ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก  หนังสือธรรมะ
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
มิลินทปัญหา
สัพพัญญูภาวปัญหา ที่ ๒
             ภนฺเต นาคเสน พุทฺโธ สพฺพญฺญูติ อาม มหาราช ภควา สพฺพญฺญู จ ภควโต สตตํ สมิตํ ญาณทสฺสนํ ปจฺจุปฏฐิตํ อาวชฺชนปฏิพทฺธํ ภควโต สพฺพญฺญุตญาณํ อาวชฺชิตฺวา ยทิจฺฉิกํ ชานาตีติ ฯ              พระเจ้ามิลินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสน ผู้ปรีชา สมเด็จพระพุทธเจ้าของเรานี้ เป็นสัพพัญญูหรือ              พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า อาม เออบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จพระศาสดาจารย์ เจ้าเป็นพระสัพพัญญูรู้เห็นด้วยปัญญา พระศาสดาจารย์เจ้าพิจารณาแล้ว รู้เห็นซึ่งสิ่งสารพัด ทั้งปวง จึงเป็นพระสัพพัญญู ขอถวายพระพร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ นาคเสนผู้ปรีชา ถ้าว่าเสด็จพระมหากรุณายังต้องพิจารณาก่อนจึงรู้ จะว่าเป็นสัพพัญญู อย่างไร              พระนาคเสนจึงวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อัน ว่าพระสัพพัญญุตญาณของพระมหากรุณาเจ้านี้ ต้องพิจารณาก่อนก็จริงแล แต่ทว่ารวดเร็ว นักหนา เปรียบประดุจบุคคลตวงข้าวสองถังก็ดี สามถังก็ดี ห้าถังก็ดี ช้านักหนา แม้นมาตร ่ว่าสมเด็จพระมหากรุณาเจ้าพิจารณาซึ่งข้าวที่คนทั้งหลายตวงก็รู้ก่อนที่ตวงนั้น เร็วพลัน ประมาณลัดนิ้วมือเดียว ตกว่ารวดเร็วฉะนี้              ประการหนึ่ง ลักษณะจิตมี ๗ ประการ บุคคลที่มีจิตประกอบด้วยราคะโทสะโมหะ ประกอบด้วยตัณหาและกิเลสนั้นมีกายมิได้จำเริญ มีจิตมิได้จำเริญ มีศีลมิได้จำเริญ มีปัญญา มิได้จำเริญ จิตแห่งบุคคลจำพวกนี้ มักมีประวัติอันช้า กึการณา เป็นเหตุอย่างไร เหตุว่าไม่ จำเริญจิตของอาตมา ยถา และจะเปรียบฉันใด อุปมาเหมือนลำไม้ไผ่อันรกแต่ต้นจนปลาย มี แขนงหนามไหน่ให้ช้าอยู่ ด้วยเหตุว่าแขนงนั้นรกฉันใดก็ดี จิตแห่งบุคคลเป็นโลกีย์ประกอบ ด้วยราคะโทสะโมหะและตัณหากิเลสนั้น และมีกายมิได้จำเริญ มีจิตมิได้จำเริญ มีศีลมิได้รักษา มีปัญญามิได้พิจารณา จิตช้าเขลานัก เหตุไฉน เหตุว่าร้อยกรองไปด้วยกิเลส เหตุดังนี้จึงตั้งไว้ เป็นปฐมที่ ๑              และจิตเป็นคำรบ ๒ นั้น ได้แก่จิตพระโสดา ปหีนอปายา มีอบายภูมิละเสียเป็นอันดี คือพระโสดาทั้งหลายนี้มิได้เกิดในอบาย ด้วยเหตุพระโสดาทั้งหลายละเสียซึ่งบาปธรรมทั้งหลาย ๓ คือสักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพัตตปรามาส ทิฏฺฐิปฺปตฺตา มีปรกติเห็นเที่ยงในพระจตุ- ราริยสัจ ปรนนิบัติตามพระศาสนะ คือคำสั่งสอนของสมเด็จพระมุนีวรสัมมาสัมพุทธเจ้า จิต แห่งพระโสดานั้น เร็วว่องไวในที่ทั้ง ๓ ครั้นว่าพ้นวิสัยของตนเบื้องบนขึ้นไปก็ช้าตึงอยู่ เหตุไฉน เหตุว่าใจพระโสดานั้นบริสุทธิ์ในที่ทั้ง ๓ คือ สักกายทิฏฐิ เป็นต้น และเบื้องบนนั้นรกชัฏอยู่ด้วย กิเลสเบื้องบนมิได้ขาดจากสันดาน เปรียบปานดุจหนึ่งว่าลำไม้ไผ่มีแขนงข้างต้น ๓ ปล้องนั้น บริสุทธิ์เปล่าจากแขนงหนาม บุคคลตัดชักลงมาก็คล่องอยู่ ๓ ปล้องเท่านั้น ครั้นถึงเบื้องบนก็ รกปกคลุมหุ้มห่อขัดอยู่หาลงไม่ นี่แหละเปรียบในจิตคำรบ ๒              และจิตเป็นคำรบ ๓ นั้น ได้แก่จิตพระสกิทาคามี จิตพระสกิทาคามีนั้น น้อยไปในราคะ โทสะ คือมีราคะโทสะอันน้อย มีจิตรวดเร็วในที่ทั้ง ๕ พ้นนั้นยังมีกิเลสหุ้มห่อหนักอยู่เปรียบฉันใด ดุจไม้ไผ่มีลำและมีปล้องเปล่าอยู่ ๕ ปล้อง เมื่อบุคคลตัดกระชากคล่องแต่เพียง ๕ ปล้อง เบื้องบนยังรกชัฏก็ขัดอยู่ นี่แหละเปรียบด้วยจิตเป็นคำรบ ๓              ยังมีอีกจิตเป็นคำรบ ๔ ได้แก่จิตพระอนาคามี อันละเสียซึ่งสังโยชน์ ๕ อันเป็นส่วน เบื้องต่ำ จิตของพระอนาคามีเบาและรวดเร็วในฐานะ ๑๐ ประการ ครั้นพ้นฐานะ ๑๐ ประการ ไปในเบื้องบน จิตของพระอนาคามีก็เงื่องหงอยเนือยไป ยถา ฉันใด เปรียบประดุจดังลำไม้ไผ่ อันมีปล้อง ๑๐ ปล้อง เบาคล่องแคล่วเป็นอันดี เมื่อบุคคลตัดแล้วกระชากลงมาคล่องอยู่ ๑๐ ปล้องเท่านั้น ครั้นและพ้นนั้นก็ยังฟั่นเฝืออยู่ เหตุว่าเบื้องบนนั้นขัดข้องอยู่ นี่แหละได้แก่จิตพระ อนาคตมีเป็นจิตคำรบ ๔              ทีนี้จะว่าด้วยจิตเป็นคำรบ ๕ ได้แก่จิตพระอรหันต์มหาขีณาสวเจ้า มีกิจคือบรรพชิตกิจ อันกระทำสำเร็จแล้ว มีสังโยชน์ขาดจากสันดาน บรรลุแก่ญาณปฏิสัมภิทาบริสุทธิ์ในสาวกภูมิ จิตแห่งท่านเบาในสาวกวิสัย มีประวัติอันเร็วยิ่ง ครั้นตรองตรึกนึกขึ้นไปถึงปัจเจกพุทธวิสัย แห่งพระปัจเจกพุทธเจ้าก็เงื่องเหงาช้าไป เหตุว่าบริสุทธิ์ในสาวกวิสัย มิได้บริสุทธิ์ในปัจเจกพุทธ- วิสัย เปรียบประดุจไม้ไผ่ มีปล้องและแขนงอันบริสุทธิ์เบา จะชักมาก็คล่องแคล่วยิ่งนัก เหตุว่ามี แขนงหนามทั้งปวงร่วงไปไม่พักลิดฉันใดก็ดี จิตแห่งพระอรหันต์นั้น มิได้มีกิเลสตัณหาข้องอยู่ ในสันดาน ประหาณเสียซึ่งบาปธรรม สำเร็จพระปฏิสัมภิทาตั้งอยู่ในสาวกภูมิ ก็คล่องอยู่ใน สาวกภูมิ จิตประวัติไวดุจไม้ไผ่อันเปล่าจากหนาม หาหนามและแขนงมิได้นั้น ครั้นขึ้นไปถึง ปัจเจกพุทธวิสัยก็ขัดอยู่ไม่คล่องแคล่ว วิสัชนาในจิตเป็นคำรบ ๕ จบแต่เพียงเท่านี้              จิตเป็นคำรบ ๖ นั้นได้แก่จิตแห่งพระปัจเจกโพธิเจ้าอันเลิศ มหาราช ขอถวาย พระพรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐในสมบัติอันเป็นสุขโสด ฝ่ายว่าพระปัจเจกโพธิเจ้า ทั้งหลายนี้เป็นเอกจารี มีปรกติประพฤติเป็นเอก หาครูหาอาจารย์มิได้ บริสุทธิ์ในสกวิสัย วิมลจิตฺตา หามลมทินจิตมิได้ ตั้งอยู่ในปัจเจกภูมิ ก็ว่องไวอยู่ตามวิสัยพระปัจเจกโพธิเจ้า ครั้น ล่วงเข้าวิสัยพระพุทธเสัพพัญญู ปวัตติจิตนั้นก็อับเฉาเขลาไป เหตุว่าวิสัยท่านเป็นแต่พระปัจเจก- ภูมิใช่พุทธวิสัย จะเปรียบฉันใด ดุจบุรุษชายผู้หนึ่งนั้น เคยข้ามแม่น้ำอันน้อย จะข้ามกลางคืนก็ ได้ไม่สะดุ้งไม่กลัว ครั้นตัวบุรุษผู้นั้นมาปะมหาสมุทรอันใหญ่เข้าก็อับเฉาชักฉงนจนอยู่ ดูน่ากลัว นักหนามิอาจที่จะข้ามได้ จิตพระปัจเจกโพธิ ตั้งอยู่ว่องไวก็แต่วิสัยแห่งตน พ้นขึ้นไปถึงวิสัย สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้าแล้ว ก็ขัดสนมืดนมนักหนามิอาจสามารถที่จะคิดได้ อุปไมยดังบุรุษชาย นั้น วิสัชนาด้วยจิตพระปัจเจกโพธิภูมิเป็นคำรบ ๖ ก็จบเท่านี้ จิตเป็นคำรบ ๗ ได้แก่จิตสมเด็จพระสรรเพชญ์พุทธเจ้าเป็นพระสัพพัญญูนั้น ถึงซึ่ง ภาวะแกล้วกล้าในจตุเวสารัชชญาณ ประกอบด้วยอัฏฐารสพุทธธรรม ๑๘ ประการ อนนฺต- ญาณชิโน ผจญพลมารจะนับมิได้ อนนฺตญาโญ มีพระญาณจะนับมิได้ มีจิตเบาประวัติว่องไว เป็นเหตุไฉน สพฺพตฺถ ปรสุทฺธตฺตา เหตุว่าบริสุทธิ์ผ่องใสไปสิ้นไม่มีมลทินข้องขัดอยู่ มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ปานดุจหนึ่งว่าลูกศรอันมิได้ฟั่นเฝือขัดเกลาเป็นอันดี อันนายธนู ยกขึ้นสู่แล่งธนูอันมิได้คดโกง เลี่ยนสุขุมเป็นอันดี แล้วยิงไปตกลงถูกผ้าเนื้อดีที่ขึงไว้ คือผ้าใยบัว และผ้าฝ้ายผ้าโขมพัสตร์ทั้งหลาย ลูกศรนั้นแรงนักหนาจะข้องอยู่กระนั้นหรือ พระราชสมภาร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ลูกศรนั้นจะได้ข้องอยู่หามิได้              พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จ พระสัพพัญญูทศพลญาณเจ้าทรงไว้ซึ่งจตุเวสารัชชญาณอันแกล้วกล้า และอัฏฐารสพุทธธรรม ๑๘ ประการ ผจญพลมารมีพระญาณจะนับจะประมาณมิได้ มีน้ำพระทัยปวัตติจิตเบาว่องไว รวดเร็วนักหนา กึการณา เป็นเหตุดังฤๅ เหตุว่าสารพัดจะบริสุทธิ์ผ่องใสว่องไวนักหนา มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาค จิตสมเด็จพระทศพลญาณล่วงพ้นเกิดจิตทั้ง ๖ คือ จิต ปุถุชน ๑ จิตรพระโสดาบัน ๑ จิตพระสกิทาคามิ ๑ จิตพระอนาคามี ๑ จิตพระอรหันต์ ๑ จิตพระปัจเจกโพธิ ๑ จิตของพระองค์เจ้าเบาว่องไว พึงเข้าพระทัยเถิดว่า สัพพัญญุตญาณ ของพระพุทธเจ้านี้เนื่องไปด้วยการพิจารณา พิจารณาก่อนจึงรู้ตามปรารถนา แต่ทว่าจะข้าอยู่หา มิได้ ยถา จะมีอุปมาฉันใด มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร เปรียบปานดุจบุรุษผู้หนึ่ง ได้ซึ่งวัตถุสิ่งหนึ่งสิ่งใด ได้ข้างซ้ายจะนำไปวางไว้ข้างขวา อนึ่งจะเปล่งวาจาและจะลืมตาจะหลับตา จะกลืนอาการ จะคู้แขนเข้า จะเหยียดแขนออกประการใด ดูนี่เร็วไวนักหนา ถึงกระนั้นก็ยังช้า แสนที่จะช้า อันสมเด็จพระบรมศาสดาจะพิจารณาแล้วเร็วกว่านั้นยิ่งนัก สมเด็จพระศาสดา- จารย์เจ้าจะไม่เป็นพระสัพพัญญูเหตุวิกลอยู่ด้วยกิจที่พิจารณาหามิได้              สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสว่า โยมยังสงสัย เมื่อยังพิจารณาอยู่แล้ว ปริเยสนสงฺขาตํ ก็ชื่อว่ายังแสวงหาอยู่ ก็เมื่อยังแสวงหาอยู่ จะว่าเป็นพระสัพพัญญู เป็นผู้ สารพัดรู้แล้ว เป็นไรจึงต้องแสวงหาเล่า นิมนต์พระผู้เป็นเจ้าว่าให้เข้าใจก่อน              พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ปานดุจบุรุษ ผู้หนึ่ง เป็นผู้มั่งคั่งมั่งมีบริบูรณ์ด้วยทรัพย์ต่างๆ มีเครื่องอุปกรณ์สำหรับใช้สอยมาก มีข้าว เปลือกมาก คือมีทั้งข้าวขาวข้าวแดง ฟักแฟงแตงน้ำเต้าข้าว ๗ ประการ น้ำผึ้งน้ำนมน้ำตาลถั่ว งาสาคู มีอยู่ทุกประการ สำรับอาหารยกมาเอาฝาชีปิดไว้ แต่ข้าวยังไม่ได้หุงก็เอาข้าวสารใส่ หม้อตั้งบนเตาไฟ แต่ว่ายังหาทันสุกไม่ พอแขกมาหาจะได้กินข้าว ต้องช้าอยู่ พอหม้อข้าวสุก จึงได้เลี้ยงแขก นี่จะว่าบุรุษผู้นั้นใช่คนมั่งมี เป็นคนจนคนอนาถา หรือจะว่ากระไร น่ะบพิตรพระ ราชสมภาร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์ จึงมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า จะว่าบุรุษผู้นั้นเป็นคนอนาถาหามิได้ แต่ในพระราชนิเวศน์บรมจักรทีเดียว ถ้าผิดเวลาแล้วจะ ได้มีข้างสุกหามิได้ นับประสาอะไรกับบุรุษคฤหบดีเล่า นี่วิกลแต่เท่านี้จะเป็นไรมี บุรุษผู้นั้นก็เป็น คฤหบดี มิได้เป็นคนอนาถา              พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จพระ ศาสดาจารย์เจ้าวิกลอยู่แต่ต้องพิจารณาก่อนเท่านี้จะเป็นไรมีเล่า พระองค์เจ้าก็เป็นพระสัพพัญญู จะไม่เป็นพระสัพพัญญูหามิได้ ขอถวายพระพร              อนึ่งเล่า ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ปานประหนึ่งพระเจ้าบรมจักรพรรดิทรงพระดำริ ถึงจักรรัตนะ จักรรัตนนั้นก็มาถึงเร็วพลัน ฉันใดก็ดี สมเด็จพระบรมโลกนาถเจ้าก็เหมือนกัน พิจารณาแล้วก็รู้เร็วพลัน ขอถวายพระพร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร ก็สโมสรสาธุการว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ นาคเสนผู้ปรีชา สมฺปฏิจฺฉามิ โยมจะรับคำพระผู้เป็นเจ้า สมเด็จพระพุทธเจ้าเป็นองค์พระ สัพพัญญูจริงในกาลบัดนี้
สัพพัญญูภาวปัญหา คำรบ ๒ จบเท่านี้

             เนื้อความมิลินทปัญหา หน้าที่ ๑๙๔ - ๑๙๘. http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=96              สารบัญมิลินทปัญหา http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=0#item_96

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]