ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๑๙๕. อนาสาโทฬสกะ

๑๙๕. อนาสาโทฬสกะ
ว่าด้วยการเดาะกฐินเพราะความสิ้นหวัง ๑๒ กรณี
[๓๑๘] ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร อยู่นอกสีมา เข้าไป ยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวร แต่ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น การเดาะกฐินของ ภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ (๑) ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร อยู่นอกสีมา เข้าไปยังที่ซึ่งมี หวังว่าจะได้จีวร แต่ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะไม่ ให้ทำจีวรนี้ จะไม่กลับ” การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยตกลงใจ (๒) ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร อยู่นอกสีมา เข้าไปยังที่ซึ่งมี หวังว่าจะได้จีวร แต่ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะให้ทำ จีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น จีวรที่ภิกษุนั้นให้ทำอยู่นั้นเกิด เสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยผ้าเสียหาย (๓) ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร อยู่นอกสีมา มีความคิด อย่างนี้ว่า “จะเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนี่แหละ จะไม่กลับ” เข้าไปยังที่ซึ่งมี หวังว่าจะได้จีวรนั้น ความหวังว่าจะได้จีวรนั้นของเธอสิ้นสุดลง การเดาะกฐินของ ภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยสิ้นหวัง (๔) ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร คิดว่า “จะไม่กลับ” อยู่นอก สีมา เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวร แต่ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง มีความคิด อย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ” ให้ทำจีวรนั้น การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ (๕) ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร คิดว่า “จะไม่กลับ” อยู่นอก สีมา เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น แต่ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง มีความ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๖๐}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๑๙๕. อนาสาโทฬสกะ

คิดอย่างนี้ว่า “จะไม่ให้ทำจีวรนี้” การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วย ตกลงใจ (๖) ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร คิดว่า “จะไปไม่กลับ” อยู่นอก สีมาเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น แต่ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง มีความคิด อย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ” ให้ทำจีวรนั้น จีวรที่ภิกษุนั้นให้ทำอยู่ นั้นเกิดเสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยผ้าเสียหาย (๗) ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร คิดว่า “จะไม่กลับ” อยู่นอก สีมา มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้ทำจีวรนอกสีมานี่แหละ” เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังจะได้ทำจีวรนั้น ความหวังว่าจะได้จีวรนั้นของเธอสิ้นสุดลง การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยสิ้นหวัง (๘) ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวรโดยไม่ตั้งใจ ไม่ได้มีความคิดว่า “จะกลับ” แต่ก็ไม่ได้มีความคิดว่า “จะไม่กลับ” อยู่นอกสีมา เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวัง จะได้ทำจีวรนั้น แต่ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะให้ทำ จีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่า กำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ (๙) ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยหวังจะได้จีวรโดยไม่ตั้งใจ ไม่ได้มีความคิดว่า “จะกลับ” แต่ก็ไม่ได้มีความคิดว่า “จะไม่กลับ” อยู่นอกสีมา เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวัง จะได้ทำจีวรนั้น แต่ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะไม่ให้ทำ จีวรนี้ จะไม่กลับ” การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยตกลงใจ (๑๐) ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวรโดยไม่ตั้งใจ ไม่ได้มีความคิดว่า “จะกลับ” แต่ก็ไม่ได้มีความคิดว่า “จะไม่กลับ” อยู่นอกสีมา เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวัง ว่าจะได้จีวรแต่ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้ นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น จีวรที่ภิกษุนั้นให้ทำอยู่นั้นเกิดเสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยผ้าเสียหาย (๑๑) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๖๑}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๑๙๖. อาสาโทฬสกะ

ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยหวังจะได้จีวรโดยไม่ตั้งใจ ไม่ได้มีความคิดว่า “จะกลับ” แต่ก็ไม่ได้มีความคิดว่า “จะไม่กลับ” อยู่นอกสีมา มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวัง ว่าจะได้จีวร ความหวังว่าจะได้จีวรนั้นของภิกษุนั้นสิ้นสุดลง การเดาะกฐินของภิกษุ นั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยสิ้นหวัง (๑๒)
อนาสาโทฬสกะ จบ
๑๙๖. อาสาโทฬสกะ
ว่าด้วยการเดาะกฐินเพราะความสมหวัง ๑๒ กรณี
[๓๑๙] ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร คิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมา เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวร ได้ตามที่หวัง ไม่ผิดหวัง มีความคิด อย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น การเดาะกฐิน ของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ (๑) ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร คิดว่า “จะกลับ” อยู่นอก สีมา เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวร ได้ตามที่หวัง ไม่ผิดหวัง มีความคิดอย่าง นี้ว่า “จะไม่ให้ทำจีวรนี้ จะไม่กลับ” การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วย ตกลงใจ (๒) ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร คิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมา เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวร ได้ตามที่หวัง ไม่ผิดหวัง มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะ ให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น จีวรที่ภิกษุนั้นให้ทำอยู่นั้น เกิดเสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยผ้าเสียหาย (๓) ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร คิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมา มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนอกสีมานี่แหละ จะไม่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๖๒}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๑๙๖. อาสาโทฬสกะ

กลับ” เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น ความหวังที่จะได้จีวรนั้นของภิกษุนั้นสิ้น สุดลง การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยสิ้นหวัง (๔) ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร คิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมา ได้ทราบข่าวว่า “ในอาวาสนั้นกฐินเดาะเสียแล้ว” มีความคิดอย่างนี้ว่า “เพราะ ในอาวาสนั้นกฐินเดาะเสียแล้ว จะไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนอกสีมานี่แหละ” เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น ได้ตามที่หวัง ไม่ผิดหวัง มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น การเดาะกฐินของ ภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ (๕) ภิกษุกรานกฐินแล้ว หลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร คิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมา ได้ทราบข่าวว่า “ในอาวาสนั้นกฐินเดาะเสียแล้ว” มีความคิดอย่างนี้ว่า “เพราะ ในอาวาสนั้นกฐินเดาะเสียแล้ว จะไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนอกสีมานี่แหละ” เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น ได้ตามที่หวัง ไม่ผิดหวัง มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะไม่ให้ทำจีวรนี้ จะไม่กลับ” การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วย ตกลงใจ (๖) ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร คิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมา ได้ทราบข่าวว่า “ในอาวาสนั้นกฐินเดาะเสียแล้ว” มีความคิดอย่างนี้ว่า “เพราะ ในอาวาสนั้นกฐินเดาะเสียแล้ว จะไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนอกสีมานี่แหละ” เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น ได้ตามที่หวัง ไม่ผิดหวัง มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น จีวรที่ภิกษุนั้นให้ ทำอยู่นั้นเกิดเสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยผ้าเสียหาย (๗) ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร คิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมา ได้ทราบข่าวว่า “ในอาวาสนั้นกฐินเดาะเสียแล้ว” มีความคิดอย่างนี้ว่า “เพราะใน อาวาสนั้นกฐินเดาะเสียแล้ว จะเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนอกสีมานี่แหละ จะ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๖๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๑๙๖. อาสาโทฬสกะ

ไม่กลับ” เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวร แต่ความหวังว่าจะได้จีวรนั้นของภิกษุนั้น สิ้นสุดลง การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยสิ้นหวัง (๘) ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร คิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมา เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น ได้ตามที่หวัง ไม่ผิดหวัง ให้ทำจีวรนั้น ทำจีวรเสร็จแล้ว ได้ทราบข่าวว่า “ในอาวาสนั้นกฐินเดาะเสียแล้ว” การเดาะกฐิน ของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยได้ทราบข่าว (๙) ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร คิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมา มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะ ไม่กลับ” เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวร แต่ความหวังว่าจะได้จีวรนั้นของภิกษุนั้น สิ้นสุดลง การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยสิ้นหวัง (๑๐) ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร คิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมา เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น ได้ตามที่หวัง ไม่ผิดหวัง ให้ทำจีวรนั้น ทำจีวร เสร็จแล้ว คิดว่า “จะกลับ จะกลับ” ล่วงคราวกฐินเดาะนอกสีมา การเดาะกฐิน ของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยล่วงเขต (๑๑) ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยหวังว่าจะได้จีวร คิดว่า “จะกลับ” อยู่นอกสีมา เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น ได้ตามที่หวัง ไม่ผิดหวัง ให้ทำจีวรนั้น ทำจีวร เสร็จแล้ว คิดว่า “จะกลับ จะกลับ” กลับมาทันกฐินเดาะ การเดาะกฐินของ ภิกษุนั้น ชื่อว่าเดาะพร้อมกันกับภิกษุทั้งหลาย (๑๒)
อาสาโทฬสกะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๖๔}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๑๙๗. กรณียโทฬสกะ

๑๙๗. กรณียโทฬสกะ
ว่าด้วยการเดาะกฐินเพราะมีธุระจำเป็น ๑๒ กรณี
[๓๒๐] ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยธุระจำเป็นบางอย่าง อยู่นอกสีมา เกิดความหวังว่าจะได้จีวร เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น แต่ได้ไม่สมหวัง ไม่ ได้ตามหวัง มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำ จีวรนั้น การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ (๑) ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยธุระจำเป็นบางอย่าง อยู่นอกสีมา เกิดความ หวังว่าจะได้จีวร เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น แต่ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะไม่ให้ทำจีวรนี้ จะไม่กลับ” การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยตกลงใจ (๒) ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยธุระจำเป็นบางอย่าง อยู่นอกสีมา เกิดความ หวังว่าจะได้จีวร เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น แต่ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น จีวรที่ภิกษุนั้นให้ทำอยู่นั้นเกิดเสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนด ด้วยผ้าเสียหาย (๓) ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยธุระจำเป็นบางอย่าง อยู่นอกสีมา เกิดความ หวังว่าจะได้จีวร เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น แต่ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะเข้าไปยังที่ซึ่งหวังว่าจะได้จีวรนอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวร แต่ความหวังว่าจะได้จีวรนั้นของภิกษุนั้นสิ้นสุดลง การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยสิ้นหวัง (๔) ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยธุระจำเป็นบางอย่าง คิดว่า “จะไม่กลับ” อยู่ นอกสีมาเกิดความหวังว่าจะได้จีวร เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น แต่ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ” ให้ทำจีวรนั้น การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ (๕) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๖๕}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๑๙๗. กรณียโทฬสกะ

ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยธุระจำเป็นบางอย่าง คิดว่า “จะไม่กลับ” อยู่ นอกสีมา เกิดความหวังว่าจะได้จีวร เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น แต่ได้ไม่ สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะไม่ให้ทำจีวรนี้” การเดาะกฐิน ของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยตกลงใจ (๖) ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยธุระจำเป็นบางอย่าง คิดว่า “จะไม่กลับ” อยู่นอก สีมา เกิดความหวังว่าจะได้จีวร เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น แต่ได้ไม่ สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ” ให้ทำจีวรนั้น จีวรที่ภิกษุนั้นให้ทำอยู่นั้นเกิดเสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้นชื่อ ว่ากำหนดด้วยผ้าที่เสียหาย (๗) ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยธุระจำเป็นบางอย่าง คิดว่า “จะไม่กลับ” อยู่ นอกสีมา เกิดความหวังว่าจะได้จีวร เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น แต่ได้ไม่ สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนี้ นอกสีมานี่แหละ” เข้าไปยังที่ซึ่งหวังว่าจะได้จีวรนั้น แต่ความหวังว่าจะได้จีวรนั้น ของภิกษุนั้นสิ้นสุดลง การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยสิ้นหวัง (๘) ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยธุระจำเป็นบางอย่างโดยไม่ตั้งใจ ไม่ได้มีความ คิดว่า “จะกลับ” แต่ก็ไม่ได้มีความคิดว่า “จะไม่กลับ” อยู่นอกสีมา เกิดความ หวังว่าจะได้จีวร เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น แต่ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ (๙) ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยธุระจำเป็นบางอย่างโดยไม่ตั้งใจ ไม่ได้มีความ คิดว่า “จะกลับ” แต่ก็ไม่ได้มีความคิดว่า “จะไม่กลับ” อยู่นอกสีมา เกิดความหวัง ว่าจะได้จีวร เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น แต่ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะไม่ให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” การเดาะกฐิน ของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยตกลงใจ (๑๐) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๖๖}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๑๙๘. อปวิลายนนวกะ

ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยธุระจำเป็นบางอย่างโดยไม่ตั้งใจ ไม่ได้มีความ คิดว่า “จะกลับ” แต่ก็ไม่ได้มีความคิดว่า “จะไม่กลับ” อยู่นอกสีมา เกิดความหวัง ว่าจะได้จีวร เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น แต่ได้ไม่สมหวัง ไม่ได้ตามหวัง มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น จีวรที่ภิกษุนั้นให้ทำอยู่เกิดเสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่า กำหนดด้วยผ้า เสียหาย (๑๑) ภิกษุกรานกฐินแล้วหลีกไปด้วยธุระจำเป็นบางอย่างโดยไม่ตั้งใจ ไม่ได้มีความ คิดว่า “จะกลับ” แต่ก็ไม่ได้มีความคิดว่า “จะไม่กลับ” อยู่นอกสีมา เกิดความหวัง ว่าจะได้จีวร มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะเข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนี้นอกสีมา นี่แหละ จะไม่กลับ” เข้าไปยังที่ซึ่งมีหวังว่าจะได้จีวรนั้น แต่ความหวังว่าจะได้ จีวรนั้นของภิกษุนั้นสิ้นสุดลง การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วย สิ้นหวัง (๑๒)
กรณียโทฬสกะ จบ
๑๙๘. อปวิลายนนวกะ
ว่าด้วยการเดาะกฐินเพราะหวังได้ส่วนจีวร ๙ กรณี
[๓๒๑] ภิกษุกรานกฐินแล้วต้องการจะไปสู่ทิศจึงหลีกไป แต่ยังหวังได้ส่วน จีวร พวกภิกษุถามภิกษุนั้นผู้ไปสู่ทิศแล้วว่า “ท่านจำพรรษาที่ไหน ส่วนจีวรของ ท่านอยู่ที่ไหน” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ผมจำพรรษาในอาวาสโน้น ส่วนจีวรก็อยู่ที่นั้น เหมือนกัน” ภิกษุเหล่านั้นจึงกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านไปนำจีวรนั้นมา พวกเราจะทำจีวรให้ ท่านในที่นี้” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๖๗}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๑๙๘. อปวิลายนนวกะ

ภิกษุนั้นกลับไปยังอาวาสนั้นแล้วถามภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย ส่วน จีวรของผมอยู่ที่ไหน” ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “นี้เป็นส่วนจีวรของท่าน ท่านจะไปไหน” ภิกษุนั้นจึงตอบอย่างนี้ว่า “ผมจะไปอาวาสโน้น ภิกษุในที่นั้นจะทำจีวรให้ผม” ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านอย่าไปเลย พวกเราจะทำจีวรให้ท่านในที่นี้” ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า “เราจะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ (๑) ภิกษุกรานกฐินแล้วต้องการจะไปสู่ทิศจึงหลีกไป ฯลฯ มีความคิดอย่างนี้ว่า “เราจะไม่ให้ทำจีวรนี้ จะไม่กลับ” การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วย ตกลงใจ (๒) ภิกษุกรานกฐินแล้วต้องการจะไปสู่ทิศจึงหลีกไป ฯลฯ มีความคิดอย่างนี้ว่า “เราจะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น จีวรที่ภิกษุนั้นให้ทำ อยู่นั้นเกิดเสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยผ้าเสียหาย (๓) [๓๒๒] ภิกษุกรานกฐินแล้วต้องการจะไปสู่ทิศจึงหลีกไป แต่ยังหวังได้ส่วนจีวร พวกภิกษุถามภิกษุนั้นผู้ไปสู่ทิศแล้วว่า “ท่านจำพรรษาที่ไหน ส่วนจีวรของท่าน อยู่ที่ไหน” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ผมจำพรรษาในอาวาสโน้น ส่วนจีวรก็อยู่ที่นั้น เหมือนกัน” พวกภิกษุกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านไปนำจีวรนั้นมา พวกเราจะทำจีวรให้ท่านใน ที่นี้” ภิกษุนั้นกลับไปยังอาวาสนั้นแล้วถามภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย ส่วน จีวรของผมอยู่ที่ไหน” ภิกษุเหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า “นี้เป็นส่วนจีวรของท่าน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๖๘}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๑๙๘. อปวิลายนนวกะ

ภิกษุนั้นจึงถือเอาจีวรนั้นไปยังอาวาสนั้น ระหว่างทาง พวกภิกษุถามภิกษุนั้น ว่า “ท่านจะไปไหน” ภิกษุนั้นจึงตอบว่า “ผมจะไปอาวาสโน้น ภิกษุในที่นั้นจะทำ จีวรให้ผม” ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านอย่าไปเลย พวกเราจะทำจีวรให้ท่านในที่นี้” ภิกษุนั้นคิดว่า “เราจะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ (๔) ภิกษุกรานกฐินแล้วต้องการจะไปสู่ทิศจึงหลีกไป แต่ยังหวังได้ส่วนจีวร พวก ภิกษุถามภิกษุนั้นผู้ไปสู่ทิศแล้วว่า “ท่านจำพรรษาที่ไหน ส่วนจีวรของท่านอยู่ที่ไหน” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ผมจำพรรษาในอาวาสโน้น ส่วนจีวรก็อยู่ที่โน้น เหมือนกัน” พวกภิกษุกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านไปนำจีวรนั้นมา พวกเราจะทำจีวรให้ท่านใน ที่นี้” ภิกษุนั้นกลับไปยังอาวาสนั้นแล้วถามภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย ส่วน จีวรของผมอยู่ที่ไหน” ภิกษุเหล่านั้นตอบว่า “นี้เป็นส่วนจีวรของท่าน” ภิกษุนั้นจึงถือเอาจีวรนั้นไปยังอาวาสนั้น ระหว่างทาง พวกภิกษุถามภิกษุนั้น ว่า “ท่านจะไปไหน” ภิกษุนั้นจึงตอบอย่างนี้ว่า “ผมจะไปอาวาสโน้น ภิกษุในที่ นั้นจะทำจีวรให้ผม” ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านอย่าไปเลย พวกเราจะทำจีวรให้ท่านในที่นี้” ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า “เราจะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ภิกษุนั้นให้ทำจีวรนั้น การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยตกลงใจ (๕) ภิกษุกรานกฐินแล้วต้องการจะไปสู่ทิศจึงหลีกไป แต่ยังหวังได้ส่วนจีวร พวก ภิกษุถามภิกษุนั้นผู้ไปสู่ทิศแล้วว่า “ท่านจำพรรษาที่ไหน ส่วนจีวรของท่านอยู่ที่ไหน” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ผมจำพรรษาในอาวาสโน้น ส่วนจีวรก็อยู่ที่นั้น เหมือนกัน” {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๖๙}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๑๙๘. อปวิลายนนวกะ

พวกภิกษุกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านไปนำจีวรนั้นมา พวกเราจะทำจีวรให้ท่านใน ที่นี้” ภิกษุนั้นกลับไปยังอาวาสนั้นแล้วถามภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย ส่วน จีวรของผมอยู่ที่ไหน” ภิกษุเหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า “นี้เป็นส่วนจีวรของท่าน” ภิกษุนั้นจึงถือเอาจีวรนั้นไปยังอาวาสนั้น ระหว่างทาง พวกภิกษุถามภิกษุนั้น ว่า “ท่านจะไปไหน” ภิกษุนั้นจึงตอบอย่างนี้ว่า “ผมจะไปอาวาสโน้น ภิกษุในที่ นั้นจะทำจีวรให้ผม” ภิกษุเหล่านั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านอย่าไปเลย พวกเราจะทำจีวรให้ท่านใน ที่นี้” ภิกษุนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า “เราจะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น จีวรที่ภิกษุนั้นให้ทำอยู่นั้นเกิดเสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่า กำหนดด้วยผ้าเสียหาย (๖) [๓๒๓] ภิกษุกรานกฐินแล้วต้องการจะไปสู่ทิศจึงหลีกไป แต่ยังหวังได้ส่วนจีวร พวกภิกษุถามภิกษุนั้นผู้ไปสู่ทิศแล้วว่า “ท่านจำพรรษาที่ไหน ส่วนจีวรของท่านอยู่ ที่ไหน” ภิกษุนั้นกล่าวอย่างนี้ว่า “ผมจำพรรษาในอาวาสโน้น ส่วนจีวรก็อยู่ที่นั้น เหมือนกัน” พวกภิกษุกล่าวอย่างนี้ว่า “ท่านไปนำจีวรนั้นมา พวกเราจะทำจีวรให้ท่านใน ที่นี้” ภิกษุนั้นกลับไปยังอาวาสนั้นแล้วถามภิกษุทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย ส่วน จีวรของผมอยู่ที่ไหน” ภิกษุเหล่านั้นตอบอย่างนี้ว่า “นี้เป็นส่วนจีวรของท่าน” ภิกษุนั้นจึงถือเอาจีวรนั้นไปยังอาวาสนั้น ไปยังอาวาสนั้นแล้วมีความคิดอย่าง นี้ว่า “เราจะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น การเดาะ กฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ (๗) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๗๐}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๑๙๙. ผาสุวิหารปัญจกะ

ภิกษุกรานกฐินแล้วต้องการจะไปสู่ทิศจึงหลีกไป ฯลฯ มีความคิดอย่างนี้ว่า “เราจะไม่ให้ทำจีวรนี้ จะไม่กลับ” การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วย ตกลงใจ (๘) ภิกษุกรานกฐินแล้วต้องการจะไปสู่ทิศ ฯลฯ มีความคิดอย่างนี้ว่า “เราจะ ให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น จีวรที่ภิกษุนั้นให้ทำอยู่นั้น เกิดเสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยผ้าเสียหาย (๙)
อปวิลายนนวกะ จบ
๑๙๙. ผาสุวิหารปัญจกะ
ว่าด้วยการเดาะกฐินเพราะหวังอยู่ผาสุก ๕ กรณี
[๓๒๔] ภิกษุกรานกฐินแล้วต้องการจะอยู่ผาสุก จึงถือจีวรหลีกไป คิดว่า “เราจะไปยังอาวาสโน้น ถ้าในอาวาสนั้นเราอยู่ผาสุกก็จะอยู่ ถ้าไม่ผาสุกก็จะไปยัง อาวาสโน้น ถ้าในอาวาสนั้นเราอยู่ผาสุกก็จะอยู่ ถ้าไม่ผาสุกก็จะไปยังอาวาสโน้น ถ้าในอาวาสนั้นเราอยู่ผาสุกก็จะอยู่ ถ้าไม่ผาสุกก็จะกลับ” อยู่นอกสีมามีความคิด อย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” เธอให้ทำจีวรนั้น การเดาะ กฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยทำจีวรเสร็จ (๑) ภิกษุกรานกฐินแล้วต้องการจะอยู่ผาสุก จึงถือจีวรหลีกไป คิดว่า “เราจะไป ยังอาวาสโน้น ถ้าในอาวาสนั้นเราอยู่ผาสุกก็จะอยู่ ถ้าไม่ผาสุกก็จะไปยังอาวาสโน้น ถ้าในอาวาสนั้นเราอยู่ผาสุกก็จะอยู่ ถ้าไม่ผาสุกก็จะไปยังอาวาสโน้น ถ้าในอาวาส นั้น เราอยู่ผาสุกก็จะอยู่ ถ้าไม่ผาสุกก็จะกลับ” อยู่นอกสีมา มีคความคิดอย่างนี้ว่า “จะไม่ให้ทำจีวรนี้ จะไม่กลับ” การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วย ตกลงใจ (๒) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๗๑}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๑๙๙. ผาสุวิหารปัญจกะ

ภิกษุกรานกฐินแล้วต้องการจะอยู่ผาสุก จึงถือจีวรหลีกไปคิดว่า “เราจะไปยัง อาวาสโน้น ถ้าในอาวาสนั้นเราอยู่ผาสุกก็จะอยู่ ถ้าไม่ผาสุกก็จะไปยังอาวาสโน้น ถ้าในอาวาสนั้นเราอยู่ผาสุกก็จะอยู่ ถ้าไม่ผาสุกก็จะไปยังอาวาสโน้น ถ้าในอาวาส นั้นเราอยู่ผาสุกก็จะอยู่ ถ้าไม่ผาสุกก็จะกลับ” อยู่นอกสีมา มีความคิดอย่างนี้ว่า “จะให้ทำจีวรนี้นอกสีมานี่แหละ จะไม่กลับ” ให้ทำจีวรนั้น จีวรที่ภิกษุนั้นให้ทำอยู่ นั้นเกิดเสียหาย การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยผ้าเสียหาย (๓) ภิกษุกรานกฐินแล้วต้องการจะอยู่อย่างผาสุก จึงถือจีวรหลีกไปคิดว่า “เราจะไปยัง อาวาสโน้น ถ้าในอาวาสนั้นเราอยู่ผาสุกก็จะอยู่ ถ้าไม่ผาสุกก็จะไปยังอาวาสโน้น ถ้าในอาวาสนั้นเราอยู่ผาสุกก็จะอยู่ ถ้าไม่ผาสุกก็จะไปยังอาวาสโน้น ถ้าในอาวาส นั้นเราอยู่ผาสุกก็จะอยู่ ถ้าไม่ผาสุกก็จะกลับ” อยู่นอกสีมา ให้ทำจีวรนั้น ทำจีวร เสร็จแล้วคิดว่า “จะกลับ จะกลับ” จนล่วงคราวกฐินเดาะนอกสีมา การเดาะกฐิน ของภิกษุนั้น ชื่อว่ากำหนดด้วยล่วงเขต (๔) ภิกษุกรานกฐินแล้วต้องการจะอยู่ผาสุก จึงถือจีวรหลีกไปคิดว่า “เราจะไปยัง อาวาสโน้น ถ้าในอาวาสนั้นเราอยู่ผาสุกก็จะอยู่ ถ้าไม่ผาสุกก็จะไปยังอาวาสโน้น ถ้าในอาวาสนั้นเราอยู่ผาสุกก็จะอยู่ ถ้าไม่ผาสุกก็จะไปยังอาวาสโน้น ถ้าในอาวาส นั้นเราอยู่ผาสุกก็จะอยู่ ถ้าไม่ผาสุกก็จะกลับ” อยู่นอกสีมาให้ทำจีวรนั้น ทำจีวร เสร็จแล้วคิดว่า “จะกลับ” กลับมาทันกฐินเดาะ การเดาะกฐินของภิกษุนั้น ชื่อว่า เดาะพร้อมกันกับภิกษุทั้งหลาย (๕)
ผาสุวิหารปัญจกะ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๗๒}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๒๐๐. ปลิโพธาปลิโพธกถา

๒๐๐. ปลิโพธาปลิโพธกถา
ว่าด้วยปลิโพธและอปลิโพธ
ปลิโพธ ๒ อย่าง๑-
[๓๒๕] ภิกษุทั้งหลาย กฐินมีปลิโพธ ๒ อย่าง มีอปลิโพธ ๒ อย่าง ภิกษุทั้งหลาย ปลิโพธ ๒ อย่าง คือ ๑. อาวาสปลิโพธ (ความกังวลในอาวาสเพราะคิดจะกลับมา) ๒. จีวรปลิโพธ (ความกังวลในจีวรเพราะยังไม่ได้ทำจีวรหรือทำยังไม่เสร็จ) ภิกษุทั้งหลาย อาวาสปลิโพธ คือ ในกรณีนี้ ภิกษุยังอยู่ในอาวาสนั้น หรือ หลีกไปแต่ผูกใจว่า “จะกลับ” อย่างนี้ชื่อว่าอาวาสปลิโพธ ภิกษุทั้งหลาย จีวรปลิโพธ คือ ในกรณีนี้ ภิกษุยังไม่ได้ทำจีวรหรือทำ จีวรค้างไว้ หรือความหวังว่าจะได้จีวรยังไม่สิ้นสุดลง อย่างนี้ชื่อว่าจีวรปลิโพธ ภิกษุทั้งหลาย กฐินมีปลิโพธ ๒ อย่างนี้แหละ ภิกษุทั้งหลาย กฐินมีอปลิโพธ ๒ อย่าง คือ ๑. อาวาสอปลิโพธ (ไม่มีความกังวลในอาวาส) ๒. จีวรอปลิโพธ (ไม่มีความกังวลในจีวร) ภิกษุทั้งหลาย อาวาสอปลิโพธ คือ ในกรณีนี้ ภิกษุหลีกไปจากอาวาส นั้น สละ คาย ปล่อยวาง ไม่ผูกใจ คิดว่า “จะไม่กลับมา” อย่างนี้ชื่อว่าอาวาส อปลิโพธ @เชิงอรรถ : @ ปลิโพธ ในทางพระวินัย หมายถึงความกังวลที่เป็นเหตุให้กฐินยังไม่เดาะ คือยังรักษาอานิสงส์กฐินและ @เขตแห่งจีวรกาล ตามกำหนดไว้ได้ ถ้าภิกษุหลีกไปโดยคิดว่า “จะไม่กลับมาอีก” จีวรปลิโพธขาดก่อน @ในขณะที่อยู่ภายในสีมานั่นเอง อาวาสปลิโพธขาดในขณะเมื่อก้าวล่วงสีมาไปแล้ว (วิ.อ. ๓/๓๑๑/๑๙๘) {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๑๗๓}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๗. กฐินขันธกะ]

๒๐๑. รวมเรื่องที่มีในกฐินขันธกะ

ภิกษุทั้งหลาย จีวรอปลิโพธ คือ ในกรณีนี้ ภิกษุทำจีวรเสร็จแล้ว จีวร เสียหาย สูญหาย หรือถูกไฟไหม้ หรือความหวังว่าจะได้จีวรสิ้นสุดลง อย่างนี้ชื่อ ว่าจีวรอปลิโพธ ภิกษุทั้งหลาย กฐินอปลิโพธ ๒ อย่างนี้แล
ปลิโพธาปลิโพธกถา จบ
กฐินขันธกะที่ ๗ จบ
เรื่องในขันธกะนี้มี ๑๒ เรื่อง และเปยยาลมุข ๑๑๘ เรื่อง


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๑๖๐-๑๗๔. http://84000.org/tipitaka/pitaka1/m_siri.php?B=5&siri=30              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2], [3], [4], [5].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=5&A=2936&Z=3213                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=113              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=113&items=14              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=113&items=14                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd7/en/brahmali#pli-tv-kd7:8.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd7/en/horner-brahmali#BD.4.364



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :