือพุทธบัญญัติเกี่ยวกับความประพฤติ ความเป็นอยู่ ขนบธรรมเนียมและการดำเนินกิจการต่างๆ ของภิกษุสงฆ์และภิกษุณีสงฆ์ แบ่งเป็น ๕ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า อา ปา ม จุ ป) คือ
           ๑. อาทิกัมมิกะ หรือ ปาราชิก ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติหนักของฝ่ายภิกษุสงฆ์ ตั้งแต่ ปาราชิกถึงอนิยต
           ๒. ปาจิตตีย์ ว่าด้วยสิกขาบทที่เกี่ยวกับอาบัติเบา ตั้งแต่ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ถึงเสขิยะ รวมตลอดทั้งภิกขุนีวิภังค์ทั้งหมด
           ๓. มหาวรรค ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนต้น ๑๐ ขันธกะ หรือ ๑๐ ตอน
           ๔. จุลวรรค ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ตอนปลาย ๑๒ ขันธกะ
           ๕. ปริวาร คัมภีร์ ประกอบหรือคู่มือ บรรจุคำถามคำตอบสำหรับซ้อมความรู้พระวินัย
       พระวินัยปิฎกนี้ แบ่งอีกแบบหนึ่ง เป็น ๕ คัมภีร์เหมือนกัน (จัด ๒ ข้อ ในแบบต้นนั้นใหม่) คือ
           ๑. มหาวิภังค์ หรือ ภิกขุวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล ๒๒๗ ข้อ) ฝ่ายภิกษุสงฆ์
           ๒. ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ (ศีล ๓๑๑ ข้อ) ฝ่ายภิกษุณีสงฆ์
           ๓. มหาวรรค ๔. จุลวรรค ๕. ปริวาร
       บางทีท่านจัดให้ย่นย่อเข้าอีก แบ่งพระวินัยปิฎกเป็น ๓ หมวด คือ
           ๑. วิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบทในปาฏิโมกข์ทั้งฝ่ายภิกษุสงฆ์และฝ่ายภิกษุณีสงฆ์
               (คือรวมข้อ ๑ และ ๒ ข้างต้นทั้ง ๒ แบบเข้าด้วยกัน)
           ๒. ขันธกะ ว่าด้วยสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ ทั้ง ๒๒ ขันธกะหรือ ๒๒ บทตอน
               (คือรวมข้อ ๓ และ ๔ เข้าด้วยกัน)
           ๓. ปริวาร คัมภีร์ประกอบ (คือข้อ ๕ ข้างบน)
       ๒. พระสุตตันตปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระสูตร คือ พระธรรมเทศนา คำบรรยายธรรมต่างๆ ที่ตรัสยักเยื้องให้เหมาะกับบุคคลและโอกาส ตลอดจนบทประพันธ์ เรื่องเล่า และเรื่องราวทั้งหลายที่เป็นชั้นเดิมในพระพุทธศาสนา แบ่งเป็น ๕ นิกาย (เรียกย่อหรือหัวใจว่า ที ม สํ อํ ขุ) คือ
           ๑. ทีฆนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีขนาดยาว ๓๔ สูตร
           ๒. มัชฌิมนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่มีความยาวปานกลาง ๑๕๒ สูตร
           ๓. สังยุตตนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นกลุ่มๆ เรียกว่าสังยุตหนึ่งๆ ตามเรื่องที่เนื่องกัน หรือตามหัวข้อหรือบุคคลที่เกี่ยวของรวม ๕๖ สังยุต มี ๗,๗๖๒ สูตร
           ๔. อังคุตตรนิกาย ชุมนุมพระสูตรที่จัดรวมเข้าเป็นหมวดๆ เรียกว่านิบาตหนึ่งๆ ตามลำดับจำนวนหัวข้อธรรม รวม ๑๑ นิบาต หรือ ๑๑ หมวดธรรม มี ๙,๕๕๗ สูตร
           ๕. ขุททกนิกาย ชุมนุมพระสูตรคาถาภาษิต คำอธิบาย และเรื่องราวเบ็ดเตล็ดที่จัดเข้าใน ๔ นิกายแรกไม่ได้ มี ๑๕ คัมภีร์
       ๓. อภิธรรมปิฎก ประมวลพุทธพจน์หมวดพระอภิธรรม คือ หลักธรรมและคำอธิบายที่เป็นหลักวิชาล้วนๆ ไม่เกี่ยวด้วยบุคคลหรือเหตุการณ์ แบ่งเป็น ๗ คัมภีร์ (เรียกย่อหรือหัวใจว่า สํ วิ ธา ปุ ก ย ป) คือ
           ๑. สังคณี หรือ ธัมมสังคณี รวมข้อธรรมเข้าเป็นหมวดหมู่แล้วอธิบายทีละประเภทๆ
           ๒. วิภังค์ ยกหมวดธรรมสำคัญๆ ขึ้นตั้งเป็นหัวเรื่องแล้วแยกแยะออกอธิบายชี้แจงวินิจฉัยโดยละเอียด
           ๓. ธาตุกถา สงเคราะห์ข้อธรรมต่างๆ เข้าในขันธ์ อายตนะ ธาตุ
           ๔. ปุคคลบัญญัติ บัญญัติความหมายของบุคคลประเภทต่างๆ ตามคุณธรรมที่มีอยู่ในบุคคลนั้นๆ
           ๕. กถาวัตถุ แถลงและวินิจฉัยทัศนะของนิกายต่างๆ สมัยสังคายนาครั้งที่ ๓
           ๖. ยมก ยกหัวข้อธรรมขึ้นวินิจฉัยด้วยวิธีถามตอบ โดยตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ
           ๗. ปัฏฐาน หรือมหาปกรณ์ อธิบายปัจจัย ๒๔ แสดงความสัมพันธ์เนื่องอาศัยกันแห่งธรรมทั้งหลายโดยพิสดาร
       พระไตรปิฎกที่พิมพ์ด้วยอักษรไทย ท่านจัดแบ่งเป็น ๔๕ เล่ม แสดงพอให้เห็นรูปเค้าดังนี้
       ก. พระวินัยปิฎก ๘ เล่ม
       เล่ม ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑ ว่าด้วยปาราชิก สังฆาทิเสส และอนิยตสิกขาบท (สิกขาบทในปาฏิโมกข์ฝ่ายภิกษุสงฆ์ ๑๙ ข้อแรก)
       เล่ม ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒ ว่าด้วยสิกขาบทเกี่ยวกับอาบัติเบาของภิกษุ (เป็นอันครบสิกขาบท ๒๒๗ หรือ ศีล ๒๒๗)
       เล่ม ๓ ภิกขุนีวิภังค์ ว่าด้วยสิกขาบท ๓๑๑ ของภิกษุณี
       เล่ม ๔ มหาวรรค ภาค ๑ มี ๔ ขันธกะ ว่าด้วยการอุปสมบท (เริ่มเรื่องตั้งแต่ตรัสรู้และประดิษฐานพระศาสนา) อุโบสถ จำพรรษา และปวารณา
       เล่ม ๕ มหาวรรค ภาค ๒ มี ๖ ขันธกะ ว่าด้วยเรื่องเครื่องหนัง เภสัช กฐินจีวร นิคคหกรรม และการทะเลาะวิวาทและสามัคคี
       เล่ม ๖ จุลวรรค ภาค ๑ มี ๔ ขันธกะ ว่าด้วยเรื่องนิคคหกรรม วุฏฐานวิธี และการระงับอธิกรณ์
       เล่ม ๗ จุลวรรค ภาค ๒ มี ๘ ขันธกะ ว่าด้วยข้อบัญญัติปลีกย่อย เรื่องเสนาสนะ สังฆเภท วัตรต่างๆ การงดสวดปาฏิโมกข์ เรื่องภิกษุณี เรื่องสังคายนาครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒
       เล่ม ๘ ปริวาร คู่มือถามตอบซ้อมความรู้พระวินัย
       ข. พระสุตตันตปิฎก ๒๕ เล่ม
       ๑. ทีฆนิกาย ๓ เล่ม
       เล่ม ๙ สีลขันธวรรค มีพระสูตรขนาดยาว ๑๓ สูตร หลายสูตรกล่าวถึงจุลศีล มัชฌิมศีล มหาศีล
       เล่ม ๑๐ มหาวรรค มีพระสูตรยาว ๑๐ สูตร ส่วนมากชื่อเริ่มด้วย “มหา” เช่น มหาปรินิพพานสูตร มหาสติปัฏฐานสูตร เป็นต้น
       เล่ม ๑๑ ปาฏิกวรรค มีพระสูตรยาว ๑๑ สูตร เริ่มด้วยปาฏิกสูตร หลายสูตรมีชื่อเสียงเช่น จักกวัตติสูตร อัคคัญญสูตร สิงคาลกสูตร และสังคีติสูตร
       ๒. มัชฌิมนิกาย ๓ เล่ม
       เล่ม ๑๒ มูลปัณณาสก์ บั้นต้น มีพระสูตรขนาดกลาง ๕๐ สูตร
       เล่ม ๑๓ มัชฌิมปัณณาสก์ บั้นกลาง มีพระสูตรขนาดกลาง ๕๐ สูตร
       เล่ม ๑๔ อุปริปัณณาสก์ บั้นปลาย มีพระสูตรขนาดกลาง ๕๒ สูตร
       ๓. สังยุตตนิกาย ๕ เล่ม
       เล่ม ๑๕ สคาถวรรค รวมคาถาภาษิตที่ตรัสและกล่าวตอบบุคคลต่างๆ เช่น เทวดา มาร ภิกษุณี พราหมณ์ พระเจ้าโกศล เป็นต้น จัดเป็นกลุ่มเรื่องตามบุคคลและสถานที่ มี ๑๑ สังยุต
       เล่ม ๑๖ นิทานวรรค ครึ่งเล่มว่าด้วยเหตุปัจจัย คือหลักปฏิจจสมุปบาท นอกนั้น มีเรื่องธาตุ การบรรลุธรรมสังสารวัฏ ลาภสักการะเป็นต้น จัดเป็น ๑๐ สังยุต
       เล่ม ๑๗ ขันธวาวรรค ว่าด้วยเรื่องขันธ์ ๕ ในแง่มุมต่างๆ มีเรื่องเบ็ดเตล็ด รวมทั้งเรื่อง สมาธิและทิฏฐิต่างๆ ปะปนอยู่บ้าง จัดเป็น ๑๓ สังยุต
       เล่ม ๑๘ สฬายตนวรรค เกือบครึ่งเล่มว่าด้วยอายตนะ ๖ ตามแนวไตรลักษณ์ เรื่องอื่นมีเบญจศีล ข้อปฏิบัติให้ถึงอสังขตะ อันตคาหิกทิฏฐิ เป็นต้น จัดเป็น ๑๐ สังยุต
       เล่ม ๑๙ มหาวารวรรค ว่าด้วยโพธิปักขิยธรรม ๓๗ แต่เรียงลำดับเป็นมรรค โพชฌงค์ สติปัฏฐาน อินทรีย์ สัมมัปปธาน พละ อิทธิบาท รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น นิวรณ์ สังโยชน์ อริยสัจ ฌาน ตลอดถึงองค์คุณของพระโสดาบันและอานิสงส์ของการบรรลุโสดาปัตติผล จัดเป็น ๑๒ สังยุต (พึงสังเกตว่าคัมภีร์นี้เริ่มต้นด้วยการย้ำความสำคัญของความมีกัลยาณมิตรเป็นจุดเริ่มต้นเข้าสู่มรรค)
       ๔. อังคุตตรนิกาย ๕ เล่ม
       เล่ม ๒๐ เอก-ทุก-ติกนิบาต ว่าด้วยธรรม หมวด ๑ หมวด ๒ หมวด ๓ รวมทั้งเรื่องเอตทัคคะ
       เล่ม ๒๑ จตุกกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๔
       เล่ม ๒๒ ปัญจก-ฉักกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๕-๖
       เล่ม ๒๓ สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๗-๘-๙
       เล่ม ๒๔ ทสก-เอกาทสกนิบาต ว่าด้วยธรรมหมวด ๑๐-๑๑
       ในอังคุตตรนิกายมีข้อธรรมหลากหลายลักษณะ ตั้งแต่ทิฏฐธัมมิกัตถะถึงปรมัตถะ ทั้งสำหรับบรรพชิตและสำหรับคฤหัสถ์ กระจายกันอยู่โดยเรียงตามจำนวน
       ๕. ขุททกนิกาย ๙ เล่ม
       เล่ม ๒๕ รวมคัมภีร์ย่อย ๕ คือ
           ขุททกปาฐะ (บทสวดย่อยๆ โดยเฉพาะมงคลสูตร รตนสูตร กรณียเมตตสูตร)
           ธรรมบท (เฉพาะตัวคาถาทั้ง ๔๒๓)
           อุทาน (พุทธอุทาน ๘๐)
           อิติวุตตกะ (พระสูตรที่ไม่ขึ้นต้นด้วย “เอวมฺเม สุตํ” แต่เชื่อมความเข้าสู่คาถาด้วยคำว่า “อิติ วุจฺจติ” รวม ๑๑๒ สูตร) และ
           สุตตนิบาต (ชุมนุมพระสูตรชุดพิเศษ ซึ่งเป็นคาถาล้วนหรือมีความนำเป็นร้อยแก้ว รวม ๗๑ สูตร)
       เล่ม ๒๖ มีคัมภีร์ย่อยที่เป็นคาถาล้วน ๔ คือ
           วิมานวัตถุ (เรื่องผู้เกิดในสวรรค์ อยู่วิมาน เล่าการทำความดีของตนในอดีต ที่ทำให้ได้ไปเกิดเช่นนั้น ๘๕ เรื่อง)
           เปตวัตถุ (เรื่องเปรตเล่ากรรมชี่วในอดีตของตน ๕๑ เรื่อง)
           เถรคาถา (คาถาของพระอรหันตเถระ ๒๖๔ รูปที่กล่าวแสดงความรู้สึกสงบประณีตในการบรรลุธรรม เป็นต้น)
           เถรีคาถา (คาถาของพระอรหันตเถรี ๗๓ รูปที่กล่าวแสดงความรู้สึกเช่นนั้น)
       เล่ม ๒๗ ชาดก ภาค ๑ รวมคาถาแสดงคติธรรมที่พระพุทธเจ้าตรัสเมื่อครั้งเป็นพระโพธิสัตว์ในอดีตชาติ และมีคาถาภาษิตของผู้อื่นปนอยู่บ้าง ภาคแรก ตั้งแต่เรื่องที่มีคาถาเดียว (เอกนิบาต) ถึงเรื่องมี ๔๐ คาถา (จัตตาฬีสนิบาต) รวม ๕๒๕ เรื่อง
       เล่ม ๒๘ ชาดก ภาค ๒ รวมคาถาอย่างในภาค ๑ นั้น เพิ่มอีก แต่เป็นเรื่องอย่างยาว ตั้งแต่เรื่องมี ๕๐ คาถา (ปัญญาสนิบาต) ถึงเรื่องมีคาถามากมาย (มหานิบาต) จบลงด้วยมหาเวสสันดรชาดก ซึ่งมี ๑,๐๐๐ คาถา รวมอีก ๒๒ เรื่อง บรรจบทั้ง ๒ ภาคเป็น ๕๔๗ ชาดก
       เล่ม ๒๙ มหานิทเทส ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร ๑๖ สูตร ในอัฏฐกวรรคแห่งสุตตนิบาต
       เล่ม ๓๐ จูฬนิทเทส ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายขยายความพระสูตร ๑๖ สูตรในปารายนวรรคและขัคควิสาณสูตรในอุรควรรค แห่งสุตตนิบาต
       เล่ม ๓๑ ปฏิสัมภิทามรรค ภาษิตของพระสารีบุตรอธิบายข้อธรรมที่ลึกซึ้งต่างๆ เช่น เรื่อง ญาณ ทิฏฐิ อานาปาน อินทรีย์ วิโมกข์ เป็นต้น อย่างพิสดาร เป็นทางแห่งปัญญาแตกฉาน
       เล่ม ๓๒ อปทาน ภาค ๑ คาถาประพันธ์แสดงประวัติโดยเฉพาะในอดีตชาติ
           เริ่มด้วยพุทธอปทาน (ประวัติของพระพุทธเจ้า)
           ปัจเจกพุทธอปทาน (เรื่องราวของพระปัจเจกพุทธเจ้า)
           ต่อด้วยเถรอปทาน (อัตตประวัติแห่งพระอรหัตเถระ)
           เรียงลำดับเริ่มแต่พระสารีบุตร ตามด้วยพระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสปะ พระอนุรุทธะ พระปุณณมันตานีบุตร พระอุบาลี พระอัญญาโกณฑัญญะ พระปิณโฑลภารทวาชะ พระขทิรวนิยเรวตะ พระอานนท์ ต่อเรื่องไปจนจบภาค ๑ รวม พระอรหันตเถระ ๔๑๐ รูป
       เล่ม ๓๓
           อปทาน ภาค ๒ คาถาประพันธ์แสดงอัตตประวัติพระอรหันตเถระ ต่ออีกจนถึงรูปที่ ๕๕๐
               ต่อนั้นเป็นเถรีอปทานแสดงเรื่องราวของพระอรหันตเถรี ๔๐ เรื่อง
               เริ่มด้วยพระเถรีที่ไม่คุ้นนาม ๑๖ รูป
               ต่อด้วยพระเถรีที่สำคัญเรียงลำดับคือพระมหาปชาบดีโคตมี พระเขมา พระอุบลวรรณา พระปฏาจารา พระกุณฑลเกสี พระกีสาโคตมี พระธรรมทินนา พระสกุลา พระนันทา พระโสณา พระภัททกาปิลานี พระยโสธรา และท่านอื่นๆ ต่อไปจนจบ ครั้นจบอปทานแล้ว ท้ายเล่ม ๓๓ นี้ มี
           คัมภีร์ พุทธวงศ์ เป็นคาถาประพันธ์แสดงเรื่องของพระพุทธเจ้าในอดีต ๒๔ พระองค์ที่พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันเคยได้ทรงเฝ้าและได้รับพยากรณ์จนถึงประวัติของพระองค์เองรวมเป็นพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์ จบแล้วมี
           คัมภีร์สั้นๆ ชื่อ จริยาปิฎก เป็นท้ายสุด แสดงพุทธจริยาในอดีตชาติ ๓๕ เรื่องที่มีแล้วในชาดก แต่เล่าด้วยคาถาประพันธ์ใหม่ ชี้ตัวอย่างการบำเพ็ญบารมีบางข้อ
       ค. พระอภิธรรมปิฎก ๑๒ เล่ม
       เล่ม ๓๔ ธัมมสังคณี
           ต้นเล่มแสดงมาติกา (แม่บท) อันได้แก่บทสรุปแห่งธรรมทั้งหลายที่จัดเป็นชุดๆ มีทั้ง
           ชุด ๓ เช่นจัดทุกสิ่งทุกอย่างประดามี
               เป็นกุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากฤตธรรม ชุดหนึ่ง
               เป็นอดีตธรรม อนาคตธรรม ปัจจุบันธรรม ชุดหนึ่ง ฯลฯ และ
           ชุด ๒ เช่นจัดทุกสิ่งทุกอย่างเป็น
               สังขตธรรม อสังขตธรรม ชุดหนึ่ง
               รูปีธรรม อรูปีธรรม ชุดหนึ่ง
               โลกิยธรรม โลกุตตรธรรม ชุดหนึ่งเป็นต้น
               รวมทั้งหมดมี ๑๖๔ ชุด หรือ ๑๖๔ มาติกา
           จากนั้นขยายความมาติกาที่ ๑ เป็นตัวอย่าง แสดงให้เห็นกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากฤตธรรม ที่กระจายออกไปโดย จิต เจตสิก รูป และนิพพาน
           ท้ายเล่มมีอีก ๒ บท แสดงคำอธิบายย่อหรือคำจำกัดความข้อธรรมทั้งหลายในมาติกาที่กล่าวถึงข้างต้นจนครบ ๑๖๔ มาติกา ได้คำจำกัดความข้อธรรมใน ๒ บท เป็น ๒ แบบ
           (แต่บทท้ายจำกัดความไว้เพียง ๑๒๒ มาติกา)
       เล่ม ๓๕ วิภังค ยกหลักธรรมสำคัญๆ ขึ้นมาแจกแจงแยกแยะอธิบายกระจายออกให้เห็นทุกแง่จนชัดเจนจบไปเป็นเรื่องๆ รวมอธิบายทั้งหมด ๑๘ เรื่อง คือ
           ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อริยสัจ ๔ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาท สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ ฌานอัปปมัญญา ศีล ๕ ปฏิสัมภิทา ๔ ญาณประเภทต่างๆ และ
           เบ็ดเตล็ด ว่าด้วยอกุศลธรรมต่างๆ อธิบายเรื่องใด ก็เรียกว่าวิภังค์ของเรื่องนั้นๆ
               เช่น อธิบายขันธ์ ๕ ก็เรียกขันธวิภังค์ เป็นต้น
           รวมมี ๑๘ วิภังค์
       เล่ม ๓๖
           ธาตุกถา นำข้อธรรมในมาติกาทั้งหลายและข้อธรรมอื่นๆ อีก ๑๒๕ อย่าง มาจัดเข้าในขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ และธาตุ ๑๘ ว่าข้อใดได้หรือไม่ได้ในอย่างไหนๆ และ
           ปุคคลบัญญัติ บัญญัติความหมายของชื่อที่ใช้เรียกบุคคลต่างๆ ตามคุณธรรม เช่นว่า “โสดาบัน” ได้แก่ บุคคลผู้ละสังโยชน์ ๓ ได้แล้ว ดังนี้เป็นต้น
       เล่ม ๓๗ กถาวัตถุ คัมภีร์ที่พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ประธานการสังคายนาครั้งที่ ๓ เรียบเรียงขึ้น เพื่อแก้ความเห็นผิดของนิกายต่างๆ ในพระพุทธศาสนาครั้งนั้น ซึ่งได้แตกแยกกันออกไปแล้วถึง ๑๘ นิกาย เช่น ความเห็นว่า
               พระอรหันต์เสื่อมจากอรหัตตผลได้
               เป็นพระอรหันต์พร้อมกับการเกิดได้
               ทุกอย่างเกิดจากกรรม เป็นต้น
           ประพันธ์เป็นคำปุจฉาวิสัชนา มีทั้งหมด ๒๑๙ กถา
       เล่ม ๓๘ ยมก ภาค ๑ คัมภีร์อธิบายหลักธรรมสำคัญให้เห็นความหมายและขอบเขตอย่างชัดเจน และทดสอบความรู่อย่างลึกซึ้ง ด้วยวิธีตั้งคำถามย้อนกันเป็นคู่ๆ (ยมก แปลว่า คู่)
           เช่น ถามว่า
               ธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศล เป็นกุศลมูล หรือว่าธรรมทั้งปวงที่เป็นกุศลมูล เป็นกุศล,
               รูป (ทั้งหมด) เป็นรูปขันธ์ หรือว่ารูปขันธ์ (ทั้งหมด) เป็นรูป,
               ทุกข์ (ทั้งหมด) เป็นทุกขสัจ หรือว่าทุกขสัจ (ทั้งหมด) เป็นทุกข์
           หลักธรรมที่นำมาอธิบายในเล่มนี้มี ๗ คือ มูล (เช่นกุศลมูล) ขันธ์ อายตนะ ธาตุ สัจจะ สังขาร อนุสัย ถามตอบอธิบายเรื่องใด ก็เรียกว่ายมกของเรื่องนั้นๆ เช่น มูลยมก ขันธยมก เป็นต้น
           เล่มนี้ จึงมี ๗ ยมก
       เล่ม ๓๙ ยมก ภาค ๒ ถามตอบอธิบายหลักธรรมเพิ่มเติมจากภาค ๑ อีก ๓ เรื่อง คือ
               จิตตยมก ธรรมยมก (กุศล-อกุศล-อัพยากตธรรม) อินทรียยมก
           บรรจบเป็น ๑๐ ยมก
       เล่ม ๔๐ ปัฏฐาน ภาค ๑
           คัมภีร์ปัฏฐาน อธิบายปัจจัย ๒๔ โดยพิสดาร แสดงความสัมพันธ์อิงอาศัยเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแง่ด้านต่างๆ
           ธรรมที่นำมาอธิบายก็คือข้อธรรมที่มีในมาติกาคือแม่บทหรือบทสรุปธรรม ซึ่งกล่าวไว้แล้วในคัมภีร์สังคณีนั่นเอง แต่อธิบายเฉพาะ ๑๒๒ มาติกาแรกที่เรียกว่า อภิธรรมมาติกา
           ปัฏฐาน เล่มแรกนี้ อธิบายความหมายของปัจจัย ๒๔ เป็นการปูพื้นความเข้าใจเบื้องต้นก่อน
           จากนั้นจึงเข้าสู่เนื้อหาของเล่ม คือ
           อนุโลมติกาปัฏฐาน อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา) โดยปัจจัย ๒๔ นั้น เช่นว่า
               กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย
                    (เพราะศรัทธา จึงให้ทาน จึงสมาทานศีล จึงบำเพ็ญฌาน จึงเจริญวิปัสสนา ฯลฯ)
               กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย
                    (คิดถึงทานที่ตนได้ให้ ศีลที่ได้รักษาแล้ว ดีใจ ยึดเป็นอารมณ์แน่นหนาจนเกิดราคะ ทิฏฐิ,
                    มีศรัทธา มีศีล มีปัญญา แล้วเกิดมานะ ว่า ฉันดีกว่า เก่งกว่า หรือเกิดทิฏฐิว่า ต้องทำอย่างเรานี้เท่านั้นจึงถูกต้อง ฯลฯ)
               อกุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมโดยอุปนิสสยปัจจัย
                    (เพราะความอยากบางอย่าง หรือเพราะมานะหรือทิฏฐิ จึงให้ทาน จึงรักษาศีล จึงทำฌานให้เกิด ฯลฯ)
               กุศลธรรมเป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรม โดยอารัมมณปัจจัย
                    (คิดถึงฌานที่ตนเคยได้แต่มาเสื่อมไปเสียแล้ว เกิดความโทมนัส ฯลฯ)
               อย่างนี้เป็นต้น
           (เล่มนี้อธิบายแต่ในเชิงอนุโลมคือตามนัยปกติไม่อธิบายตามนัยปฏิเสธจึงเรียกว่าอนุโลมปัฏฐาน)
       เล่ม ๔๑ ปัฏฐาน ภาค ๒ อนุโลมติกปัฏฐาน ต่อ คือ
           อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทชุด ๓ ต่อจากเล่ม ๔๐ เช่น
               อดีตธรรมเป็นปัจจัยแก่ปัจจุบันธรรม โดยอารัมมณปัจจัย
               (พิจารณารูปเสียงเป็นต้นที่ดับเป็นอดีตไปแล้วว่าเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เกิดความโทมนัสขึ้น ฯลฯ) เป็นต้น
       เล่ม ๔๒ ปัฏฐาน ภาค ๓ อนุโลมทุกปัฏฐาน
           อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กัน แห่งธรรมทั้งหลาย ในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) เช่น
               โลกิยธรรมเป็นปัจจัยแก่โลกิยธรรม โดยอารัมมณปัจจัย
               (รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ) ดังนี้ เป็นต้น
       เล่ม ๔๓ ปัฏฐาน ภาค ๔ อนุโลมทุกปัฏฐาน ต่อ
       เล่ม ๔๔ ปํฏฐาน ภาค ๕ ยังเป็นอนุโลมปัฏฐาน
           แต่อธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายในแม่บทต่างๆ ข้ามชุดกันไปมา ประกอบด้วย
           อนุโลมทุกติกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) กับธรรมในแม่บทชุด ๓ (ติกมาติกา)
               เช่น อธิบาย “กุศลธรรมที่เป็นโลกุตตรธรรม เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมที่เป็นปัจจุบันธรรม” เป็นอย่างไร เป็นต้น
           อนุโลมทุกทุกปัฏฐาน ธรรมในแม่บทชุด ๒ (ทุกมาติกา) กับธรรมในบทชุด ๒ (ทุกมาติกา) โยงระหว่างต่างชุดกัน
               เช่น ชุดโลกิยะ โลกุตตระ กับชุดสังขตะอสังขตะ เป็นต้น
       เล่ม ๔๕ ปัฏฐาน ภาค ๖ เป็นปัจจนียปัฏฐาน คืออธิบายความเป็นปัจจัยแก่กันแห่งธรรมทั้งหลายอย่างเล่มก่อนๆ นั่นเอง แต่อธิบายแง่ปฏิเสธ แยกเป็น
           ปัจจยนียปัฏฐาน คือ ปฏิเสธ+ปฏิเสธ เช่นว่า ธรรมที่ไม่ใช่กุศล อาศัยธรรมที่ ไม่ใช่กุศลเกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร
           อนุโลมปัจจนียปัฏฐาน คือ อนุโลม+ปฏิเสธ เช่นว่า อาศัยโลกิยธรรม ธรรมที่ไม่ใช่โลกุตตรธรรม เกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร
           อนุโลมปัจจนียปัฏฐาน คือ อนุโลม+ปฏิเสธ เช่นว่า อาศัยโลกิยธรรม ธรรมที่ไม่ใช่โลกุตตรธรรม เกิดขึ้นโดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร
           ปัจจนียานุโลมปัฏฐาน คือ ปฏิเสธ+อนุโลม เช่นว่า อาศัยธรรมที่ไม่ใช่กุศล ธรรมที่เป็นอกุศล เกิดขึ้น โดยเหตุปัจจัย เป็นอย่างไร
           และในทั้ง ๓ แบบ นี้ แต่ละแบบ จะอธิบายโดยใช้ธรรมในแม่บทชุด ๓ แล้วต่อด้วยชุด ๒ แล้วข้ามชุดระหว่างชุด ๒ กับชุด ๓ ชุด ๓ กับชุด ๒ ชุด ๓ กับชุด ๓ ชุด ๒ กับ ชุด ๒ จนครบทั้งหมดเหมือนกัน ดังนั้น แต่ละแบบจึงแยกซอยละเอียดออกไปเป็น ติก ทุก ทุกติก ติกทุก ติกติกา ทุกทุก ตามลำดับ
           (เขียนให้เต็มเป็น ปัจจนียติกปัฏฐาน ปัจจนียทุกปํฏฐาน ปัจจนียทุกติกปัฏฐาน ฯลฯ ดังนี้เรื่อยไป จนถึงท้ายสุดคือ ปัจจนียานุโลมทุกทุกปัฏฐาน)
       คัมภีร์ปัฏฐานนี้ ท่านอธิบายค่อนข้างละเอียดเฉพาะเล่มต้นๆ เท่านั้น เล่มหลังๆ ท่านแสดงไว้แต่หัวข้อหรือแนว และทิ้งไว้ให้ผู้เข้าใจแนวนั้นแล้ว เอาไปแจกแจงโดยพิสดารเอง โดยเฉพาะเล่มสุดท้ายคือภาค ๖ แสดงไว้ย่นย่อที่สุด แม้กระนั้นก็ยังเป็นหนังสือถึง ๖ เล่ม หรือ ๓,๓๒๐ หน้ากระดาษพิมพ์ ถ้าอธิบายโดยพิสดารทั้งหมดจะเป็นเล่มหนังสืออีกจำนวนมากมายหลายเท่าตัว ท่านจึงเรียกปัฏฐานอีกชื่อหนึ่งว่า “มหาปกรณ์” แปลว่า ตำราใหญ่ ใหญ่ทั้งโดยขนาดและโดยความสำคัญ
       พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่า พระไตรปิฎกมีเนื้อความทั้งหมด ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ แบ่งเป็น
           พระวินัยปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์
           พระสุตตันตปิฎก ๒๑,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ และ
           พระอภิธรรมปิฎก ๔๒,๐๐๐ พระธรรมขันธ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 78
ทุกรกิริยา กิริยาที่ทำได้โดยยาก, การทำความเพียรอันยากที่ใครๆ จะทำได้ ได้แก่
       การบำเพ็ญเพียรเพื่อบรรลุธรรมวิเศษ ด้วยวิธีการทรมานตนต่างๆ
       เช่น กลั้นลมอัสสาสะปัสสาสะและอดอาหาร เป็นต้น
       ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ทรงปฏิบัติก่อนตรัสรู้ อันเป็นฝ่ายอัตตกิลมถานุโยค และได้ทรงเลิกละเสียเพราะไม่สำเร็จประโยชน์ได้จริง;
       เขียนเต็มเป็น ทุกกรกิริยา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  10 / 78
ธรรมาภิสมัย การตรัสรู้ธรรม, การสำเร็จมรรคผล

แสดงผลการค้น ลำดับที่  11 / 78
ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร “พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป”,
       พระสูตรว่าด้วยการหมุนวงล้อธรรม เป็นชื่อของ ปฐมเทศนา คือพระธรรมเทศนาครั้งแรก ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หลังจากตรัสรู้ ๒ เดือน ว่าด้วยมัชฌิมาปฏิปทา คือทางสายกลาง ซึ่งเว้นที่สุด ๒ อย่าง และว่าด้วยอริยสัจ ๔ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ อันทำให้พระองค์สามารถปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (ญาณคือความตรัสรู้เองโดยชอบอันยอดเยี่ยม)
       ท่านโกณฑัญญะหัวหน้าคณะปัญจวัคคีย์ ฟังพระธรรมเทศนานี้แล้ว ได้ดวงตาเห็นธรรม (ธรรมจักษุ) และขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรก เรียกว่า เป็นปฐมสาวก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  12 / 78
นาลกะ
       1. หลานชายของอสิตดาบส ออกบวชตามคำแนะนำของลุง และไปบำเพ็ญสมณธรรมรอการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าอยู่ในป่าหิมพานต์ ครั้นพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ได้มาทูลถามเรื่องโมไนยปฏิปทา และกลับไปบำเพ็ญสมณธรรมในป่าหิมพานต์ ได้บรรลุพระอรหัตแล้ว ดำรงอายุอยู่อีก ๗ เดือน ก็ปรินิพพานในป่าหิมพานต์นั้นเอง;
           ท่านจัดเป็นมหาสาวกองค์หนึ่งในอสีติมหาสาวกด้วย
       2. ชื่อหมู่บ้านอันเป็นที่เกิดของพระสารีบุตรไม่ไกลจากเมืองราชคฤห์ บางทีเรียกนาลันทคาม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  13 / 78
เนรัญชรา ชื่อแม่น้ำสำคัญ พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณที่ภายใต้ต้นโพธิ์ ซึ่งอยู่ริมแม่น้ำสายนี้ และก่อนหน้านั้นในวันตรัสรู้ ทรงลอยถาดข้าวมธุปายาสที่นางสุชาดาถวายในแม่น้ำสายนี้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  14 / 78
ปฏิเวธ เข้าใจตลอด, แทงตลอด, ตรัสรู้, รู้ทะลุปรุโปร่ง, ลุล่วงผลปฏิบัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  15 / 78
ปฐมเทศนา เทศนาครั้งแรก
       หมายถึง ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หลังจากวันตรัสรู้ ๒ เดือน ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  16 / 78
ปฐมโพธิกาล เวลาแรกตรัสรู้,
       ระยะเวลาช่วงแรกหลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว คือระยะประดิษฐานพระพุทธศาสนา นับคร่าวๆ ตั้งแต่ตรัสรู้ถึงได้พระอัครสาวก;
       ดู พุทธประวัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  17 / 78
ปฐมสมโพธิกถา ชื่อคัมภีร์แสดงเรื่องราวของพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ประทับอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิต เทวดาอัญเชิญให้มาอุบัติในมนุษยโลก แล้วออกบวชตรัสรู้ประกาศพระศาสนา ปรินิพพาน จนถึงแจกพระธาตุ ต่อท้ายด้วยเรื่องพระเจ้าอโศกยกย่องพระศาสนา และการอันตรธานแห่งพระศาสนาในที่สุด
       ปฐมสมโพธิกถาที่รู้จักกันมากและใช้ศึกษาอย่างเป็นวรรณคดีสำคัญนั้น คือฉบับที่เป็นพระนิพนธ์ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพน ทรงรจนาถวายฉลองพระราชศรัทธาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงอาราธนา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๗ ฉบับที่ทรงรจนานี้ ทรงชำระปฐมสมโพธิกถาฉบับของเก่า ทรงตัดและเติม ขยายความสำคัญบางตอน
       เนื้อหามีคติทั้งทางมหายานและเถรวาทปนกันมาแต่เดิม และทรงจัดเป็นบทตอนเพิ่มขึ้น รวมมี ๒๙ ปริจเฉท มีทั้งฉบับภาษาบาลีและฉบับแปลเป็นภาษาไทย (ฉบับภาษาบาลีแบ่งเป็น ๓๐ ปริจเฉท โดยแบ่งปริจเฉทที่ ๑ เป็น ๒ ตอน)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  18 / 78
ปัจเจกพุทธะ พระพุทธเจ้าประเภทหนึ่งซึ่งตรัสรู้เฉพาะตัว มิได้สั่งสอนผู้อื่น;
       ดู พุทธะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  19 / 78
ปัจฉิมสักขิสาวก สาวกผู้เป็นพยานการตรัสรู้องค์สุดท้าย,
       สาวกที่ทันเห็นองค์สุดท้าย ได้แก่ พระสุภัททะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  20 / 78
ปัญญาจักขุ, ปัญญาจักขุ จักษุคือปัญญา, ตาปัญญา;
       เป็นคุณสมบัติอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า พระองค์ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณด้วยปัญญาจักขุ
       (ข้อ ๓ ในจักขุ ๕)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  21 / 78
ปายาส ข้าวสุกที่หุงด้วยนมโค นางสุชาดาถวายแก่พระมหาบุรุษในเวลาเช้าของวันที่พระองค์จะได้ตรัสรู้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  22 / 78
พระพุทธเจ้า พระผู้ตรัสรู้เองโดยชอบแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม, ท่านผู้รู้ดีรู้ชอบด้วยตนเองก่อนแล้วสอนประชุมชนให้ประพฤติชอบด้วยกาย วาจา ใจ;
       พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์ที่ใกล้กาลปัจจุบันที่สุดและคัมภีร์กล่าวถึงบ่อยๆ คือ พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ และพระโคดม;
       พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์แห่งภัทรกัปป์ปัจจุบันนี้ คือ พระกกุสันธะ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ พระโคดม และพระเมตเตยยะ (เรียกกันสามัญว่า พระศรีอาริย์ หรือ พระศรีอารยเมตไตรย);
       พระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์นับแต่พระองค์แรกที่พระโคตมพุทธเจ้า (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน) ได้ทรงพบและทรงได้รับการพยากรณ์ว่าจะได้สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้า (รวม ๒๔ พระองค์) จนถึงพระองค์เองด้วย คือ ๑. พระทีปังกร ๒. พระโกณฑัญญะ ๓. พระมังคละ ๔. พระสุมนะ ๕. พระเรวตะ ๖. พระโสภิตะ ๗. พระอโนมทัสสี ๘. พระปทุมะ ๙. พระนารทะ ๑๐. พระปทุมุตตระ ๑๑. พระสุเมธะ ๑๒. พระสุชาตะ ๑๓. พระปิยทัสสี ๑๔. พระอัตถทัสสี ๑๕. พระธัมมทัสสี ๑๖. พระสิทธัตถะ ๑๗. พระติสสะ ๑๘. พระปุสสะ ๑๙. พระวิปัสสี ๒๐. พระสิขี ๒๑. พระเวสสภู ๒๒. พระกกุสันธะ ๒๓. พระโกนาคมน์ ๒๔. พระกัสสปะ ๒๕. พระโคตมะ
       (เรื่องมาในคัมภีร์พุทธวงส์ แห่งขุททกนิกาย พระสุตตันตปิฎก);
       ดู พุทธะ ด้วย
       ข้อควรทราบบางประการเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบัน ตามที่ตรัสไว้ในคัมภีร์พุทธวงส์ คือ
       พระองค์เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดม (โคตมพุทธ) เจริญในศากยสกุล พระนครอันเป็นถิ่นกำเนิดชื่อกบิลพัสดุ์ พระบิดาคือพระเจ้าสุทโธทนะ พระมารดามีพระนามว่า มายาเทวี ทรงครองฆราวาสอยู่ ๒๙ ปี มีปราสาท ๓ หลัง ชื่อ สุจันทะ โกกนุท และโกญจะ มเหสีพระนามว่ายโสธรา โอรสพระนามว่าราหุล ทอดพระเนตรเห็นนิมิต ๔ ประการแล้ว เสด็จออกผนวชด้วยม้าเป็นพระราชยาน บำเพ็ญทุกรกิริยาอยู่ ๖ ปี ประกาศธรรมจักรที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี
       พระอัครสาวกทั้ง ๒ คือ พระอุปติสสะ (พระสารีบุตร) และพระโกลิตะ (พระมหาโมคคัลลานะ)
       พุทธอุปัฏฐากชื่อว่าพระอานนท์
       พระอัครสาวิกาทั้ง ๒ คือ พระเขมา และพระอุบลวรรณนา
       อุบาสก ๒ ผู้เป็นอัครอุปัฏฐากคือ จิตตคฤหบดี และหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวี
       อุบาสิกา ๒ ผู้อัครอุปัฏฐายิกาคือ นันทมารดา และอุตตราอุบาสิกา
       บรรลุสัมโพธิญาณที่ควงไม้อัสสัตถพฤกษ์ (คือต้นโพธิ์ได้แก่ไม้อัสสัตถะ)
       มีสาวกสันนิบาต (การประชุมสาวก) ครั้งใหญ่ ครั้งเดียว ภิกษุผู้เข้าร่วมประชุม ๑,๒๕๐ รูป
       คำสั่งสอนของพระองค์ผู้เป็นศากยมุนี เจริญแพร่หลายกว้างขวางงอกงามเป็นอย่างดี บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว เป็นประโยชน์แก่ประชาชนจำนวนมาก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  23 / 78
พระสัมพุทธเจ้า พระผู้ตรัสรู้เอง หมายถึงพระพุทธเจ้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  24 / 78
พาหิยทารุจีริยะ พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เกิดในครอบครัวคนมีตระกูลในแคว้นพาหิยรัฐ ลงเรือเดินทะเลเพื่อจะไปค้าขาย เรือแตกกลางทะเลรอดชีวิตไปได้ แต่หมดเนื้อหมดตัว ต้องแสดงตนเป็นผู้หมดกิเลสหลอกลวงประชาชนเลี้ยงชีวิต
       ต่อมาพบพระพุทธเจ้า ทูลขอให้ทรงแสดงธรรม พระองค์ทรงแสดงวิธีปฏิบัติต่ออารมณ์ที่รับรู้ทางอายตนะทั้งหก พอจบพระธรรมเทศนาย่นย่อนั้น พาหิยะก็สำเร็จอรหัต
       แต่ไม่ทันได้อุปสมบท กำลังเที่ยวหาบาตรจีวร เผอิญถูกโคแม่ลูกอ่อนขวิดเอาสิ้นชีวิตเสียก่อน
       ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะทางด้านตรัสรู้ฉับพลัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  25 / 78
พุทธะ ท่านผู้ตรัสรู้แล้ว, ผู้รู้อริยสัจ ๔ อย่างถ่องแท้
       ตามอรรถกถาท่านแบ่งเป็น ๓ คือ
           ๑. พระพุทธเจ้า ท่านผู้ตรัสรู้เองและสอนให้ผู้อื่นรู้ตาม (บางทีเรียกพระสัมมาสัมพุทธะ)
           ๒. พระปัจเจกพุทธะ ท่านผู้ตรัสรู้เองจำเพาะผู้เดียว
           ๓. อนุพุทธะ ท่านผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า (เรียกอีกอย่างว่า สาวกพุทธะ);
       บางแห่งจัดเป็น ๔ คือ
           ๑. สัพพัญญูพุทธะ
           ๒. ปัจเจกพุทธะ
           ๓. จตุสัจจพุทธะ (=พระอรหันต์) และ
           ๔. สุตพุทธะ (=ผู้เป็นพหูสูต)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  26 / 78
พุทธคุณ คุณของพระพุทธเจ้า มี ๙ คือ
           ๑. อรหํ เป็นพระอรหันต์
           ๒. สมฺมาสมฺพุทฺโธ ตรัสรู้เองโดยชอบ
           ๓. วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ
           ๔. สุคโต เสด็จไปดีแล้ว
           ๕. โลกวิทู เป็นผู้รู้แจ้งโลก
           ๖. อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ เป็นสารถีฝึกคนที่ฝึกได้ไม่มีใครยิ่งกว่า
           ๗. สตฺถาเทวมนุสฺสานํ เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย
           ๘. พุทฺโธ เป็นผู้ตื่นและเบิกบานแล้ว
           ๙. ภควา เป็นผู้มีโชค
       พุทธคุณทั้งหมดนั้น โดยย่อ มี ๒ คือ
           ๑. พระปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา
           ๒. พระกรุณาคุณ พระคุณคือพระมหากรุณา
       หรือตามที่นิยมกล่าวกันในประเทศไทย ย่อเป็น ๓ คือ
           ๑. พระปัญญาคุณ พระคุณคือพระปัญญา
           ๒. พระวิสุทธิคุณ พระคุณคือความบริสุทธิ์
           ๓. พระกรุณาคุณ พระคุณคือพระมหากรุณา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  27 / 78
พุทธประวัติ ประวัติของพระพุทธเจ้า;
       ลำดับกาลในพุทธประวัติตามที่ท่านแบ่งไว้ในอรรถกถา จัดได้เป็น ๓ ช่วงใหญ่ คือ
           ๑. ทูเรนิทาน เรื่องราวตั้งแต่เริ่มต้นเป็นพระโพธิสัตว์ เสวยพระชาติในอดีต จนถึงอุบัติในสวรรค์ชั้นดุสิต
           ๒. อวิทูเรนิทาน เรื่องราวตั้งแต่จุติจากสวรรค์ชั้นดุสิต จนถึงตรัสรู้
           ๓. สันติเกนิทาน เรื่องราวตั้งแต่ตรัสรู้แล้ว จนเสด็จปรินิพพาน
       ในส่วนของสันติเกนิทานนั้นก็คือ โพธิกาล นั่นเอง ซึ่งแบ่งย่อยได้เป็น ๓ ช่วงได้แก่
           ๑. ปฐมโพธิกาล คือตั้งแต่ตรัสรู้ จนถึงได้พระอัครสาวก
           ๒. มัชฌิมโพธิกาล คือตั้งแต่ประดิษฐานพระศาสนาในแคว้นมคธ จนถึงปลงพระชนมายุสังขาร
           ๓. ปัจฉิมโพธิกาล คือตั้งแต่ปลงพระชนมายุสังขาร จนถึงปรินิพพาน
       ต่อมาภายหลัง พระเถระผู้เล่าพระพุทธประวัติใด้กล่าวถึงเรื่องราวในชมพูทวีป ก่อนถึงการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และเรียกเวลาช่วงนี้ว่า ปุริมกาล กับทั้งเล่าเหตุการณ์หลังพุทธปรินิพพาน เช่นการถวายพระเพลิงและสังคายนา และเรียกเวลาช่วงนี้ว่า อปรกาล;
       ในการแบ่งโพธิกาล ๓ ช่วงนี้ อรรถกถายังมีมติแตกต่างกันบ้าง เช่น พระอาจารย์ธรรมบาลแบ่ง ๓ ช่วงเท่ากัน ช่วงละ ๑๕ พรรษา แต่บางอรรถกถานับ ๒๐ พรรษาแรกของพุทธกิจเป็นปฐมโพธิกาล โดยไม่ระบุช่วงเวลา ๒ โพธิกาลที่เหลือ (ได้แก่ช่วงเวลาที่พระพุทธเจ้ายังไม่ได้ทรงมีพระอานนท์เป็นพุทธอุปัฏฐากประจำ และยังไม่ได้ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสงฆ์)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  28 / 78
โพชฌงค์ ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้หรือองค์ของผู้ตรัสรู้มี ๗ อย่าง
       คือ ๑. สติ ๒. ธัมมวิจยะ (การสอดส่องเลือกเฟ้นธรรม) ๓. วิริยะ ๔. ปิติ ๕. ปัสสัทธิ ๖. สมาธิ ๗. อุเบกขา
       (ดู โพธิปักขิยธรรม)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  29 / 78
โพธิ, โพธิพฤกษ์ ต้นโพธิ์, ต้นไม้ที่พระพุทธเจ้าได้ประทับ ณ ภายใต้ร่มเงาในคราวตรัสรู้, ต้นไม้เป็นที่ตรัสรู้และต้นไม้อื่นที่เป็นชนิดเดียวกันนั้น
       สำหรับพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ได้แก่ พันธุ์ไม้อัสสัตถะ (ต้นโพ) ต้นที่อยู่ ณ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลคยา;
       ต้นโพธิ์ ตรัสรู้ที่เป็นหน่อของต้นเดิมที่คยา ได้ปลูกเป็นต้นแรกในสมัยพุทธกาล (ปลูกจากเมล็ด) ที่ประตูวัดพระเชตวัน โดยพระอานนท์เป็นผู้ดำเนินการตามความปรารภของอนาถบิณฑิกเศรษฐี และเรียกชื่อว่า อานันทโพธิ;
       หลังพุทธกาล ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระนาง สังฆมิตตาเถรี ได้นำกิ่งด้านขวาของต้นมหาโพธิ์ที่คยานั้นไปมอบแด่พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ ทรงปลูกไว้ ณ เมืองอนุราธปุระ ในลังกาทวีป ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นต้นไม้เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ที่ยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน;
       ในประเทศไทย สมัยราชวงศ์จักรี พระสมณทูตไทยในสมัยรัชกาลที่ ๒ ได้นำหน่อพระศรีมหาโพธิ์ที่เมืองอนุราธปุระมา ๖ ต้น ใน พ.ศ. ๒๓๕๗ โปรดให้ปลูกไว้ที่เมืองนครศรีธรรมราช ๒ ต้น นอกนั้นปลูกที่วัดมหาธาตุ วัดสุทัศน์ วัดสระเกศและที่เมืองกลันตัน แห่งละ ๑ ต้น;
       ต่อมา ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ประเทศไทยได้พันธุ์ต้นมหาโพธิจากคยาโดยตรงครั้งแรก ได้ปลูกไว้ ณ วัดเบญจมบพิตรและวัดอัษฎางคนิมิตร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  30 / 78
โพธิญาณ ญาณคือความตรัสรู้, ญาณคือปัญญาตรัสรู้, มรรคญาณทั้งสี่มีโสตาปัตติมัคคญาณ เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  31 / 78
โพธิปักขิยธรรม ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้,
       ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี ๓๗ ประการ
       คือ สติปัฏฐาน ๔, สัมมัปปธาน ๔, อิทธิบาท ๔, อินทรีย์ ๕, พละ ๕, โพชฌงค์ ๗, มรรคมีองค์ ๘

แสดงผลการค้น ลำดับที่  32 / 78
โพธิมัณฑะ ประเทศเป็นที่ผ่องใสแห่งโพธิญาณ, บริเวณต้นโพธิ์เป็นที่ตรัสรู้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  33 / 78
โพธิสัตว์ ท่านผู้ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ซึ่งกำลังบำเพ็ญบารมี ๑๐ คือ
       ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  34 / 78
ภัททากุณฑลเกสา พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง เป็นธิดาของเศรษฐีในพระนครราชคฤห์
       เคยเป็นภรรยาโจรผู้เป็นนักโทษประหารชีวิต โจรคิดจะฆ่านางเพื่อเอาทรัพย์สมบัติ แต่นางใช้ปัญญาคิดแก้ไขกำจัดโจรได้ แล้วบวชในสำนักนิครนถ์
       ต่อมาได้พบกับพระสารีบุตร ได้ถามปัญหากันและกัน จนนางมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ต่อมาได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดงได้สำเร็จพระอรหัต แล้วบวชในสำนักนางภิกษุณี
       ได้รับยกย่องว่า เป็นเอตทัคคะในทางขิปปาภิญญา คือ ตรัสรู้ฉับพลัน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  35 / 78
มหาบุรุษ บุรุษผู้ยิ่งใหญ่, คนที่ควรบูชา, ผู้มีมหาบุรุษลักษณะ เป็นคำใช้เรียกพระพุทธเจ้าเมื่อก่อนตรัสรู้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  36 / 78
มหาโพธิ ต้นโพธิเป็นที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เรียกกันสั้นๆ ว่า โพธิ์ตรัสรู้;
       ดู โพธิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  37 / 78
มหาวรรค ชื่อคัมภีร์อันเป็นหมวดที่ ๓ ใน ๕ หมวด แห่งพระวินัยปิฎก คือ อาทิกัมม์ ปาจิตตีย์ มหาวรรค จุลวรรค บริวาร,
       มหาวรรค มี ๑๐ ขันธกะ (หมวด ตอน หรือบท) คือ
           ๑. มหาขันธกะ (ว่าด้วยการบรรพชาอุปสมบท เริ่มแต่เหตุการณ์หลังตรัสรู้ใหม่ๆ และการประดิษฐานพระศาสนา)
           ๒. อุโปสถขันธกะ (ว่าด้วยอุโบสถและสีมา)
           ๓. วัสสูปนายิกขันธกะ (ว่าด้วยการเข้าพรรษา)
           ๔. ปวารณาขันธกะ (ว่าด้วยปวาณา)
           ๕. จัมมขันธกะ (ว่าด้วยเครื่องหนัง เช่น รองเท้าและเครื่องลาด)
           ๖. เภสัชชขันธกะ (ว่าด้วยเรื่องยาตลอดจนเรื่องกัปปิยะ อกัปปิยะ และกาลิกทั้ง ๔)
           ๗. กฐินขันธกะ (ว่าด้วยกฐิน)
           ๘. จีวรขันธกะ (ว่าด้วยเรื่องจีวร)
           ๙. จัมเปยยขันธกะ
(ว่าด้วยข้อควรทราบบางอย่างเกี่ยวกับนิคคหกรรมต่างๆ)
           ๑๐. โกสัมพิกขันธกะ (ว่าด้วยเรื่องภิกษุชาวเมืองโกสัมพี วิวาทกันและสังฆสามัคคี);
       ดู ไตรปิฎก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  38 / 78
มหาวิโลกนะ “การตรวจดูอันยิ่งใหญ่”,
       ข้อตรวจสอบพิจารณาที่สำคัญ หมายถึง สิ่งที่พระโพธิสัตว์ทรงพิจารณาตรวจดู ก่อนจะตัดสินพระทัยประทานปฏิญาณรับอาราธนาของเทพยดาทั้งหลาย ว่าจะจุติจากดุสิตเทวโลกไปบังเกิดในพระชาติสุดท้ายที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า มี ๕ อย่าง (นิยมเรียกว่า ปัญจมหาวิโลกนะ) คือ
       ๑. กาล คืออายุกาลของมนุษย์จะต้องอยู่ระหว่าง ๑๐๐ ถึง ๑ แสนปี (ไม่สั้นกว่าร้อยปี ไม่ยาวเกินแสนปี)
       ๒. ทีปะ คือทวีป จะอุบัติแต่ในชมพูทวีป
       ๓. เทสะ คือประเทศ หมายถึงถิ่นแดน จะอุบัติในมัธยมประเทศ และทรงกำหนดเมืองกบิลพัสดุ์เป็นที่พึงบังเกิด
       ๔. กุละ คือตระกูล จะอุบัติเฉพาะในขัตติยสกุลหรือในพราหมณสกุล และทรงกำหนดว่า เวลานั้นโลกสมมติว่า ตระกูลกษัตริย์ประเสริฐกว่าตระกูลพราหมณ์ จึงจะอุบัติในตระกูลกษัตริย์ โดยทรงเลือกพระเจ้าสุทโธทนะเป็นพุทธบิดา
       ๕. ชเนตติอายุปริจเฉท คือมารดา และกำหนดอายุของมารดา มารดาจะต้องมีศีล ๕ บริสุทธิ์ ไม่โลเลในบุรุษ ไม่เป็นนักดื่มสุรา ได้บำเพ็ญบารมีมาตลอดแสนกัลป์ ทรงกำหนดได้พระนางมหามายา และทรงทราบว่าพระนางจะมีพระชนม์อยู่เกิน ๑๐ เดือนไปได้ ๗ วัน
       (สรุปตามแนวอรรถกถาชาดก)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  39 / 78
มหาสัจจกสูตร สูตรที่ ๓๖ ในคัมภีร์มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ พระสุตตันตปิฎก ว่าด้วยการอบรมกาย อบรมจิต และมีเรื่องราวในพุทธประวัติตอนแสวงหาโมกขธรรมคือ ตอนตรัสรู้รวมอยู่ด้วย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  40 / 78
มหาสุบิน ความฝันอันยิ่งใหญ่,
       ความฝันครั้งสำคัญ หมายถึงความฝัน ๕ เรื่อง (ปัญจมหาสุบิน) ของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
       (พระอรรถกถาจารย์ระบุว่าทรงพระสุบินในคืนก่อนตรัสรู้ คือ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖)
       ดังตรัสไว้ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต พระสุตตันตปิฎก ใจความว่า
       ๑. เสด็จบรรทมโดยมีมหาปฐพีนี้เป็นพระแท่นไสยาสน์ ขุนเขาหิมวันต์เป็นเขนย พระหัตถ์ซ้ายเหยียดหลั่งลงในมหาสมุทรด้านบูรพทิศ พระหัตถ์ขวาเหยียดหยั่งลงในมหาสมุทรด้านปัจฉิมทิศ พระบาททั้งสองเหยียดหยั่งลงในมหาสมุทรด้านทักษิณ
           (ข้อนี้เป็นบุพนิมิต หมายถึง การได้ตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณอันไม่มีสิ่งใดยิ่งใหญ่กว่า)
       ๒. มีหญ้าคางอกขึ้นจากนาภีของพระองค์ สูงขึ้นจดท้องฟ้า
           (หมายถึงการที่ได้ตรัสรู้อารยอัษฎางคิกมรรคแล้ว ทรงประกาศออกไปถึงมวลมนุษย์และหมู่เทพ)
       ๓. หมู่หนอนตัวขาวศีรษะดำ พากันไต่ขึ้นมาจากพระบาทคลุมเต็มถึงชานุมณฑล
           (หมายถึง การที่คนนุ่งขาวชาวคฤหัสถ์มากมายพากันถึงตถาคตเป็นสรณะตลอดชีวิต)
       ๔. นกทั้งหลาย ๔ จำพวกมีสีต่างๆ กัน บินมาแต่ทิศทั้งสี่ แล้วมาหมอบจับที่เบื้องพระบาท กลับกลายเป็นสีขาวไปหมดสิ้น
           (หมายถึงการที่ชนทั้งสี่วรรณะมาออกบวชรวมกันในพระธรรมวินัย และได้ประจักษ์แจ้งวิมุตติธรรม)
       ๕. เสด็จดำเนินไปมาบนภูเขา คูถลูกใหญ่ แต่ไม่ทรงแปดเปื้อนด้วยคูถ
           (หมายถึงการทรงเจริญลาภในปัจจัยสี่พรั่งพร้อม แต่ไม่ทรงลุ่มหลงติดพัน ทรงบริโภคด้วยพระปัญญาที่ดำรงจิตปลอดโปร่งเป็นอิสระ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  41 / 78
มาฆบูชา การบูชาใหญ่ในวันเพ็ญ เดือน ๓ ในโอกาสคล้ายวันประชุมใหญ่แห่งพระสาวก ซึ่งเรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต ณ พระเวฬุวัน หลังจากพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ๙ เดือน ที่พระองค์ทรงแสดง โอวาทปาฏิโมกข์
       (การปลงพระชนมายุสังขาร ก็ตรงในวันนี้)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  42 / 78
มาร
       1. สิ่งที่ฆ่าบุคคลให้ตายจากความดีหรือจากผลที่หมายอันประเสริฐ, ตัวการที่กำจัดหรือขัดขวางไม่ให้บรรลุความดี มี ๕ คือ
           ๑. กิเลสมาร มารคือกิเลส
           ๒. ขันธมาร มารคือเบญจขันธ์
           ๓. อภิสังขารมาร มารคืออภิสังขารที่ปรุงแต่งกรรม
           ๔. เทวปุตตมาร มารคือเทพบุตร
           ๕. มัจจุมาร มารคือความตาย
       2. พระยามารที่มีเรื่องราวปรากฏบ่อยๆ ในคัมภีร์ คอยมาแทรกแซงเหตุการณ์ต่างๆ ในพุทธประวัติ เช่น ยกพลเสนามาผจญพระมหาบุรุษในวันที่จะตรัสรู้ พระองค์ชนะพระยามารได้ด้วยทรงนึกถึงบารมี ๑๐ คือ ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิฏฐาน เมตตา อุเบกขา
           มารในกรณีเช่นนี้ บางทีท่านอธิบายออกชื่อว่าเป็นวสวัตดีมาร ซึ่งครองแดนหนึ่งในสวรรค์ชั้นสูงสุด แห่งระดับกามาวจรคือปรนิมิตวสวัตดี เป็นผู้คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไว้ มิให้ล่วงพ้นจากแดนกามซึ่งอยู่ในอำนาจครอบงำของตน
           อย่างไรก็ดี ผู้ศึกษาพึงพิจารณาเทียบจากมาร ๕ ในความหมายที่ 1. ด้วย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  43 / 78
รัตนบัลลังก์ บัลลังก์ที่พระพุทธเจ้าประทับนั่งตรัสรู้, ที่ประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  44 / 78
ราคา ชื่อลูกสาวพระยามาร อาสาพระยามารเข้าไปประโลมพระพุทธเจ้าด้วยอาการต่างๆ พร้อมด้วยนางตัณหา และนางอรดี ในขณะที่พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่ต้นอชปาลนิโครธ หลังจากตรัสรู้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  45 / 78
วิมุตติสุข สุขเกิดแต่ความหลุดพ้นจากกิเลส อาสวะ และปวงทุกข์;
       พระพุทธเจ้าภายหลังตรัสรู้แล้วใหม่ๆ ได้เสวยวิมุตติสุข ๗ สัปดาห์ตามลำดับคือ
           สัปดาห์ที่ ๑ ประทับภายใต้ร่มไม้มหาโพธิ์ ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท
           สัปดาห์ที่ ๒ เสด็จไปประทับยืนด้านอีสาน ทรงจ้องดูต้นมหาโพธิ์ไม่กระพริบพระเนตร ที่นั้นเรียกว่า อนิมิสเจดีย์
           สัปดาห์ที่ ๓ ทรงนิรมิตที่จงกรมขึ้นระหว่างกลางแห่งพระมหาโพธิ์และอนิมิสเจดีย์ เสด็จจงกรมตลอด ๗ วัน ที่นั้นเรียก รัตนจงกรมเจดีย์
           สัปดาห์ที่ ๔ ประทับนั่งขัดบัลลังก์พิจารณาพระอภิธรรมปิฎก ณ เรือนแก้วที่เทวดานิรมิตในทิศพายัพแห่งต้นมหาโพธิ์ ที่นั้นเรียก รัตนฆรเจดีย์
           สัปดาห์ที่ ๕ ประทับใต้ร่มไม้ไทร ชื่ออชปาลนิโครธ ทรงตอบปัญหาของพราหมณ์หุํหุกชาติ แสดงสมณะและพราหมณ์ที่แท้ พร้อมทั้งธรรมที่ทำให้เป็นสมณะและเป็นพราหมณ์ พระอรรถกถาจารย์กล่าวว่าธิดามาร ๓ ตน ได้มาประโลมพระองค์ ณ ที่นี้
           สัปดาห์ที่ ๖ ประทับใต้ต้นไม้จิก ชื่อ มุจจลินท์ มีฝนตก มุจจลินทนาคราชมาวงขนดแผ่พังพานปกป้องพระองค์ ทรงเปล่งอุทานแสดงความสุขทีแท้ อันเกิดจากการไม่เบียดเบียนกัน เป็นต้น
           สัปดาห์ที่ ๗ ประทับใต้ต้นไม้เกต ชื่อ ราชายตนะ พาณิช ๒ คน คือ ตปุสสะ และภัลลิกะ เข้ามาถวายสัตตุผล สัตตุก้อน และได้แสดงตนเป็นปฐมอุบาสกถึงสรณะ ๒
       เมื่อสิ้นสัปดาห์ที่ ๗ ที่นี้แล้ว เสด็จกลับไปประทับใต้ต้นอชปาลนิโครธอีก ทรงดำริถึงความลึกซึ้งแห่งธรรมที่ตรัสรู้คือ ปฏิจจสมุปบาทและนิพพาน แล้วน้อมพระทัยที่จะไม่แสดงธรรม เป็นเหตุให้สหัมบดีพรหมมากราบทูลอาราธนา
       และ ณ ที่นี้เช่นกัน ได้ทรงพระดำริเกี่ยวกับสติปัฏฐาน ๔ ที่เป็นเอกายนมรรคและอินทรีย์ ๕ อันมีอมตธรรมเป็นที่หมาย;
       พึงสังเกตว่า เรื่องในสัปดาห์ที่ ๒-๓-๔ นั้น เป็นส่วนที่พระอรรถกถาจารย์กล่าวแทรกเข้ามา
       ความนอกนั้น มาในมหาวรรค แห่งพระวินัยปิฎก
       (เรื่องดำริถึงสติปัฏฐานและอินทรีย์ มาในสังยุตตนิกาย มหาวารวรรค พระสุตตันตปิฎก)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  46 / 78
วิศาขบูชา การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ เพื่อรำลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า เนื่องในวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระองค์;
       วิสาขบูชา ก็เขียน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  47 / 78
วิสุทธิมรรค ปกรณ์พิเศษอธิบายศีล สมาธิ ปัญญา ตามแนววิสุทธิ ๗ พระพุทธโฆษาจารย์ พระอรรถกถาจารย์ชาวอินเดียเป็นผู้แต่งที่มหาวิหารในเกาะลังกา;
       พระพุทธโฆษาจารย์ผู้นี้เป็นบุตรพราหมณ์ เกิดที่หมู่บ้านแห่งหนึ่งใกล้พุทธคยา อันเป็นสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ในแคว้นมคธ เมื่อประมาณ พ.ศ. ๙๕๖ เรียนจบไตรเพทมีความเชี่ยวชาญมาก
       ต่อมาพบกับพระเรวตเถระ ได้โต้ตอบปัญหากัน สู้พระเรวตเถระไม่ได้ จึงขอบวชเพื่อเรียนพุทธวจนะ มีความสามารถมาก ได้รจนาคัมภีร์ญาโณทัย เป็นต้น พระเรวตเถระจึงแนะนำให้ไปเกาะลังกา เพื่อแปลอรรถกถาสิงหฬ กลับเป็นภาษามคธ ท่านเดินทางไปที่มหาวิหาร เกาะลังกา เมื่อขออนุญาตแปลคัมภีร์ ถูกพระเถระแห่งมหาวิหารให้คาถามา ๒ บท เพื่อแต่งทดสอบความรู้
       พระพุทธโฆษาจารย์จึงแต่งคำอธิบายคาถาทั้งสองนั้นขึ้นเป็นคัมภีร์วิสุทธิมรรค จากนั้นก็ได้รับอนุญาตให้ทำงาน แปลอรรถกถาได้ตามประสงค์ เมื่อทำงานเสร็จสิ้นแล้ว ท่านก็เดินทางกลับสู่ชมพูทวีป
       พระพุทธโฆษาจารย์เป็นพระอรรถกถาจารย์ผู้ยิ่งใหญ่ที่สุด มีผลงานมากที่สุด

แสดงผลการค้น ลำดับที่  48 / 78
เวฬุวคาม ชื่อตำบลหนึ่งใกล้นครเวสาลี แคว้นวัชชี
       เป็นที่พระพุทธเจ้าทรงจำพรรษาในพรรษาที่ ๔๕ นับแต่ได้ตรัสรู้ คือพรรษาสุดท้ายที่จะเสด็จปรินิพพาน;
       เพฬุวคาม ก็เรียก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  49 / 78
สมโพธิ การตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  50 / 78
สมัย คราว, เวลา; ลัทธิ; การประชุม; การตรัสรู้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  51 / 78
สยัมภู พระผู้เป็นเอง คือตรัสรู้ได้เองโดยไม่มีใครสั่งสอน หมายถึงพระพุทธเจ้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  52 / 78
สังเวชนียสถาน สถานเป็นที่ตั้งแห่งความสังเวช, ที่ที่ให้เกิดความสังเวช มี ๔ คือ
       ๑. ที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือ อุทยานลุมพินี ปัจจุบันเรียก ลุมพินี (Lumbini) หรือ รุมมินเด (Rummindei)
       ๒. ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ ควงโพธิ์ ที่ตำบล พุทธคยา (Buddha Gaya หรือ Bodh-Gaya)
       ๓. ที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา คือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันเรียก สารนาถ
       ๔. ที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน คือ ที่สาลวโนทยาน เมืองกุสินารา หรือ กุสินคร (Kusinagara) บัดนี้เรียก Kasia;
       ดู สังเวช

แสดงผลการค้น ลำดับที่  53 / 78
สัจจานุโลมญาณ ดู สัจจานุโลมิกญาณ

สัจจานุโลมิกญาณ ปรีชาเป็นไปโดยสมควรแก่การกำหนดรู้อริยสัจจ์,
       ญาณอันคล้อยต่อการตรัสรู้อริยสัจจ์;
       อนุโลมญาณ ก็เรียก
       (ข้อ ๙ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  54 / 78
สัทธา ความเชื่อ;
       ในทางธรรม หมายถึง เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ, ความเชื่อที่ประกอบด้วยเหตุผล, ความมั่นใจในความจริงความดีสิ่งดีงามและในการทำความดีไม่ลู่ไหลตื่นตูมไปตามลักษณะอาการภายนอก
       ท่านแสดงสืบๆ กันมาว่า ๔ อย่างคือ
           ๑. กัมมสัทธา เชื่อกรรม
           ๒. วิปากสัทธา เชื่อผลของกรรม
           ๓. กัมมัสสกตาสัทธา เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตัว ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว
           ๔. ตถาคตโพธิสัทธา เชื่อปัญญาตรัสรู้ของพระตถาคต;
       เขียนอย่างสันสกฤตเป็น ศรัทธา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  55 / 78
สันติเกนิทาน “เรื่องใกล้ชิด” หมายถึง เรื่องราวหรือความเป็นมาเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ตั้งแต่ตรัสรู้แล้วจนเสด็จปรินิพพาน;
       ดู พุทธประวัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  56 / 78
สัมพุทธะ ท่านผู้ตรัสรู้เอง, พระพุทธเจ้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  57 / 78
สมฺมาสมฺพุทฺโธ ผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ คือ รู้อริยสัจจ์ ๔ โดยไม่เคยได้เรียนรู้จากผู้อื่น จึงทรงเป็นผู้เริ่มประกาศสัจจธรรม เป็นผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนา และจึงได้พระนามอย่างหนึ่งว่า ธรรมสามี คือเป็นเจ้าของธรรม
       (ข้อ ๒ ในพุทธคุณ ๙)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  58 / 78
สัมมาสัมโพธิญาณ ญาณเป็นเครื่องตรัสรู้เองโดยชอบ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  59 / 78
สามุกกังสิกา แปลตามอรรถกถาว่า “พระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นถือเอาเอง” คือ ทรงเห็นด้วยพระสยัมภูญาณ (ตรัสรู้เอง) ได้แก่ อริยสัจจเทศนา,
       ตามแบบเรียน แปลว่า ธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงยกขึ้นแสดงเอง คือไม่ต้องปรารภคำถามเป็นต้นของผู้ฟัง ได้แก่เทศนาเรื่องอริยสัจจ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  60 / 78
สิทธัตถกุมาร พระนามเดิมของพระพุทธเจ้า ก่อนเสด็จออกบรรพชา
       ทรงเป็นพระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะและพระนางสิริมหามายา
       คำว่า สิทธัตถะ แปลว่า “มีความต้องการสำเร็จ” หรือ “สำเร็จตามที่ต้องการ” คือสมประสงค์ จะต้องการอะไรได้หมด
       ทรงอภิเษกสมรสกับพระนางยโสธรา เมื่อพระชนมายุ ๑๖ ปี เสด็จออกบรรพชาเมื่อพระชนมายุ ๒๙ ปี ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อพระชนมายุ ๓๕ ปี ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ ๘๐ ปี

แสดงผลการค้น ลำดับที่  61 / 78
สุชาดา อุบาสิกาสำคัญคนหนึ่ง เป็นธิดาของผู้มีทรัพย์ซึ่งเป็นนายใหญ่แห่งชาวบ้านเสนานิคม ตำบลอุรุเวลา
       ได้ถวายข้าวปายาสแก่พระมหาบุรุษ ในเวลาเช้าของวันที่จะตรัสรู้
       มีบุตรชื่อยส ซึ่งต่อมาออกบวชเป็นพระอรหันต์
       นางสุชาดาได้เป็นปฐมอุบาสิกา พร้อมกับภรรยาเก่าของพระยสะ และ
       ได้รับยกย่องเป็น เอตทัคคะในบรรดาอุบาสิกาผู้ถึงสรณะเป็นปฐม

แสดงผลการค้น ลำดับที่  62 / 78
สุภัททะ ปัจฉิมสิกขิสาวก (สาวกผู้ทันเห็นองค์สุดท้าย) ของพระพุทธเจ้า เรียกสั้นๆ ว่า ปัจฉิมสาวก
       เดิมเป็นพราหมณ์ตระกูลใหญ่ ต่อมาออกบวชเป็นปริพาชก อยู่ในเมืองกุสินารา ในวันที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน สุภัททปริพาชกได้ยินข่าวแล้ว คิดว่าตนมีข้อสงสัยอยู่อย่างหนึ่ง อยากจะขอให้พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเพื่อแก้ข้อสงสัยนั้นเสียก่อนที่จะปรินิพพาน จึงเดินทางไปยังสาลวัน ตรงไปหาพระอานนท์ แจ้งความประสงค์ขอเข้าเฝ้าพระบรมศาสดา พระอานนท์ได้ห้ามไว้ เพราะเกรงว่าพระองค์เหน็ดเหนื่อยอยู่แล้ว จะเป็นการรบกวนให้ทรงลำบาก สุภัททปริพาชกก็คะยั้นคะยอจะขอเข้าเฝ้าให้ได้
       พระอานนท์ก็ยืนกรานห้ามอยู่ถึง ๓ วาระ จนพระผู้มีพระภาคทรงได้ยินเสียงโต้ตอบกันนั้น จึงตรัสสั่งพระอานนท์ว่า สุภัททะมุ่งหาความรู้ มิใช่ประสงค์จะเบียดเบียนพระองค์ ขอให้ปล่อยให้เขาเข้าเฝ้าเถิด สุภัททปริพาชกเข้าเฝ้าแล้ว ทูลถามว่า สมณพราหมณ์เจ้าลัทธิที่มีชื่อเสียงทั้งหลาย คือ เหล่าครูทั้ง ๖ นั้น ล้วนได้ตรัสรู้จริงทั้งหมดตามที่ตนปฏิญญา หรือได้ตรัสรู้เพียงบางท่านหรือไม่มีใครตรัสรู้จริงเลย
       พระพุทธเจ้าทรงห้ามเสียและตรัสว่าจะทรงแสดงธรรม คือ หลักการหรือหลักความจริงให้ฟัง แล้วตรัสว่า
           อริยมรรคมีองค์ ๘ หาไม่ได้ในธรรมวินัยใด สมณะ (คืออริยบุคคลทั้ง ๔) ก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น
           อริยมรรคมีองค์ ๘ หาได้ในธรรมวินัยใด สมณะก็หาได้ในธรรมวินัยนั้น
           อริยมรรคมีองค์ ๘ หาได้ในธรรมวินัยนี้ สมณะทั้ง ๔ จึงมีในธรรมวินัยนี้ ลัทธิอื่นๆ ว่างจากสมณะ
       และตรัสสรุปว่า
           ถ้าภิกษุทั้งหลายเป็นอยู่โดยชอบ โลกก็จะไม่ว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย
       เมื่อจบพระธรรมเทศนา สุภัททปริพาชกเลื่อมใสทูลขอบรรพชาอุปสมบท
       พระพุทธเจ้าตรัสสั่งพระอานนท์ให้บวชสุภัททะในสำนักของพระองค์ โดยประทานพุทธานุญาตพิเศษให้ยกเว้นไม่ต้องอยู่ติตถิยปริวาส
       ท่านสุภัททะบวชแล้วไม่นาน (อรรถกถาว่าในวันนั้นเอง) ก็ได้บรรลุอรหัตตผล
       นับเป็นพุทธปัจฉิมสักขิสาวก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  63 / 78
เสนานิคม ชื่อหมู่บ้านในตำบลอุรุเวลา
       นางสุชาดาผู้ถวายข้าปายาสแด่พระมหาบุรุษ ในวันที่จะตรัสรู้ อยู่ที่หมู่บ้านนี้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  64 / 78
โสตถิยะ ชื่อคนหาบหญ้าที่ถวายหญ้าแด่พระมหาบุรุษในวันที่จะตรัสรู้ พระองค์รับหญ้าจากโสตถิยะแล้วนำไปลาดต่างบัลลังก์ ณ ควงต้นพระศรีมหาโพธิ ด้านทิศตะวันออก แล้วประทับนั่งขัดสมาธิผินพระพักตร์ไปทางทิศตะวันออก จนกระทั่งตรัสรู้

แสดงผลการค้น ลำดับที่  65 / 78
อนุพุทธะ ผู้ตรัสรู้ตาม
       คือ ตรัสรู้ด้วยได้สดับเล่าเรียนและปฏิบัติตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน
       ได้แก่ พระอรหันตสาวกทั้งหลาย;
       ดู พุทธะ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  66 / 78
อนุพุทธปวัตติ ประวัติของพระสาวก ผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้า;
       เขียนสามัญเป็น อนุพุทธประวัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  67 / 78
อรดี ธิดามารคนหนึ่งใน ๓ คน
       อาสาพระยามารผู้เป็นบิดา เข้าไปประโลมพระพุทธเจ้า ด้วยอาการต่างๆ ในสมัยที่พระองค์เสด็จอยู่ที่ไม้อชปาลนิโครธ ภายหลังตรัสรู้ใหม่ๆ
       (อีก ๒ คน คือ ตัณหา กับ ราคา)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  68 / 78
อรหันตขีณาสพ พระอรหันต์ผู้สิ้นอาสวะแล้ว ใช้สำหรับพระสาวก,
       สำหรับพระพุทธเจ้า ใช้คำว่า อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบเอง

แสดงผลการค้น ลำดับที่  69 / 78
อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระอรหันต์ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เอง หมายถึงพระพุทธเจ้า

แสดงผลการค้น ลำดับที่  70 / 78
อวิทูเรนิทาน “เรื่องไม่ไกลนัก”
       หมายถึง เรื่องราวความเป็นไปเกี่ยวกับพระพุทธเจ้า ตั้งแต่จุติการสวรรค์ชั้นดุสิตจนถึงตรัสรู้;
       ดู พุทธประวัติ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  71 / 78
อสิตดาบส ดาบสผู้คุ้นเคย และเป็นที่นับถือของศากยราชสกุล อาศัยอยู่ข้างเขาหิมพานต์
       ได้ทราบข่าวว่า พระราชโอรสของพระเจ้าสุทโธทนะประสูติใหม่ จึงเข้าไปเยี่ยม พระราชาทรงนำพระราชโอรสออกมาเพื่อจะให้วันทาพระดาบส แต่พระบาททั้งสองของพระราชโอรสกลับเบี่ยงขึ้นไปประดิษฐานบนเศียรของพระดาบส
       เมื่อพิจารณาพระลักษณะของพระราชโอรสแล้ว มั่นใจว่าพระราชโอรสนั้นจักตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน นอกจากทำอัญชลีนบไหว้แล้ว ก็ได้แย้มยิ้มแสดงความแช่มชื่นออกมา
       แต่เมื่อมองเห็นว่า ตนจะไม่มีชีวิตอยู่จนถึงเวลาแห่งการตรัสรู้ ก็เสียใจร้องไห้
       กระนั้นก็ตาม พระดาบสได้ไปบอกหลานชายของท่าน ชื่อว่า นาลกะ ให้ออกบวชรอเวลาที่พระโพธิสัตว์จะได้ตรัสรู้
       อสิตดาบสนี้มีชื่ออีกอย่างหนึ่งว่า กาฬเทวิล หรือ กาฬเทวิลดาบส

แสดงผลการค้น ลำดับที่  72 / 78
อัญญาโกณฑัญญะ พระมหาสาวกผู้เป็นปฐมสาวกของพระพุทธเจ้า เป็นรูปหนึ่งในคณะพระปัญจวัคคีย์
       เป็นบุตรพราหมณ์มหาศาล เกิดที่หมู่บ้านโทณวัตถุ ไม่ไกลจากกรุงกบิลพัสดุ์ เดิมชื่อ โกณฑัญญะ
       เป็นพราหมณ์หนุ่มที่สุดในบรรดาพราหมณ์ ๘ คน ผู้ทำนายลักษณะของสิทธัตถกุมาร และเป็นผู้เดียวที่ทำนายว่า พระกุมารจะทรงออกบรรพชาได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างแน่นอน มีคติเป็นอย่างเดียว
       ต่อมาท่านออกบวชตามเสด็จพระสิทธัตถะ ขณะบำเพ็ญทุกรกิริยา เป็นหัวหน้าพระเบญจวัคคีย์ และได้นำคณะหลีกหนีไป เมื่อพระมหาบุรุษเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา กลับเสวยพระกระยาหาร
       ต่อมาเมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วเสด็จไปโปรด ท่านสดับปฐมเทศนา ได้ดวงตาเห็นธรรม ขอบรรพชาอุปสมบทเป็นปฐมสาวกของพระพุทธเจ้า
       โกณฑัญญะ ที่ได้ชื่อว่า อัญญาโกณฑัญญะ เพราะเมื่อท่านฟังปฐมเทศนาของพระพุทธเจ้า และได้ธรรมจักษุ พระพุทธเจ้าทรงเปล่งอุทานว่า “อญฺญาสิ วต โภ โกณฺฑญฺโญๆ” (โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอๆ) คำว่า อัญญาจึงมารวมเข้ากับชื่อของท่าน
       ต่อมาท่านได้สำเร็จอรหัตด้วยฟังอนัตตลักขณสูตร
       ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางรัตตัญญู (รู้ราตรีนาน คือ บวชนาน รู้เห็นเหตุการณ์มากมาแต่ต้น)
       ท่านทูลลาพระพุทธเจ้าไปอยู่ที่ฝั่งสระมันทากินี ในป่าฉัททันตวัน แดนหิมพานต์ อยู่ ณ ที่นั้น ๑๒ ปี ก็ปรินิพพานก่อนพุทธปรินิพพาน;
       ดู โกณฑัญญะ ด้วย

แสดงผลการค้น ลำดับที่  73 / 78
อัสสัตถพฤกษ์ ต้นไม้อัสสัตถะ,
       ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม อันเป็นสถานที่ที่พระมหาบุรุษ ได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ;
       ดู โพธิ์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  74 / 78
อาสวักขยญาณ ความรู้เป็นเหตุสิ้นอาสวะ, ญาณหยั่งรู้ในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย,
       ความตรัสรู้ (เป็นความรู้ที่พระพุทธเจ้าได้ในยามสุดท้ายแห่งราตรี วันตรัสรู้)
       (ข้อ ๓ ในญาณ ๓ หรือวิชชา ๓, ข้อ ๖ ในอภิญญา ๖, ข้อ ๘ ในวิชชา ๘, ข้อ ๑๐ ในทศพลญาณ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  75 / 78
อินเดีย ชื่อประเทศ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย ถัดจากประเทศพม่าออกไป มีเมืองหลวงชื่อ นิวเดลี (New Delhi) อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๓,๑๐๐ กิโลเมตร
       อินเดียมีเนื้อที่ทั้งหมด ๓,๒๘๗,๕๙๐ ตารางกิโลเมตร
       มีพลเมือง ใน พ.ศ. ๒๕๒๔ ประมาณ ๖๘๓ ล้านคน
       ครั้งโบราณเรียกชมพูทวีป เป็นประเทศที่เกิดพระพุทธศาสนา
       พุทธคยาสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ ประมาณ ๒,๐๐๐ กิโลเมตร

แสดงผลการค้น ลำดับที่  76 / 78
อุกกลชนบท ชื่อชนบทที่พ่อค้า ๒ คน คือ ตปุสสะ กับ ภัลลิกะ เดินทางจากมาแล้ว
       ได้พบพระพุทธเจ้าขณะที่ประทับอยู่ภายใต้ต้นราชายตนะ ภายหลังตรัสรู้ใหม่ๆ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  77 / 78
อุปมา ๓ ข้อ ข้อเปรียบเทียบ ๓ ประการ ที่ปรากฏแก่พระโพธิสัตว์ เมื่อจะทรงบำเพ็ญเพียร ที่ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม คือ
       ๑. ไม้สดชุ่มด้วยยาง ทั้งตั้งอยู่ในน้ำ จะเอามาสีให้เกิดไฟ ก็มีแต่จะเหนื่อยเปล่า ฉันใด
           สมณพราหมณ์ที่มีกายยังไม่หลีกออกจากกาม ยังมีความพอใจหลงใหลกระหายกาม ละไม่ได้ ถึงจะได้เสวยทุกขเวทนาที่เผ็ดร้อนแรงกล้า อันเกิดจากความเพียรก็ตาม ไม่ได้เสวยก็ตาม ก็ไม่ควรที่จะตรัสรู้ ฉันนั้น
       ๒. ไม้สดชุ่มด้วยยาง ตั้งอยู่บนบกไกลจากน้ำ จะเอามาสีให้เกิดไฟ ก็มีแต่จะเหนื่อยเปล่า ฉันใด
           สมณพราหมณ์ที่มีกายหลีกออกแล้วจากกาม แต่ยังมีความพอใจหลงใหลกระหายกาม ละไม่ได้ ถึงจะได้เสวยทุกขเวทนาที่เผ็ดร้อนแรงกล้า อันเกิดจากความเพียรก็ตาม ไม่ได้เสวยก็ตาม ก็มีควรที่จะตรัสรู้ ฉันนั้น
       ๓. ไม้แห้งเกราะ ทั้งตั้งอยู่บนบก ไกลจากน้ำ จะเอามาสีให้เกิดไฟย่อมทำให้ไฟให้ปรากฏได้ ฉันใด
           สมณพราหมณ์ที่มีกายหลีกออกแล้วจากกาม ไม่มีความพอใจหลงใหลกระหายกาม ละกามได้แล้ว ถึงจะได้เสวยทุกขเวทนาที่เผ็ดร้อนแรงกล้า อันเกิดจากความเพียร ก็ตาม ไม่ได้เสวยก็ตาม ก็ควรที่จะตรัสรู้ ฉันนั้น
       เมื่อได้ทรงพระดำริดังนี้แล้ว พระโพธิสัตว์จึงได้ทรงเริ่มบำเพ็ญทุกรกิริยา ดังเรื่องที่มาในพระสูตรเป็นอันมาก มีโพธิราชกุมารสูตร เป็นต้น
       แต่มักเข้าใจกันผิดไปว่า อุปมา ๓ ข้อนี้ปรากฏแก่พระโพธิสัตว์หลังจากทรงเลิกละการบำเพ็ญทุกรกิริยา

แสดงผลการค้น ลำดับที่  78 / 78
อุรุเวลา ชื่อตำบลใหญ่แห่งหนึ่ง ในแคว้นมคธ ตั้งอยู่ ณ ลุ่มแม่น้ำเนรัญชรา เป็นภูมิสถานที่สงบน่ารื่นรมย์ พระมหาบุรุษทรงเลือกเป็นที่บำเพ็ญเพียร ได้ประทับอยู่ ณ ที่นี้นานถึง ๖ ปี
       ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา และเปลี่ยนมาทรงดำเนินในมัชฌิมาปฏิปทา จนได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ภายใต้ร่มพระศรีมหาโพธิ์ ณ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลนี้


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=ตรัสรู้&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%B5%C3%D1%CA%C3%D9%E9&detail=on


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]