ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)
            การค้นหาคำว่า “ เบญ ”             ผลการค้นหาพบ  9  ตำแหน่ง ดังนี้ :-

แสดงผลการค้น ลำดับที่  1 / 9
เบญจกัลยาณี หญิงมีลักษณะงาม ๕ อย่าง คือ
       ผมงาม
       เนื้องาม (คือเหงือกและริมฝีปากแดงงาม)
       ฟันงาม
       ผิวงาม
       วัยงาม (คือดูงามทุกวัย)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  2 / 9
เบญจกามคุณ สิ่งที่น่าปรารถนาน่าใคร่ ๕ อย่าง คือ
       รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ (สัมผัสทางกาย)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  3 / 9
เบญจขันธ์ ขันธ์ ๕, กองหรือหมวดทั้ง ๕ แห่งรูปธรรมและนามธรรมที่ประกอบเข้าเป็นชีวิต ได้แก่
       ๑. รูปขันธ์ กองรูป
       ๒. เวทนาขันธ์ กองเวทนา
       ๓. สัญญาขันธ์ กองสัญญา
       ๔. สังขารขันธ์ กองสังขาร
       ๕. วิญญาณขันธ์ กองวิญญาณ

แสดงผลการค้น ลำดับที่  4 / 9
เบญจโครส โครส (รสแห่งโค หรือ รสเกิดแต่โค คือ ผลผลิตจากนมโค) ๕ อย่าง ได้แก่
       นมสด (ขีระ)
       นมส้ม (ทธิ)
       เปรียง (ตักกะ)
       เนยใส (สัปปิ)
       เนยข้น (นวนีตะ)

แสดงผลการค้น ลำดับที่  5 / 9
เบญจธรรม ธรรม ๕ ประการ,
       ความดี ๕ อย่างที่ควรประพฤติคู่กันไปกับการรักษาเบญจศีลตามลำดับข้อดังนี้
           ๑. เมตตากรุณา
           ๒. สัมมาอาชีวะ
           ๓. กามสังวร (สำรวมในกาม)
           ๔. สัจจะ
           ๕. สติสัมปชัญญะ ;
       บางตำราว่าแปลกไปบางข้อคือ
           ๒. ทาน
           ๓. สทารสันโดษ = พอใจเฉพาะภรรยาของตน
           ๕. อัปปมาทะ = ไม่ประมาท ;
       เบญจกัลยาณธรรม ก็เรียก

แสดงผลการค้น ลำดับที่  6 / 9
เบญจวัคคีย์ ดู ปัญจวัคคีย์

แสดงผลการค้น ลำดับที่  7 / 9
เบญจศีล ดู ศีล ๕

แสดงผลการค้น ลำดับที่  8 / 9
เบญจางค์ อวัยวะทั้ง ๕ คือ ศีรษะ ๑ มือทั้ง ๒ เท้าทั้ง ๒

แสดงผลการค้น ลำดับที่  9 / 9
เบญจางคประดิษฐ์ การกราบด้วยตั้งอวัยวะทั้ง ๕ อย่างลงกับพื้น
       คือกราบเอาเข่าทั้ง ๒ มือทั้ง ๒ และศีรษะ (หน้าผาก) จดลงกับพื้น


พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=เบญ
http://84000.org/tipitaka/dic/v_seek.php?text=%E0%BA%AD


บันทึก  ๒, ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พิมพ์ครั้งที่ ๑๐. พ.ศ. ๒๕๔๖ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]