ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก  หนังสือธรรมะ
อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย
มิลินทปัญหา
เทวทัตตปัพพชิตปัญหา ที่ ๓
             ราชา สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ภูมินทราธิบดี มีพระราชโองการตรัสถามพระนาคเสนว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ตุมฺเห ภณถ พระผู้เป็นเจ้ากล่าวกับโยมว่า พระสัพ พัญญูเจ้าเป็นองค์พระมหากรุณา แสวงหาสิ่งที่จะให้เป็นประโยชน์แก่มนุษย์นิกรเทวดา ทรงพระอนุเคราะห์แก่สัตว์นิกรเทวดามนุษย์ชายหญิง จริงหรือพระผู้เป็นเจ้า              พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร เออจริงกระนั้น แหละ สมเด็จพระสัพพัญญูทรงพระมหากรุณาอนุเคราะห์แก่สัตว์ สมเด็จพระเจ้ามิลินท์พระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาค- เสนผู้เป็นเจ้า พระเทวทัตนั้นใครบวชให้ ยถาภูตํ ภณาหิ จงบอกแก่โยมแต่ที่จริง              พระนาคเสนมีวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร อิเม ฉ ขตฺติยา อันว่ากษัตริย์มหาศาล ๖ พระองค์พระนามว่า ภัททิยกุมารผู้หนึ่ง อนุรุทธกุมาร ผู้หนึ่ง อานนทกุมารผู้หนึ่ง ภคุกุมารผู้หนึ่ง กิมพิลกุมารผู้หนึ่ง เทวทัตตกุมารผู้หนึ่ง เป็นคำรบ หก เจ็ดกับทั้งอุปาลีกัลบก เมื่อสมเด็จพระบรมโลกนาถเสร็จออกสู่พระมหาภิเนษกรมณ์ สำเร็จแก่พระโพธิญาณแล้ว ก็พากันมาสู่สำนักพระศาสดาจารย์เพื่อจะบวชตาม สมเด็จพระ พุทธองค์ผู้ทรงพระภาคเป็นอันงาม ก็ทรงพระมหากรุณาบวชให้              พระเจ้ากรุงมิลินท์จึงมีพระราชโองการซักถามว่า ก็นี่แหละพระผู้เป็นเจ้า พระ พุทธองค์รู้หรือไม่ว่า พระเทวทัตบวชเข้าในศาสนาแล้ว จะกระทำสังฆเภท อันลักษณะจะกระทำ ซึ่งสังฆเภทกรรมนี้ บุคคลผู้ใดใครผู้หนึ่ง คือพระภิกษุณี คือกุลบุตรไปศึกษาเล่าเรียนจะบวช ในศาสนาก็ดี สามเณรสามเณรีก็ดี มิอาจที่จะกระทำสังฆเภทได้ กระทำสังฆเภทได้แต่ภิกษุมี ปกตัตต์ คืออันสงฆ์มิได้ยกวัตร มีสังวาสอันเดียวกันร่วมกัน ตั้งอยู่ในเสมาอันเดียวกัน นี่แหละ พระผู้เป็นเจ้า พระเทวทัตนั้นจะกระทำสังฆเภทนี้ พระพุทธองค์รู้หรือว่าหามิได้              พระนาคเสนประกอบไปด้วยปรีชาอันดี มีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพร บพิตรพระราชสมภาร พระพุทธองค์ทรงทราบอยู่ว่า พระเทวทัตบวชเข้าแล้วจะกระทำสังฆเภท              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีพระราชโองการถามว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า ผู้วิเศษ บุคคลกระทำสังฆเภทนี้บาปกรรมอย่างไร              พระนาคเสนวิสัชนาแก้ไขว่า มหาราช ขอถวายพระพร บุคคลกระทำสังฆเภทนี้ กปฺปฏิฐิติกํ ไปทนทุกข์อยู่นานประมาณกัปหนึ่ง              พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการตรัสถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระ นาคเสนผู้ปรีชา สมเด็จพระมหากรุณาเจ้ารู้หรือไม่ว่า พระเทวทัตบวชเข้าแล้วจะกระทำสังฆเภท จะไปไหม้อยู่ในอวิจิมหานรกนานประมาณกัปหนึ่งฉะนี้              พระนาคเสนมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จพระ ศาสดาจารย์รู้อยู่ว่า พระเทวทัตบวชเข้าแล้วจะกระทำสังฆเภท แล้วจะไปตกอวิจีทนทุกข- เวทนาอยู่ประมาณกัปหนึ่ง ขอถวายพระพร สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นประชากรมีสุนทรราชโองการถามว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาคเสนผู้ปรีชา สมเด็จพระมหากรุณาเจ้ารู้อยู่ว่า พระเทวทัตบวชเข้าแล้วจะกระทำ สังฆเภทกรรม แล้วจะไปตกในอวิจีไหม้อยู่นานประมาณกัปหนึ่ง พระองค์รู้แล้วบวชเทวทัตเข้าไว้ จะว่าสมเด็จพระพุทธเจ้านี้ทรงพระมหากรุณากระไรได้ คำที่พระผู้เป็นเจ้าว่าไว้ว่า สมเด็จพระ พุทธเจ้าเป็นองค์พระมหากรุณานำเสียซึ่งโทษ ทำให้เป็นประโยชน์แก่ฝูงสัตว์ทั้งหลาย คำนี้ผิดไป ถึงจะแก้ไขว่า สมเด็จพระพุทธเจ้าไม่รู้ ถ้าว่าเช่นนั้นสมเด็จพระพุทธเจ้าก็ไม่เป็นพระสัพพัญญู ปัญหานี้ชื่ออุภโตโกฏิเป็นสองเงื่อนอยู่ มาถึงพระผู้เป็นเจ้า พระผู้เป็นเจ้าจงวิสัชนาแก้ไขปัญหานี้ จงทำลายเสียซึ่งคำเดียรถีย์ปรับปวาท อันจะมีปรากฏมาข้างอนาคตกาลเบื้องหน้า ประการหนึ่ง พระภิกษุจะยิ่งด้วยปัญญา วิสัชนาเหมือนหนึ่งว่าพระผู้เป็นเจ้าไม่มี พลํ ปฏิกิตฺเตหิ เหตุดังนี้ พระผู้เป็นเจ้าจงแสดงซึ่งกำลังปัญญาแห่งพระผู้เป็นเจ้า ในกาลบัดนี้              พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารเจ้าผู้ ประเสริฐ สมเด็จพระบรมครูเจ้าเป็นองค์สัพพัญญูสารพัดที่จะรู้ สพฺพทสฺสาวี สารพัดที่จะ เห็น เป็นองค์พระมหากรุณาจริงๆ ขอถวายพระพร สมเด็จพระอนาวรณญาณเจ้าใช่ว่าจะ บวชพระเทวทัตเข้าไว้เปล่าๆ หามิได้ พระองค์ทรงพิจารณาเห็นคติของพระเทวทัตว่าจะไปทน ทุกขเวทนาอยู่ในนรกขุมนี้ จากนรกขุมนี้จะไปไหม้อยู่ในนรกขุมนั้น แล้วก็จะไปเป็นเปรต อสุรกายจำพวกนั้น แล้วจะมาเป็นเปรตอสุกายจำพวกนี้ นับนานประมาณหาที่สุดมิได้ ถ้า พระเทวทัตเป็นคฤหัสถ์นี้จะกระทำกรรมเป็นบาปหยาบข้าทารุณร้ายกาจ จะไปตากนรกอยู่นาน ประมาณดังวิสัชนามาแล้ว ไม่รู้ว่าจะพ้นทุกข์เมื่อใด สมเด็จพระบรมไตรโลกนายกทรงพิจารณา เห็นว่า ถ้าพระเทวทัตบวชเข้าในพระศาสนานี้จะกระทำสังฆเภทไปทนทุกขเวทนาอยู่ในอวิจี มหานรกนานประมาณกัปหนึ่ง น้อยเข้าฉะนี้ พระองค์จึงบวชพระเทวทัตเข้าไว้ หวังว่าจะให้ เสวยเวทนาน้อย ขอถวายพระพร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นประชากร มีสุนทรราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้า แต่พระนาคเสนผู้ปรีชา ถ้ากระนั้นตกว่าสมเด็จพระมหากรุณาเจ้านี้ ตํ โปถยิตฺวา ตีพระเทวทัต แล้วก็ทาด้วยน้ำมัน ผลักเทวทัตนั้นให้ล้ม แล้วพระองค์อุ้งพยุงกาย ฆ่าพระเทวทัตให้ตาย แล้วกลับกลายให้เป็นคนใหม่ ให้พระเทวทัตเป็นทุกข์ แล้วกลับให้เป็นสุขสวัสดีฉะนี้หรือ พระผู้ เป็นเจ้า              พระนาคเสนถวายพระพรต่อไปเล่า ว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จ พระศาสดาจารย์เจ้านี้กรุณาแก่พระเทวทัต เหมือนพระราชโองการตรัสฉะนี้ อันสมเด็จพระ มหากรุณแล้วมีความกรุณาแก่สัตว์ทั้งหลาย ย่อมกำจัดซึ่งโทษนำมาซึ่งประโยชน์แก่สัตว์ ทั้งหลายนี้เป็นประมาณ พระราชสมภารจงทรงพระสวนาการฟังซึ่งอุปมาเถิด มหาราช ขอ ถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารผู้ประเสริฐ เปรียบดุจบิดามารดาอันกรุณาแก่บุตร ตีบุตร ของอาตมา หวังว่าจะให้ละเสียซึ่งสิ่งอันเป็นโทษ ให้ถือเอาซึ่งสิ่งอันเป็นประโยชน์ฉันใด สมเด็จ พระบรมไตรโลกนาถก็เหมือนกันกับบิดามารดาที่กรุณาแก่บุตรของอาตมา เห็นว่าสัตว์ทั้ง หลายจะมีความเจริญด้วยประกอบการสิ่งใด ก็ประกอบการสิ่งนั้น มีพระทัยหมายมั่นแต่จะให้ คุณสิ่งเดียวแก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นความจริงฉะนี้ สมเด็จพระพิชิตมารเมาลีเจ้าทรงพินิจพิจารณา เห็นชัดว่า พระเทวทัตนี้ใจสาหัส คิหี ภูโต ถ้าเป็นคฤหัสถ์ฆราวาสนี้จะกระทำแต่กรรมอันเป็น ฝ่ายบาปหยาบข้าหนาไปด้วยกรรม กรรมนั้นจะนำไปทนทุกขเวทนาอยู่ช้านาน ประมาณ มากกว่าแสนกัป เหตุฉะนี้จึงทรงพระมหากรุณาบวชพระเทวทัต คือพระองค์เจ้าดำริว่าพระ เทวทัตบวชเข้าในพระศาสนาตถาคตนี้ ถึงจะกระทำกรรมประการใด ก็ไม่ไปทุกขเวทนาอยู่ช้านาน ถึงจะไปทนทุกข์ก็พอจะมีกำหนดสิ้นทุกข์ได้ หนักก็จะกลับเป็นเบาขึ้น              อีกประการหนึ่งว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภารเจ้า จงทรงพระ สวนาการ เปรียบปานดุจบุรุษอันมีอิสริยยศประกอบด้วยสติปัญญารู้ว่าญาติมิตรผู้ควรบ่าวไพร่ ของอาตมา อันกระทำกรรมอันหยาบช้าเป็นโทษ หลวงเอาตัวมาทุบตีเสีย บรรดาโทษจะหนัก กลับเป็นเบาขึ้นได้ด้วยอำนาจวาสนาของอาตมา ยถา มีครุวนาฉันใด สมเด็จพระบรมโลกนาถ เจ้าก็เหมือนกันเห็นว่าถ้าพระเทวทัตเป็นฆราวาสอยู่ จะกระทำบาปหยาบช้า จะไปไหม้อยู่ใน นรกหลายแสนกัป เห็นว่าพระเทวทัตนี้แม้นบวชเข้าในพระศาสนาแล้วก็จะเบาปลง พระองค์ ก็บวชพระเทวทัตให้ด้วยพระพุทธวิสัยอันอาจสามารถจะให้บาปบรรเบาลงด้วยทรงไว้ซึ่งศีลคุณ สมาธิคุณวิมุตติญาณคุณ เป็นกำลัง ดุจดังราชบุรุษอันมีวาสนานั้น ขอถวายพระพร              อีกประการหนึ่งเล่า ดูรานะบพิตรพระราชสมภารเจ้า ดุจแพทย์ผู้หนึ่งเยี่ยวยารักษา ไข้หนักให้เบาขึ้น ด้วยกำลังโอสถยาพิเศษของอาตมา ยถา มีอุปมาฉันใด สมเด็จพระบรมโลก- นาถเจ้าเห็นว่า พระเทวทัตจะทนทุกขเวทนาอยู่นานหลายแสนกัป หวังจะให้น้อยเข้า สมเด็จ พระพุทธองค์เจ้าจึงบวชให้พระเทวทัต กระทำให้ทุกข์อันหนักเบาขึ้นด้วยยาอันวิเศษคือพระสัทธรรม เหมือนหมอรักษาซึ่งโรคอันหนัก ยังโรคนั้นให้เบาขึ้นฉะนี้ จะมีโทษหรือ นะพระราชสมภาร              สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์มหาศาลมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่ พระผู้เป็นเจ้า โดยที่สุดลงมา เหมือนหนึ่งจะกระทกให้สัตว์ที่ทนทุกข์อันหนักหนา ให้เสวย ทุกข์น้อยเข้า สมเด็จพระมหากรุณาเจ้าจะมีโทษมาตรว่าเท่ารูดน้ำนมโคก็หามิได้ ประกอบด้วย พระคุณมากนักหนา พระนาคเสนมีเถรวาจาว่า มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรราชสมภาร บพิตรพระ ราชสมภารจงรับเอาคำของอาตมานี้เถิดว่า สมเด็จพระพุทธองค์เจ้าผู้ประเสริฐให้เทวทัตบวช เข้านี้มีประโยชน์ หาโทษมิได้ เป็นคุณนี่นักหนา มหาราช ดูรานะบิตรพระราชสมภาร เปรียบปานดังบุรุษชายผู้หนึ่งจับโจรอันกระทำซึ่งกรรมอันหนัก พาไปสู่สำนักบรมกษัตริย์ บรมกษัตริย์จึงตรัสบังคับบัญชาสั่งเพชฌฆาตว่า สูชาวเจ้าเอาโจรนี้ไปประหารชีวิตเสียที่หัว ตะแลงแกงนอกพระนคร เต ตถา ปฏิสุณิตฺวา ส่วนว่าเพชฌฆาตนั้นก็นำเอาโจรนั้นไป ภายนอกพระนคร สู่หัวตะแลงตำแหน่งฆ่าคนนั้น ยังมีบุรุษข้าราชการผู้หนึ่ง พระมหา กษัตริย์โปรดประทานพรไว้ แล้วให้ยศถาบรรดาศักดิ์ ด้วยมีความชอบสิ่งใดสิ่งหนึ่ง บุรุษผู้นั้นก็ ยิ่งมีเมตตาแก่คนจนอนาถา อาเทยฺยวาโจ มีถ้อคำควรเชื่อถือได้ ทิสฺวา ครั้นทัศนาการเห็น โจรนั้นก็สงสาร จึงว่ากับยายเพชฌฆาตว่า ดูรานะนายเพชฌฆาต ท่านอย่าตัดศีรษะโจรนี้ให้ ตายเลย จงตัดแต่มือตีนซ้ายขวา อย่าเพ่อให้ตาย เราจะเข้าเฝ้าทูลอธิบายขอชีวิตโจรนั้นไว้ ส่วน เพชรฆาตก็กระทำตามคำราชบุรุษนั้น นี้แหละบพิตรพระราชสมภาร บุรุษข้าราชการสั่งให้ตัด ตีนสินมือโจรนั้น รักษาชีวิตโจรนั้นไว้ในให้มีชีวิตอยู่นี้ จะผิดเป็นทุจริตมีโทษหรือ บพิตรพระราช- สมภาร              สมเด็จพระเจ้ากรุงมิลินท์ปิ่นกษัตริย์มหาศาลมีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่ พระผู้เป็นเจ้า บุรุษข้าราชการนั้นสั่งด้วยกรุณา โจรนั้นจะถึงที่ตายกรุณาคิดถ่ายเอาชีวิคโจรนั้นไว้ จะได้มีโทษหามิได้นะผู้เป็นเจ้า โจรนั้นเล่าได้เสวยเวทนา ด้วยกรรมอันตนกระทำโจรกรรม และ บุรุษข้าราชการสั่งให้กระทำนั้นหาโทษมิได้              พระนาคเสนประกอบด้วยปรีชาจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบิพตรพระราช- สมภาร สมเด็จพระบรมโลกุตตรมาจารย์ก็เหมือนกับบุรุษข้าราชการนั้น มาทรงพระดำริว่า ถ้าพระเทวทัตพวชเข้าในพระศาสนาของตถาคต จะมีกำหนดที่สุดพ้นทุกข์ จึงบวชพระเทวทัตไว้ ในพระศาสนา ซึ่งว่าพระเทวทัตจะกระทำให้ทุกข์มีที่สุดนั้น คือเมื่อจะถึงแก่ความมรณะอันใกล้ จะตายนั้น พระเทวทัตระลึกถึงคุณสมเด็จพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งด้วยพระคาถาดังนี้ อิเมหิ อฏฺฐหิ ตมคฺคปุคฺคลํ                                                     เทวาติเทวํ นรทมฺมสารถึ                                                     สมนฺตจกฺขุ ํ สตปุญฺญลกฺขณํ                                                     ปาเณหิ พุทฺธํ สรณํ อุเปมิ              อธิบายในคาถาว่า ข้าพเจ้าขอถึง พุทฺธํ ซึ่งสมเด็จพระพุทธเจ้า สตปุญฺญลกฺขณํ อันมี ลักษณะเกิดขึ้นด้วยบุญร้อยอย่าง สมนฺตจกฺขุ ํ มีพระจักขุเห็นไปในธรรมใหญ่น้อยโดยรอบคอบ ทุกสิ่ง นรทมฺมสารถึ อันทรมานเสียซึ่งคนใจร้าย เหมือนนายสารถีอันทรมานพาชีให้เสียพยศ อันร้าย เทวาติเทวํ อันประเสริฐกว่าเทวดา อคฺคปุคฺคลํ อันหาบุคคลจะอุดามกว่ามิได้ประกอบไป ด้วยพระคุณอันยิ่ง สรณํ เป็นที่พึ่ง ปาเณหิ ด้วยชีวิตทั้งมังสะโลหิตในกระดูกทั้งหลาย ถวายแก่พระองค์จงสิ้น และเมื่อแผ่นดินมาสูบเอาไปนั้นพระเทวทัตยกหัตถ์ทั้งสองตั้งเหนือ ศิโรตม์ ร้องถวายชีวิตด้วยพระคาถาฉะนี้ ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร ในภัททกัปนี้แบ่งเป็น ส่วนแผ่นดินให้เท่ากัน ปันออกได้ ๖ ส่วนโดยนานช้า ตกว่าพระเทวทัตจะไปอยู่ในอวิจีมหานรก นั้น ปญฺจโกฏฺฐาเส ในส่วนกัปทั้งห้าส่วนเท่านั้น ครั้นพระเทวทัตจุติจากอวิจีมหานรกมา จะ ได้ตรัสเป็นพระปัจเจกโพธิ ทรงนามชื่อว่าอัฏฐิสสรปัจเจกโพธิ โปรดเวไนยสรรพสัตว์ทั้งปวง แล้วจะเข้าสู่มหานิพพานในกาลนั้น มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จ พระศาสดาจารย์เมื่อทรงพระมหากรุณาโปรดถึงเพียงนี้ กิญฺจิ อปุญฺญํ ตกว่าสมเด็จพระพิชิตมาร โมลี โทษจะมีเจียวหรือบพิตรพระราชสมภาร จะว่าสมเด็จพระพิชิตมารแกล้งให้พระเทวทัตไป ตกอวิจีมหานรกหรือ นะมหาบพิตร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์วิจิตรด้วยปรีชา มีพระราชโองการตรัสว่า ถ้าฉะนั้นแล้ว สมเด็จ พระสัพพัญญูบรมครูเจ้าโปรดจะมีโทษหามิได้ พระเทวทัตไปทนทุกข์ด้วยกระทำสังฆเภทกรรม ที่ตนกระทำไว้เอง              พระนาคเสนจึงมีเถรวาจาว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร จงทรงสันนิษฐาน เข้าใจความนี้ สมฺปฏิจฺฉาหิ จงรับเอาอรรถเนื้อความนี้ไว้แล้ว จงทรงฟังเหตุให้วิเศษกว่า นี้ เถิดบพิตรพระราชสมภาร ปานดุจหนึ่งบิดามารดาอันกรุณาแก่บุตรของอาตมา ว่ากล่าว พร่ำสั่งสอนบุตรอันเกิดในอุทรของอาตมา ว่าให้กระทำอย่างนี้ดี สิ่งนี้ชั่วอย่าได้กระทำ อหิตํ อปเนตฺวา นำเสียซึ่งโทษ ให้กระทำซึ่งสิ่งอันเป็นประโยชน์อันจำเริญ เมื่อบุตรหากจะกระทำ ล่วงคำก้ำเกินไป ตั้งในแต่กระทำบาปกรรมลามก บาปกรรมอันลามกจะวกมาได้แก่บิดามารดา หรือมหาบพิตร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสว่า หามิได้ ใช่ว่าบิดามารดาไม่อินังชังชิงเมื่อไร บิดามารดาก็พร่ำสอนทุกสิ่งว่า อย่างนั้นอย่ากระทำ เมื่อบุตรหากกระทำบาปกรรมเกินไป ก็ได้ เสวยวิบากบาปนั้น และบาปกรรมนั้นจะได้แก่บิดามารดาหามิได้ นะพระผู้เป็นเจ้า              พระนาคเสนจึงถวายพระพรเล่าว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภารเจ้า ความที่ เปรียบนี้ฉันใดเล่า สมเด็จพระพิชิตมารโมลีเจ้า พระองค์บวชพระเทวทัตเข้าไว้ในบวรพุทธศาสนา ใช่ว่าจะชิงชังไม่อินังไม่เทศนาสั่งสอนหามิได้ เมื่อพระเทวทัตไม่ฟังหากจะดื้อดึงกระทำสังฆเภท- กรรม ก็ได้ไปเสวยกรรมวิบากเองนั้น สมเด็จพระสัพพัญญูบวชให้หวังพระทัยจะให้สำเร็จ หิตานุหิตประโยชน์ มีอุปนิสัยให้สำเร็จเป็นพระปัจเจกโพธิโปรดฝูงสัตว์แล้วสำเร็จพระนิพพาน ในอนาคตกาลเบื้องหน้า ซึ่งกรรมโทษานุโทษสิ่งใดจะมีแก่สมเด็จพระพิชิตมารโมลีหามิได้ อุปไมยเหมือนบิดามารดาอันกรุณาแก่บุตรของอาตมานั้น นี่แหละบพิตรพระราชสมภาร สวนาการฟังแล้วจะรับเอาไว้ จงฟังเหตุไปใหม่เล่า มหาราช ขอถวายพระพร บพิตรพระราช- สมภารเข้าผู้ประเสริฐในสมบัติมหาศาล ภึสโก เปรียบปานประหนึ่งว่าหมออันเยียวยารักษาโรค ทั้งหลายอันเกิดแต่วาตสมุฏฐาน ปิตสมุฏฐาน เสมหสมุฏฐาน และเป็นวิสมปริหา และเป็น สันนิบาต และฤดูแปรและพองพุบาดแผลมีกลิ่นอันเหม็นร้ายเหม็นโขง เป็นโพรงภายในมีโลหิต และบุพโพไหลชุ่มนั้น จึงใส่ยารักษาพอกทาเข้าไว้ที่แผล ตอนจะผ่าตอนจะตัด ที่ควรจะบังคับ ด้วยเหล็กและมีดพร้า ก็เจาะเชือดด้วยเหล็กและมีดพร้า ควรที่จะชะด้วยน้ำเกลือ ก็ชะด้วย น้ำ เกลืออันแสบ โรคนั้นก็หายไป จะว่าหมอนั้นกระทำไม่ดีเพราะตัดเชือดด้วยมีดและแหย่ไชทิ่ม แทงด้วยเหล็กแล้ว เอาน้ำเกลืออันแสบมารดาบาดแผลกระนั้นหรือประการใด              พระเจ้ามิลินท์ปิ่นกษัตริย์ตรัสว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า คนไข้เจ็บจะโทษเอาหมอนั้น ไม่ได้ หมอรักษาเพื่อว่าจะให้โรคหาย ให้กายนั้นเป็นสุขสำราญ              มหาราช ขอถวายพระพรบพิตรพระราชสมภาร ภึสโก หมอนั้น สลฺลกนฺโต เมื่อมา เยียวยารักษาให้โรคหายดังนี้ จะมีโทษหรือ พระราชสมภาร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีมีพระราชโองการว่า ภนฺเต ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า หมอนั้นกระทำเพื่อประโยชน์จะให้โรคหายเป็นสุขโสด จะมีโทษหามิได้ ถ้าหมอนั้นตั้งใจจะเอา บุญมิได้เห็นแก่อามิสสินจ้างนั้นจะได้ไปสวรรค์นะ พระผู้เป็นเจ้า              พระนาคเสนจึงถวายพระพรว่า มหาราช ดูกรพระราชสมภาร ความที่เปรียบมานี้มี ครุวนาฉันใด สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถศาสดาจารย์เจ้า พระองค์บวชพระเทวทัตเข้าไว้ ในพระศาสนาด้วยความกรุณา มีอุปไมยเหมือนหมอยารักษาไข้นั้น อนึ่ง มหาบพิตรพระราช- สมภาร จงทรงพระสวนาการเหตุอันหนึ่งยิ่งกว่านี้ มีครุนาดุจดังว่า บุรุษผู้หนึ่งหนามยอก บุรุษผู้หนึ่งปรารถนาจะเอาหนามออก จึงเจาะผ่าด้วยหนามแหลมด้วยมีดอันคมกล้า รอยบาด แผลนั้นมีโลหิตไหลลงโทรมซาบ บุรุษผู้นั้นจึงชักเอาหนามที่ยอกออกได้ จะว่าบุรุษผู้นั้นกระทำ ไม่เป็นคุณหรือ พระราชสมภาร              สมเด็จพระเจ้ามิลินท์มีพระราชโองการตรัสว่า บุรุษกระทำดังนี้โสดหาโทษมิได้ กระทำ ทั้งนี้หวังจะให้โรคหาย ถ้าว่าบุรุษผู้หนึ่งไม่บ่งเอาหนามนั้นออกได้ บุรุษผู้นั้นจะเป็นทุกขเวทนา สาหัสแทบบรรดาตาย พระนาคเสนถวายพระพรว่า มหาราช ดูรานะบพิตรพระราชสมภาร สมเด็จพระบรม- โลกุตตมาจารย์ บวชพระเทวทัตไว้ด้วยพระทัยกรุณา แม้นว่าพระองค์ไม่บวชพระเทวทัตไว้ พระเทวทัตก็จะไปไหม้อยู่ในนรกแล้วๆ เล่าๆ ได้หลายแสนกัป มีครุวนาดุจบุรุษอันช่วยเอา หนามออกนั้น              พระเจ้ามิลินท์ภูมินทราธิบดีพระราชโองการตรัสว่า ภนฺเต นาคเสน ข้าแต่พระนาค- เสนผู้จำเริญปรีชา ภควา สมเด็จพระสัพพัญญูเจ้านี้มีกรุณา บรรดาพระเทวทัตจะวิบัติลอยไป ตามกระแสคงคา ก็อุ้มพระเทวทัตทวนคงคา บรรดาพระเทวทัตจะหลงมรรคา สมเด็จพระ มหากรุณาชี้มรรคาให้ บรรดาพระเทวทัตจะตกเหวลงไป พระองค์ทิ้งเชือกลงไปให้หน่วงขึ้นมา บรรดาพระเทวทัตจะหาที่พึ่งมิได้ ก็ให้ที่พึ่งแก่พระเทวทัต อรรถอันนี้บรรพชิตผู้อื่นเว้นพระผู้ เป็นเจ้าไว้ ผู้ใดถึงจะฉลาดก็มิอาจแก้ปัญหานี้ได้ ในกาลบัดนี้ ฯ
เทวทัตตปัพพชิตปัญหา คำรบ ๓ จบเท่านี้

             เนื้อความมิลินทปัญหา หน้าที่ ๑๙๘ - ๒๐๕. http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=97              สารบัญมิลินทปัญหา http://84000.org/tipitaka/milin/milin.php?i=0#item_97

อ่านหน้า[ต่าง] แรกอ่านหน้า[ต่าง] ที่แล้วแสดงหมายเลขหน้าอ่านหน้า[ต่าง] ถัดไปอ่านหน้า[ต่าง] สุดท้าย

บันทึก ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๙ หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]