ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๓. เปสุญญสิกขาบท นิทานวัตถุ

๑. มุสาวาทวรรค
๓. เปสุญญสิกขาบท
ว่าด้วยการกล่าวส่อเสียด
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๓๖] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี สมัยนั้น พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ไปยุแหย่พวก ภิกษุผู้บาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน คือฟังเรื่องข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้น เพื่อทำลายข้างนี้ ฟังเรื่องข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้เพื่อทำลายข้างโน้น ด้วยเหตุ นั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น และความบาดหมางที่เกิดขึ้นแล้วก็รุนแรง ยิ่งขึ้น ภิกษุผู้มักน้อยสันโดษ ฯลฯ จึงพากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน พวกภิกษุฉัพพัคคีย์จึงไปยุแหย่พวกภิกษุผู้บาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน คือฟัง เรื่องข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลายข้างนี้ ฟังเรื่องข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้ เพื่อทำลายข้างโน้น ด้วยเหตุนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น และความ บาดหมางที่เกิดขึ้นแล้วก็รุนแรงยิ่งขึ้น” ครั้นภิกษุเหล่านั้นตำหนิพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ โดยประการต่างๆ แล้วจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกเธอไปยุแหย่พวก ภิกษุผู้บาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน คือฟังเรื่องข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้นเพื่อ ทำลายข้างนี้ ฟังเรื่องข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้เพื่อทำลายข้างโน้น ด้วยเหตุนั้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น และความบาดหมางที่เกิดขึ้นแล้วก็รุนแรงยิ่งขึ้น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๒๔}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๓. เปสุญญสิกขาบท บทภาชนีย์

จริงหรือ” พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธ เจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ โมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงไปยุแหย่พวกภิกษุผู้ บาดหมางกัน ทะเลาะกัน วิวาทกัน คือฟังเรื่องข้างนี้แล้วไปบอกข้างโน้นเพื่อทำลาย ข้างนี้ ฟังเรื่องข้างโน้นแล้วมาบอกข้างนี้เพื่อทำลายข้างโน้น ด้วยเหตุนั้น ความ บาดหมางที่ยังไม่เกิดก็เกิดขึ้น และความบาดหมางที่เกิดขึ้นแล้วก็รุนแรงยิ่งขึ้น โมฆบุรุษทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำ คนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยก สิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๓๗] ภิกษุต้องอาบัติปาจิตตีย์ เพราะส่อเสียดภิกษุ
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๘] ที่ชื่อว่า ส่อเสียด ได้แก่ คำส่อสียดด้วยอาการ ๒ อย่าง คือ (๑) ต้อง การให้ผู้อื่นชอบตน (๒) ต้องการให้ผู้อื่นแตกกัน ภิกษุกล่าวส่อเสียดด้วยอาการ ๑๐ อย่าง คือ (๑) ชาติกำเนิดบ้าง (๒) ชื่อบ้าง (๓) ตระกูลบ้าง (๔) หน้าที่การงานบ้าง (๕) ศิลปวิทยาบ้าง (๖) ความเจ็บไข้บ้าง (๗) รูปลักษณ์บ้าง (๘) กิเลสบ้าง (๙) อาบัติบ้าง (๑๐) คำด่าบ้าง
บทภาชนีย์
ที่ชื่อว่า ชาติกำเนิด ได้แก่ ชาติกำเนิด ๒ อย่าง คือ (๑) ชาติกำเนิดต่ำ (๒) ชาติกำเนิดสูง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๒๕}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๓. เปสุญญสิกขาบท บทภาชนีย์

ที่ชื่อว่า ชาติกำเนิดต่ำ ได้แก่ ชาติกำเนิดคนจัณฑาล ชาติกำเนิดคนจักสาน ชาติกำเนิดนายพราน ชาติกำเนิดช่างรถ ชาติกำเนิดคนเทขยะ๑- นี้จัดเป็นชาติ กำเนิดต่ำ ที่ชื่อว่า ชาติกำเนิดสูง ได้แก่ ชาติกำเนิดกษัตริย์ ชาติกำเนิดพราหมณ์ นี้จัด เป็นชาติกำเนิดสูง ฯลฯ๒- ที่ชื่อว่า คำด่า ได้แก่ คำด่า ๒ อย่าง คือ (๑) คำด่าหยาบ (๒) คำด่าสุภาพ ที่ชื่อว่า คำด่าหยาบ ได้แก่ คำด่าว่า ท่านเป็นอูฐ ท่านเป็นแพะ ท่านเป็นโค ท่านเป็นลา ท่านเป็นสัตว์ดิรัจฉาน ท่านเป็นสัตว์นรก ท่านไม่มีสุคติ หวังได้แต่ทุคติ เท่านั้น คำด่าที่เกี่ยวกับการร่วมประเวณี หรือคำด่าที่เกี่ยวกับอวัยวะของชายหญิง นี้จัดเป็นคำด่าหยาบ ที่ชื่อว่า คำด่าสุภาพ ได้แก่ คำด่าว่า ท่านเป็นบัณฑิต ท่านเป็นคนฉลาด ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านเป็นพหูสูต ท่านเป็นธรรมกถึก ท่านไม่มีทุคติ หวังได้แต่ สุคติเท่านั้น นี้จัดเป็นคำด่าสุภาพ
อุปสัมบันกล่าวส่อเสียดอุปสัมบัน
๑. กล่าวส่อเสียดด้วยชาติกำเนิดต่ำ
[๓๙] อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุ ชื่อนี้กล่าวถึงท่านว่า คนจัณฑาล คนจักสาน นายพราน ช่างรถ คนเทขยะ” ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด
กล่าวส่อเสียดด้วยชาติกำเนิดสูง
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า ภิกษุชื่อนี้กล่าว ถึงท่านว่า “ท่านกษัตริย์ ท่านพราหมณ์” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด @เชิงอรรถ : @ คนเทขยะ หรือคนเทอุจจาระ ดูเชิงอรรถ ข้อ ๑๕ หน้า ๒๐๒ @ ดูความพิสดาร ข้อ ๑๕ หน้า ๒๐๒-๒๐๔ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๒๖}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๓. เปสุญญสิกขาบท บทภาชนีย์

๒. กล่าวส่อเสียดด้วยชื่อที่เลว
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้ กล่าวถึงท่านว่า ท่านอวกัณณกะ ท่านชวกัณณกะ ท่านธนิฏฐกะ ท่านสวิฏฐกะ ท่านกุลวัฑฒกะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด
กล่าวส่อเสียดด้วยชื่อที่ดี
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้ กล่าวถึงท่านว่า ท่านพุทธรักขิต ท่านธัมมรักขิต ท่านสังฆรักขิต” ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด
๓. กล่าวส่อเสียดด้วยตระกูลชั้นต่ำ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้ กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นคนตระกูลโกสิยะ ท่านเป็นคนตระกูลภารทวาชะ” ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด
กล่าวส่อเสียดด้วยตระกูลชั้นสูง
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้ กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นคนตระกูลโคตมะ ท่านเป็นคนตระกูลโมคคัลลานะ ท่าน เป็นคนตระกูลกัจจายนะ ท่านเป็นคนตระกูลวาเสฏฐะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด
๔. กล่าวส่อเสียดด้วยหน้าที่การงานชั้นต่ำ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้ กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นช่างถากไม้ ท่านเป็นคนเทขยะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๒๗}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๓. เปสุญญสิกขาบท บทภาชนีย์

กล่าวส่อเสียดด้วยหน้าที่การงานชั้นสูง
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้ กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นชาวนา ท่านเป็นพ่อค้า ท่านเป็นคนเลี้ยงโค” ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด
๕. กล่าวส่อเสียดด้วยศิลปวิทยาชั้นต่ำ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้ กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นช่างจักสาน ท่านเป็นช่างหม้อ ท่านเป็นช่างหูก ท่านเป็น ช่างหนัง ท่านเป็นช่างกัลบก” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด
กล่าวส่อเสียดด้วยศิลปวิทยาชั้นสูง
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้ กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นช่างนับ ท่านเป็นนักคำนวณ ท่านเป็นนักเขียน” ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด
๖. กล่าวส่อเสียดด้วยความเจ็บไข้
[๔๐] อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุ ชื่อนี้กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นโรคเรื้อน ท่านเป็นโรคฝี ท่านเป็นโรคกลาก ท่านเป็น โรคมองคร่อ ท่านเป็นโรคลมบ้าหมู” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้ กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นโรคเบาหวาน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด
๗. กล่าวส่อเสียดด้วยรูปลักษณ์ที่เลว
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้ กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นคนสูงเกินไป ท่านเป็นคนเตี้ยเกินไป ท่านเป็นคนดำเกินไป ท่านเป็นคนขาวเกินไป” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๒๘}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๓. เปสุญญสิกขาบท บทภาชนีย์

กล่าวส่อเสียดด้วยรูปลักษณ์ที่ดี
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้ กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นคนไม่สูงนัก ท่านเป็นคนไม่เตี้ยนัก ท่านเป็นคนไม่ดำนัก ท่านเป็นคนไม่ขาวนัก” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด
๘. กล่าวส่อเสียดด้วยกิเลส
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้ กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นผู้ถูกราคะกลุ้มรุม ท่านเป็นผู้ถูกโทสะกลุ้มรุม ท่านเป็นผู้ถูก โมหะกลุ้มรุม” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้ กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นผู้ปราศจากราคะ ท่านเป็นผู้ปราศจากโทสะ ท่านเป็น ผู้ปราศจากโมหะ” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด
๙. กล่าวส่อเสียดด้วยอาบัติ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้ กล่าวถึงท่านว่า ท่านต้องอาบัติปาราชิก ท่านต้องอาบัติสังฆาทิเสส ท่านต้องอาบัติ ถุลลัจจัย ท่านต้องอาบัติปาจิตตีย์ ท่านต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ ท่านต้องอาบัติ ทุกกฏ ท่านต้องอาบัติทุพภาสิต” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้ กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นโสดาบัน” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด
๑๐. กล่าวส่อเสียดด้วยคำด่าหยาบ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้ กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นอูฐ ท่านเป็นแพะ ท่านเป็นโค ท่านเป็นลา ท่านเป็น สัตว์ดิรัจฉาน ท่านเป็นสัตว์นรก ท่านไม่มีสุคติ หวังได้แต่ทุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๒๙}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๓. เปสุญญสิกขาบท บทภาชนีย์

กล่าวส่อเสียดด้วยคำด่าสุภาพ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้ กล่าวถึงท่านว่า ท่านเป็นบัณฑิต ท่านเป็นคนฉลาด ท่านเป็นนักปราชญ์ ท่านเป็น พหูสูต ท่านเป็นธรรมกถึก ท่านไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น” ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำพูด
๑. กล่าวส่อเสียดด้วยชาติกำเนิดชั้นต่ำ
[๔๑] อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุ ชื่อนี้กล่าวว่า ในพระธรรมวินัย มีภิกษุบางพวกเป็นคนจัณฑาล เป็นคนจักสาน เป็นนายพราน เป็นช่างรถ เป็นคนเทขยะ ภิกษุนั้นไม่กล่าวถึงคนอื่นแต่กล่าวถึง ท่าน” ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ คำพูด
กล่าวส่อเสียดด้วยชาติกำเนิดชั้นสูง
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้ กล่าวว่า ในพระธรรมวินัย มีภิกษุบางพวกเป็นกษัตริย์ เป็นพราหมณ์ ภิกษุนั้นไม่ กล่าวถึงคนอื่นแต่กล่าวถึงท่าน” ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ คำพูด ฯลฯ๑-
๑๐. กล่าวส่อเสียดด้วยคำด่าสุภาพ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้ กล่าวว่า ในพระธรรมวินัย มีภิกษุบางพวกเป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก ภิกษุเหล่านั้นไม่มีทุคติ หวังสุคติแน่นอน ภิกษุนั้นไม่ กล่าวถึงคนอื่นแต่กล่าวถึงท่าน” ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ คำพูด
๑. กล่าวส่อเสียดด้วยชาติกำเนิดต่ำ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อ นี้กล่าวว่า ภิกษุพวกใดกันแน่เป็นคนจัณฑาล เป็นคนจักสาน เป็นนายพราน @เชิงอรรถ : @ ดูความพิสดาร ข้อ ๓๙-๔๐ หน้า ๒๒๖-๒๓๐ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๓๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๓. เปสุญญสิกขาบท บทภาชนีย์

เป็นช่างรถ เป็นคนเทขยะ ภิกษุนั้นไม่กล่าวถึงคนอื่นแต่กล่าวถึงท่าน” ต้องอาบัติ ทุกกฏทุกๆ คำพูด ฯลฯ
๑๐. กล่าวส่อเสียดด้วยคำด่าสุภาพ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้ กล่าวว่า ภิกษุพวกใดกันแน่เป็นบัณฑิต เป็นคนฉลาด เป็นนักปราชญ์ เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก พวกเธอไม่มีทุคติ หวังสุคติได้แน่นอน ภิกษุนั้นไม่กล่าวถึงคนอื่น แต่กล่าวถึงท่าน” ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ คำพูด
๑. กล่าวส่อเสียดด้วยชาติกำเนิดชั้นต่ำ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้ กล่าวว่า พวกเราไม่ใช่คนจัณฑาล คนจักสาน นายพราน ช่างรถ คนเทขยะ ภิกษุ นั้นไม่กล่าวถึงคนอื่นแต่กล่าวถึงท่าน” ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ คำพูด ฯลฯ
๑๐. กล่าวส่อเสียดด้วยคำด่าสุภาพ
อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบันว่า “ภิกษุชื่อนี้ กล่าวว่า พวกเราไม่ใช่บัณฑิต คนฉลาด นักปราชญ์ เป็นพหูสูต เป็นธรรมกถึก พวกเราไม่มีทุคติ หวังได้แต่สุคติเท่านั้น ภิกษุนั้นไม่กล่าวถึงคนอื่นแต่กล่าวถึงท่าน” ต้องอาบัติทุกกฏทุกๆ คำพูด
เป็นอาบัติตามวัตถุ
[๔๒] อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบัน ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ทุกๆ คำพูด อุปสัมบันฟังคำของอุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ อุปสัมบันฟังคำของอนุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ อุปสัมบันฟังคำของอนุปสัมบัน แล้วไปกล่าวยุแหย่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๓๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๑. มุสาวาทวรรค ๓. เปสุญญสิกขาบท อนาปัตติวาร

อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๔๓] ๑. ภิกษุไม่ต้องการให้ผู้อื่นชอบตน ๒. ภิกษุไม่ต้องการให้ผู้อื่นแตกกัน ๓. ภิกษุวิกลจริต ๔. ภิกษุต้นบัญญัติ
เปสุญญสิกขาบทที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๒๓๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๒๒๔-๒๓๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka1/m_siri.php?B=2&siri=39              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=2&A=6722&Z=7107                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=255              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=255&items=29              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=6092              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=255&items=29              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=6092                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc3/en/brahmali



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :