หมวดหนังสือธรรมะ
  สมุดภาพพระพุทธประวัติ
ฉบับอนุรักษ์ภาพเขียนทางพระพุทธศาสนา โดย ครูเหม เวชกร
ภาพที่ ๑๙
เสด็จไปศึกษาลัทธิฤาษีชีป่ากับอาฬารดาบส เห็นว่ามิใช่ทางตรัสรู้

	ในสมัยที่กล่าวนี้    แคว้นมคธมีนักบวชที่ตั้งตนเป็นคณาจารย์ต่างๆ     ที่มีชื่อเสียงมากคณะ
ด้วยกัน   แต่ละคณะต่างก็มีศิษย์สาวกและมีคนนับถือมาก   กรุงราชคฤห์ก็เป็นที่สัญจรจาริกผ่านไปมาของ
เจ้าลัทธิต่างๆ  เพื่อเผยแพร่ลัทธิของตนให้คนเลื่อมใส

	คณาจารย์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุด  ตอนเจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกบวช  ซึ่งอยู่ในแคว้นนี้มีสอง
คณะด้วยกันคือ  คณะอาฬารดาบสกาลามโคตร    และคณะอุทกดาบสรามบุตร    ทั้งสองคณะนี้ตั้งอาศรม
สอนศิษย์อยู่ในป่านอกเมือง

	พระมหาบุรุษจึงเสด็จไปยังที่นี่  เพื่อทรงศึษาเล่าเรียนและทดลองดูว่าจะเป็นทางตรัสรู้หรือ
ไม่  เสด็จไปทรงศึกษาที่สำนักแรกก่อน  ทรงศึกษาจนสิ้นความรู้ของท่านคณาจารย์เจ้าสำนักแล้ว  ทรงเห็น
ว่ายังมิใช่ทางตรัสรู้    จึงเสด็จไปทรงศึกษาในสำนักคณาจารย์ที่สอง   ทรงได้ความรู้เพิ่มเติมขึ้นนิดหน่อย  
แต่ก็ได้เพียงสมาบัติแปด

	'สมาบัติ'  หมายถึง  ฌาณ  คือวิธีทำจิตให้เป็นสมาธิ  มีตั้งแต่อย่างหยาบขึ้นไปจนถึงละเอียด
ที่สุด   ทั้งหมดมีแปดขั้นด้วยกัน   ทรงเห็นว่า  จิตใจในระดับนี้ก็ยังอยู่ในชั้นของโลกีย์   ปุถุชนสามารถมีได้  
แต่มีแล้วยังเสื่อมได้   ยังไม่ใช่โลกุตตระคือทางหลุดพ้น

	ท่านคณาจารย์ทั้งสองสำนักชวนพระมหาบุรุษให้อยู่ด้วยกัน  เพื่อช่วยสั่งสอนศิษย์สาวกต่อไป  
ทั้งสองท่านสรรเสริญพระมหาบุรุษว่าทรงมีความรู้ยอดเยี่ยมเทียบกับตน    แต่พระมหาบุรุษทรงปฏิเสธคำ
เชิญชวนนั้นเสีย

	เมื่อทรงทดลองลัทธิของคณาจารย์ที่มหาชนยกย่องนับถือว่ามีความรู้สูงสุด    แต่ทรงเห็นว่า
มิใช่ทางตรัสรู้ได้ด้วยพระปรีชาญาณของพระองค์     พระมหาบุรุษจึงทรงดำริจะลองทดลองสิ่งที่นักบวช
นักพรตจำนวนมากสมัยนั้นนิยมปฏิบัติกัน  ว่าจะเป็นทางตรัสรู้หรือไม่   ทางนั้นก็คือทุกกรกิริยา  ที่หมายถึง
การบำเพ็ญเพียรที่เข้มงวด    เกินที่วิสัยสามัญมนุษย์จะทำได้   ที่คนทั่วไปเรียกว่าทรมานตนให้ได้รับความ
ลำบากนั่นเอง
_________________________________________
บันทึก  ๒๘  ตุลาคม  พ.ศ.  ๒๕๔๕
ติดต่อ : [email protected]