ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก  หนังสือธรรมะ
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
มิลินทปัญหา
คาถาภิคีตโภชนาทานถวาย กถนปัญหา ที่ ๗
             ราชา สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามซึ่งอรรถปัญหา อันอื่นสืบต่อไปว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้จำเริญ ภาสิตํ เจตํ สมเด็จพระพุทธ- เจ้ามีพระพุทธฎีกาโปรดไว้ว่า พรหมประพฤติฉันใดพราหมณ์ทั้งหลายก็ประพฤติเหมือนท้าว มหาพรหม ส่วนสมเด็จพระพุทธเจ้าทั้งปวงเล่าก็ประพฤติเหมือนพรหม แต่ทว่าจะได้บริโภค อาหารอันเกิดแต่กล่าวคาถานั้นหามิได้ เดิมพระองค์ตรัสไว้ฉะนี้ ปุน จ ครั้นยืดมาเล่า เมื่อ พระองค์เจ้า มีพระพุทธฎีกาตรัสเทศนาแก่บริษัททั้งหลาย พระองค์ตรัสปริยายเป็นอุปุพพิกถา ืคือกล่าวทานกถาก่อน แล้วสีลกถาต่อภายหลัง ภาสิตํ สุตฺวา เทวดามนุษย์ทั้งหลายได้ฟัง พุทธภาษิตนั้น จึงชวนกันถวายทานเพราะพระองค์กล่าวทานกถา จึงได้ถวายทานสืบๆ กันมา ส่วนว่าสาวกทั้งหลาย ปริภุญฺชนฺติ ได้บริโภคซึ่งทานนี้ เพราะพระพุทธองค์เจ้ากล่าวทานกถา- ศัพท์ ถ้าว่าสมเด็จพระพุทธเจ้าตรัสว่ามิได้บริโภคอาหารอันเกิดด้วยกล่าวคาถาแล้ว คำที่ว่า พระองค์เจ้ากล่าวทานกถานั้นก็ผิดเป็นมิจฉา ถ้าว่าสมเด็จพระพุทธเจ้ากล่าวทานแล้ว คำที่ตรัส ว่า มิได้บริโภคอาหารอันเกิดแต่กล่าวคาถาก็เป็นมิจฉาคำผิด ตํ กึการณํ ที่โยมว่าด้วยเหตุ ไฉน เหตุที่ว่าบิณฑบาตที่ทักขิไณยบุคคลรับเอามาได้นั้น ก็เป็นเพราะสมเด็จพระมหากรุณา สำแดงอานิสงส์ทาน เทพามนุษย์ได้สวนาการฟังธรรมเทศนา ก็มีจิตเลื่อมใสชักชวนกันถวาย ทาน เตทานิ ปริภุญฺชนฺติ ภิกษุสงฆ์สาวกได้รับทานนั้น สพฺเพปิ เต เออกระนั้น ภิกษุสงฆ์ สาวกจะมิพากันฉัน คาถาภิคีตํ ซึ่งอาหารอันเกิดเพราะคาถา อันพระมหากรุณาเจ้ากล่าวแล หรือ อยํ ปญฺโห อันว่าปัญหานี้ อุภโต โกฎิโก เป็นอุภโตโกฏิ นิปุโณ สุคมฺภีโร ละเอียด ลึกซึ้งยิ่งนัก ขอพระผู้เป็นเจ้าจงวิสัชนาให้แจ้งประจักษ์แก่ข้าผู้อื่นชื่อว่าพระยามิลินท์ในกาลบัดนี้              เถโร ครั้งนั้นพระยาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ดูกรบพิตรผู้ประเสริฐ ข้อที่พระ มหากรุณามีพระพุทธฎีกาโปรดประทานไว้ว่า พระองค์มิได้ฉันซึ่งอาหารอันบังเกิดแต่กล่าว คาถาตรัสไว้ฉะนี้ แล้วจึงมีพระพุทธฎีกาตรัสพระสัทธรรมเทศนาทานกถาก่อน เทพามนุษย์ นิกรคณะได้ฟังธรรมเทศนาของพระองค์ก็บังเกิดโสมนัสศรัทธาถวายทานสืบๆ มา สา จ ปน กิริยา แม้อันว่ากิริยาที่สมเด็จพระมหากรุณา ตรัสพระสัทธรรมเทศนานี้เป็นประเพณีแห่ง พระพุทธเจ้าทั้งหลายในกาลก่อน สพฺเพ ตถาคต สมเด็จพระพุทธเจ้าทั้งหลายแต่ก่อนโพ้น อภิรมาเปตฺวา ยังสาธุชนให้ชื่นชมยินดีด้วยทานกถาแล้ว ก็ให้ตั้งอยู่ในศีล ๕ เป็นนิตย์ แล้วก็ ให้ประดิษฐานอยู่ในศีล ๘ ประการต่อภายหลัง บพิตรพระราชสมภารพระองค์จงทรงสวนา- การสดับฟังซึ่งอุปมาเถิด ทานกถานี้มีอุปมาดุจมนุษย์บุคคลทั้งปวงจะกระทำการงานสิ่งใดๆ ปรารถนาจะกระทำให้ทารกอันเป็นบุตรแห่งตนมิให้รบให้กวนได้จึงให้ของเล่นนั้นต่างๆ วงฺกํ คือ ไถ ฆฏิกํ คือหม้อน้อย อุกฺขลิกํ คือหม้อข้าว วิงฺคุลิกํ คือตุ๊กตาล้มลุก ปตฺตาหฬกํ คือ บาตรภาชนะและทะนาน รถกํ คือรถน้อยๆ ธนุกํ คือธนูน้อยๆ อุตสาหะหาให้แก่ลูกเล่น ก่อนเพื่อจะมิให้ลุกของตนอ้อน ให้เพลินไปด้วยของเล่น แล้วจึงฝึกหัดให้กระทำการไร่นาสรรพ- กิจทั้งปวงต่อภายหลัง ยถา อันนี้มีครุวนาฉันใด มหาราช ดูกรบพิตรพระองค์ผู้ทรงพระคุณ อันประเสริฐ อันองค์สมเด็จพระมหากรุณาสัมมาสัมพุทธเจ้านี้ พระองค์สำแดงซึ่งทานกถาก่อน แล้ว จึงสำแดงสีลกถาต่อภายหลัง มีอุปมาเหมือนบุรุษฉะนั้น มหาราช ดูกรพระองค์ผู้ประเสริฐ อาตมภาพจะอุปมาให้พระองค์ฟังอีกข้อหนึ่งเล่า ภึสโก พระพุทธเจ้านี้ เปรียบดุจหมอยา รักษาโรคอันกล้า ควรที่ว่าจะให้กินยาเข้าน้ำมัน จตุหํ เตลํ ปาเยติ ก็ให้คนนั้นกินน้ำมันใสลิ้นสี่ ห้าวันก่อนแล้ว จึงสางยาปัจจุรุถ่ายต่อภายหลัง ความดังนี้มีครุวนาฉันใด นะบพิตรพระราช- สมภาร สมเด็จพระบรมโลกุตตมาจารย์เจ้าก็เหมือนกัน ให้คนทั้งหลายนั้นฟังทานกถาเสียก่อน แล้วยังมนุษย์นิกรเทวาให้ตั้งอยู่ในศีล ๕ ศีล ๘ ต่อภายหลัง มีอุปไมยฉันนั้น มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร จิตของท่านทายกนั้น มุทุกํ อ่อน สินิทฺธํ เย็นสนิทคิด แต่ว่าจะกระทำทานทอดเป็นสะพานข้ามสงสารสาครเข้าสู่พระนิพพาน ตสฺมา เหตุดังนั้น พระองค์จึงสั่งสอนว่าให้ทานเป็นกรรมภูมิ คือเป็นภูมิที่จะสร้างซึ่งบารมีกฤษดาภินิหาร ก็แหละ พระพุทธฎีกาของพระองค์จะเป็นกายวิญญัติ หรือวจีญญัติ ไม่ควรบริโภคทานที่เขาถวายนั้น หามิได้              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์จึงถามต่อไปเล่าว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา พระผู้เป็นเจ้าว่า วิญญัติๆ ดังนี้ วิญญัตินั้นมีกี่ประการ              พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร วิญญัติ สองประการ คือกายวิญญัติประการ ๑ วจีวิญญัติประการ ๑ สิริเข้าเป็นสองประการ และกาย- วิญญัตินั้นแบ่งออกไปเป็น ๒ ประการ คือกายวิญญัติเป็นสาวัชชะมีโทษประการ ๑ กาย- วิญญัติเป็นอนวัชชะหาโทษมิได้ประการ ๑ ฝ่ายว่าวจีวิญญัติเล่าก็แบ่งออกเป็น ๒ คือวจี วิญญัติเป็นสาวัชชนะ ประกอบด้วยโทษประการ ๑ วจีวิญญัติเป็นอนวัชชะ หาโทษมิได้ประการ ๑ กตฺมา กายวิญฺญตฺติ สาวชฺช ขอถวายพระพร กายวิญญัติประกอบด้วยโทษนั้นอย่างไร อิเธกจฺโจ ภิกฺขุ ได้แก่ภิกษุบางรูปอันเข้าไปสู่ตระกูลในบ้าน ยืนอยู่ในที่ไม่เป็นโอกาส อัน สมควรจะยืนตามลำดับตรอก ละเสียซึ่งที่อันสมควรเสียนี้เป็นกายวิญญัติประกอบด้วยโทษ พระอริยาเจ้าทั้งหลายโสดจะได้เลี้ยงชีวิตด้วยกายวิญญัติ อันประกอบด้วยโทษเช่นนั้นหามิได้ และพระภิกษุเลี้ยงชีวิตด้วยกายวิญญัติอันประกอบด้วยโทษนี้ โอญาโต เป็นที่พระอริยาเจ้า ดูหมิ่น ขีลิโต เป็นที่ติเตียน ปริภูโต เป็นที่สำรวล อปจิตฺติกโต เป็นที่มิได้คำรพ หีฬิโต เป็นที่ดูแคลน ครหิโต เป็นที่นินทา เรียกว่าภิกษุนั้นเป็นภินนาชีวะเลี้ยงชีวิตผิดธรรม              ปุน จ ปรํ อีกประการหนึ่งเล่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารเจ้า พระ ภิกษุบางรูปเล่าเข้าไปสู่ตระกูลสถิตอยู่ที่โอกาศอันมิควร เพ่งเล็งประหนึ่งว่านกยูง แล้วคิดว่า ตระกูลเคยดูมหรสพการเล่นอย่างไร อาตมานี้จะให้เห็นอาตมาเหมือนดังนั้น คิดแล้วกระทำ สำแดงกายให้คนทั้งหลายเห็น แล้วได้ลาภสักการะมา ชื่อว่าสาวัชชกายวิญญัติ พระอริยเจ้าทั้ง หลายมิได้เลี้ยงชีวิตด้วยสาวัชชกายวิญญัติ อันมิชอบนี้ ย่อมติเตียนว่าเป็นภินนาชีวนะเหมือนกัน มหาราช ดูรานะบพิตรผู้ประเสริฐ กายวิญญัติที่เป็นอนวัชชนะนั้นอย่างไร ได้แก่พระ ภิกษุบางรูปอันเข้าไปสู่ตระกูล สโต มีสติปัฆฐานภาวนา สมาหิโต เป็นผู้ตั้งมั่นอยู่ในภาวนา สมฺปชาโน มีสัมปชัญญะรู้สึกตัวอยู่ ไปสู่ที่อันควรจะได้หรือมิควรจะได้โดยถานุโสตถี แล้ว ยืนอยู่ ถ้ามีทายกจะให้ ก็พึงยับยั้งรั้งรอรับทาน เมื่อทายกไม่ปรารถนาจะให้ ปกฺกมิตพฺพา ก็ พึงหลีกไปเสีย พระภิกษุเหล่าใดหมู่ใดพวกใด กระทำตรงไปตรงมาได้ดังนี้ ชื่อว่าอนวัชชากาย- วิญญัติหาโทษมิได้ ต้องด้วยวินัย พระอริยเจ้าทั้งหลายย่อมเลี้ยงชีวิตด้วยอนวัชชกายวิญญัติ เช่นนั้น และพระภิกษุเลี้ยงชีวิตเป็นอนวัชชกายวิญญัติ ปสฏฺโฐ พระอริยเข้ายอยก โถมิตฺโต ยินดีสรรเสริญ วณฺณิโต พรรณนาคุณเป็นอเนกประการ ได้ชื่อว่าเป็นสัลเลขิตาจาร ประพฤติสัลเลขมักน้อย อนึ่ง ชื่อว่าเป็นบริสุทธาชีวีเลี้ยงชีวิตโดยชอบธรรมบริสุทธิ์นัก นะบพิตร พระราชสมภาร ภาสิตํ เจตํ ถ้อยคำที่สมเด็จพระชินสีห์ผู้เป็นยอดแห่งเทวดา มีพระพุทธฎีกา โปรดประทานไว้ด้วยคาถาฉะนี้                                        น เว ยาจติ สปฺปญฺโญ ธีโร ปเวทิตุมรหติ                                        ยํ อุทิสฺส อริยา ติฏฺฐนฺติ เอสา อริยาน ยาจนา ดังนี้              กระแสพระพุทธฎีกาโปรดไว้ว่า ธีโร อันว่าพระภิกษุเป็นนักปราชญ์ประกอบด้วยปัญญา ย่อมไม่กระทำกายวิญญัติ อรหติ ควรนักหนาเพื่อจะสรรเสริญเยินยอ ยํ อุทิสฺส อริยา พระอริยเจ้าทั้งหลายท่านปฏิบัติซึ่งกายวิญญัติอันมิได้เป็นอนวัชชะ คือขอด้วยกิริยาอันยืนนิ่งๆ พระภิกษุผู้ประกอบด้วยปัญญาพึงปฏิบัติตาม ในกาลบัดนี้              เมื่อพระนาคเสน ถวายวิสัชนาฉะนี้แล้ว จึงตั้งเป็นกเถตุกามยตาปุจฉาต่อไปว่า กตมาปิ วจีวิญฺญาตฺติ สาวชฺชา วจีวิญญัติที่ประกอบด้วยโทษนั้นประการใด แล้วจึงถวายวิสัชนาต่อไปว่า อิเธกจุโจ มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ได้แก่พระภิกษุพาลพวกอลัชชี วิญฺญาเปติ ขอซึ่งวัตถุมีประการต่างๆ คือจีวรและบิณฑบาตและเสนาสนะและคิลานปัจจัย เภสัชบริขาร ขอต่อทายกด้วยวาจา อยํ อันว่าสิ่งนี้ ชื่อวจีวิญญัติประกอบด้วยโทษ พระอริยะ ทั้งหลายโสดมิได้ประพฤติย่อมเบื่อหน่ายนินทาว่า เลี้ยงชีวิตเป็นภินนาชีวะ ควรจะครหา              ปุน จ ปรํ มหาราช อีกประการหนึ่งว่า ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อิเธกจฺโจ พระภิกษุพาลพวกอลัชชีย่อมยังท่านทายกให้เข้าใจ ด้วยวาจาว่า อิมินา เม อตฺโถ รูปนี้ประโยชน์ด้วยจะใคร่ได้วัตถุสิ่งนี้ๆ มีลาภเพราะวาจาขอต่อบริษัทดังนี้ ชื่อว่าวจีวิญญัติมีโทษ พระอริยะทั้งหลายโสด ติเตียนนินทาว่าเป็นภินนาชีวะ เลี้ยงชีวิตไม่ชอบธรรม              ปุน จ ปรํ มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อีกประการอนึ่งเล่า อิเธกจฺโจ ภิกฺขุ พระภิกษุบางหมู่เหล่าในพระบวรพุทธศาสนานี้ ใช้วิธีหมอดู ยังบริษัททั้งหลาย ให้รู้วัตถุวิชา วิปฺผาเรน ด้วยดูที่ไร่ที่นาว่าจะมีโทษอุบาทว์ฉันใด ให้เร่งกระทำบุญให้ทาน อัน ตรายจึงจะหายไป ส่วนบริษัทสัตบุรุษทั้งหลายนำมาซึ่งลาภสักการะต่างๆ แก่ภิกษุนั้น อย่าง นี้ชื่อว่าวจีวิญญัติประกอบด้วยโทษ พระอริยะไม่โปรดสรรเสริญ ย่อมจะติเตียนนินทา              มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร จงทรงพระสวนาการซึ่งเยี่ยงอย่างนี้ เถิดว่า พระธรรมเสนบดีสารีบุตรผู้เป็นเอกอัครสาวกผู้ใหญ่ ครั้นเวลาสายัณหสมัยเย็นลง อฏฺฐงฺคเม เพลาอัสดงสิ้นสีพระสุริยา คิลาโน พระผู้เป็นเจ้าเป็นไข้ไปจนราตรีภาค พระ โมคคัลลานเถระเห็นลำบากจึงถามว่า เมื่อก่อนเคยบริโภคเภสัชสิ่งไรโรคจึงหาย พระธรรม- เสนาบดีจึงบอกว่าโรคเคยคลายด้วยบริโภคน้ำนมโค พระสารีบุตรบอกเท่านี้ เทวดาสิงอยู่ที่นั้น ก็ไปเข้าไปดลใจสาธุชน ให้เอาน้ำนมโคมาถวาย ฝ่ายพระสารีบุตรจึงมาจินตนาการว่า เภสัชยา นมโคที่มีมา วจีวิปฺผาเรน ด้วยวาจาอาตมาพูดออกไปจึงได้มา อนิจจาๆ มม อาชีโว การเลี้ยงชีวิตของอาตมานี้จะทำลายจากฝ่ายบริสุทธิ์เสียแล้ว พระสารีบุตรจึงมิได้ฉันเภสัช นมโคนั้น นี่แหละอันพระอริยเจ้าทั้งหลายนั้น น อุปชีวนฺติ จะได้เลี้ยงชีวิตเป็นวจีวิญญัติมีโทษ ดังนี้หามิได้              มหาราช ขอถวายพระพร อันว่าวจีวิญญัติหาโทษมิได้นั้นเป็นประการใดเล่า ขอถวาย พระพรบพิตรพระราชสมภาร วจีวิญญัติที่พระพุทธองค์ประทานไว้ว่า ทายกผู้ใดปวารณาไว้ว่า ผู้เป็นเจ้าขัดเภสัชสิ่งไรก็บอกเถิด โยมจะหาถวาย ถ้าทายกทั้งหลายเขาปวารณาอนุญาตไว้ พระภิกษุเจ็บไข้ลงก็ขอได้ ไม่มีโทษ ถึงพระอริยเจ้าทั้งหลายนั้นโสด ถ้าทายกปวารณาไว้เมื่อ เจ็บไข้ก็บอกขอได้ ไม่มีโทษทัณฑ์ แม้สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าก็ได้ตรัสโปรดอนุญาตไว้ อย่างนี้ แลเรียกว่าวจีญญัติไม่มีโทษ              อนึ่ง สมเด็จพระโคดมสัพพัญญู บรมครูเจ้าของเรามิได้รับจังหันอันกาสิภารทวาช- พราหมณ์ถวาย ด้วยจังหันนั้นเกิดด้วยพระองค์เจ้าเพียรไปทรมานพราหมณ์ ด้วยเปล่งออกซึ่ง บาทพระคาถา ตสฺมา เหตุดังนั้นสมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าจึงห้ามเสียซึ่งจังหันนั้น จะฉันหามิได้ บพิตรพึงสันนิษฐาน เข้าพระทัยด้วยประการฉะนี้              ขณะนั้นสมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาค- เสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ประกอบด้วยญาณปรีชา เมื่อสมเด็จพระบรมนายกโลกนาถเจ้า เสวย จังหันนั้น เทวดาเอาโอชาทิพย์มาเรี่ยรายถวายทุกครั้งหรือ หรือว่าเทวดาเอาโอชาทิพย์มา ถวายครั้งเดียว เมื่อเสวนสุกรมัททวะของนายจุนท์เท่านั้น นิมนต์วิสัชนาให้แจ้งก่อน              พระนาคเสนมีวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จ พระบรมโลกุตตมาจารย์เสวยเวลาใด เทวดาเอาโอชาทิพย์มาใส่คราวนั้น เป็นว่าคอยใส่ทีละคำ อาหารที่เสวยทุกคำไป จะได้ละได้เว้นนั้นหามิได้ มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราช- สมภาร เปรียบปานดุจพ่อครัวเมื่อบรมกษัตริย์จะเสวยพระสุธาหาร พ่อครัวจึงเข้าไปนั่งใกล้แล้ว ใส่ซึ่งสูไปยรสลงทุกคำข้าวที่เสวยนั้น ยถา มีครุวนาฉันใด สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อ จะเสวยอาหารบิณฑบาตนั้น เทวดาเอาโอชาทิพย์มาใส่ทุกคำๆ เหมือนพ่อครัวอันใส่สู่ไปยรส ทุกคำเสวยฉะนั้น ครั้งหนึ่งเล่า เมื่อสมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าเสด็จอาศัยเวรัญชคามนั้น เสวยข้าว รางม้า เทวดาก็เอาทิพย์โอชามาปนเข้ากับข้าวรางม้าให้ชุ่มชื่นให้พระองค์เสวย เหตุดังนั้นพระ กายสมเด็จพระสัพพัญญูจึงเป็นปรกติอยู่ จะได้ผอมไปหามิได้ ขอถวายพระพร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากรใได้สวนาการฟังพระนาคเสนพยากรณ์แก้ปัญหา จึง สรรเสริญพระบารมีของสมเด็จพระมหากรุณาว่า ภนฺเต ข้าแต่ผู้เป็นเจ้า สมเด็จพระ ชิเนนทรบพิตรมารนี้พระบารมีมารนักหนา จนชั้นแต่เทวดาก็อุตสาหะมาปฏิบัติทุกเวลา เสวย อันนี้ก็เป็นลาภอันเลิศของเทวดา สมฺปฏิจฺฉามิ โยมจะรับเอาถ้อยคำของพระผู้เป็นเจ้าไว้ ในกาลบัดนี้
คาถาภิวิตโภชนาทานถวาย กถนปัญหา คำรบ ๗ จบเพียงนั้น

             เนื้อความมิลินทปัญหา หน้าที่ ๒๘๙ - ๒๙๔. http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=121              สารบัญมิลินทปัญหา http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=0#item_121

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]