ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ อุตริมนุสธรรม ”             ผลการค้นหาพบ  4  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 4
ปาราชิก เป็นชื่ออาบัติหนักที่ภิกษุต้องเข้าแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ,
       เป็นชื่อบุคคลผู้ที่พ่ายแพ้ คือ ต้องอาบัติปาราชิกที่ทำให้ขาดจากความเป็นภิกษุ,
       เป็นชื่อสิกขาบท ที่ปรับอาบัติหนักขั้นขาดจากความเป็นภิกษุ
       มี ๔ อย่าง คือ เสพเมถุน ลักของเขา ฆ่ามนุษย์ อวดอุตริมนุสธรรมที่ไม่มีในตน

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 4
อกรณียะ กิจอันบรรพชิตไม่ควรทำ ๔ อย่าง ทำแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ คือ
       ๑. เสพเมถุน
       ๒. ลักของเขาตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป
       ๓. ฆ่ามนุษย์
       ๔. อวดคุณพิเศษ (อุตริมนุสธรรม) ที่ไม่มีในตน
           (สำหรับภิกษุณี มี ๘);
       ดู อนุศาสน์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 4
อเนสนา การหาเลี้ยงชีพในทางที่ไม่สมควรแก่ภิกษุ,
       เลี้ยงชีวิตผิดสมณะ เช่น
           หลอกลวงเขาด้วยการอวดอุตริมนุสธรรม
           ทำวิญญัติ คือออกปากขอต่อคนที่ไม่ควรขอ
           ใช้เงินลงทุนหาผลประโยชน์
           ต่อลาภด้วยลาภ คือให้แต่น้อยเพื่อหวังตอบแทนมาก
           เป็นหมอเวทมนต์ เสกเป่า
       เป็นต้น

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 4
อุตตริมนุสสธรรม ธรรมยวดยิ่งของมนุษย์, ธรรมของมนุษย์ผู้ยอดยิ่ง,
       ธรรมล้ำมนุษย์ ได้แก่ ฌาน วิโมกข์ สมาธิ สมาบัติ มรรคผล,
       บางทีเรียกให้ง่ายว่า ธรรมวิเศษ บ้าง คุณวิเศษ หรือ คุณพิเศษ บ้าง
       (พจนานุกรมเขียน อุตริมนุสธรรม)


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=อุตริมนุสธรรม&detail=on
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%CD%D8%B5%C3%D4%C1%B9%D8%CA%B8%C3%C3%C1&detail=on


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]