ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๑
๑๒๕. อาปัตติปฏิกัมมวิธิ
ว่าด้วยวิธีแก้ไขอาบัติ
เรื่องภิกษุต้องอาบัติในวันปวารณา
[๒๑๙] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งต้องอาบัติ ในวันปวารณานั้น ภิกษุนั้นได้มี ความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุมีอาบัติติดตัวไม่พึงปวารณา ดังนี้ ก็เราต้องอาบัติแล้ว จะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า “ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุต้องอาบัติ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงฆ์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่งกระโหย่ง ประนมมือกล่าวอย่างนี้ว่า ผมต้องอาบัติชื่อนี้ ขอแสดงคืนอาบัตินั้น ขอรับ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๔๗}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]

๑๒๖. อาปัตติอาวิกรณวิธิ

ภิกษุผู้รับพึงกล่าวว่า “ท่านเห็นหรือ” ภิกษุผู้แสดงพึงตอบว่า “ขอรับ ผมเห็น” ภิกษุผู้รับพึงกล่าวว่า “ท่านพึงสำรวมต่อไป”
เรื่องภิกษุไม่แน่ใจในอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในวันปวารณานั้น ภิกษุมีความไม่แน่ใจใน อาบัติ ภิกษุนั้นพึงเข้าไปหาภิกษุรูปหนึ่ง ห่มอุตตราสงฆ์เฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นั่ง กระโหย่ง ประนม มือกล่าวอย่างนี้ว่า “ผมมีความไม่แน่ใจในอาบัติชื่อนี้ ขอรับ เมื่อผมหมดความไม่แน่ใจ จักทำคืนอาบัตินั้น” แล้วปวารณา แต่ต้องไม่ทำ อันตรายต่อปวารณา เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย
๑๒๖. อาปัตติอาวิกรณวิธิ
ว่าด้วยวิธีเปิดเผยอาบัติ
เรื่องภิกษุระลึกอาบัติได้
[๒๒๐] สมัยนั้น ภิกษุรูปหนึ่งกำลังปวารณา ระลึกอาบัติได้ ภิกษุนั้นได้มี ความคิดดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุมีอาบัติติดตัวไม่พึง ปวารณา ดังนี้ ก็เราต้องอาบัติแล้ว จะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ” ภิกษุทั้งหลายจึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มีพระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุกำลัง ปวารณา ระลึกอาบัติได้ ภิกษุนั้นพึงบอกภิกษุใกล้เคียงอย่างนี้ว่า “ผมต้องอาบัติ ชื่อนี้ ขอรับ ผมลุกจากที่นี่แล้วจักทำคืนอาบัตินั้น” แล้วปวารณา แต่ต้องไม่ทำ อันตรายต่อปวารณา เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๔๘}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]

๑๒๗. สภาคาปัตติปฏิกัมมวิธิ

กำลังปวารณาไม่แน่ใจในอาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ เมื่อภิกษุกำลังปวารณา มีความไม่แน่ใจใน อาบัติ ภิกษุนั้นพึงบอกภิกษุใกล้เคียงอย่างนี้ว่า “ผมมีความไม่แน่ใจในอาบัติชื่อนี้ ขอรับ ผมเมื่อหมดความไม่แน่ใจจักทำคืนอาบัตินั้น” แล้วปวารณา แต่ต้องไม่ทำ อันตรายต่อปวารณา เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย
๑๒๗. สภาคาปัตติปฏิกัมมวิธิ
ว่าด้วยวิธีแก้ไขสภาคาบัติ
เรื่องสงฆ์ทั้งหมดต้องสภาคาบัติ
[๒๒๑] สมัยนั้น ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น สงฆ์ทั้งหมดต้อง สภาคาบัติ๑- ภิกษุเหล่านั้นได้ปรึกษากันดังนี้ว่า “พระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติไว้ว่า ภิกษุไม่พึงแสดงสภาคาบัติ ไม่พึงรับการแสดงสภาคาบัติ ก็สงฆ์ทั้งหมดนี้ต้อง สภาคาบัติแล้ว พวกเราจะพึงปฏิบัติอย่างไรหนอ” จึงนำเรื่องนี้ไปกราบทูลพระผู้มี พระภาคให้ทรงทราบ พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ภิกษุทั้งหลาย ก็ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวัน ปวารณานั้น สงฆ์ทั้งหมดต้องสภาคาบัติ ภิกษุเหล่านั้นพึงส่งภิกษุรูปหนึ่งไปยัง อาวาสใกล้เคียงพอจะกลับมาทันในวันนั้นด้วยสั่งว่า ท่าน ท่านจงไปทำคืนอาบัติ นั้นมาเถิด พวกเราจักทำคืนอาบัตินั้นในสำนักของท่าน ถ้าได้อย่างนี้ นั่นเป็น การดี ถ้าไม่ได้ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติกรรม วาจาว่า @เชิงอรรถ : @ ดูข้อ ๑๖๓ หน้า ๒๕๖ (เชิงอรรถ) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๓๔๙}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๔. ปวารณาขันธกะ]

๑๒๘. อนาปัตติปัณณรสกะ

ญัตติกรรมวาจา
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทั้งหมดนี้ต้องสภาคาบัติแล้ว เมื่อพบ ภิกษุรูปอื่นผู้บริสุทธิ์ไม่มีอาบัติ ก็จักทำคืนอาบัตินั้นในสำนักของภิกษุรูปนั้น ดังนี้ แล้วปวารณา แต่ต้องไม่ทำอันตรายต่อปวารณา เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย
สงฆ์ทั้งหมดไม่แน่ใจในสภาคาบัติ
ภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ในกรณีนี้ ในอาวาสแห่งหนึ่ง ในวันปวารณานั้น สงฆ์ ทั้งหมดมีความไม่แน่ใจในสภาคาบัติ ภิกษุผู้ฉลาดสามารถพึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติกรรมวาจาว่า
ญัตติกรรมวาจา
ท่านผู้เจริญ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า สงฆ์ทั้งหมดนี้มีความไม่แน่ใจในสภาคาบัติ เมื่อหมดความไม่แน่ใจ ก็จักทำคืนอาบัตินั้น ดังนี้ แล้วปวารณา แต่ต้องไม่ทำ อันตรายต่อปวารณา เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย
ปฐมภาณวารที่ ๑ จบ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๓๔๗-๓๕๐. http://84000.org/tipitaka/pitaka1/m_siri.php?B=4&siri=72              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=4&A=6609&Z=6663                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=232              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=4&item=232&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=4&item=232&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu4              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i224-e.php#topic6 https://suttacentral.net/pli-tv-kd4/en/brahmali#pli-tv-kd4:6.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd4/en/horner-brahmali#Kd.4.6.1



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :