ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก  หนังสือธรรมะ
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
มิลินทปัญหา
ภาคผนวก
             มิลินทปัญหา เป็นปกรณ์มีมาเก่าแก่และสำคัญปกรณ์หนึ่งในพระพุทธศาสนา ไม่ ปรากฏว่าท่านผู้ใดเป็นผู้รจนา เชื่อกันว่ารจนาขึ้นในราวพุทธศักราช ๕๐๐ ปรากฏตาม มธุรัตถปกาสินี ฎีกาแห่งมิลินทปัญหาซึ่งรจนาโดยพระมหาติปิฎกจุฬาภัย(๑) ว่าพระพุทธโฆษา- จารย์ เป็นผู้แต่งนิทานกถาและนิคมกถาประกอบเข้า ส่วนตัวปัญหา ท่านหาได้กล่าวว่าผู้ใด แต่งไม่(๒)              มิลินทปัญหาแบ่งออกเป็น หกส่วน คือ บุพพโยค ว่าด้วยบุพพกรรมและประวัติ ของพระนาคเสนและพระเจ้ามิลินท์ มิลินทปัญหาว่าด้วยปัญหาเงื่อนเดียว เมณฑกปัญหา ว่า ด้วยปัญหาสองเงื่อน อนุมานปัญหา ว่าด้วยเรื่องที่รู้โดยอนุมาน ลักขณปัญหา ว่าด้วยลักษณะ แห่งธรรมต่างๆ อนุมานกถาปัญหา ว่าด้วยเรื่องที่จะพึงทราบด้วยอุปมา ในหกส่วนนี้ บางส่วน ยกเป็นมาติดา บางส่วนไม่ยกเป็นมาติกา จัดรวมไว้ในมาติกาอื่น คือ ลักขณปัญหารวมอยู่ใน มิลินทปัญหา อนุมานปัญหารวมอยู่ในเมณฑกปัญหา เพราะฉะนั้น บุพพโยคซึ่งเรียกว่า พาหิรกถา หนึ่ง มิลินทปัญหา หนึ่ง เมณฑกปัญหา หนึ่ง และอุปมากถาปัญหา หนึ่ง(๒)              เกี่ยวกับระยะเวลาแห่งการจรจามิลินทปัญหาปกรณ์นี้ สมเด็จพระสังฆราช (อุฏฺฐายี- มหาเถร) ทรงสันนิษฐานไว้ว่า ในพุทธโฆสัปปวัตติกถา ท้ายคัมภีร์วิสุทธิมัคค์ กล่าวว่า พระพุทธโฆษาจารย์เกิดเมื่อพระพุทธศาสนากาลล่วงแล้ว ๙๖๕ พรรษา ในพาหิรกถาแห่ง มิลินทปัญหากล่าวว่า พระเจ้ามิลินท์ทรงสมภพ เมื่อพุทธศักราช ๕๐๐ ปี แต่ไม่ปรากฏว่า พระเจ้ามิลินท์ทรงครองราชสมบัติในสาคลนคร เมื่อพระพุทธศักราชล่วงแล้วเท่าไร ปรากฏแต่ เพียงว่า พระเจ้ามิลินท์ทรงชอบรุกรานถามปัญหาธรรม จนไม่มีใครสามารถจะวิสัชนาได้ สมณพราหมณ์จึงต่างพากันหนีออกไปหมด สาคลนครว่างเปล่าจากสมณพราหมณ์ผู้เป็น บัณฑิตอยู่ถึง ๑๒ ปี พระนาคเสนจึงได้อุบัติขึ้น และบรรพชาเป็นสามเณะเมื่ออายุได้ ๗ ขวบ (๑) ในคำนำ มิลินทปัญหา ฉบับหอสมุดแห่งชาติ พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชนุภาพ ว่า พระปิฎกจุฬาภัย เป็นผู้รจนามิลินทปัญหา และในบัญชีคัมภีร์ภาษาบาลีและสันสกฤต ของหา พระสมุดวชิรญาณ (หอสมุแห่งชาติ) ว่า พระติปาติเถระ เป็นผู้แต่งมธุรัตถปกาสินี แต่มธุรัตถปกาสินี ฉบับอักษรโรมัน ก็ว่า รจนาโดย พระมหาติปิฎกจุฬาภัยเถระ (๒) พระนิพธ์คำนำ ของสมเด็จพระสังฆราช (อุฏฺฐายีมหาเถร) ในมิลินทปัญหาฉบับโรงพิมพ์ไท ๒๔๗๐ อุปสมบทเมื่ออายุ ๒๐ ปีเต็ม บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว จึงไปเรียนพระพุทธวจนะในสำนัก ของพระพุทธรักขิตเถระ ที่อโสการาม เมืองปาฏลีบุตร เรียนพระไตรปิฎกใช้เวลาในการเรียน ๓ เดือน และพิจารณาอรรถแห่งพระพุทธวจนะที่เรียนแล้วอีก ๓ เดือนจึงจบ พร้อมทั้งได้ บรรลุพระอรหัต แล้วจึงกลับสู่สังเขยยบริเวณ จนถึงได้พบกันพระเจ้ามิลินท์กระทำปุจฉา วิสัชนากะกันและกัน ระยะกาลตั้งแต่พระนาคเสนอุปสมบทแล้ว ถึงวิสัชนาปัญหากับพระเจ้า มิลินท์นี้ อนุมานดูไม่แน่ว่ากี่ปี แต่ก็คงได้ความว่า พระนาคเสนเกิดภายหลังพระเจ้ามิลินท์ หลายสิบปี คงในราวพระพุทธศักราช ๕๓๐ ปี จะอ่อนแก่ไปบ้านก็คงไม่มากนัก มิลินทปัญหานี้ คงเกิดขึ้นในราวพุทธศักราช ๕๕๐ ปีขึ้นไป เพราะฉะนั้น เมื่อประมวลหลักฐานที่มาทั้งสาม สถานประกอบด้วยเข้าแล้วคงได้ความว่า ตัวมิลินท์ปัญหาเกิดขึ้นราวพุทธศักราช ๕๕๐ ปี และ พระพุทธโฆษาจารย์ได้แต่งนิทานกถากับนิคมกถาประกอบเข้าให้บริบูรณ์ ได้ลักษณะแห่ง ปกรณ์ในระหว่างพุทธศักราช ๙๕๗ ถึง ๑๐๐๐ ปี (๑)              ศาสตราจารย์ ริส เดวิดส์ (Prof. Rhys Davids) ผู้แปลมิลินทปัญหาเป็นภาษาอังกฤษ เป็นคนแรก (เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๓) ไม่ได้ระบุผู้รจนา กล่าวแต่เพียงว่า มิลินทปัญหา เป็นหนังสือ ที่แต่งขึ้นทางอินเดียภาคเหนือ ราวแรกตั้งคริสตศักราช (คริสตศักราชเริ่มเมื่อ พ.ศ. ๕๔๓) ใน เวลาที่พระพุทธศาสนายังไม่เกิดแตกแยกกันเป็นนิกายมหายาน ข้างฝ่ายเหนือ และนิกายเถรวาท ข้างฝ่ายใต้ และว่ามิลินทปัญหานี้ เดิมคงแต่งขึ้นในภาษาสันสกฤตหรือภาษาปรากฤตเช่นเดียว กับคัมภีร์อื่นๆ ที่รจนาขึ้นในทางอินเดียภาคเหนือ แต่ฉบับเดิมสาบสูญไปเสียแล้ว ฉบับที่ ปรากฏสืบมาจนบัดนี้นั้น เป็นฉบับที่ชาวลังกาได้แปลเป็นภาษาบาลีไว้(๒)              วี. เทรงก์เนอร์ (V. Tremckner) ซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอดมิลินทปัญหาออกเป็นอักษรโรมัน เป็นคนแรก (เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๓) กล่าวว่า มิลินทปัญหานี้ รจนาขึ้นราวคริสตศตวรรษที่ ๑ และลงความเห็นว่าต้นฉบับเดิมเป็นภาษาสันสกฤต เพราะใช้คำเริ่มต้นว่า "ตมฺยถา นุสูยต" แทนที่จะใช้คำเริ่มต้นที่นิยมใช้กันในคัมภีร์บาลีทั่วๆ ไปว่า "เอวมฺเม สุตํ" และว่า เป็นปกรณ์ ที่รจนาขึ้นทางอินเดียเหนือ อันเป็นดินแดนที่อยู่ในความปกครองของพระเจ้าเมนันเดอร์ (มิลินท์) ซึ่งดูก็ไม่น่าจะมีอะไรเกี่ยวข้องกับลังกาทวีป(๓) (๑) พระนิพนธ์คำนำ สมเด็จพระสังฆราช (อุฏฺฐายีมหาเถร) ในมิลินทปัญหาฉบับโรงพิมพ์ไท ๒๔๗๐ (๒) พระนิพนธ์คำนำ ของสมเด็จกรมพระยาดำรง ฯ ในมิลินทปัญหา ฉบับสมุดแห่งชาติ ๒๕๐๐ (๓) Foreword by Prof. Nalinaksha Dutt, Milindapanha and Nagasenbhikshussutra by Dr. thich Minh Chau Bhikkhu, Calcutta< 1964. ส่วนท่านอานันท์ เกาศัลยายนะเถระ (Anand Kausalyayana) ชาวอินเดีย กล่าวว่า มิลินทปัญหานั้น รวบรวมขึ้นโดยพระนาคเสนมหาเถระ และเป็นคัมภีร์ที่มีหลักฐานดีเล่มหนึ่ง มิลินทปัญหาคงรจนาขึ้นในสมัยพระเจ้าเมนันเดอร์ (มิลินท์) หรือหลังจากนั้น แต่จะต้องรจนา ขึ้นก่อนสมัยพระพุทธโฆษาจารย์ เพราะพุทธโฆษาจารย์มักจะอ้างถึงมิลินทปัญหาเสมอ เมื่อ ประมาณดูแล้ว มิลินทปัญหาคงจะรจนาขึ้น ๑๕๐ ปี ก่อนคริสตศักราช ถึงคริตศักราช ๔๐๐ ปี เมื่อถือว่ามิลินทปัญหามีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ สิ่งที่ควรพิจารณาต่อไปก็คือใครเป็นผู้ รวบรวมขึ้น รวบรวมขึ้นเมื่อไร มีการเพิ่มเติมลงไปบ้างหรือไม่ และถ้ามีการเพิ่ม เพิ่มเติมไป เมื่อไร มีผู้เสนอความคิดว่ามิลินทปัญหาไม่ใช่เป็นคัมภีร์ที่รจนาขึ้นโดยบุคคลคนเดียว เพราะ แต่ละตอน มีลีลาการแต่งแตกต่างกัน บางทีจะมีการเพิ่มเข้าในภายหลังเป็นบางตอนก็ได้ ข้อ พิสูจน์คำที่กล่าวนี้มีอยู่ว่า ฉบับที่แปลเป็นภาษาจีนระหว่างคริสตศักราช ๓๑๗-๔๒๐ (พุทธ ศักราช ๘๖๐-๙๖๓) ซึ่งเรียกว่านาคเสนสูตรนั้น มีเพียง ๓ ตอนแรก เมื่อพิจารณาตามหลักนี้ จะเห็นได้ว่า ๔ ตอนที่เหลือเพิ่มเข้ามาในภายหลัง ข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่งที่สนับสนุนคำ กล่าวข้างต้น คือ เมื่อจบตอนที่ ๓ แล้ว ก็แสดงว่าพระเจ้ามิลินท์ทรงถามปัญหาจบลง แต่ ถึงตอนที่ ๔ กลับเหมือนทรงเริ่มต้นถามใหม่อีก จึงมีทางสันนิษฐานได้เป็น ๓ ทางคือ (๑) อาจจะมีการเพิ่มเติมเข้ามาภายหลังอีกหลายตอน (๒) อาจจะแต่งขึ้นครบบริบูรณ์อย่าง ที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้มาเดิมแล้ว และ (๓) ชาวจีนอาจจะเลือกแปลไว้เพียง ๓ ตอนแรก ก็ได้ (๑)              นาง ไอ.บี ฮอนเนอร์ (I. B. Horner) กล่าวว่า มิลินทปัญหาอาจจะไม่ได้แต่งขึ้นใน สมัยของพระเจ้ามิลินท์ นาย เอส. ดุตต์ (S.Dutt) ประมาณว่า อาจจะร้อยกรองขึ้นในยุคต่อๆ มาอีกช้านาน และนาย เอ. แอล. บาชัม (A. L. Basham) ก็ว่า บางทีก็อาจจะรจนาขึ้นใน คริสตศตวรรษที่ ๑ หรือมิฉะนั้นก็ราวแรกตั้งคริสตศักราช แต่อย่างน้อยก็ต้องก่อนพระพุทธ- โฆษาจารย์ไปลังกา แม้จะไม่ทั้งหมดก็ต้องบางส่วน หรือไม่ก็ภายหลังที่พระไตรปิฎกได้จัดเป็น ชาดก เป็นทีฆนิกาย มัชฌิม-สังยุตต-อังคุตตร-ขุททกนิกายแล้ว ส่วนภาณกาจารย์ผู้ทำหน้าที่ ในการรวบรวมนั้น ก็คงจะรวมอยู่ในจำนวนผู้ที่พระนาคเสน กล่าวว่าเป็นผู้ที่อยู่ในธรรมนคร ของพระพุทธเจ้า(๒) เอ.ดี. แอดิการัม (A.D. Adikaram) ได้ให้ข้อสังเกตไว้ตามที่เขาสอบสวน ได้ว่า น่าประหลาดที่ชื่อบุคคลต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในขุททกภาณกะนั้นไม่มีกล่าวถึงในอรรถกถา (๑) 2500 Year of Buddhism, p. 206-207 (๒) มีธรรมกถิก วินยกถิก สุตตันตกถิก เป็นต้น ดูมิลินทปัญหาฉบับแปลในมหากุฏ ฯ หน้า ๕๖๗ อื่นเลยข้าพเจ้าเอง (นางฮอนเนอร์) ก็ไม่พบเหมือนกัน แต่เกี่ยวกับพื้นฐานของข้อความต่างๆ ในมิลินทปัญหานี้ เขา (นายแอดิการัม) ได้สรุปไว้ว่าเกิดขึ้นในอินเดีย มิใช่เกิดขึ้นในลังกา(๑)              นางฮอนเนอร์ ได้ให้ข้อสังเกตต่อไปอีกกว่า เป็นที่น่าสังเกตว่าในอัตถสาลินี อ้างข้อ ความบางตอนจากมิลินทปัญหา ตอนที่ ๑-๓ และ ธัมมปทัฏฐกถา ก็อ้างข้อความจากมิลินท- ปัญหา ตอนที่ ๔-๖ ด้วยหลักฐานต่างๆ เหล่านี้แสดงว่าพระพุทธโฆษาจารย์มีความชำนิ ชำนาญในมิลินทปัญหาเป็นอย่างดี ดังนั้นมิลินทปัญหาอาจจะได้รจนาขึ้นในอินเดีย หรือ แคชเมียร์ เมื่อประมาณ ๓๐๐-๔๐๐ ปีก่อนที่จะตกเข้ามาในประเทศลังกา เมื่อเทียบให้เห็น ข้อต่างกันแล้ว จะเห็นว่า วิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆษาจารย์นั้น ให้ความรู้ในทางปฏิบัติ เพื่อส่งเสริมกรทำตนให้บริสุทธิ์อย่างละเอียดละออ ส่วนพื้นฐาน การอธิบาย และการแนะนำ ต่างๆ ในมิลินทปัญหานั้น เป็นไปในทางพัฒนาปัญญามากกว่า มิใช่เป็นแบบแผนในการ เจริญสมาธิภาวนา จุดมุ่งหมายตามที่แสดงไว้ก็คือ ต้องการจะขจัดสาเหตุแห่งความเคลือบ แคลงสงสัยต่างๆ อันอาจจะเกิดขึ้นได้เนื่องจากาการมีความเห็นขัดแย้งกันเกี่ยวกับพระคัมภีร์ หรืออรรถแห่งคำสอนให้หมดสิ้นไป และเพื่อจะขจัดปัญหายุ่งยากต่างๆ เมื่ออนุชนใน อนาคตจะได้รับคำตอบที่ถูกต้องเกี่ยวกับปัญหาสองแง่ อันอาจทำให้เกิดความฉงนสนเท่ห์ และเพื่อจะทำให้การโต้เถียงกันอันจะพึงมีได้ในอนาคตเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้หมดสิ้นไป ผู้ แต่งจะต้องได้บันทึกการสนทนาที่เกิดขึ้นจริงๆ หรือว่าเชื่อว่าเกิดขึ้นจริงระหว่างกษัตริย์ผู้ที่ ทรงพระปรีชาสามารถเป็นอย่างยิ่ง (ซึ่งอาจจะเป็นกษัตริย์กรีกบากเตรียน แต่น่าจะเป็นบาก เตรียนกรีกมากกว่า ) กับพระนาคเสนซึ่งความสามารถพอๆ กัน หรือไม่เช่นนั้น ก็จะต้อง คิดแต่ขึ้นมาเอง โดยมีการรวบรวมและเพิ่มเติมมาเรื่อยๆ นับเวลาเป็นปีๆ และอาจจะมี คณะหรือศิษย์ช่วยเพิ่มเติมต่อๆ มาด้วย และด้วยวิธีดังกล่าวนี้เอง จึงทำให้กลายเป็นงานที่มี หลักฐาน มีสาระและมีความสำคัญขึ้น จึงกล่าวได้ในที่สุดว่า มิลินทปัญหานี้ เป็นผลงานของ รจนาจารย์มากกว่าหนึ่งท่าน ลีลาอันกะทัดรัดในตอนต้นๆ ของคัมภีร์นี้ ซึ่งเราจะเห็นว่าแตก ต่างกันกับตอนท้ายๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความชำนิชำนาญในทางสำนวนวรรคดี ย่อมจะเป็น เครื่องสนับสนุนสมมติฐานดังกล่าวนี้ได้เป็นอย่างดี (๒)              ส่วนศาตราจารย์ ริส เดวิดส์ ได้ให้ข้อสรุปเกี่ยวกับผู้รจนามิลินทปัญหานี้ไว้ว่า เมื่อ ประมวลหลักฐานต่างๆ จากชื่อสถานที่สำคัญและแม่น้ำสำคัญ ที่กล่าวถึงในคัมภีร์นี้แล้ว ก็ (๑) Milinda's Questions Vol.l, by I.B Hornet, p. xxi-xxii. (๒) Milinda's Questions Vol.l,p.xx-xxi. พอสรุปได้ว่า ผู้รจนาคัมภีร์นี้ อยู่ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย หรือในแคว้น ปัญจาบของอินเดีย (ปัจจุบัน) และเหตุผลที่จะมาสนับสนุนความเห็นดังกล่าวนี้ให้หนักแน่น ยิ่งขึ้น ก็คือว่า ในที่อื่นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศลังกา ซึ่งอาจจะพิจารณาว่าเป็นที่อยู่ ของผู้แต่งคัมภีร์นี้ หากท่านไม่ได้อยู่ในที่ที่กล่าวมาแล้วข้างต้นก็ได้นั้น ไม่ปรากฏว่ามีอนุสรณ์ อะไรเกี่ยวกับพระเจ้าเมนันเดอร์อยู่เลย(๑)              และศาสตราจารย์ ริส เดวิดส์ ยังได้กล่าวอีกว่า มิลินทปัญหานี้รจนาขึ้นภายหลัง คัมภีร์กถาวัตถุ ซึ่งเป็นคัมภีร์ในพระอภิธรรมปิฎกที่แต่งโดยพระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ ใน คราวทำสังคายนาครั้งที่ ๓ หลังพุทธปรินิพพานแล้ว ๒๓๕ ปี เพราะเมื่อเปรียบเทียบคัมภีร์ ทั้งสองนี้ดูแล้ว จะเห็นว่า ข้อคฤหัสถ์ที่บรรลุพระอรหัตแล้วจะบวชด้วยวิธีด้วย(๒) และเป็น ธรรมดาว่า ข้อความในคัมภีร์ที่เก่ากว่านั้น มักจะถูกนำมาอ้างในคัมภีร์ที่แต่งทีหลัง และ ความมุ่งหมายก็อย่างเดียวกัน คือเพื่อปราบพวกมิจฉาทิฏฐิและป้องกันพระศาสนาจากพวก พาหิรลัทธิ              พระเจ้ามิลินท์ คือใคร ? ภารัต สิงห์ อุปัธยายะ (Bharat sing Upadhyaya) ได้ให้ คำตอบในปัญหานี้ไว้ว่า พระเจ้ามิลินท์นั้น เป็นองค์เดียวกันพระเจิาเมนันเดอร์ กษัตริย์ชาติ อินโดกรีก ซึ่งเป็นผู้ทรงอุปถัมถ์และสนับสนุนพระพุทธศาสนาที่สำคัญพระองค์หนึ่ง ระหว่าง ศตวรรษที่ ๒ คำว่า มิลินท์ มาจากคำภาษากรีกว่า เมนันดรอส (Menandros) นักเขียนใน สมัยนั้น เรียกพระนามของกษัตริย์พระองค์นี้หลายอย่างด้วยกัน เช่น ในหนังสือ อวทาน- กัลปลดา ของท่านเกษมเมนทร (Ksimendra,s Avadanadalpalata) เรียกพระนามของกษัตริย์ พระองค์นี้ว่า มิลินทร์ (Milindra) ซึ่งเป็นนามเดียวกันกับที่พบในหนังสือหมวด ต้นเซอร์ (The Bstan-hygur) แห่งพระไตรปิฎกธิเบต คำจารึกหีบศพภาษาชินกอด (Shinkot) เป็น ตัวอักษร ขาโรษฐิ (Kharosthi) เรียกพระนามของกษัตริย์พระองค์นี้ว่า เมนัทระ (Mebadra) หลักฐานสำคัญที่พอจะประมวลเรื่องราวของกษัตริย์ชาติอินโดกรีกพระองค์นี้ ก็คือมิลินท- ปัญหานั่นเอง เรื่องราวของนักประวัติศาสตร์กรีก เช่น สตราโบ (Strabo) พลูตาร์ก (Plutarch) (๑) Sacred Book of the East, by F. Max Muller, Vol.xxxv, p. xliv. (๒) เล่มเดียวกับหมายเลข (๑) Vol. xxxvi, p.xxv. และจัสติน (Justin) และเหรียญของพระเจ้าเมนันเดอร์เอง ซึ่งจารึกตัวอักษรว่า "Basileus Soteros Menandros" ที่ค้นพบในที่ต่างๆ ๒๒ แห่ง ในลุ่มน้ำกาบุล (Kabul) และสิทธ์ (Sindh) และในบริเวณภาคตะวันตกขอมณฑลอุตตรประเทศ (Uttar Pradesh) นักปราชญ์ หลายท่านมีความเห็นแตกต่างกันในเรื่องสมัยอันแน่นอนของพระเจ้าเมนันเดอร์ สมิธ (Smith) มีความเห็นว่า พระเจ้าเมนันเดอร์รุ่งเรืองอยู่ในกลางศตวรรษที่ ๒ ก่อน ค.ศ. เอช.ซี. เรย์ เชาธุรี (H.C. Rau Chaudhuri)กล่าวว่า พระองค์ทรงพระชนม์อยู่ในศตวรรษที่ ๑ ก่อน ค.ศ ใน มิลินทปัญหากล่าวว่าพระเจ้ามิลินท์ทรงพระชนม์อยู่ หลังพุทธปรินิพพาน ๕๐๐ ปี ฉะนั้น จึง มีเหตุผลเพียงพอที่จะกล่าวว่า กษัตริย์กรีกพระองค์นี้ ทรงครองราชย์ในศตวรรษที่ ๑ ก่อน ค.ศ. หรือราวๆ นั้น ซึ่งมีข้อเท็จจริงอื่นๆ ยืนยันอีกเป็นอันมาก ในมิลินทปัญหากล่าวว่า พระเจ้าเมนันเดอร์ เป็นพระราชแห่งพวกโยนก "โยนกานํ ราชา มิลินฺโท" คำบาลีว่า โยนก หรือ โยน (สันสกฤตว่า ยวน) เป็นคำเดียวกับภาษาเปอร์เซียโบราณว่า "เยานะ" ซึ่งแต่เดิม หมายถึงพวกไอโอเนียนกรีก (lonia Greeks) แต่ต่อมาเลือนไป หมายถึงพวกกรีกทั้งหมด อาณาจักรของพวกโยนะ (Yonas) และพวกกัมโพชะ (Kambojas) เป็นที่รู้จักแก่ชาวอินเดีย ในศตวรรษที่ ๖ ก่อน ค.ศ. ดังมีหลักฐานอยู่ในอัสสลายสูตร มัชฌิมนิกาย ซึ่งแสดงว่า ประชาชนของอาณาจักรเหล่านี้มีเพียง ๒ วรรณ คือ พวกอารยะ (Arya) และพวกทาส (Dasa) แทนที่จะมี ๔ วรรณเหมือนในสังคมอินเดีย เป็นข้ดเท็จจริงที่ทราบกันทั่วไปแล้วว่า หลังสังคายนา ครั้งที่ ๓ ซึ่งทำที่กรุงปาฏลีบุตร ได้มีการส่งนักเผยแพร่พระพุทธศาสนาไปยังประเทศโยนะอัน ห่างไกล อันประกอบไปด้วยอาณาจักรของพระเจ้าอันติโอคอสที่ ๒ แห่งซีเรีย (Amtiochos ll of Syria) อาณาจักรของพระเจ้าอันตีโกนอสโกนาตอส แห่งเมซิโดเนีย (Amtigonos Gonatos of Macedonia)เป็นต้น ข้อความนี้ได้กล่าวไว้ในศิลาจารึกหลักที่ ๒ และหลักที่ ๑๓ ของพระเจ้าอโศก ในศิลาจารึกนั้น มีคำกล่าวต่อไปอีกว่า พระภิกษุชาวกรีกชื่อ ธรรมรักขิต (Yona Dhammarakkhita) ถูกส่งไปประกาศพระศาสนาในอปารนตกประเทศ ฉะนั้น จึงเห็นได้ชัดเจนว่า คำสอนอันประเสริฐ ของพระพุทธเจ้าได้เข้าถึงจิตใจของชาวกรีกก่อนสมัยของพระเจ้าเมนันเดอร์ แต่ส่วนมากเราได้ ทราบกันว่า กษัตริย์พระองค์นี้เป็นพระองค์แรกที่ทรงพระทัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า โดยทรงตั้งข้อสงสัยขึ้นหลายประการ เมื่อพระองค์ทรงได้สดับคำวิสัชนาของพระนาคเสนจน หมดความสงสัยแล้ว พระองค์ก็ทรงสนับสนุนในการเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในมิลินทปัญหา กล่าวว่า พระเจ้ามิลินท์ประสูติที่ตำบลกลสิคาม ในเกาะอลสันทะ คือ เมืองอเล็กซานเดรีย (Alexandria) หรือกันทหาร (Kamdahar) ในปัจจุบัน นครหลวงของพระองค์ คือ เมืองสาคละ ซึ่งเป็นเมืองเดียวกันกับเมืองสังคาล (Sangal) ของนักประวัติศาสตร์กรีกชื่อ แอร์เรียน (Arrian) และเมืองสาคาล (Sagal) หรือ ยูธูเมเดีย (Euthumedeia) ของปโตเลมี (Ptolemy) เมืองนี้ อยู่ในบริเวณเมือง ไสอัลกอต (Sialkot) ในมณฑลปัญจาบ อาณาจักรของพระเจ้าเมนันเดอร์ ประกอบด้วยมณฑลเปษวาร์ (Peshawar) ลุ่มน้ำกาบุลตอนบน มณฑลปัญจาบ (Panjab) มณฑลสินธ์ (Sindh) มณฑลกาเธียวาร (Kathiawar) และมณฑลอุตตรประเทศตะวันตก เมื่อ พระเจ้ามิลินท์ทรงนับถือพระพุทธศาสนาแล้ว พระองค์ก็ทรงสร้างวิหารชื่อ มิลินทวิหาร ถวาย พระนาคเสน นอกจากนี้ พระองค์ยังได้ทรงขยายอาณาจักรแห่งพระพุทธศาสนาออกไปอีกเป็น อันมาก ตามหนังสือมิลินทปัญหา พระเจ้ามิลินท์สวรรคต เมื่อทรงผนวชเป็นภิกษุ หลังจาก ทรงสละราชสมบัติและราชอาณาจักรให้แก่ราชโอรส กล่าวกันว่าพระองค์ได้บรรลุพระอรหัต ซึ่ง เป็นจุดหมายปลายทางของพระพุทธศาสนาแบบเถรวาทด้วยอีกประการหนึ่ง ที่เหรียญของ พระเจ้าเมนันเดอร์ มีตราพระธรรมจักร จึงเป็นเหตุผลที่ไม่ผิดพลาดว่า พระองค์ทรงเป็น พุทธศาสนิกที่เคร่งครัด อนึ่ง ศิลาจารึกภาษาชินกอต ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า กษัตริย์กรีกพระองค์นี้ ได้ทรงเผยแพร่พระพุทธศาสนาให้แพร่หลายไปในอาณาบริเวณ ตั้งแต่ภูเขาฮินดูกูษจนถึงแม่น้ำสินธุ พลูตาร์กกล่าวต่อไปว่า ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นกษัตริย์ พระองค์ทรงมีความยุติธรรม อย่างยอดเยี่ยม และทรงเป็นที่รักใคร่ของปวงชนทุกชั้น แม้ว่าอำนาคที่พระองค์ทรงสถาปนาขึ้น จะเสื่อมสูญไปจากอินเดียพร้อมกับการสิ้นพระชนม์ของพระองค์ก็ตาม แต่อนุสาวรีย์อันแสดง ถึงความที่พระองค์ทรงมีความยุติธรรม มีพระปรีชาสามารถ และเป็นพุทธศาสนิกผู้เคร่งครัด จะยืนยงคงอยู่คู่กับหนังสือมิลินทปัญหา และเหรียญตราธรรมจักรของพระองค์ชั่วกัลปาวสาน(๑)              ศาสตราจารย์ ริส เดวิดส์ ได้ให้คำอธิบายในเรื่องนี้ไว้ว่า พระเจ้ามิลินท์นั้น เข้าใจกันว่า คือพระเจ้าเมนันเดอร์ ซึ่งพระนามปรากฏอยู่ในบัญชีกษัตริย์กรีกที่ปกครองบากเตรีย (คือ อาฟฆานิสตาน) ในตำนานนั้นกล่าวว่าพระองค์ทรงเป็นกษัตริย์แห่งโยนกะ (กรีก) ครองราชย์ ในเมืองสาคละ (The Euthudtmia of the Greeks) และก็ปรากฏว่าไม่มีพระนามอื่นในบัญชี ดังกล่าวที่ใกล้เคียงกับคำว่า มิลินท์ จึงมั่นใจได้ว่า นามทั้งสองดังกล่าวแล้ว เป็นบุคคลคนเดียวกัน จรนาจารย์คงจะได้เปลี่ยนแปลงชื่อภาษากรีกเสียใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับภาษาท้องถิ่นของ อินเดียที่นำมาใช้ในการรจนา (มิลินทปัญหานี้) หรือไม่ก็เป็นเพราะความเปลี่ยนแปลงไปเอง ตามธรรมชาติ ในทางการออกเสียง (Phonetic decay) หรืออาจจะเป็นไปเพราะสาเหตุทั้ง สองประการดังกล่าวแล้วก็ได้ คำว่า "อินทร" หรือ "อินท" นั้น ไม่ใช่สำหรับใช้ลงท้ายคำทั่วไป ที่ใช้เป็นชื่อของชาวอินเดีย เพราะความหมายว่ากษัตริย์ (meaning king) ก็ควรจะเหมาะสม กับกษัตริย์เท่านั้น เพราะฉะนั้น พระนามของกษัตริย์ต่างด้าวที่ลงท้ายคำว่า "แอนเดอ" (Ander) (๑) 2500 Years of Buddhism, General Editor: Prof. P. v. Bapat, Delhi, 1959; p. 195-199. ก็น่าจะต้องใช้คำลงท้าย (ในภาษาอินเดีย) ว่า "อินท" อย่างไม่ต้องสงสัย แต่กฎในการเปลี่ยน อักษร ม-น-ร ในภาษาท้องถิ่นของอินเดียนั้น อาจจะมีวิธีเปลี่ยนไม่เหมือนกันบ้าง ในบาง โอกาส นาย วี เทรงค์เนอร์ (V.Trenckner) ได้ให้ตัวอย่างเกี่ยวกับการใช้ ล แทน น หรือใช้ น แทน ล ได้ในความหมายที่เหมือนกันในภาษาบาลีไว้ถึง ๗ ตัวอย่าง              ก็ยังเหลือแต่ปัญหาในการเปลี่ยนสระตัวแรก คือ "เอ" (E) ในคำว่า เมนันเดอร์ เป็น "อิ" (I) ในคำว่า มิลิน เท่านั้น ในบางตอนของศิลาจารึกของอินเดีย และในเหรียญที่เชื่อกันว่าเป็น ของพระเจ้าเมนันเดอร์ นั้น เคยอ่านพระนามของกษัตริย์พระองค์นี้ ว่า "มินันทะ" (Minanda) แม้ว่าปัจจุบันนี้เราจะไม่เชื่อการอ่านออกเสียดังกล่าวแล้ว เพราะมีหลักฐานใหม่ที่ดีกว่าก็ตาม แต่ก็ไม่ต้องสงสัยว่า คำว่า มิลินท นั้น พูดได้คล่องปากกว่าคำว่า เมลินท และคำว่า "มิล" (MIL) ดูจะเป็นคำเริ่มต้นที่เหมาะเจาะกับชื่อของ "มิลักขะ" ดีกว่า และเพราะคำว่า "อินทร" นั้น ใช้ เฉพาะกับพระนามของพระเจ้าแผ่นดิน ฉะนั้น คำว่า เมนันเดอร์ จึงกลายเป็น มิลินท ไป              นอกจากนี้รจนาจารย์ก็ยังได้กล่าวถึงชื่อที่เป็นภาษากรีกอื่นๆ อีกหลายชื่อ เช่น เทวมันติยะ อนันตกายะ มังกุระ และสัพพทินนะ และยังมีชื่อกรีกในรูปภาษาบาลีที่พยายามทำให้มีความ หมายเข้ากันได้กับภาษาท้องถิ่นของอินเดีย แต่ว่ารูปคำใหม่ของแต่ละชื่อดังกล่าวแล้วนั้นไม่เป็น ภาษาอินเดียอย่างแท้จริงเหมือนกันคำว่า เดเมตริสโอส (Demetrios) นั้น พอเห็นก็รู้ว่าเป็นคำ ภาษาอินเดียจริง แต่เมื่อมาตีความหมายกันแล้ว ก็มีความหมายแต่เพียงว่า "มนตรีของเทพดา" เท่านั้น และอีก ๒ คำคือ อนันตะ และกายะ ก็เป็นภาษาอินเดียเช่นกัน แต่เมื่อผสมกันเข้าเป็น อนันตกาย ก็มีความหมายว่า "กายไม่มีที่สุด" กลายเป็นของขบขันไปไม่สนกับเป็นชื่อของ นายทหารข้าราชสำนัก ชื่อนี้อาจจะคิดขึ้นเพื่อใช้แทนคำว่า แอนติโอโรส (Amtiochos) ก็ได้ สำหรับคำว่า มังกุระ และสัพพทินนะ นั้น ยากที่จะบอกได้ว่า หมายถึงใคร แต่ที่ว่า มิลินท เป็น คำเดียวกับคำว่า เมนันเดอร์ นั้น เป็นกายถูกต้องแน่นอน เช่นเดียวกับคำว่า จันทคุตตะ เป็น คำเดียวกับคำว่า แสนโดรโกตโตส ( Sandrokottos)              ข้อเขียนของพวกกรีกหรือโรมันเองนั้น ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องของกษัตริย์กรีกที่ครอง บากเตรียมน้อยมาก แต่ถึงกระนั้น พวกเขาก็ยังบอกให้เรารู้ได้มากที่สุดกว่าที่อื่นๆ ว่า เมนันเดอร์ กับ มิลินท นั้นเป็นคนๆ เดียวกันแน่นอน              สตราโบ (Strabo) กล่าวไว้ในหนังสือภูมิศาสตร์ของเขาว่า พระเจ้าเมนัสเดอร์นั้นเป็น กษัตริย์ที่สำคัญองค์หนึ่ง ในจำนวน ๒ องค์ ของบากเตรีย ที่ทำให้อำนาจของกรีกแผ่ไปไกลที่ สุดทางตะวันออก จนเลยเข้าไปถึงอินเดีย พระองค์ได้ข้ามไฮปานิส (Hypanis) (คือ Sutlej) และรุกเข้าไปไกลถึง ไอสาโมส (Isamos) (บางทีอาจจะได้แก่ Jumna) แต่ในบทความเกี่ยวกับ งานนิพนธ์ของ Justin กล่าวว่า พระเจ้าเมนันเดอร์ กับ พระเจ้าอพอลโตตุส (Apollodotus) นั้นเป็นกษัตริย์ชาวอินเดีย              พลูตาร์ก (Plutarch) นักประวัติศาสตร์ชาวกรีก ได้ให้ความรู้เบ็ดเตล็ดเกี่ยวกับพระเจ้า เมนันเดอร์ว่า พระองค์ทรงเป็นนักปกครองที่เที่ยงธรรม ทรงปกครองให้ประชาชนได้รับความ สุขสบายและว่า พระองค์สิ้นพระชนม์ในค่ายทหาร ในการสู้รบกับพวกอินเดียที่ลุ่มน้ำคงคา และเมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์แล้ว ประเทศต่างๆ ก็แสดงความประสงค์ที่จะได้พระอัฐิของ พระองค์ไปไว้ แต่ในที่สุดก็ตกลงกันได้ว่า จะแบ่งพระอัฐิให้ทั่วกัน และทุกประเทศจะต้องสร้าง อนุสาวรีย์ (สถูป) เพื่อเป็นอนุสรณ์ถึงพระองค์ด้วย หลักฐานอันสำคัญอย่างหนึ่งเกี่ยวกับ พระเจ้าเมนัสเดอร์ หรือมิลินท์ ที่อยู่ในปัจจุบันนี้ก็คือ เหรียญที่ขุดได้ในประเทศอินเดีย (๑)              เมื่อประมวลความเห็นต่างๆ ดังกล่าวลงแล้ว ศาสตรจารย์ ริส เดวิดส์ จึงสรุปเรื่อง ราวของพระเจ้าเมนันเดอร์ หรือ มิลินท์ ว่า เป็นกษัตริย์กรีกองค์หนึ่งในบรรดากษัตริย์กรีก หลายองค์ที่ปกครองจักรวรรดิกรีก ซึ่งสถาปนาขึ้นโดยพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชสืบต่อ กันมา แต่เป็นการแน่นอนว่า พระเจ้ามิลินท์ทรงเป็นบุคคลสำคัญองค์หนึ่ง หรือบางทีอาจจะ สำคัญที่สุดในบรรดากษัตริย์เหล่านั้นก็ได้ พระองค์ทรงนำกองทัพกรีกบุกเข้าไปในอินเดียได้ไกล มากกว่าที่บรรพบุรุษของพระองค์บางองค์ได้เคยกระทำมา สิ่งต่างๆ เหล่านี้ เป็นเครื่อง สนับสนุนทัศนะของผู้รจนาที่กล่าวไว้ในหน้า ๕ (มิลินทปัญหาฉบับนี้) ว่า ทรงเป็นผู้ทรงความ ยุติธรรม มีอำนาจ มีพระปรีชาสามารถ และทรงร่ำรวยมหาศาล พระเจ้ามิลินท์รงครองราชย์ ในระยะกาลที่เชื่อได้แน่นอนว่า หลังจากศตวรรษที่ ๒ ก่อนคริสตศก หรือบางทีก็อาจจะใน ราว ๑๑๕ หรือ ๑๑๐ ปีก่อนคริสตศก กิตติศัพท์ของพระองค์ได้แพร่ไปถึงตะวันตก ซึ่งไม่เคย มีกษัตริย์บากเตรียพระองค์ใดเคยมีมาก่อน ทรงเป็นกษัตริย์กรีกที่ปกครองบากเตรียมเพียง พระองค์เดียวเท่านั้น ที่ยังจดจำกันได้ในประเทศอินเดีย ผู้รจนากล่าวว่า พระองค์ประสูติที่เมือง กลสิ ใน อลสันทะ (คือ อเล็กซานเดรีย) ซึ่งเป็นชื่อเกาะๆ หนึ่ง ที่สันนิษฐานได้ว่าอยู่ในแถบ อินดัส (Indus) แต่กลสิคามนั้น ไม่พบว่าได้กล่าวถึงในที่อื่นอีก และในเหรียญจำนวนมากมาย ของกษัตริย์บากเตรียนั้น ก็มีเพียงเหรียญเดียวเท่านั้น ที่ให้ชื่อว่าทางประวัติศาสตร์ไว้ชื่อหนึ่ง เป็นชื่อของเมือง คือ การิสิ (Krisia) เหรียญดังกล่าวนี้สร้างขึ้นในราว ๑๘๐ ปีก่อนคริสตศก (๑) Sacred Book of the East Vol.xxxv, p. xviii-xx.88 โดย พระเจ้ายูกราติเดส (Eukratides) ซึ่งอาจจะเป็นกษัตริย์องค์แรกในบรรดากษัตริย์ที่เข้า ครองดินแดนแถบฝั่งแม่น้ำอินดัส (Indus) อาจจะเป็นไปได้ว่า พระนามสองพระนาม (ที่แตกต่าง กัน) นั้น หมายถึงบุคคลคนเดียวกัน คือ พระนามหนึ่งแบบภาษาบาลี (หรือบางทีก็อาจ จะเป็นพระนามภาษาท้องถิ่นที่ผู้แต่ง (มิลินทปัญหา) นำมาใช้ และอีกพระนามหนึ่งเป็นภาษา พื้นเมือง (ของพระองค์เอง) และก็อาจเป็นได้ว่า เหรียญ (ของพระเจ้าเมนันเดอร์) นั้น สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์ที่พวกกรีกเข้ายึดครอง อินดัส ได้ ถ้าเป็นจริงดังกล่าวมานั้น การที่ เข้าตั้งชื่อเกาะอันเป็นที่สร้างเมืองนั้นว่า "อลสันทะ" (คือ อเล็กซานเดรีย) นั้น คงไม่ได้มุ่งถึง ตัวเกาะเป็นสำคัญ แต่ดูจะเพื่อเป็นการแสดงให้รู้ว่า เกาะนี้พวกเขาไม่ได้เป็นผู้ค้นพบก็จริง แต่ว่ามันกลายเป็นที่สำคัญขึ้นมา ก็เพราะพวกเขาได้ยึดครองไว้นั่นเอง(๑)              นางฮอนเนอร์ ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องราวของพระเจ้ามิลินท์ไว้ว่า พระเจ้า มิลินท์หรือเมนันเดอร์นั้น เป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียงและเป็นชาวกรีก และเป็นผู้ที่ มีตัวตนอยู่จริงๆ ด้วย แม้ว่าจะกำหนดสมัยของพระองค์ไม่ได้อย่างแน่นอนก็ตาม แต่นัก ประวัติศาสตร์ปัจจุบันก็กำหนดว่า พระองค์มีพระชนม์อยู่ในราวศตวรรษที่ ๒ ก่อนคริสตศก วินเซนติ สมิธ (Vincente Smith) กำหนดปีรัชกาลของพระองค์ว่า ราว ๑๖๐-๑๔๐ ก่อน ค.ศ. ลามอตเต (Lamotte) ว่าราว ๑๖๓-๑๕๐ ปี ก่อน ค.ศ. นาเรน (Narain) ว่าราว ๑๕๕-๑๓๐ ปี ก่อน ค.ศ. ส่วน อา. ฟอน กุตชมิด (A. von Custchmid)ว่า ราว ๑๒๕-๙๕ ปีก่อน ค.ศ. เรฟสัน (Rapson) ซึ่งเห็นพ้องกับ กุตชมิด ว่า ยูกราติเดส (Eukratider) ครองราชย์ราว ๑๗๕ ปี ก่อน ค.ศ. และเมนันเดอร์กับยูกราติดส์ นั้น อาจจะกล่าวได้ว่าเป็นบุคคลสมัยเดียวกัน              ชื่อของพระเจ้ามิลินท์นั้นในคัมภีร์บาลีอื่นๆ นอกจากมิลินทปัญหาแล้วไม่ค่อยจะมีกล่าวถึง ในชินกาลมาลีปกรณ์ที่แต่เป็นภาษาบาลีในประเทศไทย โดยพระเถระไทย (ชาวเชียงราย ชื่อ รัตนปัญญาเถระ) เมื่อ พ.ศ. ๒๐๖๐ กล่าวว่า พระเจ้ามิลินท์ประสูติเมืองสาคละ ในประเทศ อินเดีย ในขณะที่พระเจ้ากูฏกัณณติสสะกำลังเสวยราชย์อยู่ที่เมือง อนุราธบุรี ระหว่าง พ.ศ. ๕๖๐- ๕๖๑ ถึง ๕๘๒-๕๘๓ นายริจิแนล เลอ เมย์ (Reginald le May) ซึ่งอ้างถึงชินกาลมาลีในหนังสือ "พุทธศิลปในสยาม" ของเขาก็กล่าวว่า ชินกาลมาลีนั้นเป็นหนังสือที่มีชื่อเสียงและเรื่องราวเชื่อถือ ได้ แต่มันเป็นไปไม่ได้ที่จะกำหนดให้พระเจ้าเมนันเดอร์มีพระชนม์ยืนยาวมาถึงสมัยพระเจ้ากูฏ กัณณติสสะ (แห่งลังกา) ตามหลักฐานที่กล่าวแล้ว เพราะกษัตริยองค์นี้ปรากฏว่าได้เสวยราชย์เมื่อ ๕๐๐ ปีหลังพุทธปรินิพพานแล้ว (ราว ๔๓๘ ปีก่อน ค.ศ.) ชินกาลมาลีคงจะถือปีรัชกาล ของพระเจ้ามิลินท์ตามข้อความพบในมิลินทปัญหาหน้า ๓ ซึ่งเป็นการถือเอาความหมายตาม (๑) Sacred Book of the East Vo1. xxxv, p.xxii-xxiii. ตัวอักษรในข้อความตอนนี้ พระพุทธเจ้าได้ทรงพยากรณ์ว่า หลังจากพุทธปรินิพพานแล้ว ๕๐๐ ปี บุคคลทั้งสอง (มิลินทร์-นาคเสน) จะมาเกิดถ้าเราเชื่อข้อความตอนนี้ตามตัวอักษรแล้ว เราก็อาจจะเชื่อไว้ง่ายๆ ว่า สมัยของพระเจ้ามิลินท์ ตรงกับสมัยที่พระเจ้ากูฏกัณณติสสะขึ้น ครองราชย์ที่เมืองอนุราธปุระ หรือว่าพระเจ้ากูฏกัณณติสสะกำลังครองราชย์อยู่ ในขณะที่ พระเจ้ามิลินท์กำลังเริ่มครอบคาองดินแดนทางจังหวัดภาคเหนือของอินเดีย ที่พระองค์ได้รับ มรดกตกทอดมา หรือที่ทรงตีได้มา กษัตริย์แห่งอนุราธปุระองค์นี้ก็คิด พระเจ้ากูฏกัณณติสสะ ผู้ใจบุญซึ่งประสูติราว ๔๔ ปีก่อน ค.ศ. (ตามคำของนายธนิต อยู่โพธิ์ ที่ให้แก่นางฮอนเนอร์) ก็คือ พ.ศ. ๕๐๐ นั่งเองซึ่งก็ไม่ขัดกับปีขึ้นครองราชย์ เมื่อ พ.ศ. ๕๖๐-๑ และปีสวรรคตเมื่อ พ.ศ. ๕๘๒-๓ เมื่อพระชนมายุได้ ๘๒ ปี แต่ก่อนไม่น่าจะเป็นไปได้ เพราะไม่มีหลักฐานยืนยัน หากปีครองราชย์ของพระเจ้ากูฏกัณณติสสะ (ตามชินกาลมาลี)ถูกจริง ในสมัยดังกล่าวนั้น จักรวรรดิอินโดกรีกหรือบากเตรียในอินเดีย ก็ได้เสื่อมลงไปแต่ว่าสมัยของพระเจ้าเมนันเดอร์ หรือมิลินท์ (ตามที่กล่าวถึงในมิลินทปัญหา) นั้น ไม่มีอะไรที่ส่อแสดงว่า กำลังเสื่อมอำนาจ ลงเลย แต่กลับแสดงให้เห็นว่า กำลังเจริญรุ่งเรือนอย่างเต็มที่ด้วยซ้ำไป อีกประการหนึ่ง เรา ควรจะระลึกไว้ด้วยว่า ๕๐๐ ปี ตามที่กล่าวในมิลินทปัญหานั้นอาจจะเป็นเพียงวิธีการพูดที่ หมายถึงระยะเวลาอันยาวมาก แต่ไม่อาจกำหนดตายตัวลงไปได้เท่านั้น (๑)              ลามอตเต (Lamotte) ให้ข้อสังเกตไว้อีกอย่างหนึ่งว่า ในมิลินทปัญหานั้น พระเจ้า มิลินท์ไม่ได้ทรงถามปัญหาเกี่ยวกับเรื่องพุทธศิลปเลย ฉะนั้น พระองค์จะต้องประสูติก่อนที่จะมี การสร้างพระพุทธรูปเป็นแบบมนุษย์ธรรมดาทั่วไป มิฉะนั้นแล้ว ก็จะต้องมีการสนมนากันถึง ปัญหาในเรื่องนี้บ้าง และนักปราชญ์ทางยุโรปบางท่านยังให้รายละเอียดต่อไปอีกว่า มเหษีของ พระเจ้ามิลินท์นั้นชื่อว่า พระนางอคาโธเคลีย (Agathocelia)(๒)              เกี่ยวกับดินแดนของพระเจ้ามิลินท์นั้น นักปราชญ์ทางตะวันตกเชื่อว่า คืออาณาเขตใน ฆาซนี (Ghazni) ซึ่งติดต่อกับลุ่มน้ำกาบุล (Kabul) ทางเหนือ หลักฐานทางตะวันตกว่า พระเจ้า มิลินท์จะต้องครอบครองดินแดนไม้น้อยไปกว่าปาโรปามิซาเด (Paropamisadae) และบางส่วน ทางภาคเหนือและตะวันออกของ อราโคเซีย (Arachosia) เหรียญที่ขุดพบนั้นทำให้ได้รู้ว่า พระเจ้ามิลินท์ครองแคว้นคันธาระ ซึ่งมีศูนย์กลางสำคัญ ๒ แห่ง คือ ปุสกะลาวตีและตักศิลา (Puskalavati, Taxila.) และปัจจุบันเชื่อกันว่า พระเจ้ามิลินท์ครองดินแดนเหนือกาบุล และ บางทีจะเลยเข้าไปถึงทางภาคเหนือของ ฮินดูกูษ (Hindu Kuch) ด้วย(๓) (๑) Milinda's Questions Vol. 1,p. xxiii-xxxiv. (๒) Milinda's Questions, Vol.1, p. xxxiv. (๓) Ibid, vol.1 , p.xxv. พระลักษณะของพระเจ้ามิลินท์นั้น ปรากฏตามมิลินทปัญหาว่าประกอบด้วยพระ พลังทางกาย พระพลังทางความคิด ด้วยความกล้าหาญ ด้วยปัญญา พระเจ้ามิลินท์นั้น ทรงมั่งคั่ง บริบูรณ์ด้วยราชสมบัติ, มีพระราชทรัพย์และเครื่องราชูปโภคเป็นอันมากพ้นที่จะนับคณนา มี พลพาหนะหาที่สุดมิได้ (๑)              สำหรับประวัติของนาคเสนนั้น มิลินทปัญหาฉบับภาษาจีน กล่าวว่า มาตุภูมิของ พระนาคเสน คือ แคว้นแคชเมียร์ (Kashmir) ซึ่งเป็นศูนย์กลางนิกายสรวาสติวาท ส่วนฉบับ ภาษาบาลีกล่าวว่า ท่านเกิดที่เมืองคะชังคละ ซึ่งเป็นเมืองทางการค้าขาย ทางชายแดนตอนเหนือ ของมัชฌิมประเทศ พระนาคเสนนั้นปรากฏว่า เป็นผู้ฉลาดสามารถเป็นนักพูดและคงแก่เรียน เป็นคลังแห่งข้ออุปมาที่สามารถนำเอามาใช้ได้ตามต้องการ และมีความสามารถอย่างไม่น่าเชื่อ ก็คือ สามารถเรียนพระอภิธรรมได้อย่างเชี่ยวชาญ โดยการฟังอธิบายของอาจารย์เพียงครั้ง เดียวเท่านั้น ในชินกาลมาลีปกรณ์ กล่าวถึงพระนาคเสนว่า เป็นผู้ดำริสร้างพระพุทธปฏิมาขึ้น องค์หนึ่ง และสำเร็จลงด้วยอำนาจของเทพดา และอิทธิฤทธิ์ของพระแก้วมรกต และกล่าวถึง พระธัมมรักขิต อาจารย์ของพระนาคเสนว่า อยู่ที่ปุปผวดี ในเมืองปาฏลีบุตร ในอรรถกถา ืทีฆนิกายและอรรถกถาอังคุตตรนิกาย ก็ปรากฏชื่อของอัสสคุตตเถระด้วยและได้รับยกย่อง ให้เป็นตัวอย่างของกัลยาณมิตร ด้วย (๒)              ส่วนนายเบอร์นอฟ (Burnouf) ได้อ้างหลักฐานทางธิเบตกล่าวว่า พระนาคเสนองค์นี้ คือ องค์เดียวกับพระนาคเสนที่ทำให้เกิดมีการแยกนิกายต่างๆ ออกไปเมื่อ ๑๓๗ ปี หลัง พุทธปรินิพพาน โดยอ้างว่า พระนาคเสนได้แสดงความคิดเห็นอภิธรรมโกสะ วยาขยาอันเป็น คัมภีร์สำคัญคัมภีรหนึ่งไว้อย่างยืดยาว ส่วนศาสตราจารย์ เคิร์น (Kern) แห่งลีเด็น (Lieden)นั้น ไม่เชื่อว่า พระนาคเสนจะเป็นบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริง และไม่เชื่อแม้กระทั่งว่า ในพระพุทธศาสนา จะมีพระภิกษุที่มีชื่ออย่างนี้อยู่ด้วย เขาเชื่อว่า พระนาคเสนนั้นเป็นเช่นเดียวกับ ปตัญชลีฤๅษี ผู้ รจนาคัมภีร์ปรัชญาฝ่ายโยคะ ซึ่งไม่มีตัวตนอยู่จริง ทั้งยังมีสมญานามอื่นๆ อีกด้วย คือ นาเคศะ และผณิน แต่ศาสตราจารย์ ริส เดวิดส์ ไม่เห็นด้วยกับความเห็นของทั้งสองท่านดังกล่าวมานี้ (๓)              มิลินทปัญหา ฉบับภาษาบาลีนั้น เท่าที่ปรากฏอยู่ในบัดนี้ก็มีฉบับอักษรสิงหล อักษร โรมัน อักษรไทย อักษรพม่า และอักษรขอม หรือเขมร ฉบับหลังๆ นี้ก็เชื่อแน่ว่าได้มาจาก (๑) มิลินทปัญหา ฉบับแปลในมหามกุฏ ฯ หน้า ๕ (๒) Milinda's Questions, Vol. 1 p. xxvii (๓) Sacred Book of the East Vol. xxxv, p. xxvi" ฉบับอักษรสิงหลนั้น แต่ปรากฏว่า แต่ละฉบับก็มีวิธีจักระเบียบเนื้อเรื่องไม่เหมือนกัน และมี ้ข้อความบางตอนแปลกกันออกไปบ้าง เช่น ฉบับอักษรโรมันต่างกับ ฉบับอักษรไทย ทั้งทางการ จัดระเบียบ และข้อความบางตอนเป็นต้น การที่แปลกกันออกไปนั้น บางท่านได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า อาจถูกเปลี่ยนโดยผู้คัดลอกทางยุโรธ หรือผู้คัดลอกทางพม่า ลังกา ไทย ก็ได้ หรือไม่ก็เปลี่ยน แปลงตั้งแต่คราวแปลจากภาษาสันสกฤตมาเป็นภาษาบาลีแล้ว              ต่อมาได้มีผู้ค้นพบว่า มีมิลินทปัญหาฉบับแปละเป็นภาษาจีนด้วย โดยแปลออกจาก ภาษาท้องถิ่นของอินเดีย และแปลถึง ๓ คราว คือ ในคริสตศววรรษที่ ๓ ที่ ๔ และที่ ๕ บรรดาฉบับที่แปลเป็นภาษาจีนเหล่านี้ ฉบับที่แปลครั้งที่ ๒ (คือที่แปลในศตวรรษที่ ๔) เท่านั้น ที่ยังเหลือตกทอดมาถึงพวกเรา โดยเรียกว่า นาคเสนภิกษุสูตร (นาเสียนปีคิว) ตอนที่ ๒-๓ และบางส่วนของตอนที่ ๑ เท่านั้นที่ตรงกับฉบับภาษาบาลี สำหรับตอนที่ ๔ ถึง ๗ นั้น เพิ่ม เข้ามาใหม่ในลังกา โดยเฉพาะตอนที่ ๔ นั้น ได้มีขึ้นหลังจากพุทธศตวรรษที่ ๕ แล้ว และ เนื่องจากความที่ไม่เหมือนกันนี้เอง ก็เป็นหลักฐานพอที่จะกล่าวได้ว่า มิลินทปัญหาอันยืดยาว และมีชื่อเสียงนั้น ได้ถูกเพิ่มเติมเนื้อหาเข้ามาอีกในภายหลัง ซึ่งอย่างน้อยก็ส่วนที่จัดระเบียบไว้ ไม่เหมือกันในฉบับต่างๆ (๑)              เกี่ยวกับฉบับแปลเป็นภาษาจีนนั้น ศาสตราจารย์ปอล เดอมีวิลล์ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ได้แปล มิลินทปัญหาเป็นภาษาฝรั่งเศสกล่าวว่า เป็นที่เชื่อกันว่า ท่านคุณภัทร (พ.ศ ๓๙๔-๔๖๘) ชาว อินเดีย(๒) ได้นำเอามิลินทปัญหาเข้าไปในประเทศจีน โดยได้ฉบับไปจากประเทศลังกา และ ปรากฏว่ามิลินทปัญหาภาคภาษาจีนนั้น มีอยู่ถึง ๑๑ สำนวน ซึ่งคงจะได้แปลกันมาตั้งแต่ ระหว่าง คริตศวรรษที่ ๖-๑๓ (ราว พ.ศ. ๑๐๐๐-๑๘๐๐) และคงแปลจากต้นฉบับที่เป็น ภาษาสันสกฤต เพราะจีนแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาจีนจากต้นฉบับที่เป็นภาษาสันสกฤต อัน เป็นที่นิยมใช้กันในอินเดียเหนือและเอเซียกลางซึ่งเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนานิกาย สรวาสติวาท และนิกายธรรมคุปต์ และความจริงก็ปรากฏว่าคัมภีร์พระพุทธศาสนาพากย์ภาษา จีนที่แปลจากต้นฉบับที่เป็นภาษาบาลีนั้น มีเพียง ๒ เรื่องเท่านั้น คือ สมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัย และวิมุตติมัคค์ เท่านั้น อีกประการหนึ่ง เมื่อนำเอาคัมภีร์ต่างๆ ที่เป็น ภาษาสันสกฤต บาลี และจีน มาเปรียบเทียบกันแล้ว ก็จะเห็นว่าฉบับที่เป็นภาษาบาลีกันภาษา จีนนั้นแต่งต่างกันมาก แต่ฉบับภาษาจีนกลับไปเหมือนกันมากที่สุดกับฉบับภาษาสันสฤต เมื่อนำฉบับภาษาจีน มาเทียบกับฉบับภาษาบาลีแล้ว ปรากฏว่าแตกต่างกันมากจนไม่น่าเชื่อได้ (๑) Milinda's Questions Vol.l,p. xxx-xxi (๒) นักแปลชาวอินเดียได้แปลพุทธประวัติเป็นภาษาจีนเรียกว่า โกว ฮู ยิน โก กิง Kwo+Hu-Yin-Ko-King (Sacred Book of the East Vol. xix, p. xxv). ว่าจะเป็นฉบับเดียวกัน แต่ ดร. ทิช มิน เชา พระภิกษุชาวเวียดนามซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้ใน ภาษาบาลีและภาษาจีนเป็นอย่างดีได้ทำการค้นคว้าเทียบเคียงระหว่างฉบับภาษาบาลีกับฉบับ ภาษาจีน ด้วยการเทียบข้อความบรรทัดต่อบรรทัดแล้ว ยืนยันว่าเป็นเรื่องที่ได้มาจากต้นฉบับอัน เดียวกัน นักปราชญ์ชาวญี่ปุ่นและชาวยุโรธหลายท่านก็มีความเห็นเช่นเดียว กับ ดร. ทิช มิน เชา ืคือ มิลินทปัญหาฉบับภาษาจีน ซึ่งมีเพียง ๓ ส่วนแรกของฉบับภาษาบาลีนั้น ได้แปลจากต้น ฉบับเดิมโดยตรง ส่วนที่นอกเหนือไปจากนี้ (ซึ่งมีปรากฏอยู่ในฉบับภาษาบาลี) นั้น เป็นของที่ เพิ่มเติมเข้ามาในภายหลังตามลำดับกาลที่ผ่านมาหลายศตวรรษ ซึ่งเป็นสิ่งที่คันถรจนาจารย์ และอรรถกาถจารย์ชาวอินเดียในยุคต้นๆ ชอบกระทำกัน และฉบับภาษาจีนที่แปลจากฉบับ ภาษาสันสกฤตนั้น ก็แปลอย่างถูกต้องตรงตามต้นฉบับมากที่สุด (๑)              เกี่ยวกับเรื่องนี้ ดร. ทิช มิน เชา ซึ่งได้ศึกษาค้นคว้าและเทียบเคียงอย่างละเอียดถี่ถ้วน แล้ว กล่าวว่า มิลินทปัญหาฉบับภาษาจีน กับ ฉบับภาษาบาลีนั้น เป็นฉบับเดียวกัน มีต้น กำเนิดมาจากคัมภีร์เดียวกัน แต่ฉบับภาษาจีนได้แปลโดยตรงจากต้นฉบับดั้งเดิมที่เป็นภาษา สันสกฤต ส่วนฉบับภาษาบาลีนั้นก็แปลจากฉบับภาษาสันสกฤตเช่นเดียวกัน แต่ถูกแก้ไข เพิ่มเติมหลายครั้ง ตลอดเวลาที่ผ่านมาหลายร้อยปี ฉะนั้น ฉบับภาษาบาลีจึงมีข้อความ แตกต่างไปจากฉบับภาษาจีนบ้าง และมีมากกว่าฉบับภาษาจีน คือ ฉบับภาษาจีนแบ่งออก เป็น ๓ ส่วน แต่เรียงติดต่อกันไปโดยไม่มีอารัมภกถาและอวสานกถา ไม่แบ่งออกเป็นหัวข้อ หรือย่อหน้า ส่วนฉบับภาษาบาลี แบ่งออกเป็น ๗ ส่วน (๒) มีการจัดเป็นวรรค เป็นที่หัวข้อ และ ย่อหน้าต่างๆ ฉะนั้น ๔ ส่วนสุดท้ายในฉบับภาษาบาลี จึงไม่มีในฉบับภาษาจีน สำหรับ ๓ ส่วนที่มีเหมือนกันนั้น มีข้อความทั่วๆ ไปเหมือนกัน ต่างเฉพาะเรื่องอดีตชาติของพระนาคเสน กับพระเจ้ามิลินท์ และข้อปลีกย่อยต่างๆ เท่านั้น ฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า ทั้งสองฉบับนี้เป็นฉบับ เดียวกัน              ดร. ทิช มิน เชา ยังกล่าวต่อไปอีกว่า ประจักษ์พยานที่แสดงให้เห็นถึงความไม่ยุติ แน่นอนของมิลินทปัญหาฉบับภาษาบาลี อันเป็นเครื่องส่อให้เห็นว่ามิลินทปัญหาฉบับภาษาบาลี นั้นได้ถูกแก้ไขเพิ่มเติมกันมาหลายครั้งหลายคราว ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ก็คือความแตกต่าง กันระหว่างฉบับภาษาบาลีด้วยกันเอง โดยการเทียบเคียงระหว่างฉบับอักษรโรมัน (ซึ่งถ่ายทอด ไปจากฉบับอักษรสิงหล กับฉบับอักษรไทย ดังจะยกตัวอย่างมาให้เห็น คือ :- (๑) เก็บความจาก Foreword by prof. Nalinaksha Dutt; Milindapanha and Nagasenabhikshusutra. (๒) การแบ่งส่วนที่กล่าวนี้ หมายถึงการแบ่งส่วนในฉบับอักษรโรมัน ๑. ในระหว่างปุจฉาวิสัชนาที่ ๓๔-๓๕ ในฉบับอักษรโรมันนั้น ในฉบับอักษรไทย ได้ เพิ่มข้อความเข้ามาอีกไม่น้อยกว่า ๒ บรรทัดในมนสิการปัญหา              ๒. ในระหว่างปุจฉาวิสัชนาที่ ๗๐-๗๑ ในฉบับอักษรโรมัน ปุจฉาวิสัชนา ๒ ตอนที่ ว่าด้วยเรื่อง สีที่บุคคลผู้จะตายจากโลกหนึ่งไปเกิดใหม่อีกโลกหนึ่ง จะพึงได้เห็น(๑) และเรืองทวาร สำหรับปฏิสนธิวิญญาณเข้าไปสู่ครรภ์ ขาดหายไป              ๓. ในปุจฉาวิสัชนาที่ ๕๙ ในฉบับอักษรไทยนั้น ได้เพิ่มเติมข้อความออกไปอีก คือใน ฉบับอักษรโรมันมีเพียง ๘ บรรทัด ในฉบับภาษาจีนแปลไว้เพียง ๕ บรรทัด แต่ในฉบับอักษร ไทยขยายออกไปถึง ๓ หน้า              ๔. ในวรรคที่ ๗ ก่อนจะถึงเมณฑกปัญหา ฉบับอักษรไทยเพิ่มวิเสสปัญหา เข้ามา              ๕. ในฉบับอักษรโรมัน หน้า ๘๐ เกี่ยวกับเรื่อง วัสสวาต นั้น ในฉบับอักษรไทย เพิ่มคาถาพิเศษเข้ามา ๑ คาถา              ๖. ในฉบับอักษรโรมัน หน้า ๘๑ เกี่ยวกันเรื่องความแตกต่างกันของ วิญญาณ ปัญญา และชีวะ นั้น ในฉบับอักษรไทยเพิ่มเข้ามาอีก ๑ ย่อหน้าซึ่งมี ๔ บรรทัด ว่าด้วยเรื่อง "ปัญญา อยู่ที่ไหน" (๒)              ศาสตราจารย์ ริส เดวิดส์ ก็กล่าวไว้ได้ในมิลินทปัญหาฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษของเขา ว่า พระบาลีที่พระพุทธโฆษาจารย์ยกมาไว้ในอรรถกถามหาปรินิพพานสูตร และอรรถกถา- อัมพฏฐสูตรนั้นก็ไม่เหมือนกับพระบาลี ในคัมภีร์บาลี ฉบับชอง เทรงค์เนอร์ (V. Trenckner) แม้ว่าพระบาลีเหล่านั้นจะเป็นเรื่องราวอันเดียวกัน แต่เขาก็เห็นว่า ยังไม่ควนจะด่วนตัดสินใจ เชื่อในเรื่องความแตกต่างกันระหว่างพระบาลที่ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ยกมาอ้างกับคัมภีร์ บาลีฉบับขอบเทรงค์เนอร์ กระนั้นก็ดี ก็ยังเป็นเครื่องแสดงให้เราเห็นว่ามิลินทปัญหาฉบับภาษา บาลีนั้น ได้ผ่านการแก้ไขปรับปรุงโดยการเพิ่มเติมบ้าง ตัดทอนบ้าง มาหลายครั้งหลายคราว กว่าจะตกทอดมาถึงพวกเราในรูปองฉบับอักษาสิงหลและฉบับอักษรไทยในปัจจุบัน นี้ (๓) แต่ ดร. ทิช มิน เชา มีความเห็นว่า ความแตกต่างกันในเรื่องปลีกย่อยนั้น มิได้เป็นเครื่องแสดงว่า ทั้งสองฉบับไม่ได้มาจากต้นกำเนินอันเดียวกัน เพราะความแตกต่างกันในส่วนเปรียบย่อมนั้นเป็น (๑) ดูมิลินทปัญหาฉบับนี้ หน้า ๑๕๖ และ ๑๖๑ (๒) Milindapanha and Nagasenabhilkshusutra, p. 33. (๓) Milindapanha and Nagasenabhikshusutra, p. 34. แต่เพียงเครื่องชี้ให้เห็นว่า วิธีการในการคิดการเขียนเกี่ยวกับพุทธศาสนธรรมของนักคิดนัก เขียนชาวจีนกับชาวอินเดียนั้นแตกต่างกัน เท่านั้น (๑)              ดร. ทิช มิน เชา ได้บันทึกข้อที่แตกต่างกันและข้อที่คล้ายคลึงของมิลินทปัญหาฉบับ บาลีกับฉบับจีนไว้อย่างละเอียดละออเป็นเรื่องที่น่าศึกษา จึงนำเอาบันทึกโดยสรุปเกี่ยวกับเรื่อง นี้มารวมไว้ด้วย เพื่อประโยชน์ในทางการศึกษา ท่านกล่าวว่าทั้งสองฉบับมีสาระสำคัญทั่วๆ ไป เหมือนกัน ยกเว้นแต่เรื่องราวเกี่ยวกับอดีตชาติของพระเจ้ามิลินท์ปละพระนาคเสนซึ่งแต่กต่างกัน ออกไปมาก และสามตอนสุดท้ายของฉบับภาษาบาลีซึ่งไม่มีในฉบับภาษาจีน ส่วนตอนอื่นๆ ที่เหลือนั้นถ้ายกเว้นการเติมโน่นนิดตัดนี่หน่อยเสียแล้ว ก็กล่าวได้ว่าเหมือนกัน ลีลาแห่ง การสนทนาก็เหมือนกันมากที่สุด คือ การสนทนามีกล่าวข้อความที่ซ้ำๆ กันวนไปวนมา โดยมีความแตกต่างกันในเรื่องที่ไม่สลักสำคัญปรากฏอยู่ทั่วไปไม่สม่ำเสมอเท่านั้น แม้ในเรื่องที่ เกี่ยวกับอดีตชาติของพระเจ้ามิลินท์และพระนาคเสนที่แตกต่างกันอย่างมากนั้นก็ยังมีสาระสำคัญ ที่เหมือนกันระหว่างทั้งสองฉบับ (บาลี-จีน) ถึง ๗ ข้อ ซึ่งทำให้เรามั่นใจได้ว่าเป็นแหล่งที่มาอัน เดียวกันอันพระคันถรจนาจารย์เจ้าทั้งหลายได้พรรณนาความคิดเห็นต่างๆ ของท่านไว้ ดัง ได้ทำบัญชีแสดงไว้ ดังต่อไปนี้ :-              ๑. ในฉบับบาลี ทั้งสามเณรและพระภิกษุได้ตั้งความปรารถนาและต่อมาทั้งสองก็ได้ มาเกิดเป็นพระเจ้ามิลินท์และพระนาคเสน ตามความปรารถนา ในฉบับภาษาจีน พราหมณ์ผู้ เคยเป็นช้างในอดีตชาติและพราหมณ์ผู้เคยเป็นฤาษีและเป็นเพื่อนของพราหมณ์คนแรก ต่างก็ ได้ตั้งความปรารถนาและแล้วทั้งสองก็ได้มาเกิดเป็น นาเซียน (นาคเสน) และ มีลัน (พระเจ้า มิลินท์) ตามความปรารถนาของเขาทั้งสอง              ๒. ฉบับบาลีแสดงว่า พระนาคเสนเกิดเป็นบุตรของพราหมณ์ในสกุลพราหมณ์ ได้ศึกษาไตรเพทและความรู้เกี่ยวกับลัทธิพราหมณ์ และไม่รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับพระธรรมและ พระสงฆ์เลย ในฉบับภาษาจีน ช้างได้เกิดเป็นบุตรของสกุลพราหมณ์และเมื่อเติบโตใหญ่ขึ้นก็ไม่ เคยได้ยินได้ฟังพระพุทธธรรม และไม่เคยเห็นพระสงฆ์ หลังจากนั้น เขาก็สละโลกออกไปศึกษา พาหิรลัทธิ              ๓. ฉบับบาลีกล่าวว่า เมื่อหมู่สงฆ์ได้ไปขอร้องให้มหาเสนเทวบุตรมาเกิดในมนุษย์โลก แล้ว พระโรหนะก็ถูกพระอัสสคุตตะบังคับให้รับภาระหนัก เพื่อไม่ให้อยู่จำพรรษาร่วมกับตน คือพระอัสสคุตตะกำหนดหน้าที่ให้พระโรหนะเดินทางไปยังบ้านของบิดามารดาของนาคเสน (๑) เก็บความจาก Foreword by Prof. Nalinaksha Dutt ในเล่มเดียวกันหมายเลข (๓) เพื่อบิณฑบาตประจำ ณ ที่นั้นเป็นเวลา ๗ ปี ๑๐ เดือน เพื่อนำเอานาคเสนออกจากชีวิต ฆราวาสและให้การอุปสมบทแก่เขา ในฉบับภาษาจีน นาเซียนมีลุงคนหนึ่งชื่อว่าโลหัน เป็น พระอรหันต์และบรรพชานาเซียนให้เป็นสามเณร โลหันในที่นี้ก็ถือได้ว่าเท่ากับพระโรหนะ              ๔. ฉบับบาลีกล่าวว่า พระนาคเสนได้อยู่จำพรรษาสามเดือนในความปกครองของ พระอัสสคุตตะผู้เป็นพระอรหันต์ ซึ่งอาศัยอยู่ที่วัตตนิยเสนาสน์ ในฉบับภาษาจีน กล่าวถึงวัด ในพระพุทธศาสนาชื่อว่าโฮชัน ซึ่งมีพระอรหันต์อาศัยอยู่ ๕๐๐ รูป โดยมีพระอาโปเยียว เป็น ผู้นำ (เจ้าอาวาส) พระนาคเสนอาศัยอยู่ในวัดดังกล่าวนี้ วัตตนิยเสนาสน์ก็เทียบได้กับ วัดโฮชัน และพระอรหันต์อัสสคุตตเถระ ก็เทียบได้กับ พระอรหันต์อาโปเยียว              ๕. ในฉบับบาลี พระนาคเสนสอนพระอภิธรรมแก่ศิษย์อุบาสิกาและแล้วทั้งผู้สอน และผู้ฟังก็บรรลุโสดาบัน เป็นที่พอใจของพระอัสสคุตตะซึ่งได้กล่าวว่า พระนาคเสนยิงศรอัน เดียวได้นกสองตัวในฉบับภาษาจีน นาเซียนได้สอนธรรมแก่ศิษย์อุบาสกและแล้วทั้งสองก็ได้บรรลุ โสดาบันและนาเซียนได้รับการสรรเสริญจากพระอาโปรเยียวว่า ยิงศรอันเดียวได้นกสองตัว              ๖. ในฉบับบาลี พระธัมมรักขิต ติเตียนพระนาคเสนเกี่ยวกับการที่ไม่ได้บรรลุพระอรหัต ในกลางดึกคืนนั้น พระนาคเสนจึงได้ใช้ความพยายามอย่างหนักและก็ได้บรรลุพระอรหัต ใน ฉบับภาษาจีนนาเซียนถูกขับไล่ออกไปจากหมู่สงฆ์ เนื่องจากการไม่เชื่อฟังคำสั่งสอนของครูบา- อาจารย์ รู้สึกน้อยใจตนเอง จึงได้พยายามอย่างหนักแล้วก็ได้บรรลุพระอรหัต              ๗. ในฉบับบาลี หลังจากได้บรรลุพระอรหัตแล้ว พระนาคเสนก็เดินทางไปยังเมือง สาคละ และพำนักอยู่ที่สังเขยยบริเวณ เพื่อรอเผชิญหน้ากับพระเจ้ามิลินท์ ในฉบับภาษาจีน นาเซียนได้เดินทางมายังเมืองซีเซีย และพำนักอยู่ที่วัดเหียชีไช หรือ เหียตีไช เพื่อรอเผชิญหน้า กับพระเจ้ามีลัน              จากข้อที่เหมือนกัน ๗ ข้อดังกล่าวแล้วข้างบนนี้ ก็พอจะสรุปได้ว่าแม้จะมีรายละเอียด ต่างๆ ส่วนมากแตกต่างกัน แต่ทั้งสองฉบับ (บาลี-จีน) ก็มาจากต้นฉบับเดิมอันเดียวกัน มี ภูมิหลัง (background) เหมือนกัน อันเป็นต้นกำเนิดของฉบับแปลเป็นภาษาจีนและภาษาบาลี              แต่ข้อแตกต่างกันนั้นก็น่าสนใจ และก็เป็นสิ่งที่สำคัญเหมือนกัน เพราะแสดงให้เห็น ถึงแนวคิดของพระคันถรจนาจารย์ และแสดงให้เห็นถึงจุดประสงค์ที่พระคันถรจนาเหล่านั้น มุ่งหมายในการแก้ไขเพิ่มเติมและตัดทอนออกไป และเพราะการกระทำดังนี้ ช่วยให้เราได้รู้ ว่าท่านเหล่านั้นนับถือนิกายไหน และเป็นเครื่องมือสำหรับพิจารณาปัญหาเกี่ยวกับความก่อนหลัง และความใกล้เคียงกันกับต้นฉบับเดิมของแต่ละฉบับด้วย ข้อแตกต่างกันนั้น ดังต่อไปนี้ :- ชื่อคัมภีร์              ฉบับจีน : นาเซียนปีคิวคิน : นาเซียนภิกษุสูตร              ฉบับบาลี : มิลินทปัญหา              ดังกล่าวมานี้ ฉบับจีน จัดคัมภีร์นี้เป็นสูตรหนึ่งในบรรดาพระสูตรทั้งหลาย แม้ว่าจะไม่ เริ่มต้นพระสูตรด้วยคำที่ใช้กันเป็นแบบมาว่า "เอวมฺเม สุตํ" ก็ตาม สำหรับสูตรนี้ จีนเลือกเอา ชื่อของภิกษุมาเป็นชื่อของคัมภีร์ ส่วนบาลีเลือกเอาพระนาคของพระเจ้าแผ่นดินมาเป็นชื่อ ของคัมภีร์              โครงเรื่อง              ฉบับจีนมี ๓ ตอน ตอนที่ ๑ ตั้งแต่หน้า ๕๒-๕๗ ตอนที่ ๒ ตั้งแต่หน้า ๕๗-๖๑ ตอนที่ ๓ ตั้งแต่หน้า ๖๑-๖๔ โดยไม่มีหัวเรื่องและคำลงท้าย ไม่มีการแบ่งเป็นย่อหน้าต่างๆ ยกเว้น เฉพาะตอนจบและตอนขึ้นต้นของคัมภีร์เท่านั้น              ฉบับบาลี แบ่งออกเป็น ๗ ส่วน คือ :-              ส่วนที่ ๑ อารัมภกถา ว่าด้วยเรื่องอดีตชาตของพระนาคเสนและของพระเจ้ามิลินท์ ้ตั้งแต่หน้า ๑-๒๓              ส่วนที่ ๒ ประกอบด้วยลักขณปัญหา และนาคเสน มิลินทปัญหา หน้า ๒๕-๖๔              ส่วนที่ ๓ วิมตจเฉทนปัญหา หน้า ๖๕-๘๙              ส่วนที่ ๔ เมณฑกปัญหา หน้า ๙๐-๓๒๘              ส่วนที่ ๕ อนุมานปัญหา หน้า ๓๒๙-๓๖๒              ส่วนที่ ๖ โอปัมกถาปัญหา หน้า ๓๖๓-๔๑๙              ส่วนที่ ๗ มิลินทอรหัตตภาวะ หน้า ๔๑๙-๔๒๐              ดังกล่าวมานี้ ฉบับจีนไม่มีส่วนที่ ๔-๗ ของฉบับบาลี              ปุจฉาวิสัชนา              ฉบับจีน มีเพียง ๖๙ ปุจฉาวิสัชนา              ฉบับบาลี มีเพิ่มเติมออกไปอีก ๑๒ ปุจฉวิสัชนา (เป็น ๘๑) ลำดับของปุจฉาวิสัชนา              ลำดับของปุจฉาวิสัชนา กล่าวได้ว่าเหมือนกัน ยกเว้นเฉพาะใน ๒ อุปมา คือ                           ๑. ฉบับจีน จัด สัทธา ไว้ก่อน สีล แต่ฉบับบาลี จัด สีล ไว้ก่อน สัทธา                           ๒. ปุจฉาวิสัชนาเกี่ยวกับความเป็นสัพพัญญูของพระพุทธเจ้านั้น ในฉบับบาลี จัดวางไว้ห่างออกไปมาก              อดีตชาติของพระเจ้ามิลินท์และพระนาคเสน              เรื่องอดีตชาติของพระนาคเสนพระเจ้ามิลินท์ในสองฉบับนั้นแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ทีเดียว ดังที่จะได้แสดงให้เห็นหลักฐาน ดังต่อไปนี้ :-              ๑. ฉบับบาลีเริ่มเรื่องในสมัยของพระกัสสปพุทธเจ้า กล่าวถึงสามเณรรูปหนึ่ง ซึ่งไม่นำพา ต่อคำสั่งที่พระเถระสั่งถึงสามครั้งสามหน จึงถูกพระเถระนั้นตีด้วยด้ามไม้กวาด สามเณรนั้น ขณะที่ร้องไห้ไปพลางทำธุระของตนไปพลางนั้น ก็ได้ตั้งความปรารถนาขอให้มีอำนาจและรุ่งโรจน์ เหมือนพระอาทิตย์เที่ยงนั้น อนึ่ง สามเณรเมื่อเห็นคลื่นอันมหึมาของแม่น้ำคงคาซึ่งส่งเสียงดัง สนั่นหวั่นไหวและพัดเข้ากระทบฝั่งด้วยกำลังแรง ก็ตั้งความปรารถนาขอให้เป็นผู้สามารถ ปราบการโต้วาทะทั้งหมดได้ เหมือนอย่างคลื่นของแม่น้ำคงคาฉะนั้น สามเณรก็ได้กลังมาเกิด เป็นพระเจ้ามิลินท์กษัตริย์แห่งสาคละ ในประเทศอินเดีย สมตามความปรารถนา ส่วนพระเถระ เมื่อลงไปในแม่น้ำและได้ยินการตั้งความปรารถนาของสามเณรดังนั้น ก็ตั้งความปรารถนาขอ ให้เป็นผู้สามารถแก้ปัญหาทั้งหลายที่สามเณรนั้นถามได้ทุกปัญหา เพราะความปรารถนานั้น ต่อมา พระเถระนั้นก็ได้เกิดเป็นพระนาคเสน              ฉบับภาษาจีนแตกต่างจากฉบับบาลีอย่างสิ้นเชิง ฉบับจีนสืบสาวเรื่องอดีตขึ้นไปถึง เพียงสมัยของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน ไม่ถึงสมัยของพระกัสสปพุทธเจ้า กล่าวถึงสมัยที่พระ พุทธเจ้าทรงอาเกียรณ์ด้วยกายหลั่งไหลเข้ามาของเหล่าสาวกอย่างไม่หยุดยั้ง และแล้วก็ทรงปลีก พระองค์ออกไปสู่ที่เร้น ครั้งนั้นพระยาช้างตัวหนึ่งใคร่จะปลีกตัวออกไปจากความวุ่นวายของโขลงช้าง จึงได้ติดตามพระองค์ไป เมื่อทรงรู้วารจิตของช้างนั้น พระพุทธองค์ก็ทรงสั่งสอนธรรมแก่ช้างนั้น ช้างนั้นก็ได้รับพระพุทธองค์ ด้วยการปัดกวาด ตักน้ำ และปราบทางเห็นที่สัญจรของพระพุทธองค์ กาลต่อมาช้างนั้นก็ตาย แล้วไปเกิดบุตรของสกุลพราหมณ์สกุลหนึ่ง เมื่อเติบใหญ่ขึ้นแล้ว ก็ ได้สละครอบครัวออกไปศึกษาพาหิรลัทธิ พำนักอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง ได้อาศัยอยู่ใกล้ๆ กับฤาษี ตนหนึ่ง และแล้วคนทั้งสองที่ได้กลายเป็นสหายกัน ในสองคนนั้นคนหนึ่งได้ตั้งความปรารถนา ขอให้เป็นภิกษุและมานะพยายาม เพื่อความเป็นพระอรหันต์ แล้วเขาก็ได้เกิดใหม่เป็นนาเซียน ส่วนอีกคนหนึ่งก็ได้ตั้งความปรารถนาขอให้เป็นกษัตริย์ และสามารถทำให้ชนทั้งปวงปฏิบัติ ตามคำสั่งสอนของตน แล้วเขาก็ได้เกิดใหม่เป็นกษัตริย์มีลัน              ๒. ฉบับบาลี มีข้อความยืดเยื้อคือกล่าวถึงเรื่องพระอรหันต์จำนวนนับไม่ถ้วน ไปอ้อน วอนขอให้มหาเสนเทวุตรลงมาเกิดในมนุษยโลก เพื่อปราบพระเจ้ามิลินท์และเพื่อคุ้มครอง รักษาพระธรรม เรื่องมหาเสนเทวบุตรกลับมาเกิดใหม่เป็นพระนาคเสน ในตระกูลโสณุตตร พราหมณ์ เรื่องพระนาคเสนศึกษาพระเวทและเรื่องราวต่างๆ ของพราหมณ์ เรื่องพระโรหนะ กำหนดวิธีที่จะชักนำพระนาคเสนให้มาบวช และศึกษาธรรมเรื่องพระโรหนะไปรับบาตร (ที่บ้าน ของพระนาคเสน) ประจำ เป็นเวลา ๗ ปี ๑๐ เดือนกระทั่งพบพระนาคเสนและบวชพระนาคเสน ให้เป็นสามเณร และเรื่องพระโรหนะสอนอภิธรรมแก่พระนาคเสน              ในฉบับภาษาจีน กล่าวอย่างธรรมดาๆ ว่านาเซียนั้น เมื่ออายุได้ ๑๔-๑๕ ขวบ มีลุง ฝ่ายบิดาอยู่คนหนึ่งชื่อ โลหัน ซึ่งเป็นพระอรหันต์และมีอิทธิฤทธิ์ นาเซียนได้มาเยี่ยมลุงและแจ้ง ให้ลุงทราบว่าตนมีความยินดีในพุทธธรรม และขอบบวชด้วย ท่านโลหันสงสารนาเซียน จึงบวช ให้เป็นสามเณร นาเซียนได้ท่องบ่นสวดมนต์ทุกวัน พิจารณาไตร่ตรองทั่งทั้งพระธรรมและ พระวินัย จนได้บรรลุฌาน ๔ และมีความเข้าใจในอรรถธรรมเป็นอย่างดี ในฉบับภาษาจีนไม่ ได้กล่าวถึงการสอนอภิธรรมแก่พระนาคเสนเป็นครั้งแรก              ๓. ในฉบับบาลี พระนาคเสนสอนอภิธรรมอันสุขุมคัมภีรภาพและหลักสุญญตาแก่ อุบาสิกาคนหนึ่ง              ในฉบับภาษาจีน นาเซียนสอนทาน ศีล และสวรรค์ แก่อุบาสกเมื่อรู้ว่าเขายินดีแล้ว จึงสอนธรรมอันลึกซึ้งยิ่งกว่านั้นแก่เขา เพราะสุญญตาธรรม อาจจะทำให้เขามีความทุกข์ใจก็ได้ ในฉบับภาษาจีนไม่ได้กล่าวถึงพระอภิธรรม              ข้อความที่ไม่ปรากฏในแต่ละฉบับ              ข้อความที่ไม่มีในฉบับภาษาจีน              ๑. ภิกษุสามเณรเกิดแล้วเกิดอีก เป็นเทวดาบ้าง เป็นมนุษย์บ้าง นับชาติไม่ถ้วนใน ระหว่าง กัสสปพุทธกาล และโคตมพุทธกาล และพระโคตมพุทธเจ้าได้ทรงพยากรณ์ภิกษุและ สามเณรทั้งสองนั้น เหมือนกับที่ได้ทรงพยากรณ์เกี่ยวกับพระโมคคัลลีบุตรติสสะว่า หลังจาก พุทธปรินิพพานแล้วได้ ๕๐๐ ปี ท่านทั้งสอง จะปรากฏขึ้นในโลก ประกาศธรรม และช่วยขจัด ความยุ่งยากต่างๆ เกี่ยวกับศาสนาธรรมเสียได้ ๒. ฉบับบาลี กล่าวถึงครูทั้งหก และกล่าวถึงการสนทนากันระหว่างพระเจ้ามิลินท์ กับปูรณกัสสปและมักขลิโคสาล ซึ่งไม่สามารถจะตอบให้พระเจ้ามิลินท์พอพระทัยได้ และเป็นเหตุ ให้พระองค์ประกาศว่า ทั่วชมพูทวีป ว่างเปล่าจากสมณพราหมณ์ผู้สามารถจะโต้ตอบกับพระองค์ เสียแล้ว              ๓. ฉบับภาษาจีน ไม่ได้พูดถึงตอนที่ว่าด้วยเรื่องชุมนุมพระอรหันต์ที่ไปอ้อนวอนขอให้ มหาเสนเทวบุตร มาเกิดในมนุษยโลกเพื่อเผชิญหน้ากับพระเจ้ามิลินท์ และเพื่อปกปักรักษา พระธรรมเลย ทั้งไม่ได้กล่าวถึงตอนที่พระโรหนะถูกใช้ให้รับบิณฑบาต ที่บ้านของโสณุตตร- พราหมณ์เป็นเวลา ๗ ปี ๑๐ เดือน และตอนที่พระโรหนะได้สอนพระอภิธรรมแก่พระนาคเสน              ๔. ฉบับภาษาบาลี พูดถึงอภิธรรม ๕ ครั้ง คือ ครั้งที่ ๑ ในอารัมภกถา ที่กล่าวถึง พระนาคเสนว่าเชี่ยวชาญในอธิธรรม ครั้งที่ ๒ เมื่อพระโรหนะสอนพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ แก่พระนาคเสน ครั้งที่ ๓ เมื่อพระนาคเสนสวดพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์จบบริบูรณ์ ต่อที่ชุมนุม พระอรหันต์ ได้รับสรรเสริญ สนั่นหวั่นไหวจากพรหม และได้รับการโปรยดอกมณฑารพ (ดอก ไม้สวรรค์ ) ครั้งที่ ๔ พระนาคเสนสอนพระอภิธรรมแก่อุบาสิกา แล้วทั้งสองก็ได้บรรลุโสดาบัน และครั้งที่ ๕ พระนาคเสนได้แสดงพระอภิธรรม แก่พ่อค้าที่ให้ต้อนรับตนในระหว่างเดินทาง ไปเมืองปาฏลีบุตร              ข้อความที่ไม่มีในฉบับบาลี แต่มีฉบับภาษาจีน              ๑. เรื่องพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันและช้างแสวงหาที่วิเวก (ซึ่งคล้ายกับเรื่องภิกษุชาว โกสัมพี) เรื่องช้างได้มาสู่พระอารามหลังจากพุทธปรินิพพานเพื่อสดับเสียงสวดพระพุทธมนต์ การที่ช้างนั้นกลับมาเกิดใหม่ในสกุลพราหมณ์ และเมื่อเติบโตเป็นหนุ่มขึ้นแล้ว ไม่เคยได้ยินได้ ฟังเรื่องพระพุทธศาสนา ไม่เคยได้เห็นพระสงฆ์ การเป็นเพื่อนกันกับฤาษีอีกตนหนึ่ง การตั้ง ความปรารถนาแล้วกลับมาเกิดเป็นนาเซียนและมีลัน เรื่องเหล่านี้ ไม่ปรากฏในฉบับบาลี              ๒. นาเซียนถูกขับออกจากหมู่สงฆ์เนื่องจากไม่นำพาต่อคำสั่งของอาจารย์ รู้สึกน้อย ใจตนเอง จึงพยายามจนได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วกลับปฏิบัติตามคำสั่งของอาจารย์อีก เรื่องเหล่านี้ไม่มีในฉบับบาลี              ๓. หลังจากบรรลุพระอรหัตแล้ว นาเซียนเที่ยวสั่งสอนไปตามหมู่บ้านและเมืองต่างๆ การได้ธรรมาภิสมัยของผู้ที่ฟังสั่งสอนของนาเซียน นาเซียนได้รับการต้อนรับทั้งมนุษย์และ เทวดา พรหม รายละเอียดเหล่านี้ไม่มีในฉบับบาลี              ดังกล่าวนี้ จะเห็นว่าเรื่องราวในอดีตของพระนาคเสนและพระเจ้ามิลินท์นั้นแตก ต่างกันอย่างมาก ในสองฉบับนี้ แม้ว่าข้อใหญ่ใจความทั่วๆ ไปจะไม่ขาดหายไปก็ตาม ฉบับ ภาษาจีนนั้น พูดอย่างรักษาต้นฉบับ ฉะนั้น จึงมีเหตุผลอย่างเพียงพอที่จะเชื่อว่า ต้นฉบับเดิมนั้น ได้ถูกรจนาจารย์ฝ่ายภาษาบาลีดัดแปลงแก้ไข เพื่อให้เหมาะสมกับลัทธิหรือนิกายของตน (๑)              ดร. ทิช มิน เซา ได้กล่าวสรุปว่า ด้วยข้อเท็จจริงดังกล่าวมาแล้ว ทำให้สามารถกล่าว หักล้างได้อย่างเต็มปากว่า ฉบับแปลเป็นภาษาจีนนั้น ใกล้เคียงต้นฉบับเดิมมากกว่าฉบับภาษา บาลี และว่า ฉบับภาษาบาลีนั้น ผู้รจนาได้จรนาขึ้นใหม่โดยอาศัยฉบับเดิมหลัก เพิ่มเติม เรื่องราวและหลักธรรมต่างๆ เข้ามากมาย เพื่อให้เข้ากันกับหลักตำสอนฝ่ายเถรวาท และ ขยายต้นฉบับเดิมออกไปอีก จนมีขนาดใหญ่โตดังปรากฏอยู่ในปัจจุบันนี้ ท่านทิช มิน เชา ได้ อ้างผลของการค้นคว้าและความเห็นของศาสตราจารย์ เดอมีวิลล์ [ Prof. Demieville ] มา สนับสนุนความคิดเห็นของท่านว่า "ต้นฉบับเดิมนั้น ประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ (๑) อารัมภกถา พร้อมด้วยรายละเอียดต่างๆ คือการพรรณนาสถานที่ พรรณนาประวัติของพระนาคเสนเกี่ยว กับชีวิตทรงพรหมจรรย์ในระยะต่างๆ (เช่น บวชเป็นสามเณร บรรลุพระโสดาบัน บรรลุพระอรหัต) พร้อมด้วยประเพณีบางอย่างเกี่ยวกับวัดและอาจารย์ของพระนาคเสน ให้ความรู้เกี่ยวกับการ โต้วาทะอันไร้ผลกับพระภิกษุรูปหนึ่ง และการพบกันระหว่างพระเจ้ามิลินท์กับพระนาคเสน (๒) บันทึกการโต้วาทะ ส่วนที่ ๒ ของตอนนี้ ดูเหมือนจะได้เพิ่มเข้ามาแต่โบราณกาลแล้ว และตอน แรกนั้น ได้ตกมาถึงพวกเราในสภาพที่คงรูปสมบูรณ์ที่สุดโดยมี ๒ ภาค ในอารัมภกถานั้น ได้ เพิ่มเรื่องอวตารของบุคคลสำคัญทั้งสองเข้ามา และประวัติของพระนาคเสน ก็มีการแก้ไขเพิ่ม เติม เพราะการกระทำดังนี้เอง ก่อให้เกิดการแก้ไขที่แตกต่างกันออกไปเป็น ๒ อย่าง คืออย่างแรก ได้แปลเป็นภาษาจีนราวคริสตศตวรรษที่ ๔ และอย่างหลังแปลเป็นภาษาบาลี ในคริสตศตวรรษ ที่ ๕ ส่วนฉบับแปลเป็นภาษาจีนนั้น ได้ร้อยกรองขึ้นโดยมีการแก้ไขเป็น ๒ แบบคือแบบแก้ไข สมบูรณ์ และแบบแก้ไขไม่สมบูรณ์ ซึ่งทั้งสองแบบก็ไม่แตกต่างอะไรกันมากนัก แต่ตรงกันข้าม ฉบับที่แปลเป็นภาษาบาลีนั้นได้ผ่านการปรับปรุงมาหลายครั้ง ส่วนที่พอจะเชื่อถือได้นั้น ได้ถูก เพิ่มเติมลงในสมัยต้นๆ ในประเทศลังกา หลังคริสตศตวรรษที่ ๕ แล้วพระประวัติของพระเจ้า มิลินท์นั้น ชวนให้คิดว่าเป็นการเลียนแบบพระประวัติของพระเจ้าอชาตศัตรูและพระเจ้าอโศก และ ๔ ตอนที่เพิ่มเข้ามา ก็อาจจะเป็นได้ว่า เพิ่มเข้ามาในประเทศลังกา ซึ่งในประเทศลังกานี้เอง ได้พบว่า ส่วนแรก (ของมิลินทปัญหา) ยังบริบูรณ์ดีอยู่จนถึงศตวรรษที่ ๕" แม้กระนั้นก็ดี ก็ยัง เป็นการยากอยู่ที่จะพิสูจน์ให้เห็นว่า ส่วนที่เพิ่มเติมเข้ามาทีหลัง ๔ ตอนนั้น ได้เพิ่มเข้าในประเทศ (๑) Milindapanha and Nagasemabhikshutra, p. 1-8. ลังกาตามที่ศาสตราจารย์เดอมีวิลล์ยืนยัน แต่ความเห็นของเขาก็ยังสนับสนุนข้อที่ว่า ฉบับ ภาษาจีนมีมาก่อนกว่าและถูกต้องตามต้นฉบับเดิมมากกว่าฉบับภาษาบาลี ได้เป็นอย่างดี (๑)              ในเรื่องนี้ ศาสตราจารย์ ริส เดวิดส์ ได้คัดค้านอย่างรุนแรงว่า "เป็นไปไม่ได้ที่ว่า ฉบับ ที่สั้นกว่า และเพียงแต่สั้นกว่าอย่างเดียวเท่านั้น จะต้องเป็นฉบับที่เก่าแก่กว่าฉบับที่ยาวกว่า แต่ความจริงแล้ว น่าจะเป็นว่า ฉบับที่ยาวกว่านั่นเอง ที่ทำให้เกิดมีฉบับที่สั้นกว่าขึ้นมา(๒) ....... ถ้าว่าฉบับที่สั้นกว่า (ซึ่งความจริงเรียกว่า ฉบับถอดใจความน่าจะเหมาะกว่า เพราะใน ความรู้สึกของคนสมัยปัจจุบันแล้ว ไม่น่าจะเป็นฉบับสมบูรณ์เลย) ที่ได้มาจากเกาหลี เป็นต้น ฉบับที่แท้จริงแล้วก็มีปัญหาว่า หนังสือจีนอื่นๆ ที่กล่าวรวมๆ ว่าได้แต่งขึ้นในสองศตวรรษต่อมา ซึ่งถือว่าเป็นฉบับต้นเดิมนั้น ด้วยเหตุผลใดเล่า จึงเกิดมีเนื้อหาสาระผิดแผกแตกต่างไปจาก ฉบับภาษาบาลี ? เชื่อแน่ว่าสมมติฐานที่จะเอามาเป็นเครื่องพิสูจน์ในเรื่องนี้ก็คงจะเป็นว่า หนังสือ จีน ๒ ฉบับซึ่งแปลจากต้นฉบับอันเดียวกันนั้น ฉบับหลัง ย่อมจะต้องถูกต้องแน่นอนกว่า ฉบับก่อน และในเรื่องนี้ ก็ทำให้เราได้เห็นลักษณะพิเศษอันหนึ่งของจีนว่า ในการถ่ายทอด คัมภีร์ของอินเดียไปเป็นภาษาจีนนั้น ทางจีนถือว่า ฉบับหลังย่อมถูกต้องกว่าฉบับก่อนเสมอ(๓)              มิลินทปัญหานั้น เป็นปกรณ์ที่ได้รับความสนใจศึกษาค้นคว้าจากนักปราชญ์ต่างๆ ทั่วไป ทั้งทางตะวันออกและตะวันตก ได้มีผู้เขียนบทความวิจารณ์เรื่องของมิลินทปัญหากันอย่างกว้าง ขวาง มีการค้นคว้าและติดตามเรื่องราวต่างๆที่กล่าวไว้ในมิลินทปัญหากันอย่างจริงจัง ดังที่ กล่าวมาข้างต้น และจากผลของการค้นคว้าของบรรดาท่านเหล่านั้นก็ปรากฏว่า สาระส่วนใหญ่ ของมิลินทปัญหานั้น ดำเนินตามหลักธรรมของฝ่ายเถรวาท ซึ่งเรียกว่า สัตถุศาสน์ แต่ก็ไม่ได้ จำกัดวงอยู่เฉพาะในขอบเขตของพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาทอย่างเดียว เพราะพบว่า บางครั้ง ผู้รจนาก็นำเอาหลักธรรมในนิกายสรวาสติวาท ซึ่งเป็นพุทธศาสนามหายานนิกายหนึ่ง มา อธิบายอย่างยืดยาว (๔) เบอร์นอฟ (Burnpuf) ได้ค้นพบว่า พระนาคเสนได้บรรยายถึงหลัก ธรรมในอภิธรรมโกศวยาขยา (บางแห่งเรียกว่า อภิธรรมโกศภาษยา ซึ่งเป็นคัมภีร์สำคัญ อธิบายพุทธปรัชญาตามหลักธรรมของนิกายสรวาสติวาท ในฝ่ายมหายาน แต่งโดยพระวสุพันธุ์ ชาวอินเดีย) อย่างกว้างขวาง(๕) ทั้งยังปรากฏว่าบางแห่งได้พูดถึงหลักธรรมของธิเบตด้วย เช่น (๑) Milindapanha and Nagasenabhikshusutra, p. 35. (๒) Sacred Book of the East Vol. xxxvi,p.xxxvi. (๓) lbid., Vol. xxxvi, p. xiii. (๔) Milinda's Questions Vol. 1, p. xvii. (๕) Sacred Book of the East Vol. xxxvi, p. xxxvi. เรื่องสีที่บุคคลจะเห็นเมื่อเวลาจะตายเป็นต้น ซึ่งไม่มีในพระไตรปิฎกฝ่ายเถรวาท(๑) บางครั้งก็ นำเอาตัวอย่าง หรือข้ออุปมาจากวรรคดีนพกพระคัมภีร์มาประกอบการอธิบายบ้าง ฉะนั้น จึง เห็นได้ว่า ผู้รจนามิลินทปัญหานั้นเป็นผู้คงแก่เรียนอย่างแท้จริง เชี่ยวชาญทั้งในเรื่องพระพุทธ ศาสนาและวรรณคดีอื่นๆ ที่ร่วมสมัยกัน              ศาสตราจารย์ ริส เดวิดส์ ได้ยกย่องว่ามิลินทปัญหา เป็นปกรณ์ที่แต่งดีเป็นอย่างยอด คัมภีร์หนึ่ง ในบรรดาคัมภีร์ทั้งหลายที่รจนาขึ้นภายหลังพระไตรปิฎก และว่าหนังสือที่แต่งได้ดี ใกล้เคียงมิลินทปัญหา ก็มีแต่วิสุทธิมรรค ของพระพุทธโฆษาจารย์ คัมภีร์เดียว แต่มิลินท์ปัญหา มีมาก่อนกว่าวิสุทธิมรรคช้านาน และพระพุทธโฆษาจารย์ยังได้อ้างเอามิลินทปัญหามาเป็นหลัก ในการวินิจฉัย ในหนังสืออรรถกถาที่ท่านรจนาเป็นหลายแห่ง จึงเห็นได้ว่า มิลินทปัญหานี้ เป็น คัมภีร์ที่นักปราชญ์ถือกันว่าเป็นหลักฐานในข้อวินิจฉัย พระธรรมวินัย มาแต่ดึกดำบรรพ์แล้ว(๒)              ศาสตราจารย์ ริส เดวิดส์ ได้ลองกำหนดข้อความในพระไตรปิฎกซึ่งยกมาอ้างไว้ใน มิลินทปัญหานี้ ก็ปรากฎว่าผู้รจนาคัมภีร์นี้ เป็นผู้ชำนิชำนาญแตกฉานในพระไตรปิฎก สามารถ อ้างได้ทุกคัมภีร์ สำนวนโวหารก็ไพเราะ แต่ข้อวิเศษอันสำคัญนั้นก็คือ ผู้รจนาเป็นผู้ที่ฉลาด ปราดเปรื่องทั้งในกระบวนการวินิจฉัย และวิสัชนาพระธรรมวินัยให้เข้าใจด้วยอุปมาเป็นต้น ผิดกับคัมภีร์อื่นๆ โดยมาก จึงเป็นเหตุให้ผู้ศึกษาพระธรรมวินัยในพระพุทธศาสนานับถือ คัมภีร์มิลินทปัญหานี้ สืบต่อกันมามากกว่า ๒๐๐๐ ปี เข้าบัดนี้ (๓)              ท่าอานันท์ เกาศัลยายนะเถระ (Anand Kausalyayana) ก็กล่าวว่า บรรดาวรรคดี บาลีทั้งหลาย นอกจากพระไตรปิฎกแล้ว ไม่มีคำกล่าวใดจะสุขุมลุ่มลึกเท่าคำของพระนาคเสน ในเรื่อง อนาตมวาท (Anatmavad) หรืออนัตตา ดังนั้น มิลินทปัญหา จึงเป็นคัมภีร์ที่แสดง หลักเกณฑ์ได้ทั้งด้านอภิกปรัชญาของพระพุทธศาสนา ทั้งในด้านจริยศาสตร์และจิตวิทยา นัก ศึกษาพระพุทธศาสนาควรจะได้ศึกษา เพราะนอกจากจะเป็นคัมภีร์พระพุทธศาสนาที่สำคัญแล้ว ยังมีคุณค่าทางด้านประวัติศาสตร์และวรรณคดีอีกเป็นอันมาก มิลินทปัญหามีหลักฐานดีแน่ชัด ชนิดที่วรรณคดีอินเดีย ไม่ว่าจะมองแง่ปรัชญา วรรณคดี ประวัติศาสตร์ หรือความรู้ทาง ภูมิศาสตร์ เป็นข้อเท็จจริงที่โต้แย้งไม่ได้ว่า วรรณคดีหลังพระไตรปิฎกไม่มีคัมภีร์พระพุทธ (๑) ดูมิลินปัญหาฉบับนี้ หน้า ๑๕๖ (๒)-(๓) พระนิพนธ์คำนำ ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในมิลินทปัญหาฉบับหอสมุดแห่งชาติ ศาสนาคัมภีร์ใดจะมีคุณค่าเท่า มิลินปัญหา(๑) พม่าได้จัดมิลินทปัญหา เข้าในสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายด้วย              มิลินทปัญหาได้ถูกถ่ายทอดอักษร และแปลเป็นภาษาต่างๆ ทั้งภาษาทางตะวันออก และตะวันตกหลายภาษา และในบางภาษาแปลกันหลายสำเนา สำหรับการถ่ายทอดออกเป็น อักษรต่างๆ ในพากย์บาลีนั้นคือ ฉบับอักษรสิงหล ฉบับอักษรขอม ฉบับอักษรพม่า ฉบับ อักษรไทยและฉบับอักษรโรมัน โดย วี. เทรงค์เนอร์ชาวเดนมาร์ก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๓ สำหรับ การแปลเป็นภาษาต่างๆ นั้น เท่าที่ปรากฏในขณะนี้ คือ              (๒) พุทธศักราช (ราว) ๘๖๐-๙๖๓ - แปลเป็นภาษาจีน มีทั้งหมดรวม ๑๑ สำนวน                            " ๒๒๙๐ เถระ และมีแปลต่อมาอีกหลายครั้ง                            " ๒๔๓๓ - แปลเป็นภาษาอังกฤษ โดยศาสตราจารย์ ริส                                                      เดวิดส์                            " ๒๔๔๘ - แปลเป็นภาษาเยอรมันโดย เอ็ฟ. ออตโต ชราเดอร์                                                      (แปลบางส่วน)                            " ๒๔๖๒ - แปลเป็นภาษาเยอรมันจบบริบูรณ์ โดย พระ                                                      ญาณติโลกพระภิกษุชาวเยอรมัน                            " ๒๔๖๖ - แปลเป็นภาษาฝรั่งเศส โดย หลุยส์ ฟีโนต์                            " ๒๔๖๗ - แปลเป็นภาษาฝรั่งเศส จากฉบับภาษาจีน โดย                                                      ปอล เดอมีวิลล์                            " ๒๕๐๔ - แปลเป็นภาษาอังกฤษ โดย นาง ไอ. บี. ฮอนเนอร์               ไม่ทราบ พ.ศ. ที่แปล - แปลเป็นภาษารัสเซีย จากฉบับภาษาจีน โดย                                                      นายอีวานอฟสกี (Ivanovsky)               " " - แปลเป็นภาษาญี่ปุ่น จากฉบับภาษาจีน โดย                                                      โซเงน ยามากามิ (๑) พุทธศาสนประวัติระหว่าง ๒๕๐๐ ปีที่ล่วงแล้ว เล่ม ๒, สภาการศึกษา ฯ จัดพิมพ์ ๒๕๐๔, หน้า ๓๘. (๒) Introduction of Milindapanha and Nagasenabhikshusutra. ไม่ทราบ พ.ศ. ที่แปล แปลเป็นภาษาญี่ปุ่น จากฉบับภาษาบาลี โดย                                                      เซอิ สยา กานาโมลิ              สำหรับการแปลเป็นภาษาไทยนั้น บางทีอาจจะได้แปลมาตั้งแต่ครั้งกรุงสุโขทัย ด้วย อ้างถึงหนังสือมิลินทปัญหาในบานแพนกหนังสือไตรภูมิพระร่วง ซึ่งพระมหาธรรมราชาพญาลิไท ทรงแต่งขึ้นเมื่อครั้งกรุงสุโขทัยยังเป็นราชธานี แต่ที่แน่นอนและมีต้นฉบับอยู่ในบัดนี้ ๔ สำนวน คือ :-              ๑. ฉบับแปลแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี หอพระสมุด ฯ ได้ต้นฉบับไว้ แต่ไม่ บริบูรณ์              ๒. ฉบับแปลในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งกรมศิลปากร ได้จัดพิมพ์เผยแพร่ เป็นฉบับ ของหอสมุดแห่งชาติ สำนวนนี้สันนิษฐานว่า คงจะแปลในรัชกาลที่ ๓ ด้วยปรากฏมาว่า ตั้งแต่ รัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้โปรด ฯ ให้แปลคัมภีร์ที่แต่งไว้เป็น ภาษามคธ ออกเป็นภาษาไทยหลายเรื่อง ที่เป็นเรื่องใหญ่มีฉบับปรากฏอยู่ คือ เรื่องมหาวงศ์ พงศาวดารลังกา ว่าด้วยพุทธศาสนประวัติในลังกาทวีป ๑ ชินกาลมาลี ว่าด้วยพุทธศาสน- ประวัติตั้งแต่พุทธกาลถึงนครเชียงใหม่ในสยามประเทศนี้ ๑ ไตรโลกวินิจฉัย ๑ เป็นอาทิ หนังสือที่แปลในรัชกาลที่ ๑ มักมีบานแพนกและบอกชื่อผู้แปลไว้เป็นสำคัญ แต่มิลินทปัญหานี้ หามีไม่ จึงสันนิษฐานว่าจะแปลในรัชกาลที่ ๓ ด้วยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง สดับพระธรรมเทศนาทุกวันเป็นนิตย์ ตามพระราชประเพณี โปรด ฯ ให้อาราธนาพระผู้ถวาย เทศน์แปลพระไตรปิฎก ทั้งพระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรม และปกรณ์ต่างๆ ถวาย เมื่อ เทศน์แล้ว โปรด ฯ ให้เขียนเก็บรักษาไว้ในหอหลวง มิลินทปัญหาฉบับนี้ ก็เห็นจะแปลถวาย เทศน์ในครั้งนั้น (๑)              ๓. ฉบับแปลในมหามกุฏราชวิทยาลัย ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ด้วยสมเด็จพระมหา- สมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงตั้งมหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๖ และ ออกหนังสือธรรมจักษุเป็นรายเดือนสมนาคุณแก่ผู้บริจาคบำรุงมหากุฏราชวิทยาลัย ได้ทรง แปลมิลินทปัญหาลงพิมพ์ในหนังสือธรรมจักษุดังกล่าว เป็นตอนๆ แต่มิได้ทรงแปลด้วยพระองค์ เองตลอด ทรงให้พระกรรมการมหากุฏราชวิทยาลัยบ้าง พระภิกษุสามเณรนักเรียนในมหา มกุฏราชวิทยาลัยบ้าง ช่วยกันแปลเป็นตอนๆ แล้วทะยอยลงพิมพ์ในหนังสือธรรมจักษุจนจบ (๑) พระนิพนธ์คำนำ ของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ใน มิลินทปัญหา ฉบับหอสมุดแห่งชาติ สำนวนแปลในฉบับนี้เป็นแบบ "สำนวนสนาม" คือเหมือนอย่างที่แปลกันในการสอบพระ ปริยัติธรรมสนามหลวง เมื่อครั้งสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเลือกมิลินทปัญหา สำหรับจัดพิมพ์เป็นฉบับของหอสมุดแห่งชาติ ทรงเห็นว่า ฉบับแปลในมหากุฏราชวิทยาลัยนี้ สำนวนไม่สม่ำเสมอ เพราะแปลกันหลายคน จึงไม่ทรงเลือกเอาฉบับนี้ ทรงเลือกเอาฉบับแปล ในสมัยรัชกาลที่ ๓ ดังกล่าวแล้วข้างต้น              ๔. ฉบับเรียบเรียงใหม่ เรียกว่า "ปัญหาพระยามิลินท์" โดยนายยิ้ม ปัณฑยากูร เปรียญ เจ้าหน้าที่หอสมุดแห่งชาติ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓ เป็นการเรียบเรียงเอาเฉพาะใจความของ แต่ละปัญหา โดยตัดข้อความและสำนวนที่ซ้ำๆ ซากๆ ออกเสีย เพื่อสะดวกในการอ่านและ เข้าใจง่ายขึ้น และฉบับนี้ กรมศิลปากรได้จัดพิมพ์ออกเผยแพร่ เป็นฉบับของหอสมุดแห่งชาติ อีกฉบับหนึ่ง

             เนื้อความมิลินทปัญหา หน้าที่ ๕๗๔ - ๖๐๐. http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=193              สารบัญมิลินทปัญหา http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=0#item_193

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า

บันทึก ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]