ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ [ฉบับมหาจุฬาฯ] ภิกขุนีวิภังค์

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๓ นิทานวัตถุ

๔. ตุวัฏฏวรรค
สิกขาบทที่ ๓
ว่าด้วยการจงใจก่อความรำคาญ
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา
[๙๔๑] สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม ของอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตกรุงสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาเป็นพหูสูต เป็น นักพูด แกล้วกล้า สามารถกล่าวธรรมีกถาได้ แม้พระภัททกาปิลานีก็เป็นพหูสูต เป็นนักพูด แกล้วกล้า สามารถกล่าวธรรมีกถาได้ ทั้งเธอก็ได้รับสรรเสริญว่ามี คุณสมบัติยิ่งกว่า๑- คนทั้งหลายทราบว่า “แม่เจ้าภัททกาปิลานีเป็นพหูสูต เป็นนักพูด แกล้วกล้า สามารถกล่าวธรรมีกถา ทั้งได้รับสรรเสริญว่ามีคุณสมบัติยิ่งกว่า” จึงเข้าไปหาพระ ภัททกาปิลานีก่อนแล้วไปหาภิกษุณีถุลลนันทาภายหลัง ภิกษุณีถุลลนันทาถูกความริษยาครอบงำ คิดว่า “ทราบมาว่า ธรรมดาภิกษุณี ผู้สาละวนอยู่กับการอภิปรายเรื่องราวให้ผู้อื่นเข้าใจ ย่อมมักน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลี” จึงจงกรมบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง ยกขึ้นแสดงเองบ้าง ใช้ผู้อื่น ให้ยกขึ้นแสดงบ้าง ท่องบ่นบ้าง ต่อหน้าพระภัททกาปิลานี บรรดาภิกษุณีผู้มักน้อย ฯลฯ พากันตำหนิ ประณาม โพนทะนาว่า “ไฉน แม่เจ้าถุลลนันทาจึงจงใจก่อความไม่ผาสุกแก่แม่เจ้าภัททกาปิลานีเล่า” ครั้นแล้ว ภิกษุณีเหล่านั้นได้นำเรื่องนี้ไปบอกภิกษุทั้งหลายให้ทราบ พวกภิกษุได้นำเรื่องนี้ไป กราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ @เชิงอรรถ : @ “มีคุณสมบัติยิ่งกว่า” คือบวชจากตระกูลที่ใหญ่หรือประเสริฐกว่าและเป็นผู้ประเสริฐกว่าโดยคุณทั้งหลาย @(วิ.อ. ๒/๙๔๑/๕๐๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๑๗}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๓ สิกขาบทวิภังค์

ทรงประชุมสงฆ์บัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งให้ประชุมสงฆ์เพราะเรื่องนี้เป็นต้นเหตุ ทรง สอบถามภิกษุทั้งหลายว่า “ภิกษุทั้งหลาย ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาจงใจก่อความ ไม่ผาสุกแก่ภัททกาปิลานี จริงหรือ” ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า “จริง พระพุทธเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงตำหนิว่า “ฯลฯ ภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทา จึงจงใจก่อความไม่ผาสุกแก่ภัททกาปิลานีเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้ เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้
พระบัญญัติ
[๙๔๒] ก็ภิกษุณีใดจงใจก่อความไม่ผาสุกแก่ภิกษุณี ต้องอาบัติปาจิตตีย์
เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๙๔๓] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ก็ ... ใด คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้ คำว่า แก่ภิกษุณี คือ แก่ภิกษุณีรูปอื่น คำว่า จงใจ คือ รู้อยู่ รู้ดีอยู่ จงใจ ฝ่าฝืน ล่วงละเมิด คำว่า ก่อความไม่ผาสุก คือ ภิกษุณีผู้ก่อความไม่ผาสุกนั้นคิดว่า “วิธีนี้จะ ทำให้ภิกษุณีนี้ไม่ผาสุก” ไม่ขอโอกาส จงกรมบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง ยกขึ้นแสดงเองบ้าง ใช้ผู้อื่นให้ยกขึ้นแสดงบ้าง ท่องบ่นบ้าง อยู่ข้างหน้า ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๑๘}

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [๔. ปาจิตติยกัณฑ์]

๔. ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๓ อนาปัตติวาร

บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๙๔๔] อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน จงใจก่อความไม่ผาสุก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ อุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ จงใจก่อความไม่ผาสุก ต้องอาบัติปาจิตตีย์ อุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน จงใจก่อความไม่ผาสุก ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ภิกษุณีจงใจก่อความไม่ผาสุกแก่อนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุณีไม่แน่ใจ ต้องอาบัติทุกกฏ อนุปสัมบัน ภิกษุณีสำคัญว่าเป็นอนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ
อนาปัตติวาร
ภิกษุณีต่อไปนี้ไม่ต้องอาบัติ คือ [๙๔๕] ๑. ภิกษุณีไม่ประสงค์ก่อความไม่ผาสุก ขอโอกาส จงกรม ยืน นั่ง นอน ยกขึ้นแสดงเอง ใช้ผู้อื่นให้ยกขึ้นแสดง หรือท่องบ่นข้างหน้า ๒. ภิกษุณีวิกลจริต ๓. ภิกษุณีต้นบัญญัติ
สิกขาบทที่ ๓ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๓ หน้า : ๒๑๙}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๓ หน้าที่ ๒๑๗-๒๑๙. http://84000.org/tipitaka/pitaka1/m_siri.php?B=3&siri=61              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=3&A=3689&Z=3739                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=265              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=3&item=265&items=4              อ่านอรรถกถาภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_th.php?B=2&A=11548              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=3&item=265&items=4              The Pali Atthakatha in Roman :- http://84000.org/tipitaka/atthapali/read_rm.php?B=2&A=11548                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu3              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- http://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/03i001-e.php#3.265 https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc33/en/brahmali https://suttacentral.net/pli-tv-bi-vb-pc33/en/horner



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :