ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๑

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท นิทานวัตถุ

๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์
ท่านทั้งหลาย ธรรมคือสังฆาทิเสส ๑๓ สิกขาบทเหล่านี้ มาถึงวาระที่จะยก ขึ้นแสดงเป็นข้อๆ ตามลำดับ
๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท
ว่าด้วยการจงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน
เรื่องพระเสยยสกะ
[๒๓๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ท่านพระเสยยสกะไม่ยินดีที่จะ ประพฤติพรหมจรรย์ เพราะความไม่ยินดีนั้น ท่านจึงซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง ท่านพระอุทายีเห็นท่านพระเสยยสกะซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง เส้นเอ็น ขึ้นสะพรั่ง จึงได้กล่าวกับท่านว่า “คุณเสยยสกะ ทำไม คุณจึงซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่งเล่า คงไม่ยินดีที่จะประพฤติพรหมจรรย์กระมัง” ท่านพระเสยยสกะรับว่าเป็นอย่างนั้น ท่านพระอุทายีแนะนำว่า “ถ้าเป็นอย่างนั้น คุณจงฉันอาหารตามต้องการ จำ วัด สรงน้ำตามต้องการเถิด เสร็จแล้วเมื่อคุณเกิดความกระสันถูกราคะรบกวนจิตขึ้น มา ก็จงใช้มือพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน” “ทำเช่นนี้จะควรหรือ ขอรับ” “คุณ ทำเช่นนี้ควร ผมเองก็ทำเช่นนี้” ครั้นเมื่อท่านพระเสยยสกะฉันอาหาร จำวัด สรงน้ำตามต้องการแล้ว เมื่อ เกิดความกระสันถูกราคะรบกวนจิตขึ้นมาก็ใช้มือพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน เวลาต่อมา ท่านมีผิวพรรณผ่องใส แลดูอิ่มเอิบ เพื่อนภิกษุถามท่านว่า “ท่านเสยยสกะ เมื่อก่อน ท่านซูบผอม หมองคล้ำ ซีดเหลือง เส้นเอ็นขึ้นสะพรั่ง แต่เวลานี้ กลับมีผิว พรรณผ่องใส แลดูอิ่มเอิบ ท่านใช้ยาอะไรหรือ” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๒๔๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท นิทานวัตถุ

พระเสยยสกะตอบว่า “ไม่ได้ใช้ยาอะไร แต่ผมฉันอาหารตามต้องการ จำวัด สรงน้ำตามต้องการ เมื่อเกิดความกระสันถูกราคะรบกวนจิตขึ้นมา ก็ใช้มือพยายาม ทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน” “ท่านใช้มือที่เปิบข้าวที่เขาถวายด้วยศรัทธาพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน ออกมากระนั้นหรือ” พระเสยยสกะรับว่า “ใช่ ขอรับ” บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนท่าน พระเสยยสกะจึงใช้มือพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเล่า” ครั้นภิกษุทั้งหลายตำหนิ พระเสยยสกะโดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพระเสยยสกะว่า “เธอใช้มือพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน จริงหรือ” พระ เสยยสกะทูลรับว่า “จริงพระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “โมฆบุรุษ การกระทำของเธอไม่สมควร ไม่คล้อยตาม ไม่เหมาะสม ไม่ใช่กิจของ สมณะ ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำเลย ไฉนเธอจึงใช้มือพยายามทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเล่า เรา แสดงธรรมโดยประการต่างๆ เพื่อคลายความกำหนัด มิใช่เพื่อความกำหนัด เพื่อ ความพราก มิใช่เพื่อความประกอบไว้ เพื่อความไม่ถือมั่น มิใช่เพื่อความถือมั่น มิใช่ หรือ เมื่อเราแสดงธรรมเพื่อคลายความกำหนัด เธอก็ยังจะคิดเพื่อความกำหนัด เรา แสดงธรรมเพื่อความพราก เธอก็ยังคิดเพื่อความประกอบไว้ เราแสดงธรรมเพื่อ ความไม่ถือมั่น เธอก็ยังจะคิดเพื่อความถือมั่น โมฆบุรุษ เราแสดงธรรมโดยประการ ต่างๆ เพื่อสำรอกราคะ เพื่อสร่างความเมา เพื่อดับความกระหาย เพื่อถอนความ อาลัย เพื่อตัดวัฏฏะ เพื่อความสิ้นตัณหา เพื่อคลายความกำหนัด เพื่อดับทุกข์ เพื่อ นิพพาน มิใช่หรือ โมฆบุรุษ เราบอกการละกาม การกำหนดรู้ความสำคัญในกาม การกำจัดความกระหายในกาม การเพิกถอนความตรึกในกาม การระงับความ กลัดกลุ้มเพราะกามไว้โดยประการต่างๆ มิใช่หรือ การกระทำอย่างนี้มิได้ทำคนที่ยัง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๒๕๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท พระบัญญัติ

ไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ที่จริง กลับจะทำให้คนที่ไม่เลื่อมใสก็ไม่เลื่อมใสไปเลย คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วบางพวกก็จะ กลายเป็นอื่นไป” ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงตำหนิพระเสยยสกะโดยประการต่างๆ แล้ว ได้ตรัส โทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก บำรุงยาก ฯลฯ ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย บำรุงง่าย ฯลฯ ทรงแสดงธรรมีกถาให้เหมาะสมให้คล้อยตามกับเรื่องนั้น แล้วจึงรับ สั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดง ดังนี้
พระบัญญัติ
ภิกษุจงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน เป็นสังฆาทิเสส สิกขาบทนี้พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้แก่ภิกษุทั้งหลายอย่างนี้
เรื่องพระเสยยสกะ จบ
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๒๓๕] สมัยนั้น ภิกษุทั้งหลายฉันอาหารอันประณีต จำวัดหลับ ขาดสติ สัมปชัญญะ น้ำอสุจิออกมาเพราะความฝัน พวกท่านเกิดความกังวลใจว่า “พระผู้มี พระภาคทรงบัญญัติสิกขาบทไว้ว่า ‘ภิกษุจงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน เป็นสังฆาทิเสส’ แต่พวกเรามีน้ำอสุจิออกมาเพราะความฝัน ในความฝันนั้นมีเจตนา พวกเราต้อง อาบัติสังฆาทิเสสหรือหนอ” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระองค์ตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย เจตนานั้นมีอยู่ แต่ไม่ควรกล่าวว่ามี”๑- (ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมีกถาเพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ แล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมา) ฯลฯ รับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ @เชิงอรรถ : @ เจตนาที่จะยินดีนั้นมีอยู่ แต่กล่าวไม่ได้ว่ามี (อัพโพหาริก) เพราะเกิดขึ้นนอกเหนือขอบเขต เจตนาใน @ความฝัน เป็นเจตนานอกเหนือขอบเขต (วิ.อ. ๒/๒๓๕/๒-๓) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๒๕๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

พระอนุบัญญัติ
[๒๓๖] ภิกษุจงใจทำน้ำอสุจิให้เคลื่อน เป็นสังฆาทิเสส ยกเว้นไว้แต่ฝัน
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๒๓๗] คำว่า จงใจ ความว่า รู้อยู่ รู้ดีอยู่ จงใจ ฝ่าฝืนล่วงละเมิด คำว่า น้ำอสุจิ อธิบายว่า น้ำอสุจิมี ๑๐ ชนิด คือ (๑) อสุจิสีเขียว (๒) อสุจิ สีเหลือง (๓) อสุจิสีแดง (๔) อสุจิสีขาว (๕) อสุจิสีเหมือนเปรียง (๖) อสุจิสี เหมือนน้ำท่า (๗) อสุจิสีเหมือนน้ำมัน (๘) อสุจิสีเหมือนนมสด (๙) อสุจิสี เหมือนนมส้ม (๑๐) อสุจิสีเหมือนเนยใส คำว่า ทำให้เคลื่อน คือ กิริยาที่ทำให้เคลื่อนจากฐาน ตรัสเรียกว่า ทำให้เคลื่อน คำว่า ยกเว้นไว้แต่ฝัน คือ ยกเว้นความฝัน คำว่า เป็นสังฆาทิเสส ความว่า สำหรับอาบัตินั้น สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาส ชัก เข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัตและเรียกเข้าหมู่ คณะก็ทำไม่ได้ ภิกษุรูปเดียวก็ทำไม่ได้ ฉะนั้นจึงตรัสว่า “เป็นสังฆาทิเสส” คำว่า “เป็นสังฆาทิเสส” นี้ เป็นการขนานนาม เป็นคำเรียกหมวดอาบัตินั้น นั่นเองโดยอ้อม๑- เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า “เป็นสังฆาทิเสส”
บทภาชนีย์
อุบาย ๔ ประการ
(๑) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนในรูปภายใน (๒) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนใน รูปภายนอก (๓) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนในรูปภายในและภายนอก (๔) ภิกษุทำน้ำ อสุจิให้เคลื่อนเมื่อส่ายสะเอวในอากาศ @เชิงอรรถ : @ สังฆาทิเสสนี้ เป็นชื่อเรียกกองอาบัติ แปลว่า “หมู่อาบัติที่ต้องการสงฆ์ทั้งในระยะเบื้องต้นและในระยะที่ @เหลือ” หมายความว่า ภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสส จะออกจากอาบัตินั้นได้ต้องอาศัยสงฆ์ให้ปริวาส ให้มานัต @ชักกลับเข้าหาอาบัติเดิม และอัพภาน ในกรรมทั้งหมดนี้ขาดสงฆ์เสียแล้ว ก็ทำไม่สำเร็จ (วิ.อ. ๒/๒๓๗/๖) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๒๕๒}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

กาล ๕
(๑) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเมื่อเกิดความกำหนัด (๒) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้ เคลื่อนเมื่อปวดอุจจาระ (๓) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเมื่อปวดปัสสาวะ (๔) ภิกษุทำ น้ำอสุจิให้เคลื่อนเมื่อต้องลม (๕) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเมื่อถูกบุ้งขน
เจตนา ๑๐ ประการ
(๑) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อความหายโรค (๒) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้ เคลื่อนเพื่อความสุข (๓) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อเป็นยา (๔) ภิกษุทำน้ำอสุจิ ให้เคลื่อนเพื่อเป็นทาน (๕) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อเป็นบุญ (๖) ภิกษุทำ น้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อบูชายัญ (๗) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อจะไปสวรรค์ (๘) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อสืบพันธุ์ (๙) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อทดลอง (๑๐) ภิกษุทำน้ำอสุจิให้เคลื่อนเพื่อความสนุก
วัตถุที่ประสงค์ ๑๐ ประการ
(๑) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเขียวให้เคลื่อน (๒) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเหลืองให้เคลื่อน (๓) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีแดงให้เคลื่อน (๔) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีขาวให้เคลื่อน (๕) ภิกษุ ทำน้ำอสุจิสีเหมือนเปรียงให้เคลื่อน (๖) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเหมือนน้ำท่าให้เคลื่อน (๗) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเหมือนน้ำมันให้เคลื่อน (๘) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเหมือนนมสดให้ เคลื่อน (๙) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเหมือนนมส้มให้เคลื่อน (๑๐) ภิกษุทำน้ำอสุจิสีเหมือน เนยใสให้เคลื่อน [๒๓๘] คำว่า ในรูปภายใน ได้แก่ รูปที่มีวิญญาณครองในตัว๑- คำว่า ในรูปภายนอก ได้แก่ รูปที่มีวิญญาณครองหรือที่ไม่มีวิญญาณครอง นอกตัว๒- @เชิงอรรถ : @ “รูปที่มีวิญญาณครองในตัว” หมายถึง มือของตนเป็นต้น (วิ.อ. ๒/๒๓๘/๘) @ “รูปที่มีวิญญาณครองหรือที่ไม่มีวิญญาณครองนอกตัว” หมายถึง มือของผู้อื่นเป็นต้น (วิ.อ. ๒/๒๓๘/๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๒๕๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๒. สังฆาทิเสสกัณฑ์]

๑. สุกกวิสัฏฐิสิกขาบท บทภาชนีย์

คำว่า ในรูปภายในและภายนอก ได้แก่ รูปทั้ง ๒ นั้น คำว่า เมื่อส่ายสะเอวในอากาศ หมายความว่า เมื่อภิกษุพยายามในอากาศ องคชาตใช้การได้ คำว่า เมื่อเกิดความกำหนัด คือ เมื่อถูกความกำหนัดรบกวน องคชาตใช้การได้ คำว่า เมื่อปวดอุจจาระ คือ เมื่อปวดอุจจาระ องคชาตใช้การได้ คำว่า เมื่อปวดปัสสาวะ คือ เมื่อปวดปัสสาวะ องคชาตใช้การได้ คำว่า เมื่อต้องลม คือ เมื่อถูกลมรำเพย องคชาตใช้การได้ คำว่า เมื่อถูกบุ้งขน คือ เมื่อถูกบุ้งขนเบียดเบียนแล้ว องคชาตใช้การได้ [๒๓๙] คำว่า เพื่อความหายโรค คือ มุ่งว่าจะเป็นผู้ไม่มีโรค คำว่า เพื่อความสุข คือ มุ่งว่าจะให้เกิดสุขเวทนา คำว่า เพื่อเป็นยา คือ มุ่งว่าจะเป็นยา คำว่า เพื่อเป็นทาน คือ มุ่งว่าจะให้ทาน คำว่า เพื่อเป็นบุญ คือ มุ่งว่าจะเป็นบุญ คำว่า เพื่อบูชายัญ คือ มุ่งว่าจะบูชายัญ คำว่า เพื่อจะไปสวรรค์ คือ มุ่งว่าจะได้ไปสวรรค์ คำว่า เพื่อสืบพันธุ์ คือ มุ่งว่าจักสืบพันธุ์ คำว่า เพื่อทดลอง คือ ทดลองว่า น้ำอสุจิจักเป็นสีเขียว น้ำอสุจิจักเป็นสีเหลือง น้ำอสุจิจักเป็นสีแดง น้ำอสุจิจักเป็นสีขาว น้ำอสุจิจักเป็นสีเหมือนเปรียง น้ำอสุจิ จักเป็นสีเหมือนน้ำท่า น้ำอสุจิจักเป็นสีเหมือนน้ำมัน น้ำอสุจิจักเป็นสีเหมือน นมสด น้ำอสุจิจักเป็นสีเหมือนนมส้ม น้ำอสุจิจักเป็นสีเหมือนเนยใส คำว่า เพื่อความสนุก คือ มีความประสงค์จะเล่น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๑ หน้า : ๒๕๔}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๑ หน้าที่ ๒๔๙-๒๕๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka1/m_siri.php?B=1&siri=34              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=1&A=11379&Z=11520                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=301              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=1&item=301&items=5              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=1&item=301&items=5              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu1              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-ss1/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :