ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๕. กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๑

๕. กพฬวรรค
หมวดว่าด้วยคำข้าว
สิกขาบทที่ ๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ อ้าปาก รอคำข้าวที่ยังไม่ถึงปาก ฯลฯ
พระบัญญัติ
๑. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่อ้าปากรอคำข้าวที่ยังไม่ถึงปาก
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงอ้าปากรอคำข้าวที่ยังไม่ถึงปาก ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ อ้าปากรอคำข้าวที่ยังไม่ถึงปาก ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๙๓}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๕. กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๒

สิกขาบทที่ ๒
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ขณะกำลัง ฉัน สอดมือทั้งหมดเข้าในปาก ฯลฯ
พระบัญญัติ
๒. พึงทำความสำเหนียกว่า ขณะกำลังฉัน เราจักไม่สอดมือทั้งหมดเข้าในปาก
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุขณะกำลังฉัน ไม่พึงสอดมือทั้งหมดเข้าในปาก ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ขณะกำลังฉันสอดมือทั้งหมดเข้าไปในปาก ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๙๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๕. กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๓

สิกขาบทที่ ๓
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๑๙] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์พูดคุยทั้งๆ ที่ ในปากมีคำข้าว ฯลฯ
พระบัญญัติ
๓. พึงทำความสำเหนียกว่า ขณะที่ในปากมีคำข้าว เราจักไม่พูดคุย
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงพูดคุย ขณะที่ในปากมีคำข้าว ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ พูดคุยขณะที่ในปากมีคำข้าว ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๙๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๕. กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๔

สิกขาบทที่ ๔
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๐] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันโยนคำข้าว ฯลฯ
พระบัญญัติ
๔. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันโยนคำข้าว
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันโยนคำข้าว ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันโยนคำข้าว ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุฉันของเคี้ยว ๖. ภิกษุฉันผลไม้ ๗. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๘. ภิกษุวิกลจริต ๙. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๔ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๙๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๕. กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๕

สิกขาบทที่ ๕
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันกัดคำข้าว ฯลฯ
พระบัญญัติ
๕. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันกัดคำข้าว
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันกัดคำข้าว ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันกัดคำข้าว ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุฉันอาหารเป็นก้อน ๖. ภิกษุฉันผลไม้ต่างๆ ๗. ภิกษุฉันแกงอ่อม ๘. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๙. ภิกษุวิกลจริต ๑๐. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๙๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๕. กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๖

สิกขาบทที่ ๖
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๒] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันอาหารทำ กระพุ้งแก้มตุ่ย ฯลฯ
พระบัญญัติ
๖. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันอาหารทำกระพุ้งแก้มตุ่ย
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันทำกระพุ้งแก้มตุ่ย ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันทำกระพุ้งแก้มตุ่ยข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุฉันผลไม้ต่างๆ ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๖ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๙๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๕. กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๗

สิกขาบทที่ ๗
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๓] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันสลัดมือ ฯลฯ
พระบัญญัติ
๗. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันสลัดมือ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันสลัดมือ ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันสลัดมือ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุสลัดมือทิ้งเศษอาหาร ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๖๙๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๕. กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๘

สิกขาบทที่ ๘
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันโปรยเมล็ดข้าว ฯลฯ
พระบัญญัติ
๘. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันโปรยเมล็ดข้าว
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันโปรยเมล็ดข้าว ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันโปรยเมล็ดข้าว ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุทิ้งเศษผงเมล็ดข้าวติดไปด้วย ๖. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๗. ภิกษุวิกลจริต ๘. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๐๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๕. กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๙

สิกขาบทที่ ๙
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๕] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันแลบลิ้น ฯลฯ
พระบัญญัติ
๙. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันแลบลิ้น
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันแลบลิ้น ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันแลบลิ้น ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๙ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๐๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๗. เสขิยกัณฑ์]

๕. กพฬวรรค สิกขาบทที่ ๑๐

สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๖๒๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ฉันทำเสียงดัง จั๊บๆ ฯลฯ
พระบัญญัติ
๑๐. พึงทำความสำเหนียกว่า เราจักไม่ฉันทำเสียงดังจั๊บๆ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
ภิกษุไม่พึงฉันทำเสียงดังจั๊บๆ ภิกษุใดไม่เอื้อเฟื้อ ฉันทำเสียงดังจั๊บๆ ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ ๑. ภิกษุไม่จงใจ ๒. ภิกษุไม่มีสติ ๓. ภิกษุผู้ไม่รู้ ๔. ภิกษุผู้เป็นไข้ ๕. ภิกษุผู้มีเหตุขัดข้อง ๖. ภิกษุวิกลจริต ๗. ภิกษุต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
กพฬวรรคที่ ๕ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๗๐๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๖๙๓-๗๐๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka1/m_siri.php?B=2&siri=139              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=2&A=15759&Z=15881                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=841              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=841&items=10              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=10514              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=841&items=10              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=10514                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk41 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk42 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk43 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk44 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk45 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk46 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk47 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk48 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk49 https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-sk50



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :