ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๗ นิทานวัตถุ

๒. อันธการวรรค
สิกขาบทที่ ๗
ว่าด้วยการปูลาดโดยไม่บอก
เรื่องภิกษุณีหลายรูป
[๘๖๔] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีหลายรูปเดินทางไปกรุง สาวัตถี แคว้นโกศล ถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งในเวลาเย็น เข้าไปสู่ตระกูลพราหมณ์ ตระกูลหนึ่งขอโอกาส ลำดับนั้น พราหมณีได้กล่าวกับภิกษุณีเหล่านั้น ดังนี้ว่า “แม่เจ้าทั้งหลายโปรดรอจนกว่าพราหมณ์จะมา” พวกภิกษุณีกล่าวว่า “พวกเราจะรอจนกว่าพราหมณ์จะมา” ได้ปูที่นอน บางพวกนั่ง บางพวกนอน ครั้นในตอนกลางคืน พราหมณ์กลับมาพบเห็นได้กล่าวกับพราหมณีดังนี้ว่า “สตรีเหล่านี้เป็นใคร” พราหมณีกล่าวว่า “พ่อเจ้า สตรีเหล่านี้เป็นภิกษุณี” พราหมณ์กล่าวว่า “พวกท่านจงขับไล่หญิงชั่วหัวโล้นพวกนี้ออกไป” แล้วให้ ขับไล่ออกจากเรือน ครั้นภิกษุณีเหล่านั้นไปถึงกรุงสาวัตถี เล่าเรื่องนั้นให้ภิกษุณีทั้งหลายทราบ บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉนพวก ภิกษุณีจึงเข้าไปสู่ตระกูลในเวลาวิกาล ปูหรือใช้ให้ปูที่นอนโดยไม่บอกเจ้าของบ้าน แล้วนั่งบ้าง นอนบ้างเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุ ทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุจึงได้นำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ
ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า พวกภิกษุณีเข้าไปสู่ตระกูลในเวลา {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๗๓}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๗ สิกขาบทวิภังค์

วิกาล ปูหรือใช้ให้ปูที่นอนโดยไม่บอกเจ้าของบ้านแล้วนั่งบ้าง นอนบ้าง จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีจึงเข้าไปสู่ตระกูลในเวลาวิกาล ปูหรือใช้ให้ปู ที่นอนโดยไม่บอกเจ้าของบ้านแล้วนั่งบ้าง นอนบ้างเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำ อย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อม ใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๘๖๕] ก็ภิกษุณีใดเข้าไปสู่ตระกูลในเวลาวิกาล ปูหรือใช้ให้ปูที่นอนโดย ไม่บอกเจ้าของบ้านแล้วนั่งหรือนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีหลายรูป จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๘๖๖] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้ มีพระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ ที่ชื่อว่า เวลาวิกาล คือ ตั้งแต่เวลาดวงอาทิตย์ตกไปจนถึงอรุณขึ้น ที่ชื่อว่า ตระกูล หมายถึงตระกูล ๔ ได้แก่ ตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ ตระกูลแพศย์ ตระกูลศูทร คำว่า เข้าไป คือ ไปในตระกูลนั้น คำว่า โดยไม่บอกเจ้าของบ้าน คือ ไม่ขออนุญาตเจ้าของบ้านผู้รับผิดชอบ ในตระกูลนั้น ที่ชื่อว่า ที่นอน โดยที่สุดแม้เครื่องปูลาดที่ทำด้วยใบไม้ คำว่า ปู คือ ปูเอง {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๗๔}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๒. อันธการวรรค สิกขาบทที่ ๗ อนาปัตติวาร

คำว่า ใช้ให้ปู คือ ใช้ผู้อื่นให้ปู คำว่า นั่ง คือ นั่งบนที่นอนนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์ คำว่า หรือนอน คือ นอนบนที่นอนนั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์
บทภาชนีย์
[๘๖๗] ยังไม่ได้บอก ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่ได้บอก ปูหรือใช้ผู้อื่นให้ปูที่นอน แล้วนั่งหรือนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ยังไม่ได้บอก ภิกษุณีไม่แน่ใจ ปูหรือใช้ผู้อื่นให้ปูที่นอนแล้วนั่งหรือนอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ยังไม่ได้บอก ภิกษุณีสำคัญว่าบอกแล้ว ปูหรือใช้ผู้อื่นให้ปูที่นอนแล้วนั่งหรือ นอน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกทุกกฏ
บอกแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่ายังไม่ได้บอก ต้องอาบัติทุกกฏ บอกแล้ว ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ บอกแล้ว ภิกษุณีสำคัญว่าบอกแล้ว ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๘๖๘] ๑. ภิกษุณีบอกเจ้าของ ปูเองหรือใช้ผู้อื่นให้ปูที่นอน นั่งหรือนอน ๒. ภิกษุณีผู้เป็นไข้ ๓. ภิกษุณีผู้มีเหตุขัดข้อง ๔. ภิกษุณีวิกลจริต ๕. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๗ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๑๗๕}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๑๗๓-๑๗๕. http://84000.org/tipitaka/pitaka1/m_siri.php?B=3&siri=45              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=3&A=2978&Z=3040                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=205              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=205&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11430              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=205&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11430                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.205 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc17/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc17/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :