ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๒ นิทานวัตถุ

๑. ปัตตวรรค
สิกขาบทที่ ๒
ว่าด้วยการแจกอกาลจีวร
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๗๓๘] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีหลายรูปจำพรรษาใน วัดใกล้หมู่บ้านแห่งหนึ่ง มีวัตรปฏิบัติสมบูรณ์ มีอิริยาบถงดงาม แต่มีผ้าไม่ดี มีแต่ จีวรเก่าๆ ได้เดินทางไปกรุงสาวัตถี อุบาสกอุบาสิกาเห็นภิกษุณีเหล่านั้นแล้วคิดว่า “ภิกษุณีเหล่านี้มีวัตรปฏิบัติสมบูรณ์ มีอิริยาบถงดงาม แต่มีผ้าไม่ดี มีแต่จีวรเก่าๆ คงถูกโจรชิงเอาไป” จึงพากันถวายอกาลจีวรแก่ภิกษุณีสงฆ์ ภิกษุณีถุลลนันทากล่าวว่า “พวกเรากรานกฐินแล้ว ผ้านี้เป็นกาลจีวร” แล้ว อธิษฐานให้แจกกัน อุบาสกอุบาสิกาเห็นภิกษุณีเหล่านั้น ได้กล่าวดังนี้ว่า “แม่เจ้าทั้งหลายได้จีวร บ้างไหม” ภิกษุณีเหล่านั้นตอบว่า “ยังไม่ได้จีวร แม่เจ้าถุลลนันทากล่าวว่า ‘พวกเรา กรานกฐินแล้ว ผ้านี้เป็นกาลจีวร’ แล้วอธิษฐานให้แจกกัน” อุบาสกอุบาสิกาตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทาจึง อธิษฐานอกาลจีวรเป็นกาลจีวรแล้วให้แจกกันเล่า” ภิกษุณีทั้งหลายได้ยินอุบาสกอุบาสิกาตำหนิ ประณาม โพนทะนา บรรดา ภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนแม่เจ้า ถุลลนันทาจึงอธิษฐานอกาลจีวรเป็นกาลจีวรแล้วให้แจกกันเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณี เหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุจึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบ ทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๘๒}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๒ สิกขาบทวิภังค์

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาอธิษฐาน อกาลจีวรเป็นกาลจีวรแล้วให้แจกกัน จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระ พุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุณีถุลลนันทาจึงอธิษฐานอกาลจีวรเป็นกาลจีวรแล้วให้แจกกันเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้ เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๗๓๙] ก็ภิกษุณีใดอธิษฐานอกาลจีวรเป็นกาลจีวรแล้วให้แจกกัน ต้อง อาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๗๔๐] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า อกาลจีวร๑- ได้แก่ (๑) ผ้าที่เกิดขึ้นตลอด ๑๑ เดือนในเมื่อไม่ได้ กรานกฐิน (๒) ผ้าที่เกิดขึ้นตลอด ๗ เดือนในเมื่อได้กรานกฐินแล้ว (๓) แม้ผ้า ที่เขาถวายเจาะจงในกาล นี้ชื่อว่า อกาลจีวร @เชิงอรรถ : @ อกาลจีวร หมายถึงจีวรที่เกิดขึ้นนอกฤดูกาล คือ (๑) ในเมื่อไม่ได้กรานกฐิน จีวรที่เกิดขึ้นในระหว่างแรม @๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของปีถัดไป (ตามจันทรคติ) รวมเป็น ๑๑ เดือน ชื่อว่า @อกาลจีวร (๒) ในเมื่อได้กรานกฐินแล้ว จีวรที่เกิดขึ้นในระหว่างแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ @เดือน ๑๑ ในปีเดียวกัน (ตามจันทรคติ) รวมเป็น ๗ เดือน ชื่อว่าอกาลจีวร (๓) ส่วนจีวรที่เกิดขึ้น @นอกเวลาทั้ง ๒ กรณีดังกล่าวนี้ ชื่อว่ากาลจีวร {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๘๓}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๒ สิกขาบทวิภังค์

ภิกษุณีอธิษฐานอกาลจีวรเป็นกาลจีวรแล้วให้แจกกัน ต้องอาบัติทุกกฏในขณะ ที่แจกจีวร เป็นนิสสัคคีย์เพราะได้มา คือเป็นของจำต้องสละแก่สงฆ์ แก่คณะ หรือแก่ภิกษุณีรูปหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุณีพึงสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์อย่างนี้
วิธีสละจีวรที่เป็นนิสสัคคีย์
สละแก่สงฆ์
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบเท้า ภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า อกาลจีวร ผืนนี้ดิฉันอธิษฐานเป็นกาลจีวรแล้วให้แจกกัน เป็นนิสสัคคีย์ ดิฉันขอสละอกาลจีวร ผืนนี้แก่สงฆ์” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ภิกษุณีผู้ฉลาดสามารถพึงรับอาบัติ พึงคืนอกาลจีวรที่เธอสละให้ด้วยญัตติกรรม วาจาว่า “แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า อกาลจีวรผืนนี้ของภิกษุณีชื่อนี้เป็นนิสัคคีย์ เธอสละแก่สงฆ์ ถ้าสงฆ์พร้อมกันแล้วพึงคืนอกาลจีวรผืนนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่คณะ
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีหลายรูป ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง กราบ เท้าภิกษุณีผู้แก่พรรษา นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้าทั้งหลาย ฯลฯ ดิฉันขอสละอกาลจีวรผืนนี้แก่แม่เจ้าทั้งหลาย” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ “ฯลฯ พึงคืนอกาลจีวรผืนนี้ให้แก่ภิกษุณีชื่อนี้”
สละแก่บุคคล
ภิกษุณีรูปนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุณีรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงค์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือ กล่าวอย่างนี้ว่า “แม่เจ้า ฯลฯ ดิฉันขอสละอกาลจีวร ผืนนี้แก่แม่เจ้า” ครั้นสละแล้วพึงแสดงอาบัติ ฯลฯ “ดิฉันคืนอกาลจีวรผืนนี้ให้แก่แม่เจ้า”๑- @เชิงอรรถ : @ ความที่ย่อไว้ทุกสิกขาบทในนิสสัคคิยปาจิตตีย์ พึงเปรียบเทียบในปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๑ นิสสัคคียกัณฑ์ @ข้อ ๗๓๕ หน้า ๗๙-๘๐ ในเล่มนี้ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๘๔}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๓. นิสสัคคิยกัณฑ์]

๑. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ ๒ อนาปัตติวาร

บทภาชนีย์
ติกนิสสัคคิยปาจิตตีย์
[๗๔๑] อกาลจีวร ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอกาลจีวร อธิษฐานเป็นกาลจีวร แล้วให้แจกกัน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์ อกาลจีวร ภิกษุณีไม่แน่ใจ อธิษฐานเป็นกาลจีวรแล้วให้แจกกัน ต้องอาบัติ นิสสัคคิยปาจิตตีย์ อกาลจีวร ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกาลจีวร อธิษฐานเป็นกาลจีวรแล้วให้แจกกัน ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
กาลจีวร ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอกาลจีวร ต้องอาบัติทุกกฏ กาลจีวร ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ กาลจีวร ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นกาลจีวร ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๗๔๒] ๑. ภิกษุณีผู้ให้แจกอกาลจีวรด้วยสำคัญว่าเป็นกาลจีวร ๒. ภิกษุณีให้แจกกาลจีวรด้วยสำคัญว่าเป็นกาลจีวร ๓. ภิกษุณีวิกลจริต ๔. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๒ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๘๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๘๒-๘๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka1/m_siri.php?B=3&siri=17              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=3&A=1433&Z=1501                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=102              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=102&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11138              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=102&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11138                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.102 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-np2/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-np2/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :