ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๑
เรื่องอุปกาชีวก
[๑๑] อาชีวกชื่ออุปกะได้พบพระผู้มีพระภาคเสด็จดำเนินทางไกล ณ ระหว่าง แม่น้ำคยากับต้นโพธิพฤกษ์ ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “อาวุโส อินทรีย์ของ ท่านผ่องใสยิ่งนัก ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผุดผ่อง ท่านบวชอุทิศใคร ใครเป็น ศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๖}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๑. มหาขันธกะ]

๖. ปัญจวัคคิยกถา

เมื่ออุปกาชีวกทูลถามดังนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสคาถาตอบอุปกาชีวกว่า “เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง๑- รู้ธรรมทั้งปวง๒- มิได้แปดเปื้อนในธรรมทั้งปวง๓- ละธรรมทั้งปวงได้สิ้นเชิง๔- หลุดพ้นเพราะสิ้นตัณหา ตรัสรู้ยิ่งเอง แล้วจะพึงกล่าวอ้างใครเล่า เราไม่มีอาจารย์๕- เราไม่มีผู้เสมอเหมือน เราไม่มีผู้ทัดเทียม ในโลกกับทั้งเทวโลก เพราะเราเป็นอรหันต์ เป็นศาสดาผู้ยอดเยี่ยม เป็นผู้ตรัสรู้ชอบเองเพียงผู้เดียว เป็นผู้เยือกเย็น ดับกิเลสได้แล้วในโลก เราจะไปเมืองหลวงแห่งชาวกาสี ประกาศธรรมจักร ตีกลองอมตธรรมไปในโลกอันมีความมืดมน”๖- อุปกาชีวกทูลว่า “อาวุโส ท่านสมควรเป็นพระอนันตชินะตามที่ท่านประกาศ” พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ชนเหล่าใดได้ถึงความสิ้นอาสวะแล้ว ชนเหล่านั้นย่อมเป็นพระชินะเช่นเรา อุปกะ เราชนะความชั่วได้แล้ว เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่าพระชินะ” เมื่อพระผู้มีพระภาคได้ตรัสดังนี้แล้ว อุปกาชีวกจึงทูลว่า “อาวุโส ควรจะเป็น อย่างนั้น” โคลงศีรษะแล้วเดินสวนทางหลีกไป @เชิงอรรถ : @ ธรรมทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ (วิ.อ. ๓/๑๑/๑๖) @ ธรรมทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๔ (วิ.อ. ๓/๑๑/๑๖) @ ธรรมทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ (วิ.อ. ๓/๑๑/๑๖) @ ธรรมทั้งปวง ในที่นี้หมายถึงธรรมอันเป็นไปในภูมิ ๓ (วิ.อ. ๓/๑๑/๑๖) @ เราไม่มีอาจารย์ ในที่นี้หมายถึงไม่มีอาจารย์ในระดับโลกุตตรธรรม (วิ.อ. ๓/๑๑/๑๗) @ ม.มู. ๑๒/๒๘๕/๒๔๖, ม.ม. ๑๓/๓๔๑/๓๒๓, อภิ.ก. ๓๗/๔๐๕/๒๔๕ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๔ หน้า : ๑๗}


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๔ หน้าที่ ๑๖-๑๗. http://84000.org/tipitaka/pitaka1/m_siri.php?B=4&siri=8              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [คลิกเพื่อฟัง]                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=4&A=282&Z=307                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=11              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=4&item=11&items=1              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=4&item=11&items=1                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu4              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://84000.org/tipitaka/english/metta.lk/04i001-e.php#topic6.7 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/brahmali#pli-tv-kd1:6.7.1 https://suttacentral.net/pli-tv-kd1/en/horner-brahmali#Kd.1.6.7



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :