ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับหลวง   ฉบับมหาจุฬาฯ   บาลีอักษรไทย   PaliRoman 
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ] มหาวรรค ภาค ๒

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๓๗. จตุวัคคกรณาทิกถา

๒๓๗. จตุวัคคกรณาทิกถา
ว่าด้วยกรรมที่สงฆ์กำหนดจำนวน ๔ รูปทำเป็นต้น
เรื่องสงฆ์ ๕ ประเภท
[๓๘๘] สงฆ์มี ๕ ประเภท คือ ๑. สงฆ์จตุวรรค (กำหนดจำนวน ๔ รูป) ๒. สงฆ์ปัญจวรรค (กำหนดจำนวน ๕ รูป) ๓. สงฆ์ทสวรรค (กำหนดจำนวน ๑๐ รูป) ๔. สงฆ์วีสติวรรค (กำหนดจำนวน ๒๐ รูป) ๕. สงฆ์อติเรกวีสติวรรค (กำหนดจำนวน เกิน ๒๐ รูป) ภิกษุทั้งหลาย ในสงฆ์เหล่านั้น สงฆ์จตุวรรคพร้อมเพรียงกันโดยธรรม เข้ากรรมได้ทุกอย่าง ยกเว้นกรรม ๓ อย่าง คือ อุปสมบท ปวารณา อัพภาน ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ปัญจวรรคพร้อมเพรียงกันโดยธรรม เข้ากรรมได้ทุกอย่าง ยกเว้นกรรม ๒ อย่าง คือ อุปสมบทในมัชฌิมชนบท อัพภาน ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์ทสวรรคพร้อมเพรียงกันโดยธรรม เข้ากรรมได้ทุกอย่าง ยกเว้นอัพภานอย่างเดียว ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์วีสติวรรคพร้อมเพรียงกันโดยธรรม เข้ากรรมได้ทุกอย่าง ภิกษุทั้งหลาย สงฆ์อติเรกวีสติวรรคพร้อมเพรียงกันโดยธรรม เข้ากรรมได้ทุกอย่าง
เรื่องกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ
[๓๘๙] ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ สงฆ์มีภิกษุณีเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ สงฆ์มีสิกขมานาเป็นที่ ๔ ทำ กรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีสามเณรเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็น {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๗๖}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๓๗. จตุวัคคกรณาทิกถา

กรรมและไม่ควรทำ ... มีสามเณรีเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีภิกษุผู้บอกลาสิกขาเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีภิกษุ ผู้ต้องอันติมวัตถุเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีภิกษุผู้ถูก สงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็น กรรมและไม่ควรทำ ... มีภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีภิกษุผู้ถูกลงอุกเขปนียกรรมเพราะ ไม่สละทิฏฐิบาปเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีบัณเฑาะก์ เป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีคนลักเพศเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีภิกษุผู้เข้ารีตเดียรถีย์เป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัด เป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีสัตว์ดิรัจฉาน เป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรม และไม่ควรทำ ... มีคนผู้ฆ่ามารดาเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีคนผู้ฆ่าบิดาเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีคนผู้ฆ่า พระอรหันต์เป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรม และไม่ควรทำ ... มีคนผู้ประทุษ ร้ายภิกษุณีเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีภิกษุผู้ทำลาย สงฆ์เป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีภิกษุผู้ทำร้ายพระศาสดา จนถึงห้อพระโลหิตเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีอุภโต พยัญชนกเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีภิกษุผู้เป็นนานา สังวาสเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีภิกษุผู้อยู่ในนานา สีมาเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... มีภิกษุผู้อยู่ในอากาศ ด้วยฤทธิ์เป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ... สงฆ์ทำกรรมแก่ ภิกษุใด มีภิกษุนั้นเป็นที่ ๔ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
เรื่องกรรมที่สงฆ์จตุวรรคพึงทำ จบ
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๗๗}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๓๗. จตุวัคคกรณาทิกถา

เรื่องกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ
[๓๙๐] ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ สงฆ์มีภิกษุณีเป็นที่ ๕ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ สงฆ์มีสิกขมานาเป็นที่ ๕ ฯลฯ มีสามเณรเป็นที่ ๕ ... ... มีสามเณรีเป็นที่ ๕ ... ... มีภิกษุผู้บอกลาสิกขา เป็นที่ ๕ ... ... มีภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุเป็นที่ ๕ ... ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย กรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติเป็นที่ ๕ ... ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติเป็นที่ ๕ ... ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะไม่ สละทิฏฐิบาปเป็นที่ ๕ ... ... มีบัณเฑาะก์เป็นที่ ๕ ... ... มีคนลักเพศ เป็นที่ ๕ ... ... มีภิกษุผู้เข้ารีตเดียรถีย์เป็นที่ ๕ ... ... มีสัตว์ดิรัจฉานเป็นที่ ๕ ... ... มีคน ผู้ฆ่ามารดาเป็นที่ ๕ ... ... มีคนผู้ฆ่าบิดาเป็นที่ ๕ ... ... มีคนผู้ฆ่าพระอรหันต์ เป็นที่ ๕ ... ... มีคนผู้ประทุษร้ายภิกษุณีเป็นที่ ๕ ... ... มีภิกษุผู้ทำลายสงฆ์เป็น ที่ ๕ ... ... มีภิกษุผู้ทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิตเป็นที่ ๕ ... ... มี อุภโตพยัญชนกเป็นที่ ๕ ... ... มีภิกษุผู้เป็นนานาสังวาสเป็นที่ ๕ ... ... มีภิกษุผู้อยู่ ในนานาสีมาเป็นที่ ๕ ... ... มีภิกษุผู้อยู่ในอากาศด้วยฤทธิ์เป็นที่ ๕ ... สงฆ์ทำ กรรมแก่ภิกษุใด มีภิกษุนั้นเป็นที่ ๕ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
เรื่องกรรมที่สงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ จบ
เรื่องกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ
[๓๙๑] ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ สงฆ์มีภิกษุณีเป็นที่ ๑๐ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ สงฆ์มีสิกขมานาเป็นที่ ๑๐ ฯลฯ มีสามเณรเป็นที่ ๑๐ ... ... มีสามเณรีเป็นที่ ๑๐ ... ... มีภิกษุผู้บอกลาสิกขาเป็นที่ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๗๘}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๓๗. จตุวัคคกรณาทิกถา

๑๐ ... ... มีภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุเป็นที่ ๑๐ ... ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย กรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติเป็นที่ ๑๐ ... ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรม เพราะไม่ทำคืนอาบัติเป็นที่ ๑๐ ... ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนียกรรมเพราะ ไม่สละทิฏฐิบาปเป็นที่ ๑๐ ... ... มีบัณเฑาะก์เป็นที่ ๑๐ ... ... มีคน ลักเพศเป็นที่ ๑๐ ... ... มีภิกษุผู้เข้ารีตเดียรถีย์เป็นที่ ๑๐ ... ... มีสัตว์ดิรัจฉาน เป็นที่ ๑๐ ... ... มีคนผู้ฆ่ามารดาเป็นที่ ๑๐ ... ... มีคนผู้ฆ่าบิดาเป็นที่ ๑๐ ... ... มีคนผู้ฆ่า พระอรหันต์เป็นที่ ๑๐ ... ... มีคนผู้ประทุษร้ายภิกษุณีเป็นที่ ๑๐ ... ... มีภิกษุ ผู้ทำลายสงฆ์เป็นที่ ๑๐ ... ... มีภิกษุผู้ทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระโลหิตเป็นที่ ๑๐ ... ... มีอุภโตพยัญชนกเป็นที่ ๑๐ ... ... มีภิกษุผู้เป็นนานาสังวาสเป็นที่ ๑๐ ... ... มีภิกษุผู้อยู่ในนานาสีมาเป็นที่ ๑๐ ... ... มีภิกษุผู้อยู่ในอากาศด้วยฤทธิ์เป็นที่ ๑๐ ... สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด มีภิกษุนั้นเป็นที่ ๑๐ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรม และไม่ควรทำ
เรื่องกรรมที่สงฆ์ทสวรรคพึงทำ จบ
เรื่องกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ
[๓๙๒] ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ สงฆ์มีภิกษุณีเป็นที่ ๒๐ ทำกรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ สงฆ์มีสิกขมานาเป็นที่ ๒๐ ... มีสามเณรเป็นที่ ๒๐ ... ... มีสามเณรีเป็นที่ ๒๐ ... ... มีภิกษุผู้บอกลาสิกขา เป็นที่ ๒๐ ... ... มีภิกษุผู้ต้องอันติมวัตถุเป็นที่ ๒๐ ... ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลง อุกเขปนียกรรมเพราะไม่เห็นว่าเป็นอาบัติเป็นที่ ๒๐ ... ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลง อุกเขปนียกรรมเพราะไม่ทำคืนอาบัติเป็นที่ ๒๐ ... ... มีภิกษุผู้ถูกสงฆ์ลงอุกเขปนีย กรรมเพราะไม่สละทิฏฐิบาปเป็นที่ ๒๐ ... ... มีบัณเฑาะก์เป็นที่ ๒๐ ... ... มีคน ลักเพศเป็นที่ ๒๐ ... ... มีภิกษุผู้เข้ารีตเดียรถีย์เป็นที่ ๒๐ ... ... มีสัตว์ดิรัจฉาน {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๗๙}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๓๘. ปาริวาสิกาทิกถา

เป็นที่ ๒๐ ... ... มีคนผู้ฆ่ามารดาเป็นที่ ๒๐ ... ... มีคนผู้ฆ่าบิดาเป็นที่ ๒๐ ... ... มีคนผู้ฆ่าพระอรหันต์เป็นที่ ๒๐ ... ... มีคนผู้ประทุษร้ายภิกษุณีเป็นที่ ๒๐ ... ... มีภิกษุผู้ทำลายสงฆ์เป็นที่ ๒๐ ... ... มีภิกษุผู้ทำร้ายพระศาสดาจนถึงห้อพระ โลหิตเป็นที่ ๒๐ ... ... มีอุภโตพยัญชนกเป็นที่ ๒๐ ... ... มีภิกษุผู้เป็นนานา สังวาสเป็นที่ ๒๐ ... ... มีภิกษุผู้อยู่ในนานาสีมาเป็นที่ ๒๐ .. ... มีภิกษุผู้อยู่ใน อากาศด้วยฤทธิ์เป็นที่ ๒๐ ... สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด มีภิกษุนั้นเป็นที่ ๒๐ ทำ กรรม ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ
เรื่องกรรมที่สงฆ์วีสติวรรคพึงทำ จบ
๒๓๘. ปาริวาสิกาทิกถา
ว่าด้วยภิกษุผู้อยู่ปริวาสเป็นต้น
เรื่องสงฆ์มีภิกษุผู้อยู่ปริวาสเป็นที่ ๔ ทำสังฆกรรมไม่ได้
และสงฆ์มีภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้นเป็นที่ ๒๐ อัพภานไม่ได้
[๓๙๓] ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้อยู่ปริวาสเป็นที่ ๔ พึงให้ปริวาส ชัก เข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต สงฆ์มีภิกษุผู้อยู่ปริวาสนั้นเป็นที่ ๒๐ อัพภาน ไม่จัด เป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมเป็นที่ ๔ พึงให้ปริวาส ชักเข้าหาอาบัติเดิม ให้มานัต สงฆ์มีภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิมนั้นเป็นที่ ๒๐ อัพภาน ไม่จัดเป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรมานัตเป็นที่ ๔ พึงให้ปริวาส ชักเข้าหา อาบัติเดิม ให้มานัต สงฆ์มีภิกษุผู้ควรมานัตนั้นเป็นที่ ๒๐ อัพภาน ไม่จัดเป็นกรรม และไม่ควรทำ {ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๕ หน้า : ๒๘๐}

พระวินัยปิฎก มหาวรรค [๙. จัมเปยยขันธกะ]

๒๓๘. ปาริวาสิกาทิกถา

ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ประพฤติมานัตเป็นที่ ๔ พึงให้ปริวาส ชักเข้า หาอาบัติเดิม ให้มานัต สงฆ์มีภิกษุผู้ประพฤติมานัตนั้นเป็นที่ ๒๐ อัพภาน ไม่จัด เป็นกรรมและไม่ควรทำ ภิกษุทั้งหลาย ถ้าสงฆ์มีภิกษุผู้ควรอัพภานเป็นที่ ๔ พึงให้ปริวาส ชักเข้าหา อาบัติเดิม ให้มานัต สงฆ์มีภิกษุผู้ควรอัพภานนั้นเป็นที่ ๒๐ อัพภาน ไม่จัดเป็น กรรมและไม่ควรทำ


                  เนื้อความพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาฯ เล่มที่ ๕ หน้าที่ ๒๗๖-๒๘๑. http://84000.org/tipitaka/pitaka1/m_siri.php?B=5&siri=51              ฟังเนื้อความพระไตรปิฎก : [1], [2].                   อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับหลวง :- http://84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=5&A=4964&Z=5050                   ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=5&i=187              พระไตรปิฏกฉบับภาษาบาลีอักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/pali_item_s.php?book=5&item=187&items=6              The Pali Tipitaka in Roman :- http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/roman_item_s.php?book=5&item=187&items=6                   สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_mcu5              อ่านเทียบฉบับแปลอังกฤษ Compare with English Translation :- https://suttacentral.net/pli-tv-kd9/en/brahmali#pli-tv-kd9:4.1.0 https://suttacentral.net/pli-tv-kd9/en/horner-brahmali#Kd.9.4



บันทึก ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ บันทึกล่าสุด ๒๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :