ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวิภังค์ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๖. สุราปานวรรค ๘. ทุพพัณณกรณสิกขาบท นิทานวัตถุ

๖. สุราปานวรรค
๘. ทุพพัณณกรณสิกขาบท
ว่าด้วยการทำจีวรใหม่ให้เสียสี
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๓๖๗] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุและปริพาชกจำนวนมาก ต่างเดินทางไกลจากเมืองสาเกตไปกรุงสาวัตถี ระหว่างทาง โจรทั้งหลายออกมา ปล้น พวกเจ้าหน้าที่ในกรุงสาวัตถีจับโจรเหล่านั้นได้พร้อมของกลาง จึงส่งข่าวถึง ภิกษุทั้งหลายว่า “นิมนต์พระคุณเจ้ามาเถิด ถ้าจำได้ นิมนต์รับเอาจีวรของตนๆ คืนไป” ภิกษุทั้งหลายจำจีวรของตนไม่ได้ คนทั้งหลายจึงตำหนิ ประณาม โพนทะนา ว่า “ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลายจึงจำจีวรของตนไม่ได้เล่า” ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนเหล่านั้นตำหนิ ประณาม โพนทะนา จึงนำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง แสดงธรรมีกถาให้เหมาะสม ให้คล้อยตามกับเรื่องนั้นแก่พวกภิกษุแล้วรับสั่งกับ ภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เราจะบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้ง หลายโดยอาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ ๑. เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๒. เพื่อความผาสุกแห่งสงฆ์ ฯลฯ ๑๐. เพื่อเอื้อเฟื้อวินัย๑- แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้ @เชิงอรรถ : @ ดู ข้อ ๕๖๖ หน้า ๙๒ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๙๐}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๖. สุราปานวรรค ๘. ทุพพัณณกรณสิกขาบท สิกขาบทวิภังค์

พระบัญญัติ
[๓๖๘] ก็ภิกษุได้จีวรใหม่ พึงใช้วัตถุที่ทำให้เสียสี ๓ ชนิดอย่างใดอย่าง หนึ่งคือ สีเขียว สีตม หรือสีดำคล้ำ มาทำให้เสียสี ถ้าภิกษุไม่ใช้วัตถุที่ทำให้ เสียสี ๓ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง มาทำให้เสียสี ใช้สอยจีวรใหม่ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๓๖๙] ที่ชื่อว่า ใหม่ พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงผ้าที่ยังไม่ทำพินทุกัปปะ๑- ที่ชื่อว่า จีวร ได้แก่ จีวร ๖ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง คำว่า ภิกษุพึงใช้วัตถุที่ทำให้เสียสี ๓ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง มาทำให้ เสียสี คือ โดยที่สุดภิกษุพึงทำให้เสียสีแม้ด้วยปลายหญ้าคาแตะ ที่ชื่อว่า สีเขียว ได้แก่ สีเขียว ๒ อย่าง คือ เขียวสำริด สีเขียวใบไม้ ที่ชื่อว่า สีตม พระผู้มีพระภาคตรัสหมายถึงสีน้ำโคลน ที่ชื่อว่า สีดำคล้ำ ได้แก่ สีดำคล้ำอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ชื่อว่า ถ้าภิกษุไม่ใช้วัตถุที่ทำให้เสียสี ๓ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง มา ทำให้เสียสี ความว่า โดยที่สุดภิกษุไม่เอาปลายหญ้าคาแตะวัตถุที่ทำให้เสียสี ๓ ชนิด อย่างใดอย่างหนึ่ง มาทำให้เสียสี แล้วใช้สอยจีวรใหม่ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ @เชิงอรรถ : @ คำว่า “พินทุกัปปะ” หมายถึงการทำจุดเป็นวงกลมอย่างใหญ่เท่าแววตานกยูง อย่างเล็กเท่าหลังตัวเรือด @ที่มุมจีวร ด้วยสีเขียว สีตม หรือสีดำคล้ำ เพื่อทำให้จีวรเสียสีหรือมีตำหนิ (วิ.อ. ๒/๓๖๘-๓๖๙/๔๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๙๑}

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ [๕. ปาจิตติยกัณฑ์]

๖. สุราปานวรรค ๘. ทุพพัณณกรณสิกขาบท อนาปัตติวาร

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๓๗๐] ยังไม่ได้ทำให้เสียสี ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้ทำให้เสียสี ใช้สอย ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ ยังไม่ได้ทำให้เสียสี ภิกษุไม่แน่ใจ ใช้สอย ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ยังไม่ได้ทำให้เสียสี ภิกษุสำคัญว่าทำให้เสียสีแล้ว ใช้สอย ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
ทำให้เสียสีแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้ทำให้เสียสี ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้เสียสีแล้ว ภิกษุไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ ทำให้เสียสีแล้ว ภิกษุสำคัญว่าใช้ ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๓๗๑] ๑. ภิกษุทำให้เสียสีแล้วนุ่งห่ม ๒. ภิกษุห่มจีวรที่พินทุกัปปะเสียหายไป ๓. ภิกษุห่มจีวรที่ทำพินทุกัปปะไว้ แต่เก่าคร่ำคร่า ๔. ภิกษุห่มจีวรที่ไม่ได้ทำพินทุกัปปะไว้ แต่เย็บติดกับจีวรที่ทำพินทุกัปปะไว้ ๕. ภิกษุนุ่งห่มผ้าปะ ๖. ภิกษุนุ่งห่มผ้าทาบ ๗. ภิกษุใช้ผ้าดาม ๘. ภิกษุวิกลจริต ๙. ภิกษุต้นบัญญัติ
ทุพพัณณกรณสิกขาบทที่ ๘ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒ หน้า : ๔๙๒}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๒ หน้าที่ ๔๙๐-๔๙๒. http://84000.org/tipitaka/pitaka1/m_siri.php?B=2&siri=94              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=2&A=12412&Z=12463                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=619              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=2&item=619&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=9607              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=2&item=619&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=9607                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu2              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc58/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bu-vb-pc58/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :